Advance search

ชุมชนชาวไทพวน ริมแม่น้ำโขง วิสาหกิจชุมชนผักปลอดสารพิษ

วิศิษฐ์
บึงกาฬ
บึงกาฬ
วิสาหกิจชุมชนผักปลอดสารพิษ โทร. 0-4249-1024
รัตนากร โค้วเจริญสุข
12 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
19 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
19 ก.พ. 2024
บ้านพันลำ


ชุมชนชาวไทพวน ริมแม่น้ำโขง วิสาหกิจชุมชนผักปลอดสารพิษ

วิศิษฐ์
บึงกาฬ
บึงกาฬ
38000
18.39746
103.61050
เทศบาลตำบลวิศิษฏ์

ชาวไทพวนอพยพมาตั้งแต่สมัยสงครามปราบฮ่อ ในสมัยรัชกาลที่ 3 บางส่วนอพยพมาเพิ่มเติมในสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณบ้านอาฮง ตำบลหอคำ บ้านพันลำ บ้านหนองแวง บ้านดอนเจริญ บ้านแสนเจริญ บ้านนาป่าน บ้านหนองนาแซง

ตามคำบอกเล่าของชาวบ้านแถบนี้ ชาวไทพวนอพยพมาจากเมืองเชียงขวาง หนีศึกสงครามฮ่อล่องแพมาตามลำน้ำเงียบ โดยมีหลวงตาโพ่น หรือพญาพ่อผ้าขาวเป็นผู้นำพาชาวบ้านหลบหนีภัยสงครามมาอยู่ที่บ้านน้ำเงียบ สปป.ลาวในตอนแรก ต่อมาได้เกิดการแพร่ระบาดของอหิวาตกโรค ทำให้มีการย้ายที่อยู่มาที่หมู่บ้านพันลำในปัจจุบัน

ปัจจุบัน เทศบาลเมืองบึงกาฬ จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องยุบเลิกเทศบาลตำบลวิศิษฐ์ รวมองค์การบริหารส่วนตำบลบึงกาฬ กับเทศบาลตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ และเปลี่ยนแปลงเขตและฐานะเป็นเทศบาลเมืองบึงกาฬ ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 มีผลบังคับใช้ในวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับ แม่น้ำโขง
  • ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลโป่งเปือย,ตำบลไคสี
  • ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลโคกก่อง
  • ทิศใต้ ติดกับ ตำบลโนนสมบูรณ์

ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศของเทศบาลตำบลบึงกาฬ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่ ใช้สำหรับอยู่อาศัยและค้าขาย

มีลักษณะอากาศจัดอยู่ในจำพวกฝนแถบร้อนและแห้งแล้ง (ธันวาคม - มกราคม) ในฤดูมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะเริ่มลดในเดือนพฤศจิกายนและต่ำสุดในเดือนช่วงธันวาคมถึงเดือนมกราคม ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมเป็นฤดูเปลี่ยนมรสุมเหนือ อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนมีนาคมและร้อนจัดในเดือนเมษายน ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (มิถุนายน - กรกฎาคม) อุณหภูมิโดยทั่วไปจะลดลงในเดือนตุลาคมเป็นฤดูเปลี่ยนมรสุมใต้ อุณหภูมิจะเริ่มลดลงจนอากาศหนาวเย็น

ลักษณะของดิน: ในพื้นที่เป็นดินร่วน ดินเหนียว

ลักษณะของแหล่งน้ำ: มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำโขง และหนองบึงกาฬ

ลักษณะของไม้และป่าไม้: ในเขตเทศบาลไม่มีป่าไม้ แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ

จากข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2562 ระบุจำนวนครัวเรือนและประชากรชุมชนบ้านพันลำ จำนวน  223 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด รวม 462 คน แบ่งเป็นประชากรชายจำนวน 223 คน และจำนวนประชากรหญิงจำนวน 243 คน ประชากร ส่วนใหญ่เป็นชาวไทพวน

ไทยพวน

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักปลอดสารพิษบ้านพันลำ 

ชาวบ้านมีการใช้พื้นที่ริมแม่น้ำโขงเป็นพื้นที่การเกษตร ปลูกพืชผักสวนครัวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักปลอดสารพิษแบบขั้นบันได ริมตลิ่งขายสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักปลอดสารพิษบ้านพันลำจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 มีสมาชิก จำนวน 70 ราย มีการจัดสรรพื้นที่ให้สมาชิก รายละประมาณ 100-150 ตร.ม.โดยขอใช้พื้นที่จากกรมเจ้าท่าสาขาหนองคาย ชนิดพืชหลักที่ปลูก ได้แก่ บร๊อคโคลี่ ผักกาดหอม ผักคะน้า ผักชี ต้นหอม พริก มะเขือเทศ โดยกลุ่มเกษตรกรได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) และเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวน้ำในแม่น้ำโขงลดลง ชาวบ้านบ้านพันลำก็อาศัยพื้นดินริมตลิ่งทำแปลงปลูกผักโดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ทำแปลงผักแบบขั้นบันได ยิ่งแม่น้ำโขงลดลงมากก็จะมีพื้นที่ปลูกผักมากขึ้น อีกทั้งดินที่มีน้ำท่วมถึงจะมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชผักไหลมากับน้ำ เมื่อน้ำโขงลดลงสารอาหารเหล่านั้นก็ตกตะกอนทับถมกับพื้นดินริมแม่น้ำโขงจึงเหมาะกับการเพาะปลูก สามารถตัดขายสร้างรายได้ไม่น้อยกว่า 1,000-1,500 บาทต่อวัน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

วัดป่าบ้านพันลำ

วัดป่าบ้านพันลำตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง บ้านพันลำ ตำบลวิศิษฐ์ บริเวณโดยรอบโอบล้อมด้วยผืนป่า เป็นวัดมหานิกาย มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือ หลวงพ่อศิลา เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร แกะสลักจากหิน หน้าตักกว้าง 40 นิ้ว เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชน ทางวัดมีการจัดอบรมการปฏิบัติธรรมให้กับพระภิกษุ สามเณร แม่ชี ประชาชนทั่วไป และในช่วงหน้าแล้งจะปรากฏหาดทรายบริเวณหน้าวัดที่ติดริมแม่น้ำโขง พระอาจารย์เจ้าอาวาสจะนำผู้ปฏิบัติธรรมลงไปเดินจงกรมบนหาดทราย กลายเป็นภาพที่น่าประทับใจ ต่อมาทางวัดจึงจัดให้มีการปฏิบัติธรรมเป็นเวลา 7 วัน ในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี

อาหาร 

“โอดบอน” มีลักษณะคล้าย ๆ กับน้ำพริกที่ทำมาจากใบบอน มีวัตถุดิบส่วนผสม คือ ใบบอน ปลายข้าว พริกสด กระเทียมดอง หอมแดง มะเขือ เนื้อปลา เกลือป่น ใบมะขามอ่อน น้ำปลา หรือน้ำปลาร้า

การแต่งกาย

เครื่องแต่งกายจะมีลักษณะเป็นผ้าฝ้าย ย้อมคราม หรือย้อมสีเปลือกไม้เป็นหลักสตรีจะนุ่งผ้าถุงทอลวดลายคั่นทั่วไป แต่จะเน้นตีนซิ่นที่การทอผ้าขิดลายสัตว์มงคล เช่น ช้าง ม้า หงส์หรือลายดอกไม้ เช่น ดอกพิกุล ดอกดาวเรือง และจุดเด่นจะอยู่ที่ผ้าสไบที่จะทอลายขิดที่เชิงเป็นลายดอกดาวเรืองผสมลายเรขาคณิต การแต่งกายในรูปแบบเดิม หญิงมักไว้ผมยาวมุ่นเกล้าไว้ด้านหลัง ใช้ผ้าพันรอบอกแทนการสวมเสื้อ นุ่งซิ่นตีนจกหรือสีพื้น แทรกลายขวาง บางถิ่นนิยมนุ่งซิ่นมัดหมี่ ชายมักนุ่งกางเกงขาก๊วยสีดำและใส่เสื้อสีดำ

ภาษาพวน หรือภาษาลาวพวน เป็นภาษาในตระกูลขร้า-ไท ที่มีผู้พูดในประเทศไทย ลาว และกัมพูชา โดยเป็นภาษาของชาวไทพวน หรือลาวพวน คำศัพท์ใกล้เคียงกับภาษาลาวและภาษาไทยถิ่นอีสานมากกว่าภาษาไทยภาคกลาง เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกันกับภาษาภูไทมาก


จากที่ใช้แรงงานคนและแรงงานสัตว์เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรเข้ามามีบทบาทสำคัญส่งผลต่อความใกล้ชิดสมานสามัคคีของคนในชุมชนนับวันจะห่างเหิน เพราะกิจกรรมที่พึ่งพาอาศัยกันระหว่างเพื่อนบ้านถูกทดแทนด้วยเครื่องจักร


การเปลี่ยนแปลงประเพณีหรือความเชื่อบางอย่างเริ่มสูญหายเพราะวิถีชีวิตของชาวไทยพวนปรับตามวิถีสังคมปัจจุบัน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.). (2565). วัดป่าบ้านพันลำ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก https://thai.tourismthailand.org/

เทศบาลเมืองบึงกาฬ. (2561). เทศบาลตำบลวิศิษฐ์. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.buengkhanml.go.th/

สยามรัฐ. (2565). กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านพันลำเมือง จ.บึงกาฬปลูกผักปลอดสารพิษริมน้ำโขงตามแนวทางศก.พอเพียงในหลวงรัชกาลที่ 9 สร้างรายได้อย่างงามเลี้ยงครอบครัว. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก https://siamrath.co.th/

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดบึงกาฬ. (2565). รายงานสถานการณ์ทางสังคม จังหวัดบึงกาฬ. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

buengkan_admin. (2565). ไทพวน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก http://www.m-culture.in.th/

วิสาหกิจชุมชนผักปลอดสารพิษ โทร. 0-4249-1024