Advance search

เกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คลองเกาะเรียนแยกชุมชนออกเป็น 2 ฝั่ง เป็นชุมชนเก่าแก่ มีวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิม

หมู่ที่ 2
เกาะเรียน
พระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยา
อบต.เกาะเรียน โทร. 0-3520-0666
นันท์นภัส เจนวิถี
8 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
18 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
19 ก.พ. 2024
เกาะเรียน

เกาะเรียนเป็นชื่อตำบลซึ่งมีที่มาจากลักษณะพื้นที่ของตำบล ที่มีหมู่บ้าน 2 หมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนเกาะเรียน คือ บ้านเกาะเรียนหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ซึ่งโอบล้อมด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองธรรมชาติ


เกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คลองเกาะเรียนแยกชุมชนออกเป็น 2 ฝั่ง เป็นชุมชนเก่าแก่ มีวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิม

หมู่ที่ 2
เกาะเรียน
พระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยา
13000
14.3085442
100.571087
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน

ชุมชนบ้านเกาะเรียน เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ใน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา มีลักษณะเป็นเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยาโดยมีคลองเกาะเรียน แยกชุมชนออกเป็นสองฝั่งมีพื้นที่ประมาณ 5.12 ตารางกิโลเมตร 3,200 ไร่ เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวข้องผูกพันอยู่กับแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลเกาะเรียน ที่มีหมู่บ้าน 7 หมู่บ้าน ที่ตั้งอยู่บนบ้านเกาะเรียน คือ บ้านเกาะเรียนหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ซึ่งโอบล้อมด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองธรรมชาติ 

ตั้งแต่ในสมัยอยุธยามีพ่อค้าจากเมืองจีนเข้ามาติดต่อค้าขายกับชาวอยุธยาเมื่อเห็นความอุดมสมบูรณ์ของเกาะนี้เหมาะสำหรับตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัย จึงได้มาตั้งรกรากอยู่บนเกาะและได้สร้างศาลเจ้าพ่อเกาะเรียน เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจสักการะของชาวจีนและชาวฮอลันดาที่เข้ามา ได้สร้างโรงเรียนสอนศาสนาขึ้น บริเวณใกล้กับศาลเจ้าด้วยต่อมาเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา ทำให้โรงเรียน และบ้านที่อยู่อาศัยของชาวบ้านโดนเผาทำลาย จึงไม่เหลือร่องรอยของโรงเรียนสอนศาสนา ปัจจุบันเหลือแต่ศาลเจ้าพ่อเกาะเรียน ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวชุมชนเกาะเรียน ชื่อตำบลเกาะเรียนจึงเรียนชื่อตามศาลเจ้า และโรงเรียนที่อยู่ใกล้กับเจ้าพ่อเกาะเรียน ชาวบ้านจึงเรียกตำบลนี้ว่า “ตำบลเกาะเรียน” 

เนื่องจากเป็นพื้นที่ไม่ห่างตัวเมืองกรุงศรีอยุธยา และอยู่ละแวกเขตปริมณฑล จึงทำให้สภาพความเป็นอยู่ค่อนข้างไปทางสังคมเมือง มีตึกบ้านเรือนทรงสมัยใหม่มากขึ้น แต่บ้านเรือนชุมชนยังคงมีเรือนไทยที่เป็นเอกลักษณ์อยู่บ้าง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง เช่น ทำงานบริษัทเอกชน, โรงงาน, รับจ้างทั่วไป, งานฝีมือต่าง ๆ บ้างก็ทำเกษตรกรรม เช่น ทำสวน ปลูกผักสวนครัว ร้านขายของชำ 

จึงการก่อเกิดการขับเคลื่อนงานขององค์กรชุมชน มีจุดเริ่มจากการรวมกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่ตำบลในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการต่อมามีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลเกาะเรียนที่มุ่งสู่การบริหารจัดการที่ดี จึงมีอัตลักษณ์ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ คือ การอนุรักษ์ขนมไทยโบราณ สืบสานประเพณีท้องถิ่นซึ่งในปัจจุบันพื้นที่ตำบลเกาะเรียนมีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น วิสาหกิจชุมชนขนมไทยป้ามะลิ ผู้สืบสานตำนานขนมไทยท้าวทองกีบม้า ซึ่งมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ เพราะในปัจจุบันธุรกิจการท่องเที่ยวก็เป็นที่นิยมจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์เป็นวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ยังคงรักษาไว้เป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชนมาจนถึงปัจจุบัน 

พื้นที่ในชุมชนตำบลเกาะเรียนมี 7 หมู่บ้าน พื่นที่ชุมชนของบ้านเกาะเรียนมีหมู่ 2 และหมู่ 3 ตำบลเกาะเรียน ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณ 10 กิโลเมตร ซึ่งชุมชนตำบลเกาะเรียนนั้นอยู่ไม่ห่างไกลจากอำเภอพระนครศรีอยุธยามากอีกด้วย เส้นทางคมนาคมภายในตำบลเกาะเรียนนั้นมีเส้นทางการคมนาคมทั้งทางบกและทางน้ำโดยมีเส้นทางที่สำคัญ ดังนี้ ทางบก ถนนลาดยางสายอยุธยา-บางปะอิน และทางน้ำ แม่น้ำเจ้าพระยาและคลองเกาะเรียน และมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ต.ขนอนหลวง อ.บางปะอิน
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.บ้านกรด อ.บางปะอิน
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.สำเภาล่ม ต.คลองตะเคียน ต.บ้านรุน

สภาพถูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำและเป็นพื้นที่นา โอบล้อมด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองธรรมชาติ ซึ่งมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน และมีคลองซอยแยกหลายสาย เหมาะที่จะเป็นแหล่งผลิตพีชผลทางเกษตรเป็นอย่างยิ่ง และพื้นที่ส่วนใหญ่จะติดแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพื้นที่

จากข้อมูลของจากข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยปี พ.ศ. 2567 ระบุจำนวนครัวเรือนและประชากรในตำบลเกาะเรียน จำนวน 1,797 ครัวเรือน โดยในชุมชนบ้านเกาะเรียนหมู่ที่ 2 และหมู่ 3 มีจำนวนครัวเรือน 115 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมดในบ้านเกาะเรียน 331 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 148 คน และผู้หญิง 183 คน

การขับเคลื่อนงานขององค์กรชุมชน มีจุดเริ่มจากการรวมกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่ตำบลในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ จนเริ่มมีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลเกาะเรียน โดยมีการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งในพื้นที่ตำบลเกาะเรียนมีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง

  • วิสาหกิจชุมชนเกษตรอัจฉริยะเกาะเรียน เป็นวิสาหกิจการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์แบบระบบปิด มีกิจกรรม ผลิตพืชเห็ดนางฟ้า และมีการผลิตพืชผักแบบ Plant Factory (การปลูกพืชในอาคาร)
  • วิสาหกิจชุมชนขนมไทยป้ามะลิ ผู้สืบสานตำนานขนมไทยท้าวทองกีบม้า ซึ่งมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะ ศาลเจ้าแม่ขันทอง เป็นรูปแกะสลักปิดทองสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งมีอายุหลายร้อยปี  โดยคุณป้ามะลิ ถือเป็นหนึ่งในผู้สืบทอดชุมชนเครือญาติท้าวทองกีบม้า ปัจจุบันได้ตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนขนมไทย ต้นตำรับท้าวทองกีบม้า มีสมาชิกที่เป็นเครือญาติช่วยกันทำขนมทั้งหมด 12 คน ซึ่งการผลิตขนมยังยึดแบบเดิม ทองหยอดต้องหยอดด้วยมือ ที่จะสามารถกำหนดขนาดของทองหยอดได้อย่างสม่ำเสมอ
  • กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านท้ายเกาะ ตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีนโยบายด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน โดยมีการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ตำบลเกาะเรียน ส่วนใหญ่จะติดแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพื้นที่นั้น ชาวบ้านในชุมชนให้ความร่วมมือกันในทุกด้าน รวมถึงการส่งเสริม การพัฒนาที่พักแรมประเภทโฮมสเตย์ยังไม่มีการส่งเสริมให้ชุมชนในตำบลเกาะเรียนจัดทำที่พักแรม ประเภทโฮมสเตย์

ในกลุ่มอาชีพในอดีตประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรกร การทำนาบ้าง แต่ในปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง เช่น ทำงานบริษัทเอกชน, โรงงาน, รับจ้างทั่วไป, งานฝีมือต่าง ๆ แต่ก็ยังมีการทำเกษตรกรรมอยู่บ้าง

ชุมชนบ้านเกาะเรียนมีชีวิตความเป็นอยู่โดยการสร้างที่อยู่อาศัยริมฝั่งแม่น้ำ ด้วยจากสภาพภูมิประเทศที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน และด้วยพื้นที่ถือเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก ประชาชนจึงมีอาชีพหลัก คือ การทำนา โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต มีการพึ่งพาอาศัยกัน และส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดเป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน มีกิจกรรมประเพณีวันสำคัญทางศาสนา วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา และประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น เช่น วันสงกรานต์ ลอยกระทง ฯลฯ 

1.นางสาววิภารัตน์ จันทริก เป็นแกนนำ และเป็นประธาน มีการจัดโครงสร้างการบริหารแบ่งบทบาทหน้าที่ ซึ่งถือว่าเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนา มีคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนที่มาจากกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ทั้ง 7 หมู่บ้าน และใช้เป็นเวทีกลางในการพูดคุยของคนในตำบล ร่วมกับการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านในแต่ละเดือนและได้ร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ชุมชนเกาะเรียน มีอัตลักษณ์ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ 

2.นายสุนทร รื่นพานิช อายุ 50 ปี เป็นประธานกลุ่มโฮมสเตย์ เป็นคนในพื้นที่ตำบลเกาะเรียนตั้งแต่กำเนิด จึงทราบสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของชุมชนตำบลเกาะเรียนเป็นอย่างดี ประสบการณ์ในการทำงานด้านโฮมสเตย์ 20 ปี สมาชิกในกลุ่ม 20 คน ลักษณะโฮมสเตย์เป็นบ้านทรงไทย

3.นางมะลิ ภาคาภร ปัจจุบันอายุ 78 ปี ถือเป็นหนึ่งในผู้สืบทอดชุมชนเครือญาติท้าวทองกีบม้า ป้ามะลิได้ตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนขนมไทย ต้นตำรับท้าวทองกีบม้า และมีสมาชิกที่เป็นเครือญาติทั้งหมด 12 คน ซึ่งช่วยกันทำขนมเพื่อสืบทอดต้นฉบับ

ทุนด้านภูมิศาสตร์

ในด้านภูมิศาสตร์ของพื้นที่ตำบลเกาะเรียนอยู่ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออก โดยมีคลองธรรมชาติไหลผ่านภายในชุมชน และได้บอกเล่าเรื่องราวและวิถีชีวิตของชุมชนได้เป็นอย่างดีจึงมีความผูกพันกับสายน้ำ ได้แก่ คลองธรรมชาติที่อยู่คู่กับคนในชุมชนมายาวนาน เป็นวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ยังคงรักษาไว้เป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชน

ทุนด้านวัฒนธรรม

ขนมไทยของป้ามะลิถือเป็นหนึ่งในผู้สืบทอดชุมชนเครือญาติท้าวทองกีบม้า ขนมไทย ต้นตำรับท้าวทองกีบม้า การทำขนมไทย บ้านป้ามะลิ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทำขนมไทยต้นตำรับท้าวทองกีบม้า ซึ่งการทำขนมไทยนี้ได้รับการสืบทอดมาจากรุ่นบรรพบุรุษ และต่อมาได้จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนขนมไทยป้ามะลิขึ้นเพื่อสร้างรายได้และกระจายรายได้ให้สู่ชุมชนและความเป็นกันเองของคนในชุมชนความอัธยาศัยไมตรีของเจ้าของชุมชน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ปัจจุบันธุรกิจการท่องเที่ยวถือเป็นหนึ่งเศรษฐกิจหลักของประเทศไทยจึงเกิดการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงทุกรูปแบบ และพร้อมที่จะเติบโตอย่างยั่งยืน ประกอบกับการสร้างความเข้มแข็งจากภายในมุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนเกาะเรียนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์เป็นวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมจากรูปแบบการใช้ชีวิตริมแม่น้ำ สามารถทำกิจกรรมทางน้ำบรรยากาศร่มรื่น

จากการเปลี่ยนแปลงจึงมีการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อการส่งเสริมอาชีพและการท่องเที่ยว ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่ยอมรับมากขึ้น และยังช่วยพัฒนาในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืน มีปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาในแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนของพื้นที่ตำบลเกาะเรียน ประกอบด้วยตัวที่พัก ขนมไทย อาหารพื้นบ้าน ความปลอดภัย อัธยาศัยไมตรีของเจ้าบ้านและสมาชิกการนำเที่ยว ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมกาพัฒนาวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ ซึ่งในชุมชนเกาะเรียนมีนโยบายด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน โดยมีการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งในพื้นที่ตำบลเกาะเรียนมีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง

แต่ว่ามีปัญหาตำบลเกาะเรียนนั้นยังไม่มีนโยบายในการส่งเสริมในการพัฒนาที่พักแรมประเภทโฮมสเตย์ และยังไม่มีการส่งเสริมให้ชุมชนในตำบลเกาะเรียนจัดทำที่พักแรมประเภทโฮมสเตย์ เนื่องจากในพื้นที่ช่วงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมสูงทุกปี และยังประสบปัญหานักท่องเที่ยวเข้ามาพักแรมน้อยและบางช่วงไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาอาศัยพักเลย เนื่องจากพื้นที่ของตำบลเกาะเรียนยังไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร นอกจากนี้ตำบลเกาะเรียนยังอยู่ใกล้จากอำเภอพระนครศรีอยุธยาอีกด้วย นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักจะสนใจแต่ที่พักในอำเภอพระนครศรีอยุธยาเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงการสนับสนุนด้านงบประมาณในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และการพัฒนาที่พักแก่ชุมชนของตำบลเกาะเรียน ยังไม่มีการสนับสนุนงบประมาณอย่างชัดเจนอยู่ที่ชุมชนว่าต้องการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือโรงแรมที่พักแรมหรือไม่ ซึ่งต้องมีการเสนอโครงการเพื่อพิจารณาขออนุมัติจัดสรรงบประมาณ

การประชาสัมพันธ์ของชุมชนยังไม่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในด้านนี้ วิสาหกิจชุมชนบ้านท้ายเกาะเรียนมีเอกสารเผยแพร่ข้อมูล ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมท่องเที่ยวต่าง ๆ ภายในตำบลเกาะเรียนแก่นักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจในส่วนของวิสาหกิจชุมชนบ้านท้ายเกาะเรียนเองไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์ด้วยตนเอง เพียงการบอกเล่าปากต่อปากของนักท่องเที่ยวเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะมีสื่อออนไลน์จากหลากหลายหน่วยงานที่ลงข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนตำบลเกาะเรียน เช่น เว็บไซต์และเฟสบุ๊คของชุมชนแล้วแต่ยังไม่มีหน่วยงานใด ๆ ที่ช่วยผลักดันให้เกิดวิสาหกิจชุมชนบ้านท้ายเกาะมากขึ้น ยังขาดการประชาสัมพันธ์ที่จะทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติได้ทราบ

ในการมีส่วนร่วมและความท้าทายของชุมชนเกาะเรียนต้องเผชิญกับผลทางธรรมชาติภัยพิบัติน้ำท่วมและจำเป็นต้องการศึกษาหาทางในการประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวเกี่ยวกับชุมชนตำบลเกาะเรียนให้มากขึ้นและการสื่อสารและให้ความรู้ความเข้าใจในด้านการบริการ เส้นทางท่องเที่ยวและ การบริหารจัดการให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในตำบลเกาะเรียน และอีกหนึ่งอย่าง คือ ศึกษาผลกระทบจากการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของชุมชน และชุมชนรอบข้าง ชุมชนจึงต้องการบุคลากรที่มีทักษะการศึกษาหรือการฝึกอบรมและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ

ในชุมชนบ้านเกาะเรียนนั้นยังมีสิ่งอื่นที่น่าสนใจ คือ มีโฮมสเตย์บ้านท้ายเกาะที่เป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในชุมชน และมีบ้านขนมไทยป้ามะลิที่เป็นญาติท้าวทองกีบม้า เป็นชุมชนที่มีอัตลักษณ์ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เช่น การอนุรักษ์ขนมไทยโบราณ และการสืบสานประเพณีท้องถิ่น

กรมการปกครอง. (2567). ระบบสถิติทางการทะเบียนจำนวนประชากร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก https://stat.bora.dopa.go.th/

สมเกียรติ แดงเจริญ, เพ็ญนภา หวังที่ชอบ และสุภลัคน์ จงรักษ์. (2566). แนวทางการพัฒนาโฮมสเตย์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาวิทยาลัยรสชภัฏธนบุรี. 17(2), 130-140.

องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน. (2567). ข้อมูลหน่วยงาน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.khorean.go.th/condition1.php

TANTHIKA THANOMNAM. (2565). ชุมชนคุณธรรมบ้านเกาะเรียน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก https://jk.tours/

อบต.เกาะเรียน โทร. 0-3520-0666