
มัญจาคีรีนามเมืองเก่า บึงกุดเค้าคู่เมืองบ้าน นมัสการหลวงปู่โสหลวงปู่ผาง ตลาดกลาง ที่นอนหมอน แสนออนซอนดอนเต่า งามลำเนาเขาภูเม็ง เล็งชมกล้วยไม้ป่าบาน
บ้านท่าศาลา คือ ชื่อหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมคลองท่าศาลา ซึ่งเป็นคลองเล็ก ๆ แยกจากคลองท่าสูง เป็นท่าจอดเรือสินค้าจากต่างเมือง และมีศาลาพักร้อนปลูกอยู่ที่ท่าจอดเรือ “ท่าศาลา” จึงชื่อหมู่บ้านตามนัยนี้ และเมื่อย้ายที่ตั้งจากวัดเตาหม้อมาตั้งที่หมู่บ้านนี้จึงเปลี่ยนเป็นชื่ออำเภอเป็น “อำเภอท่าศาลา” ไปตามหมู่บ้าน
มัญจาคีรีนามเมืองเก่า บึงกุดเค้าคู่เมืองบ้าน นมัสการหลวงปู่โสหลวงปู่ผาง ตลาดกลาง ที่นอนหมอน แสนออนซอนดอนเต่า งามลำเนาเขาภูเม็ง เล็งชมกล้วยไม้ป่าบาน
ตามหนังสือ ชุดท่าศาลาคดีศึกษา ด้วยรักและภูมิใจในแผ่นดิน ท่าศาลา 100 ปี พ.ศ. 2541 โดยอาจารย์บุญเสริม แก้วพรหม ได้เขียนไว้ในหน้า 13 ทำไมจึง “ท่าศาลา” ไว้ว่า
บ้านท่าศาลา คือ ชื่อหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมคลองท่าศาลา ซึ่งเป็นคลองเล็ก ๆ แยกจากคลองท่าสูง เป็นท่าจอดเรือสินค้าจากต่างเมือง และมีศาลาพักร้อนปลูกอยู่ที่ท่าจอดเรือ
“ท่าศาลา” จึงชื่อหมู่บ้านตามนัยนี้ และเมื่อย้ายที่ตั้งจากวัดเตาหม้อมาตั้งที่หมู่บ้านนี้จึงเปลี่ยนเป็นชื่ออำเภอเป็น “อำเภอท่าศาลา” ไปตามหมู่บ้าน
ปัจจุบันมีศาลาซึ่งเป็นพื้นคอนกรีต มุงกระเบื้อง เป็นศาลาถาวรตั้งอยู่ริมคลองท่าศาลา บริเวณท่าจอดเรือสมัยก่อนอยู่หลังหนึ่ง เรียกว่า “ศาลาน้ำ” (ศาลาดังกล่าวได้รับการปรับปรุงโดยสุขาภิบาลท่าศาลา)
คำว่า “ท่าศาลา” นั้นเป็นคำที่ออกเสียงตามภาษากลางซึ่งเป็นภาษาราชการ แต่ภาษาใต้ซึ่งเป็นภาษาพูดของคนนครฯ โดยทั่วไปนั้น คงเรียกว่า “ท่าหลา” นั้นเอง
เมื่อปี พ.ศ. 2518 ทางราชการได้มีนโยบายขยายการปกครอง เนื่องจากประชากรมีจำนวนมาก จึงได้จัดตั้งหมูบ้านท่าศาลา หมู่ 10 โดยมีนายบุญยัง กิ่งแก้ว เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ชาวบ้านได้ร่วมใจกันพัฒนาหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง ได้สร้างวัดป่าดินแดงขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจพี่น้องประชาชน เพื่อเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม อนุรักษ์ไว้เพื่อลูกหลาน หมู่บ้านเราเป็นหมู่บ้านที่มีภูมิทัศน์ที่อุดมสมบูรณ์ มีลำห้วยพระเนาว์เป็นเส้นแบ่งเขตแดนอำเภอมัญจาคีรี และ อำเภอพระยืน มีหลวงปู่คำเงาะ เป็นที่เคารพบูชาของลูกหลาน ที่จะไปทำมาหากิน ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล หมู่บ้านของเราสมบูรณ์ทั้งทรัพยากรทางน้ำและการสัญจรไปมาสะดวกสบาย อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และปัจจุบันนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2547 ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 คือ นายมี ศรีสุวรรณ สิ้นเกษียณราชการ คนปัจจุบันคือ นายเดชา อุดจันทร์
อาณาเขต
- ทิศเหนือ จดห้วยพระเนาว์ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
- ทิศใต้ จดบ้านไส้ไก่ หมู่ 1 ตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
- ทิศตะวันออก จดบ้านท่าศาลา หมู่ 2 ตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่
- ทิศตะวันตก จดบ้านไส้ไก่ หมู่ 1 บ้านโนนตุ่น หมู่ 3 ตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่นและบ้านแก่นประดู่ หมู่ 8 ตำบลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
ลักษณะภูมิประเทศ บ้านท่าศาลา หมู่ 10 ตำบลท่าศาลา สภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย
ภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุมมี 3 ฤดู คือ
- ฤดูร้อนช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
- ฤดูฝนช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน
- ฤดูหนาวช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
สาธารณูปโภคในชุมชน มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน น้ำอุปโภคส่วนใหญ่ใช้น้ำประปาและใช้น้ำฝน น้ำบาดาลบางหลังคาเรือน น้ำซื้อในการบริโภค และมีบางหลังคาเรือนกรองน้ำบริโภคเอง
การคมนาคม
การเดินทางติดต่อกับชุมชนใกล้เคียงอำเภอหรือจังหวัดโดยเฉพาะกับสถานบริการสุขภาพที่สำคัญเช่นโรงพยาบาลสถานีอนามัยหรือคลินิกต่างๆชุมชนจะเดินทางติดต่อกับชุมชนใกล้เคียงหรือการเดินทางเข้าเมืองโดยรถโดยสารประจำทางรถยนต์ส่วนตัวรถจักรยานยนต์เป็นหลักส่วนการเดินทางในระยะใกล้ ๆ เช่นไปโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าศาลาจะใช้การเดินเท้ารถจักรยานและรถจักรยานยนต์และรถยนต์เป็นหลัก
พาหนะและค่าใช้จ่ายในการเดินทางตลอดจนจำนวนพาหนะและความถี่ในการให้บริการชุมชนการเดินทางเข้าเมืองหรือเดินทางไปชุมชนใกล้เคียงประชาชนที่ไม่มีรถส่วนตัวจะใช้รถโดยสารประจำทางในการเดินทางซึ่งมีรถโดยสารประจำทางผ่านหมู่บ้านเป็นประจำตั้งแต่เวลา 06.00 น.-18.00 น.
สภาพถนนในแต่ละฤดูกาลถนนในหมู่บ้านเป็นถนนลาดยาง และถนนคอนกรีดผ่านในซอยและมีถนนลูกรังบางซอย ในหมู่บ้านถนนสายหลักมีการวางท่อระบายน้ามีร่องน้ำระบายน้ำจึงไม่มีปัญหาน้ำท่วมถนนทำให้การคมนาคมขนส่งการเดินทางไม่ว่าจะเป็นฤดูร้อนหนาวหรือฝนจึงไม่มีปัญหาเดินทางสะดวกดี แต่จะมีบางซอยที่ไม่มีท่อระบายน้ำซึ่งส่วนมากจะเป็นถนนที่ไม่ค่อยมีรถสัญจรผ่าน
บ้านท่าศาลา หมู่ที่ 10 ตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น จำนวนครัวเรือนที่มีสำรวจได้ 100 ครัวเรือน จำนวนครัวเรือนที่มีมีผู้อาศัยอยู่จริง 71 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 71 ของครัวเรือนที่ได้ ทำการสำรวจ จำนวนประชากรที่มีในทะเบียนราษฎร์ 195 คนจำนวนประชากรที่อยู่จริง 245 คน คิดเป็น ร้อยละ 125.64 ของจำนวนประชากรที่มี
- ช่วงอายุ 10-14 ปี มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 8.98 ของประชากรทั้งหมด
- ช่วงอายุ มากกว่า 85 ปี มีจำนวนน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 0.28 ของประชากรทั้งหมด
- ผู้สูงอายุ มีจำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 24.08 ของประชากรทั้งหมด
- อัตราส่วนการพึ่งพิง กลุ่มประชากรวัยเด็ก มีจำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 22.04 ของประชากรวัยแรงงาน กลุ่มประชากรวัยผู้สูงอายุ มีจำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 24.08 ของประชากรวัยแรงงาน
อาชีพ
- ประกอบอาชีพทางการเกษตร ได้แก่ การทำไร่ทำสวนทำนาเลี้ยงสัตว์
- ปลูกพืชได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง มะนาว ดาวเรือง และผักต่างๆ
- เลี้ยงสัตว์ได้แก่ หมู เป็ด ไก่
- รับราชการและหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
- รับจ้างทำการเกษตรและโรงงานอุตสาหกรรม
- ค้าขาย
หน่วยธุรกิจ ในหมู่บ้านท่าศาลา หมู่ 10
- รีสอร์ท 1 แห่ง
- โรงน้ำ 1 แห่ง
- โรงสี 2 แห่ง
- ตลาด 1 แห่ง
- ร้านค้า 4 ร้าน
การเกษตร ในชุมชนมีการมีการปลูกข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ดอกดาวเรืองและมะนาว ตามฤดูกาล
การค้าขาย ในชุมชนมีการประกอบอาชีพค้าขาย เช่น ขายของชำ ร้านอาหาร ร้านสินค้าทางการเกษตร ร้านซ่อมรถ และธุรกิจอื่นๆโดยเป็นธุรกิจส่วนตัวของคนในชุมชน ประกอบเป็นธุรกิจตลอดทั้งปี
1.นายเดชา อุดจันทร์
เกิดวันที่ 26 มิ.ย. 2502 อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 63 บ้านท่าศาลา หมู่ที่ 10 ตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ไม่มีโรคประจำตัว มีพี่น้องทั้งหมด 11 คน ตนเป็นบุตรคน 7 พี่สาวคนโตเสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน ปัจจุบันเหลือพี่น้องทั้งหมด 10 คน จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนป่าหม้อหนองคูเมื่อปี 2512 ทำงานรับจ้างและเป็นลูกมือร้านซ่อมจักรยานยนต์ จากนั้นจึงไปเรียนช่างเครื่องกลต่อ 2 ปี จึงกลับมาเช่าบ้านที่บ้านท่าศาลาเปิดร้านซ่อมจักรยานยนต์ เมื่อปี 2517 เป็นเวลา 2 ปี จึงได้แต่งงานกับนางจันทร์ศรี (ภรรยาคนปัจจุบัน) ปี 2523 นายเดชาเก็บเงินได้จำนวนหนึ่งจึงซื้อที่ดินบริเวณติดถนนใหญ่และย้ายออกมาอาศัยอยู่จนถึงปัจจุบัน มีบุตรกับภรรยาด้วยกัน 3 คน เป็นเพศชายทั้งหมด ปัจจุบันลูกชายทั้งสามแยกย้ายตามครอบครัว กลับมาเยี่ยมทุก 1-2 เดือน ลงสมัครผู้ใหญ่บ้านรอบแรกปี 2548 รอบที่สองปี 2557 และได้รับตำแหน่ง มีรายได้ 17,000 บาท/เดือน มีการทำเกษตรกรรมเช่น ทำนา และมันสำปะหลัง
หน้าที่ผู้ใหญ่บ้านที่นายเดชารับผิดชอบ
- ดูแลความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ทำหน้าที่เจรจาไกล่เกลี่ย เมื่อมีความเดือดร้อนภายในหมู่บ้าน
- พัฒนาหมู่บ้านและความเป็นอยู่ของสมาชิกในหมู่บ้าน เช่น กองทุนปุ๋ยประจำหมู่บ้าน ระบบร่องและท่อระบายน้ำของชุมชน ฟาร์มเห็ด (กำลังดำเนินโครงการ) ระบบน้ำประปาจากน้ำบาดาลเส้นทางถนนคอนกรีตเชื่อมต่อในหมู่บ้าน
2.นายสมจิตร เพียสีพิชัย
อายุ 53 ปี เกิดเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2506 อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 104 หมู่ที่ 10 บ้านท่าศาลา ตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น มีโรคประจำตัวคือ โรคเกาต์และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จบการศึกษา มศ. 5 จากนั้นทำงานรับจ้างขับรถทัวร์ 30 ปี ระหว่างนั้นจึงได้พบและแต่งงานกับนางสุนิษา บุญจันทร์ (ภรรยาคนปัจจุบัน) มีบุตรด้วยกัน 3 คน บุตรคนโตเป็นเพศชาย บุตรคนที่สองและสามเป็นเพศหญิง ปัจจุบันบุตรทั้งสามคนไปทำงานที่ต่างอำเภอ (ในตัวเมืองขอนแก่น)
ประวัติก่อนเจ็บป่วย มีอาชีพรับจ้างขับรถไถนาและรถบรรทุก มีรายได้ประมาณ 15,000 บาท ออกจากบ้านไปทำงาน 08.00 – 09.00 น. เลิกงาน 17.00 – 18.00 น. ไม่มีวันหยุดที่แน่นอน นายสมจิตรเคยดูดบุหรี่ครั้งละ 1 ซอง/ วัน ตรวจพบว่าเป็นโรคปอด จึงหยุดสูบ เป็นระยะเวลาประมาณ 30 ปี และยังเคยดื่มสุรา ทุกวัน วันละ 1 ขวดเล็ก แต่เลิกดื่มไปแล้ว เป็นระยะเวลา 20 ปี รับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ บางครั้ง
ประวัติหลังเจ็บป่วย เมื่อ เมษายน 2559 นายสมจิตรมีอาการหูอื้อ ปวดมาเรื่อยๆ จนเดือนมิถุนายน จึงไปโรงพยาบาลขอนแก่น ได้รับการทำ biopsy ผลออกมาเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จึงไดรับรักษาไว้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รับการวินิจฉัย ได้รับการรักษาด้วยวิธีฉายรังสี จำนวน 36 ครั้ง ภรรยาของนายสมจิตรจะพาไปฉายรังสีทุกวันช่วงบ่าย หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ ในระหว่างที่ทำการรักษาด้วยวิธีฉายรังสี นายสมจิตรจะรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย นายสมจิตรให้เหตุผลว่า หากกินอาหารค่อนข้างแข็งจะทำให้รู้สึกอาเจียน รับประทานอาหารได้น้อย และจะไม่รับประทานชา กาแฟ อาหารหมักดอง และอาหารสุกๆ ดิบ ๆ เนื่องจากจะทำให้เกิดการติดเชื้อ นายสมจิตรมีปัญหาเรื่องการขับถ่าย มักมีอาการท้องผูก และไม่อุจจาระเนื่องจากรับประทานอาหารได้น้อย นายสมจิตรมาใช้บริการ รพสต. ท่าศาลาทุกครั้งเมื่อมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น แผลถลอก คลื่นไส้ อาเจียน ในขณะรักษาอาการของโรคมะเร็งต่อมนน้ำเหลือง ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากกองทุนใด ๆ ในหมู่บ้าน
แหล่งน้ำ
- แม่น้ำชี ไหลผ่านทางด้านทิศตะวันออกของตำบล ในเขต หมู่ที่ 5,7, เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอมัญจาคีรีกับกิ่งอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น
- ห้วยพระเนาว์ เป็นลำห้วยที่ไหลจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกของตำบลและไหลลงสู่แม่น้ำชีเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอมัญจาคีรีกับอำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรและการประมง
พืชเศรษฐกิจ
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของตำบลท่าศาลา ได้แก่ ข้าวนาปี มันสำประหลัง และ อ้อยโรงงาน ซึ่งพืชแต่ละชนิดใดมีปริมาณ และลักษณะการผลิตดังนี้
- ข้าวนาปี มีการปลูกทุกหมู่บ้าน วัตถุประสงค์หลักปลูกไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือน พื้นที่ถือครองปลูกข้าวนาปี ของตำบล มีประมาณ 16,842 ไร่ ทั้งนี้การเพาะปลูกแต่ละปี พื้นที่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน เริ่มทำการเพาะปลูก ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม ส่วนมากนิยมทำนาแบบปักดำ ในฤดูการผลิต 2549/2550 จากข้อมูลของสำนักงานเกษตรอำเภอมัญจาคีรี ตำบลท่าศาลา มีครัวเรือนปลูกข้าวจำนวน 1,271 ครัวเรือนพื้นที่ปลูก 12,570 ไร่ โดยมีพื้นที่ถือครองการทำนาบางส่วนที่ไม่สามารถทำการปลูกข้าวได้ เพราะประสบภาวะฝนทิ้งช่วง
- ข้าวนาปรัง ปัจจุบันมีพื้นที่เพาะปลูกลดลง เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังส่วนมากจะเป็นเกษตรกรที่ประสบภัยน้ำท่วมนาปี จึงจะปลูกข้าวนาปรังเพื่อเป็นการเสริมรายได้และบริโภคในครัวเรือน โดยเริ่มทำการเพาะปลูกในเดือน ธันวาคม เก็บเกี่ยวในเดือนเมษายน มีทั้งการทำนาแบบหว่านและปักดำ ในฤดูการเพาะปลูก 2549/2550 มีครัวเรือนปลูกข้าวนาปรัง 34 ครัวเรือน พื้นที่ปลูก 260 ไร่ เฉลี่ย 7.6 ไร่ /ครัวเรือน โดยปลูกในพื้นที่ 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 5,711
- มันสำประหลัง มีการปลูก 2 ครั้งคือ ต้นฝน เริ่มปลูกเดือนพฤษภาคม จะเก็บเกี่ยวในเดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน ของปีถัดไป และปลูกช่วงปลายฝน เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม จะเก็บเกี่ยวของผลผลิตในเดือนกันยายนของปีถัดไป ตำบลท่าศาลาพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังมีแนวโน้มลดลง เพราะราคาผลผลิตไม่แน่นอน และเกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจแทน จากข้อมูล ทบก.01 (สิงหาคม 2549 ) ของสำนักงานเกษตรอำเภอมัญจาคีรี ในปีการเพาะปลูก 2549/2550 มีครัวเรือนที่ปลูกมันสำประหลัง ๑๖๘ครัวเรือน พื้นที่ปลูก 1,936 ไร่ เฉลี่ย 11.55 ไร่/ครัวเรือน (จากพื้นที่ถือครองการทำไร่ 6,609 ไร่ )
- ไม้เศรษฐกิจ ไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของตำบลท่าศาลที่เกษตรกรปลูกกันมาก คือยุคาลิตัส การปลูกทั้งตามหัวไร่ปลายนา และปลูกเป็นแปลง โดยได้รับการส่งเสริมการปลูกจากบริษัทผลิตเยื่อกระดาษ จึงทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น ประกอบกับพื้นที่บางส่วนของเกษตรกรที่มีการทำการเพาะปลูกพืชไร่ โดยเฉพาะมันสำปะหลังติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี ทำให้ผลผลิตลดลง ดินเสื่อมคุณภาพ และราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอน จึงทำให้เกษตรกรหันมาปลูกไม้เศรษฐกิจ (ยุคาลิปตัส) เป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบให้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของตำบลลดลงด้วย จากข้อมูล ทบก.01 (สิงหาคม 2549) ของสำนักงานเกษตรอำเภอมัญจาคีรี ตำบลท่าศาลามีเกษตรกรปลูกไม้ยุคาลิปตัส จำนวน 281 ครัวเรือน พื้นที่ปลูก4,330 ไร่ และยังมีเกษตรกรบางส่วนได้ทดลองปลูกยางพารา จำนวน 8 ราย พื้นที่ 54 ไร่
- อ้อยโรงงาน ตำบลท่าศาลาพื้นที่ปลูกอ้อยมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้เพราะเกษตรกรขาดแคลนแรงงาน และการลงทุนค่อนข้างสูง จากข้อมูล รต.01 (ตุลาคม 2558) ของสำนักงานเกษตรอำเภอมัญจาคีรี มีครัวเรือนที่ปลูกอ้อยโรงงาน จำนวน 152 ครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูก 3,462 ไร่ เฉลี่ย 22 ไร่/ครัวเรือน (จากพื้นที่ถือครองการทำไร่ 6,609 ไร่) ปลูกมากที่หมู่ที่ 1, 3, 4, 7, และหมู่ 11
- มะนาว ตำบลท่าศาลา หมู่ 10 มีการปลูกมะนาวเพราะเป็นพืชการเกษตรที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีและมีโครงการของทาง อบต. ที่มาสนับสนุนร่วมด้วย
สัตว์เศรษฐกิจ
- โค เกษตรกรเลี้ยงโคไว้จำหน่ายเป็นรายได้ โคที่เลี้ยงส่วนมากจะเป็นพันธุ์ลูกผสมรามัน วิธีการเลี้ยงจะปล่อยเลี้ยงและหากินตามธรรมชาติเป็นหลัก แต่มีเกษตรกรบางรายปลูกหญ้าให้เป็นอาหาร และมีการให้เกลือแร่ รำ เป็นอาหารเสริม การผสมพันธุ์ ส่วนมากนิยมใช้การผสมเทียม เกษตรกรบางรายมีการเลี้ยงโคพ่อพันธุ์ เพื่อบริการผสมพันธุ์ การจำหน่าย ขายในหมู่บ้าน ตำบลโดยมีพ่อค้ามารับซื้อ หรือบางครั้ง นำไปขายตามตลาดนัด โค
- กระบือ ปัจจุบันการเลี้ยงกระบือ เป็นการเลี้ยงไว้เพื่อจำหน่ายเพิ่มรายได้ เป็นวัตถุประสงค์หลัก การเลี้ยงเพื่อใช้งานเป็นวัตถุประสงค์รอง ปริมาณการเลี้ยงกระบือมีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากเกษตรกรเปลี่ยนไปใช้แรงงานจากเครื่องจักรกลการเกษตร แทนแรงงานจากกระบือ วิธีการเลี้ยงจะปล่อยเลี้ยงและหากินเองตามธรรมชาติ เป็นหลัก การผสมพันธุ์จะปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ
- สุกร มีการเลี้ยงน้อย โดยเกษตรกรที่เลี้ยงสุกรส่วนมากจะเป็นเกษตรกรที่มีโรงสีข้าว ปริมาณการเลี้ยงสุกร ขึ้นอยู่กับราคาที่ตลาดรับซื้อ ถ้าราคาดีก็จะมีการเลี้ยงมาก ราคาไม่ดีปริมาณการเลี้ยงก็จะลดน้อยลง การจำหน่าย เกษตรกรจะจำหน่ายภายในท้องถิ่น หรือขายให้แก่พ่อค้าประจำที่เข้ามารับซื้อถึงหมู่บ้าน
- ไก่พื้นเมือง - เป็ด การเลี้ยงไก่พื้นเมือง – เป็ด ของเกษตรกร ส่วนมากจะเพื่อใช้เป็นอาหารภายในครัวเรือนมากกว่าการเลี้ยงเพื่อจำหน่าย โดยทั่วไปจะมีการเลี้ยงเกือบทุกครัวเรือน โดยเฉพาะไก่พื้นเมืองจะมีการเลี้ยงมากกว่าเป็ด ลักษณะการเลี้ยงจะปล่อยให้หาอาหารกินเองบริเวณบ้าน และจะให้อาหารเสริมเป็นบางครั้ง ในช่วงตอนเย็น นอกจากนี้เกษตรกรบางรายจะนำไก่ไปเลี้ยงที่ทุ่งนาโดยทำเป็นเล้าไว้ และออกไปให้อาหารเป็นครั้งคราวทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงโรคระบาดไก่
- ไก่ไข่ เกษตรกรตำบลท่าศาลามีการเลี้ยงไก่ไข่ในลักษณะโรงเรือนขนาดใหญ่ (แบบระบบเปิด) โดยมีการทำสัญญาการเลี้ยงกับบริษัท เมื่อไก่ไข่อายุ 18 - 20 สัปดาห์จะขายเป็นไก่ไข่รุ่นคืนให้บริษัท เฉลี่ยการเลี้ยง 5,000 ตัว/โรงเรือน/รุ่นและเลี้ยง เฉลี่ย 2 - 3 รุ่น/ปี
ผู้คนในชุมชนบ้านท่าศาลาใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทยในการพูดและการอ่านเขียน
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนที่ปรากฏเห็นชัดเจนในด้านประชากรโดยมีรายละเอียดดังนี้ การเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่ความทันสมัย ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม คนในชุมชนมีการสร้างบ้านแบบสมัยใหม่ที่ไม่เอื้อต่อการแบ่งแยกพื้นที่ระหว่างผีกับคน หรือระบบความติดของคนรุ่นใหม่ในสังคม ส่งผลให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เนื่องจากอิทธิพลของระบบสื่อในมิติต่างๆ ที่มีความรวดเร็วเชื่อมโยงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อของทั้งคนรุ่นเก่าและใหม่ กระกอบกับอิทธิพลทางการศึกษาสมัยใหม่ที่สอนให้คนเชื่อในหลักการวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางความคิดและความเชื่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนที่ปรากฏเห็นชัดเจนในด้านประชากรโดยมีรายละเอียดดังนี้
การเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่ความทันสมัย ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม คนในชุมชนมีการสร้างบ้านแบบสมัยใหม่ที่ไม่เอื้อต่อการแบ่งแยกพื้นที่ระหว่างผีกับคน หรือระบบความติดของคนรุ่นใหม่ในสังคม ส่งผลให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เนื่องจากอิทธิพลของระบบสื่อในมิติต่าง ๆ ที่มีความรวดเร็วเชื่อมโยงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อของทั้งคนรุ่นเก่าและใหม่ กระกอบกับอิทธิพลทางการศึกษาสมัยใหม่ที่สอนให้คนเชื่อในหลักการวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางความคิดและความเชื่อ
ชุมชนบ้านท่าศาลาได้เข้าร่วมโครงการ ท่าศาลาร่วมใจห่างไกลเบาหวาน
ชุมชนบ้านท่าศาลามีจุดที่น่าสนใจอื่นๆเช่น ร้าน ข้าวมันไก่&ก๋วยเตี๋ยวไก่ ท่าศาลา ครัวหรรษา บ้านสุชานันท์ และ วัดโนนสว่าง
จริยาวัตร คมพยัคฆ์. (2554). การพยาบาลอนามัยชุมชน แนวคิดหลักการและการปฏิบัติการพยาบาล. กรุงเทพฯ : จุดทอง.
ศิราณี อินทรหนองไผ่. (2554). การพยาบาล : เครื่องมือนักจัดการสุขภาพองค์รวมเพื่อวิวัฒน์และพัฒนาสุขภาพปฐมภูมิ. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จุราพร พงศ์เวชรักษ์. (2555). ทำไมจึงห้ามผู้ป่วยเบาหวานดื่มแอลกอฮอล์. ออนไลน์. เข้าถึงได้จาก : http://drug.pharmacy.psu.ac.th/