หมู่บ้านที่ก่อตั้งประมาณปี พ.ศ. 2452 เกิดจากการรวมกลุ่มชุมชน ได้แก่ คนเมือง เผ่าเย้า ขมุ และเผ่าปกาเกอะญอ โดยได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานรวมกัน ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมประเพณี แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขสามัคคี
"จำ" แปลว่า ขุนน้ำ ตาน้ำ ที่ผุดออกมาจากดินตลอดทั้งปี "ปุย" มาจาก ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง พบมากในหมู่บ้าน จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านจำปุย"
หมู่บ้านที่ก่อตั้งประมาณปี พ.ศ. 2452 เกิดจากการรวมกลุ่มชุมชน ได้แก่ คนเมือง เผ่าเย้า ขมุ และเผ่าปกาเกอะญอ โดยได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานรวมกัน ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมประเพณี แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขสามัคคี
"หมู่บ้านจำปุย" เป็นหมู่บ้านที่ก่อตั้งประมาณปี พ.ศ. 2452 เกิดจากการรวมกลุ่มชุมชน ได้แก่ คนเมือง เผ่าเย้า ขมุ และเผ่าปาเกอญอ โดยได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานรวมกัน
ที่มาของชื่อหมู่บ้านจำปุย
- จำ แปลว่า ขุนน้ำ ตาน้ำ ที่ผุดออกมาจากดินตลอดทั้งปี
- ปุย มาจาก ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง พบมากในหมู่บ้าน
การเปลี่ยนแปลงและเหตุการณ์สำคัญในชุมชนบ้านจำปุย
- พ.ศ. 2452 มีครอบครัว 3 ครอบครัวย้ายเข้ามาตั้งรกรากเพื่อทำไม้ ปางไม้ ปางช้าง
- พ.ศ. 2452 นายหลั่น วรรณะ ผู้ใหญ่บ้านคนแรก
- พ.ศ. 2484 สงครามโลกครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2484 สร้างถนนพหลโยธินสายเอเชีย ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1
- พ.ศ. 2493 มีการรวมถนนเส้นทางหลวงสายลำปาง-เชียงรายเข้าร่วมเป็นถนนพหลโยธิน หมายเลขที่ 1
- พ.ศ. 2497 การไฟฟ้าฝ่ายผลิต เริ่มมีการขุดถ่านหินในพื้นที่อำเภอแม่เมาะชาวอำเภอแม่เมาะและหมู่บ้านใกล้เคียงมีงานทำจากการเข้าสมัครเป็นกรรมกรในเหมืองแร่ ทำให้เหมืองแม่เมาะสร้างงาน สร้างรายได้ แก่คนในพื้นที่ชุมชนใกล้เคียงและรอบหมู่บ้าน
- พ.ศ. 2513 การไฟฟ้าฝ่ายผลิต เริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้าจากโรงฟ้าเหมืองแม่เมาะแต่ชุมชนรอบข้าง ยังขาดไฟฟ้าใช้
- พ.ศ. 2519 ตั้งกิ่งอำเภอแม่เมาะ เริ่มมีการปกครองจากผู้นำชุมชน มีระบบการปกครองและจัดการชุมชนด้วยผู้นำ
- พ.ศ. 2527 ไฟฟ้าเข้าสู่ชุมชน รูปแบบการใช้ชีวิตเปลี่ยนไปจากวิถีเดิมเป็นยุคไฟสว่าง ชุมชนมีโทรทัศน์เครื่องแรก เดือนตุลาคม
- พ.ศ. 2530 ชุมชนได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้นในโรงเรียนบ้านจำปุยโดย พัฒนาชุมชนอำเภอแม่เมาะ ดูแลเรื่องงบประมาณและค่าตอบแทน
- พ.ศ. 2531 เจอภาพเขียนสีประตูผา และมีการขุดค้นโครงกระดูก โดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง เริ่มดำเนินการจึงมีการพัฒนาชุมชนหมู่บ้านในหลาย ๆ ด้านทั้งโครงสร้างพื้นฐาน และคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง เพราะองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดงเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการดูและพื้นที่ตามหน้าที่ และพันธกิจของหน่วยงาน
- พ.ศ. 2559-ปัจจุบัน การดำเนินชีวิตตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม
ประวัติการอพยพของหมู่บ้าน แบ่งประวัติการอพยพได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่ 1 บ้านจำปุยมีครอบครัวของ นายหลั่น วรรณะ ได้อพยพมาจาก อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง อพยพกันมา ประมาณ 5 ครอบครัว ปัจจุบันมีบุตรชายชื่อ นายวัน นามวงศ์ (ใช้นามสกุลของมารดา)
- กลุ่มที่ 2 เป็นชาวเผ่าเย้า อพยพมาตั้งบ้านอยู่ทางตอนเหนือของบ้านจำปุย มาครั้งแรกประมาณ 3 ครอบครัว มีผู้นำชื่อ นางเกาและนางเส็งพิน แซ่จ๋าว อพยพมาจาก อำเภองาว ดอยม่วงจม ซึ่งภายหลังชาวบ้านได้ อพยพติดตามมาอยู่เพิ่มจากเดิมอีกประมาณ 20 ครอบครัว ซึ่งสาเหตุที่ต้องอพยพมาเนื่องจากเจ้าหน้าที่ห้ามไม่ให้หักร้างถางพง ทำให้ไม่สามารถทำมาหากินได้ จึงได้พากันอพยพมาอยู่ที่บ้านจำปุย
- กลุ่มที่ 3 เป็นคนเมือง ได้อพยพมาตั้งบ้านอยู่ทางตอนใต้ของบ้านจำปุย ซึ่งครั้งแรกมาประมาณ 3 ครอบครัว เพื่อมาทำไร่ทำสวน ประกอบด้วย ครอบครัวนายมูล ท้าวเขื่อน เป็นครอบครัวดั้งเดิม ครอบครัวนายหนุน วงศ์ทอง อพยพมาจากบ้านท่าสี และครอบครัวนายไข่ เกสร อพยพมาจากบ้านศรีปรีดา บ้านแลง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ภายหลังพื้นที่นี้ได้เรียกตัวเองว่าชื่อ บ้านปงผักหละ
- กลุ่มที่ 4 เป็นชนเผ่าปกาเกอะญอ ได้อพยพมาอยู่ประมาณ 100 กว่าปีมาแล้ว ปัจจุบันมีประมาณ 50 ครอบครัว นับถือศาสนาคริสต์ทั้งหมด และภายหลังยังมีชุมชนชาวลาวเทิง (ขมุ) อาศัยอยู่ภายในหมู่บ้านอีกกว่า 30 หลังคาเรือน และตั้งชื่อชุมชนว่า บ้านห้วยตาด
ลักษณะพื้นที่และภูมิประเทศทั่วไปของหมู่บ้านจำปุย เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพื้นที่ส่วนมากเป็นป่าที่มีโขดหินอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ที่อนุญาตให้ใช้เป็นพื้นที่หากิน มีเพียงบ้านไม่กี่หลังที่มีโฉนดที่ดินเป็นของตัวเอง มีลำห้วยเล็ก ๆ ไหลผ่านกลางหมู่บ้าน ทั้งนี้ยังมีค่ายทหารประตูผาอยู่ในพื้นที่ของหมู่บ้านอีกด้วย
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่บ้านปางหละ อําเภองาว
- ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่บ้านท่าสี ตําบลบ้านดง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่บ้านขุนแม่หวด อําเภองาว
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่บ้านบ้านกลาง ตำบลบ้านดง
การคมนาคมขนส่ง
ในหมู่บ้านจำปุย ถนนภายในหมู่บ้านส่วนมากเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ชาวบ้านส่วนใหญ่เดินทางด้วย รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ส่วนตัว เนื่องจากจำเป็นในการเข้าป่า เมื่อต้องการเดินทางเข้าไปในตัวเมืองลำปาง จะต้องอาศัยรถตู้ ลำปาง-งาว ซึ่งจะมีรถผ่านมาทุก ๆ ครึ่งชั่วโมง นอกจากนั้นยังมีรถเมล์เขียวที่จะผ่านมาเส้นทางนี้ ซึ่งจะมาถึงหมู่บ้านจำปุยเวลาประมาณ 4-10 นาฬิกา ระยะห่างจากหมู่บ้านถึงที่ว่าการอำเภอแม่เมาะ ประมาณ 38 กิโลเมตร ระยะห่างจากหมู่บ้านถึงตัวเมืองลำปางประมาณ 48 กิโลเมตร
จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2566 ระบุจำนวนครัวเรือนและประชากรชุมชนบ้านจำปุย จำนวน 237 ครัวเรือน ประชากรรวมทั้งสิ้น 815 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 469 คน หญิง 346 คน คนในชุมชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่รวมกันตามแต่ละชาติพันธุ์ โดยมีชาติพันธุ์ คนพื้นเมือง, ปกาเกอะญอ, เมี่ยน และขมุ
กำมุ, ปกาเกอะญอ, อิ้วเมี่ยนบ้านจำปุยมีกลุ่มองค์กรชุมชนและกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย แต่ละคนมีบทบาทในการพัฒนาหมู่บ้าน อย่างสอดประสานกัน ทั้งด้านการปกครองและพัฒนา โดยมีการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ดังนี้
- กลุ่ม กข.คจ.บ้านจำปุย : เป็นกองทุนแก้ไขปัญหาความยากจนในหมู่บ้านสมาชิกสามารถกู้เงิน เพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพหรือตามความจำเป็นต่าง ๆ
- กลุ่มธนาคารหมู่บ้านรักษ์แม่เมาะ : เป็นแหล่งออมทรัพย์ของหมู่บ้าน สมาชิกสามารถกู้เงินเพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพหรือตามความจำเป็นต่าง ๆ และมีสวัสดิการคือ เมื่อสมาชิกเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลจะได้รับค่ารักษาพยาบาล
- กลุ่มออมทรัพย์สัจจะ : เป็นการออมเงินในรูปแบบเงินสัจจะส่งเสริมให้มีความสามัคคี การทำงานร่วมกัน และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะมีการออมทุกเดือน ขั้นต่ำ 20 บาท/เดือน สมาชิกสามารถกู้เงินเพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพ หรือตามความจำเป็นต่าง ๆ
- กลุ่มแม่บ้าน : เป็นจิตอาสาในการช่วยเหลือจัดการกิจกรรมในชุมชน เช่น งานมงคล งานบวช งานฌาปนกิจ
- กลุ่มเยาวชน : เป็นจิตอาสาในการช่วยเหลือจัดการกิจกรรมในชุมชน เช่น งานมงคล งานบวช งานฌาปนกิจ
- กลุ่มฌาปนกิจ : ทุกคนในหมู่บ้านเป็นสมาชิก เป็นการช่วยเหลือเมื่อมีคนเสียชีวิต
- กลุ่มผู้สูงอายุ : เป็นจิตอาสาในการช่วยเหลือจัดการกิจกรรมในชุมชน เช่น งานมงคล งานบวช งานฌาปนกิจ
- กองทุนหน่อไม้ : เป็นกองทุนที่เก็บเงินจากผู้ที่มีรายได้ในการขายหน่อไม้ เพื่อใช้เป็นทุนใน การทำกิจกรรมดูแลทรัพยากรธรรมชาติ เช่น กิจกรรมทำแนวกันไฟ ค่าตอบแทนยามจุดเฝ้าระวังและยามลาดตระเวนตามแนวกันไฟ (ห้วยตาด)
- กลุ่มกองทุน 10 ลด : กองทุนทางด้านศาสนาที่รับเงินบริจาค เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมของหมู่บ้านและช่วยเหลือคนยากจน (ห้วยตาด)
- กลุ่มธนาคารข้าว : เป็นกลุ่มที่ดูแลจัดเก็บข้าวสารของหมู่บ้านขาดแคลน เพื่อป้องกันปัญหาข้าว (ห้วยตาด)
- กลุ่มสตรี (คริสเตียน) : เป็นจิตอาสาในการช่วยเหลือจัดการกิจกรรมในชุมชน ให้สวัสดิการดูแล ช่วยเหลือดูแลผู้ต้องการความช่วยเหลือในชุมชน เช่น กิจกรรมเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำงานได้ (ห้วยตาด)
- กลุ่ม อสม. : เป็นจิตอาสาในการช่วยเหลือจัดการกิจกรรมในชุมชนในเรื่องสาธารณสุข หมู่บ้าน ดูแลกลุ่มวัยเด็กทารก เด็กปฐมวัย, วัยเด็กวัยรุ่น, เยาวชน, หญิงตั้งครรภ์, วัยทำงาน, ผู้ป่วยติดเชื้อ, ผู้ป่วยทางสังคม, ผู้ป่วยติดเตียง และกลุ่มวัยชรา
- กลุ่มอาชีพ : อาทิ กลุ่มเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา กลุ่มทำนา กลุ่มปลูกข้าวโพด กลุ่มแกะสลักไม้ กลุ่มสมุนไพร กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า กลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง เป็นต้น
วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม
ประเพณีของชาวบ้านจำปุย
- ประเพณีทำบุญทานศาสนาคริสต์ ทุกวันอาทิตย์เข้าโบสถ์นมัสการพระผู้เป็นเจ้า มีการแยกเวลา แยกเป็นอนุชนสตรี คณะบุรุษ เนื่องจากวันอาทิตย์เป็นวันบริสุทธิ์ ชาวบ้านจะหยุดทำงาน ทุกคนแต่งชุดประจำเผ่า
- พิธีนมัสการพระเจ้าทั้งหมดของหมู่บ้าน ทุกวันพุธ เป็นกึ่งกลางของสัปดาห์ มีการจัดนมัสการพระเจ้าทั้งหมดของหมู่บ้าน
- วันอีสเตอร์ จัดขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปี มีการทำอาหารแต่ละครัวเรือน มีทำไข่ต้ม อาหาร ทำขนม น้ำหวาน รับประทานอาหารร่วมกัน หลังจากนั้นไปนมัสการพระเยซูที่สุสานของหมู่บ้าน
- วันคริสต์มาส จัดขึ้นทุกวันที่ 24-25 ธันวาคมของทุกปี เวลากลางวันจะมีการแข่งขันกีฬา เวลากลางคืนจะมีการแสดงและนมัสการพระเจ้าร่วมกัน หลังจากนั้นจะมีการร้องเพลงเฉลิมฉลอง เป็นการอวยพรปีใหม่ทั้งหมู่บ้าน
- เทศกาลของศาสนาคริสต์ เทศกาลถวายขอบคุณ หลังฤดูเก็บเกี่ยวในช่วงกลางเดือนธันวาคมของทุกปี
- วันปีใหม่ จัดขึ้นวันที่ 1-7 มกราคม ของทุกปี จะมีการจัดงานนมัสการพระเยซูร่วมกันในโบสถ์ทุกคืน
- ประเพณีตรุษจีนของชาวเย้า (จำปุย) จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นประเพณีกินไข่แดง ไหว้บรรพบุรุษ ชาวบ้านจะหยุดพักทำงาน 3 วัน มีวันไหว้ วันเที่ยวและวันหยุด แล้วจะกลับมาทำงานเหมือนเดิม
วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ
การประกอบอาชีพในหมู่บ้านนั้นหมุนเวียนกันทำตลอดทั้งปี คือ ชายสมุนไพร หาของป่าต่าง ๆ ทั้งพืช สัตว์ ไม้ การเกษตร เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยางพารา กล้วย ฝรั่ง เป็นต้น และนอกจากนั้นยังมี การรับจ้างทั่วไป หมู่บ้านจำปุยเป็นหมู่บ้านที่สามารถหารายได้ได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากมีถนนสายพหลโยธินตัดผ่าน เป็นเส้นทางไปสู่จังหวัดเชียงราย และยังมีป่า ที่มีทุนทางธรรมชาติที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน
1.นายบุญยัง เกี๋ยงแก้ว
บทบาทและความสำคัญต่อชุมชนบ้านจำปุย
- ปราชญ์ด้านหมอยาสมุนไพรพื้นบ้าน มีความสามารถในการใช้พืชสมุนไพร พื้นบ้าน ได้แก่ สบู่เลือด ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยบริเวณเอวและหัวเข่า ศึกษาพืช สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังมีความรู้ด้านสล่าช่างไม้ ทำการเกษตรแบบ ผสมผสาน ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของหมู่บ้านและกรรมการวัด สำหรับ ความรู้ด้านสมุนไพรได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษและเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.นายสมนึก ทันตาเร็ว
บทบาทและความสำคัญต่อชุมชนบ้านจำปุย
- ปราชญ์ด้านหมอดิน มีความสามารถในการเพาะปลูกพืชไร่ เช่น ข้าว ข้าวโพด โดยอาศัย การทำการเกษตรแบบขั้นบันได ซึ่งเป็นวิธีการเพาะปลูกที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก บรรพบุรุษ นอกจากนี้ยังประกอบอาชีพเสริมด้วยการเลี้ยงปลา
3.นายวัน นามวงศ์
บทบาทและความสำคัญต่อชุมชนบ้านจำปุย
- ปราชญ์ด้านหมอยาสมุนไพรพื้นบ้าน มีความสามารถในการใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้าน เช่น เป้าเลือด สบู่เลือด ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้ ซึ่งความรู้ด้านสมุนไพรนี้ได้รับ การถ่ายทอดมาจากลุงของเขาเอง และใช้ระยะเวลาในการศึกษาประมาณ 4-5 ปี
4.นางอชิรญาณ์ ต่อตัน (ครูหมู)
บทบาทและความสำคัญต่อชุมชนบ้านจำปุย
- ปราชญ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ มีความสามารถในการเพาะปลูกพืชกาแฟและเป็นผู้ริเริ่มการท่องเที่ยวแนวเกษตรเชิงนิเวศน์สำหรับหมู่บ้านจำปุย
5.นายสุพล กันทานันท์
บทบาทและความสำคัญต่อชุมชนบ้านจำปุย
- ปราชญ์ด้านหมอยาสมุนไพรพื้นบ้าน มีความสามารถในการเสาะหาและ เก็บพืชสมุนไพรพื้นบ้านจากป่าของชุมชน เพื่อนำมาใช้เป็นยารักษาอาการเจ็บป่วย ต่าง ๆ และนำมาขายเป็นรายได้ โดยความรู้ด้านสมุนไพรนี้ได้รับการถ่ายทอดมาจาก บิดามารดาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก
6.นางศรีวรรณ ผ่านศิริกุล
บทบาทและความสำคัญต่อชุมชนบ้านจำปุย
- ปราชญ์ด้านหมอยาสมุนไพรพื้นบ้าน มีความสามารถในการเสาะหา และเก็บพืชสมุนไพรพื้นบ้านจากป่าของชุมชน เช่น ยาแก้นิ่ว ยาคลายเส้นบรรเทา อาการปวดเมื่อย โดยอาศัยการสังเกตลักษณะทางกายภาพของพืชสมุนไพรนั้น ๆ สำหรับความรู้ด้านพืชสมุนไพรนี้ได้รับการถ่ายทอดมาจากบิดามารดา นอกจากนี้ยัง ประกอบอาชีพขายยาสมุนไพรเป็นอาชีพเสริมด้วย
7.นางสาวปณิตา แซ่จ๋าว
บทบาทและความสำคัญต่อชุมชนบ้านจำปุย
- ปราชญ์ด้านศิลปหัตถกรรม มีความสามารถในการตัดเย็บชุดประจำเผ่าเย้า การเย็บปักถักร้อย การทําเครื่องประดับเงิน และยังมีความสามารถในการทำเครื่อง จักสานด้วยไม้ไผ่ เช่น ก๋วย แจ๊ก เป็นต้น สำหรับความรู้ได้รับการถ่ายทอดมาจาก บรรพบุรุษ ปัจจุบันได้มีการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านนี้ให้กับกลุ่มเยาวชนบ้านจำปุย เพื่ออนุรักษ์และสืบสานต่อไป
8.นายวิเชียร อุ่นมิ้ม
บทบาทและความสำคัญต่อชุมชนบ้านจำปุย
- ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร ทำสวนมานานกว่า 20 ปี ซึ่งสวนของลุงเชียรเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป โดยในสวนจะปลูกพืช อาทิ เงาะ, ทุเรียน, ฝรั่ง, ส้มโอ, กระท้อน, มะละกอ, มะพร้าว, ลำไย, ลิ้นจี่, กล้วย, พริก, มะเขือ, นาข้าว, มะยงชิด, สตอ, สละ, มะม่วง, มะไฟ, แก้วมังกร, มะยม, ขนุน, มะขาม เป็นต้น
ทุนกายภาพ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- มีการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ โดยการใช้พื้นที่ป่าชุมชนในการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน เช่น การเก็บหน่อไม้ในพื้นที่ป่าเพื่อนำไปขายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน การปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนโดยกันเป็นเขตป่าชุมชน ร่วมกันทำฝายชะลอน้ำ ฝายแม้ว หรือแม้กระทั่งการทำแนวกันไฟ เพื่อส่งเสริมการหวงแหนรักษาป่าไว้ในชุมชน
ทุนสังคม
ด้านการวางแผนชุมชน
- บ้านจำปุย มีการวางแผนร่วมกันโดยคนในชุมชนร่วมกันสะท้อนปัญหา จัดลำดับความสำคัญ สู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โครงการที่เกินศักยภาพของหมู่บ้านจะส่งให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดงจัดสรร งบประมาณดำเนินการตามความสำคัญของโครงการที่หมู่บ้านได้จัดลำดับสำคัญไว้ และบางส่วนจะส่งต่อไปยัง กองทุนรอบโรงไฟฟ้า ที่มีอยู่ในพื้นที่
ด้านสาธารณสุข
- หมู่บ้านจำปุย ไม่มีปัญหาด้านการรับบริการด้านสาธารณสุขเบื้องต้น เพราะมี อสม. ทำงานกันอย่างเป็นระบบมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยการประชาสัมพันธ์ออกเยี่ยมบ้าน ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด มีการคัดกรองผู้ป่วยความดัน เบาหวาน เบื้องต้นก่อนนำผู้ป่วยรับการรักษาที่โรงพยาบาลต่อไป
บ้านจำปุยเป็นหมู่บ้านที่เกิดจากการรวมกลุ่มชุมชนของ 4 เผ่า ได้แก่ คนเมือง เผ่าเย้า ขมุ และเผ่าปกาเกอะญอ โดยได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานรวมกัน โดยภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร และตัวอักษรที่ใช้เขียนของแต่ละกลุ่ม จะเป็นลักษณะเฉพาะประจำกลุ่มของตนเอง แต่ในปัจจุบันการใช้ภาษาประจำกลุ่มของชุมชนเริ่มลดลง คนรุ่นใหม่เริ่มใช้ภาษาพื้นเมืองมากขึ้น ทำให้ไม่มีผู้สืบทอดภาษาดั้งเดิมจึงค่อย ๆ เลือนหายไป ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมประเพณี แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขสามัคคี
ความท้าทายในชุมชน
บ้านจำปุย บ้านปงผักหละ และบ้านห้วยตาด มีพื้นที่ต่อต้องการปกครองมากขึ้น
ทิศทางการพัฒนาผู้ใหญ่บ้านจำปุย มีแนวคิดการบริหารจัดการหมู่บ้านโดยยึดรูปแบบการมีส่วนร่วมของ คนในหมู่บ้าน เน้นความหลากหลายของกลุ่มและช่วงอายุ มีคณะกรรมการหมู่บ้านและคณะทำงานฝ่ายต่างๆ โดยคณะกรรมการหมู่บ้านแต่ละฝ่ายแกนนำร่วมกันจัดทำข้อมูลปัญหา และความต้องการของประชาชนนำเข้าสู่เวทีประชาคมหมู่บ้าน ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านและนำเสนอแผนโครงการที่ร่วมกันจัดทำขึ้นเป็นเครื่องมือในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิธีการทำงานเน้นการรวมกลุ่มกันทำงานด้านอาชีพเพื่อช่วยให้ สามารถลดต้นทุนการผลิต เช่น ค่าปุ๋ย ค่าเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น
ความท้าทายในชุมชน
ปัญหาในหมู่บ้านที่พบบ่อย คือ เรื่องยาเสพติด วิธีดำเนินการนำผู้เสพยาเข้ารับการบำบัด หลังจากการเข้ารับการบำบัดมีการส่งเสริมฝึกอบรมอาชีพ และมีการติดตามผลการบำบัด
ปัญหาการทะเลาะเบาะแว้ง วิธีดำเนินการ ผู้ใหญ่บ้านจะเรียกคู่กรณีมาไกล่เกลี่ยโดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านร่วมด้วย ถ้าไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้จะส่งต่อตำรวจ
โรคที่พบในหมู่บ้าน เช่น เป็นโรคตามฤดูกาล โรคไข้เลือดออก ด้วยวิถีชาวบ้านที่มีชีวิตเรียบง่าย ขาดความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรค
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานภายใต้โครงการ การขับเคลื่อนแนวนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
โครงการศึกษาเรียนรู้ชุมชนการจัดทำแผนที่ทางสังคม Social Mapping หมู่บ้านจำปุย หมู่ 4 ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง 2556
รายงานการวิจัยชุมชนตำบลบ้านดง จังหวัดลำปาง
สมบูรณ์ คำปลิว, สัมภาษณ์, เมษายน 2566