บ้านโป่งน้ำร้อนอยู่ท่ามกลางขุนเขา น้ำตก และบ่อน้ำแร่ร้อน จึงดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ดี ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าปกาเกอะญอ ที่อาศัยอยู่กับป่าอย่างเรียบง่าย ขณะเดียวกันมีต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีอาหารจากธรรมชาติปลอดสารพิษ และวัฒธรรมวิถีชีวิตแบบชาวปกาเกอะญอ รวมถึงผลิตภัณฑ์ชุมชนที่พัฒนาจากวิถีชีวิตของชาวบ้าน เช่น การทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ งานจักสานจากไม้ไผ่ และกล้วยกรอบน้ำแร่
จากนิทานเรื่องที่มาของโป่งน้ำร้อน เล่าถึงพระพุทธเจ้าหลุต๊อง (ท้องเสีย) ตั้งแต่ดอยหลุแล้วก็เดินมาจนถึงโป่งน้ำร้อน แล้วไม่มีเรี่ยวแรงเดินต่อจึงหยุดพักต้มน้ำร้อนฉัน แต่พระพุทธเจ้าฉันไม่หมดก็เทน้ำร้อนที่เหลือทิ้ง ที่บริเวณนั้นจึงกลายเป็นบ่อน้ำร้อน และเรียกชื่อว่า บ้านโป่งน้ำร้อน มาจนถึงปัจจุบัน
บ้านโป่งน้ำร้อนอยู่ท่ามกลางขุนเขา น้ำตก และบ่อน้ำแร่ร้อน จึงดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ดี ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าปกาเกอะญอ ที่อาศัยอยู่กับป่าอย่างเรียบง่าย ขณะเดียวกันมีต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีอาหารจากธรรมชาติปลอดสารพิษ และวัฒธรรมวิถีชีวิตแบบชาวปกาเกอะญอ รวมถึงผลิตภัณฑ์ชุมชนที่พัฒนาจากวิถีชีวิตของชาวบ้าน เช่น การทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ งานจักสานจากไม้ไผ่ และกล้วยกรอบน้ำแร่
เดิมชาวบ้านมีการโยกย้ายถิ่นฐานมาจากอำเภอลี้จังหวัดลำพูน (อำเภอทุ่งหัวช้างในปัจจุบัน) ประมาณปี พ.ศ. 2440 ได้มีการย้ายครอบครัวมา 7 ครอบครัวคือครอบครัวพ่อหลวงปุ๊ด ปุ๊ดแฮ พ่อหลวงฮอม จินาวัน พ่อหลวงติ๊บ วันดู พ่อหลวงอ้าย ปุ๊ดอ้าย พ่อหลวงแก้ว วันดู และพ่อหลวงตา เชียงแก้ว ต่อมาก็ย้ายมาเพิ่มอีก 14 ครัวเรือน สาเหตุของการย้ายถิ่นฐาน เพราะชาวบ้านเสียชีวิตจากโรคระบาด และได้กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ปลายนาที่สวนไร่เลื่อนลอยตามหุบเขาและลำห้วยต่างๆ ต่อมาได้รวมกันตั้งหมู่บ้านโป่งน้ำร้อน 31 หลังคาเรือน ต่อมาชนพื้นเมืองได้เข้ามาทำมาหากิน ในพื้นที่และได้แต่งงานกับชนเผ่าก็ได้แยกย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่เป็นครอบครัว ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าปกาเกอะญอที่อาศัยอยู่กับป่าอย่างเรียบง่าย
เสริมงามเป็นอำเภอเล็ก ๆ ใน จังหวัดลำปาง ที่มีสายน้ำแม่ต๋ำ แม่น้ำเสริม และน้ำแม่เลียง หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน สายน้ำทั้งสามไหลผ่านต้นธารจากป่าใหญ่หลายหมื่นไร่ซึ่งชาวบ้านช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟูต้นน้ำจนเป็นแบบอย่างในความร่วมมือของชุมชนเพื่อดูแลทรัพยากรในท้องถิ่น เสริมงามมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือ ดีบุก ดังนั้นจึงมีการทำสัมปทานป่าไม้ และการระเบิดภูเขาทำเหมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างปี พ.ศ. 2516-2517 แม้จะมีการยกเลิกการทำสัมปทาน ผู้คนก็ยังเข้ามาหาประโยชน์อีกหลายสิบปี
ผลจากการระเบิดภูเขาทำให้ดินกลายเป็นทราย เมื่อถึงหน้าน้ำหลากปริมาณทรายมหาศาลไหลลงมาถมไร่นาชาวบ้าน ในหน้าแล้งตาน้ำก็เป็นแค่หลุมแห้ง ๆ เกิดภัยแล้งติดต่อกันหลายปี ซ้ำด้วยปัญหายาเสพติดและอิทธิพลไม้เถื่อน จนชาวบ้านโป่งน้ำร้อนซึ่งเป็นคนชุมชนปกาเกอะญออาศัยอยู่ในป่าต้นน้ำลุกขึ้นตั้งประเด็นก่อนเป็นหมู่แรก ตามด้วยบ้านแม่ห้อม สองหมู่บ้านจะจัดพิธีบวชป่าเพื่อจุดประกายงานอนุรักษ์ นำมาสู่การรวมตัวของพี่น้องอีกหลายหมู่ที่มาช่วยกันทำแผนจัดการป่าเพื่อดูแลป่า 6 หมื่นไร่ โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยจัดการต้นน้ำ
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูนและอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอสบปราบและอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอเกาะคาและอำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน
หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในแถบภูเขาอาศัยอยู่ในเขตลุ่มน้ำเสริมงาม จํานวน 123 ครัวเรือน จํานวนประชากร 475 คน ขนาดครอบครัว มีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวที่มี พ่อ แม่ และลูก ครอบครัวที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านชาวปกาเกอะญอ แม้จะเป็นครอบครัวเดี่ยวที่มีสมาชิกในครอบครัวน้อย แต่ก็มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันมีความรักความเข้าใจกันในครอบครัว ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าปกาเกอะญอที่อาศัยอยู่กับป่าอย่างเรียบง่าย
ปกาเกอะญอทุนธรรมชาติ
ต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มีอาหารจากธรรมชาติปลอดสารพิษ
ทุนวัฒนธรรม
วิถีชีวิตแบบชาวปกาเกอะญอรวมถึงผลิตภัณฑ์ชุมชนที่พัฒนาจากวิถีชีวิตของชาวบ้าน เช่น การทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ งานจักสานจากไม้ไผ่ และกล้วยกรอบน้ำแร่ ซึ่งทางพัฒนาชุมชนอำเภอเสริมงามได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านทำเป็นอาชีพสร้างรายได้ โดยในปีงบประมาณ 2561 ได้จัดทำโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีเพื่อสร้างและพัฒนาชาวบ้านและบุคลากรในชุมชนที่เกี่ยวข้องในชุมชนให้มีขีดความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์ สามารถนำมาต่อยอดในการบริหารจัดการชุมชนการพัฒนาสินค้าชุมชนเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวที่ยังรักษาอัตลักษณ์ของหมู่บ้านโป่งน้ำร้อนได้อย่างดี มีความพร้อมที่จะพัฒนาเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะมีต้นทุนทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตชาวปกาเกอะเญอที่บ่อน้ำพุร้อนน้ำตกที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเยือนแล้ว ขณะนี้ชาวบ้านบางรายก็เริ่มทำบ้านให้เป็นที่พักแบบโฮมสเตย์เปิดให้นักท่องเที่ยวพักโดยนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสวิถีการอยู่การกินอาหารพื้นบ้านแบบชาวปกาเกอะญอ
นิทาน
การประกอบอาชีพที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านชาวปกาเกอะญอ บ้านโป่งน้ำร้อน แบ่งได้ 4 ด้าน
- การทําไร่ทํานา ปรากฏในนิทาน 2 เรื่อง ได้แก่ นิทานเรื่องนางไข่ฟ้าเล่าถึงชายหนุ่มไปทําไร่ในบริเวณที่เสี่ยงทายจากการลากหัวของพ่อของเขาไปหยุดลงตรงที่นั้นโดยเขาจะออกไปทําไร่ทุกวัน และนิทานเรื่องไอ้ลูกช้างเล่าถึงหญิงหม้ายแม่ของไอ้ลูกช้างว่าอยู่คนเดียว ทํางานหนักทั้ง ทํานา ทําไร่ ทําสวนปลูกมะเขือ แตงโมพริก กล้วย อ้อยและอื่นๆ จนเต็มไร่
- การเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ปรากฏในนิทาน 2 เรื่อง ได้แก่ นิทานเรื่องขึรึๆ สอวอๆ เล่าถึงพี่ชายและน้องชายคู่หนึ่งทุกวันก็ออกไปเลี้ยงควาย และนิทานเรื่องสองพี่น้อง เล่าถึง พี่น้องกําพร้าคู่หนึ่งอาศัยอยู่กับยายพี่ชายมีหน้าที่ดูแลยายที่ชราไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่วนน้องชาย จะออกไปรับจ้างเลี้ยงวัวให้กับซอมอ (พญาเจ้าเมือง) ทุกวัน
- การหาของป่าล่าสัตว์ ปรากฏในนิทานเรื่องนางไข่ฟ้า เล่าถึง ชายหนุ่มอาศัยอยู่คนเดียว ทุกวันเขาจะไปทําไร่หรือไม่ก็เข้าป่าไปหาของกิน ส่วนนิทานเรื่องนางไข่ฟ้า (นอชอดิ)เล่าถึงผัวของนางไข่ฟ้าต้องเข้าป่าไปหาน้ำนมเสือและน้ำนมหมี ระหว่างเดินทางกลับบ้านก็ล่าสัตว์ได้ เก้ง กวาง นํามาเป็นอาหารและแบ่งปันเจ้าเมือง
- การทอผ้า ปรากฏในนิทานเรื่องนางไข่ฟ้า เล่าถึง เจ้าเมืองไปขอตีมีดที่ใต้ถุนบ้านของนางไข่ฟ้า นางไข่ฟ้าก็อนุญาต ส่วนตัวนางไข่ฟ้าก็ขึ้นไปทอผ้าอยู่บนบ้าน
วิถีชีวิตที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านชาวปกาเกอะญอ บ้านโป่งน้ำร้อน แบ่งได้เป็น 4 ด้าน ได้แก่
- ด้านความเชื่อ แบ่งได้ 7 ประเภท ได้แก่ ความเชื่อดั้งเดิม ความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อเรื่องอมนุษย์ ความเชื่อเรื่องของวิเศษ ความเชื่อเรื่องกําเนิดมนุษย์ ความเชื่อเรื่องโชคชะตา และความเชื่อเรื่องการเสี่ยงทาย
- ด้านค่านิยม แบ่งได้ 5 ด้าน ได้แก่ ความพยายาม การเป็นผู้มีไหวพริบ ความกล้าหาญ ความกตัญญู และการเชื่อฟังผู้ใหญ่
- ด้านการประกอบอาชีพ พบการทําไร่ทําสวน การเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย การหาของป่าล่าสัตว์ และการทอผ้า
- ด้านครอบครัว พบว่าขนาดครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว และสัมพันธภาพในครอบครัวส่วนใหญ่มีความรักความเข้าใจกันดี
หมู่บ้านโป่งน้ำร้อนในประเทศไทย ประสบปัญหาภัยแล้งในช่วงปี พ.ศ. 2533 เนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า ชาวบ้านจึงร่วมกันปิดป่าต้นน้ำและตรวจสอบเป็นระยะ ๆ ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งกับผู้ได้รับประโยชน์จากการตัดไม้ ผู้นำหมู่บ้านตอบโต้ด้วยการอธิบายและทำความเข้าใจเพื่อนบ้าน และเชิญชวนให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรับทราบถึงความพยายามของพวกเขา หน่วยจัดการลุ่มน้ำแม่เสริมได้จัดตั้งขึ้นในบริเวณหมู่บ้าน และชาวบ้านเริ่มสร้างเขื่อนเพื่อชะลอการไหลของน้ำ หมู่บ้านขยายความพยายามในการอนุรักษ์จนเป็นเครือข่าย 25 หมู่บ้าน โดยได้รับรางวัลจากมูลนิธิโลกสีเขียว ชาวบ้านยังได้ทดลองเกษตรกรรมเพื่อการพึ่งพาตนเอง แต่ต้องเผชิญกับความท้าทาย เช่น น้ำไม่เพียงพอ และการขาดตลาดสำหรับผ้าทอ ความยากจนยังคงเป็นอุปสรรคใหญ่สำหรับหมู่บ้าน
สุประวีณ์ แสงอรุณเฉลิมสุข. (2565) .วิถีชีวิตและบทบาทหน้าที่ของนิทานพื้นบ้านชาวปกาเกอะญอ บ้านโป่งน้ำร้อน อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง. วารสารมังรายสาร. 10(2): หน้า 35-50.
อนันต์ อุปสถ และคณะ. (2565). พลวัตประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการจัดการการส่งเสริมเสน่ห์การท่องเที่ยวของชุมชนสู่การกำหนดนโยบายในระดับท้องถิ่นและระดับจังหวัด. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8(3): หน้า 175-192.