ชุมชนลุ่มน้ำวังอีกทั้งเป็นชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีระบบนิเวศที่ดี และเป็นพื้นที่จุดสำคัญบ่งบอกว่า เข้าเขตเมืองของลำปางแล้ว จากแลนด์มาร์ค ชามตราไก่ ที่เป็นของดีประจำจังหวัด
ที่มาของชื่อย่าเป้ามาจากชื่อของต้นหญ้าที่ใช้สำหรับหลังคลอด มีชื่อว่า ต้นเปล้า ซึ่งต่อมาได้เรียกชื่อชุมชนแห่งนี้ว่าชุมชน บ้านหญ้าเปล้า และเพี้ยนมาเป็น ย่าเป้า จนถึงปัจจุบัน
ชุมชนลุ่มน้ำวังอีกทั้งเป็นชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีระบบนิเวศที่ดี และเป็นพื้นที่จุดสำคัญบ่งบอกว่า เข้าเขตเมืองของลำปางแล้ว จากแลนด์มาร์ค ชามตราไก่ ที่เป็นของดีประจำจังหวัด
คำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า บริเวณที่ตั้งชุมชน มีความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์นานาชนิด โดยเฉพาะ “ต้นเปล้า” ที่มีเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านส่วนใหญ่จะนำต้นเปล้ามาใช้สำหรับหญิงหลังคลอดบุตร นิยมใช้ต้มอาบขณะอยู่ไฟ ซึ่งไม้ชนิดนี้ มักขึ้นตามพื้นที่ทั่วไป และต้นโพธิ์ ปัจจุบันเป็นวัดป่าเจ้าบ้าน เนื่องด้วยมีต้นหญ้าเปล้าเป็นจำนวนมาก จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านหญ้าเปล้า” แต่การเรียกชื่อใน สมัยก่อนมักเรียกง่าย ๆ ไม่มีเสียงควบกล้ำ จึงออกเสียงเพี้ยนมาเป็น “ย่าเป้า” จนถึงปัจจุบัน และได้จัดตั้งเป็นชุมชนบ้านย่าเป้าเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2544
ลักษณะภูมิประเทศ
ตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 268.60 เมตร ลักษณะภูมิประเทศ มีสภาพทั่วไปเป็นที่ราบและที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ ชุมชนมีลักษณะเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ แม่น้ำวัง ชุมชนบ้านศรีก้ำ หมู่ 1 ตำบลปงแสนทอง และชุมชนบ้านศรีปงชัย หมู่ 6 ตำบลชมพู
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านต้า หมู่ 10 ตำบลชมพู ชุมชนบ้านหนองเจริญ หมู่ 14 ตำบลชมพู และชุมชนบ้านศาลาดอน หมู่ 3 ตำบลชมพู
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านหนองยาง หมู่ 8 ตำบลชมพู และชุมชนบ้านหนองเจริญ หมู่ 14 ตำบลชมพู
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ แม่น้ำวัง ชุมชนบ้านวังแคว้ง หมู่ 2 ตำบลปงแสน และชุมชนบ้านศรีก้ำ หมู่ 1 ตำบลปงแสนทอง
- ข้อมูลครัวเรือน 687 ครัวเรือน
- จำนวนประชากร รวมทั้งสิ้น 1346 คน แยกเป็น ชาย 629 คน หญิง 717 คน
ข้อมูลกลุ่มองค์กรต่างๆ ในชุมชน มีจำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านย่าเป้า จำนวนสมาชิก 258 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางลัดดา อินต๊ะเงิน
- กลุ่มสตรีชุมชนบ้านย่าเป้า จำนวนสมาชิก 255 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางธนธนา แก้วทิพย์
- กลุ่ม อสม. ชุมชนบ้านย่าเป้า จำนวนสมาชิก 29 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นายปรีนอง ฟูกูงาม
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้านฯ ชุมชนบ้านย่าเป้า จำนวนสมาชิก 231 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางจันจิรา ฟูกูงาม
ทุนวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น
- การทำเครื่องเซรามิกหรือชามตราไก่ สินค้าทางวัฒนธรรม
ภาษาไทยถิ่นเหนือหรือภาษาล้านนา
- คณะกรรมการชุมชนมีจำนวนน้อยไม่สามารถดูแลประชาชนได้ทั่วถึง
- พื้นที่ชุมชนเป็นพื้นที่กว้างไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง
- ประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย
- ประชาชนขาดความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
- เยาวชนไม่ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน
- ไม่มีฌาปนสถานที่ใช้ทำพิธีฌาปนกิจของชุมชน
- น้ำท่วมขังถนนสายหลักในชุมชนเป็นบางจุด
- ไม่มีหลังคาป้องกันฝนและแสงแดดของลานออกกำลังกาย และอุปกรณ์ออกกำลังกาย
- ไม่มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารชุมชน
- เยาวชนไม่ให้ความสนใจวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน ติดเพื่อน
- ข้อจำกัดในการใช้ระเบียบกฎหมายในการใช้พื้นที่สาธารณะ
- มีการนำขยะทิ้งไม่ตรงจุดที่กำหนดนำไปทิ้งใกล้แม่น้ำ
พิพิธภัณฑ์เซรามิคธนบดี ประวัติศาสตร์ชามตราไก่ แห่งเมืองลำปาง
ที่มาของชื่อจังหวัดลำปางนั้นมาจากชื่อของชามทองคำที่มีตราไก่อยู่ในชาม ภายหลังได้เปลี่ยนจากชามทองคำมาเป็นชามเซรามิก ปัจจุบันชามเซรามิกเป็นสินค้าขึ้นชื่อของเมืองลำปาง โดยมีที่มาจากชาวจีนที่เริ่มเข้ามาบุกเบิกอุตสาหกรรมชามตราไก่ ซึ่งในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีข้อมูลเรื่องเล่า ของอุตสาหกรรมชามตราไก่ ที่เล่าต้้งแต่ที่มา และการสร้างอุตสาหกรรมชามตราไก่
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2566). ชุมชนบ้านย่าเป้า ตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. จาก https://www.kelangnakorn.go.th/kelang/
นัย บำรุงเวช. (12 กันยายน 2565). พิพิธภัณฑ์เซรามิคธนบดี ประวัติศาสตร์ชามตราไก่ แห่งเมืองลำปาง. เทคโนโลยีชาวบ้าน. https://www.technologychaoban.com/