Advance search

เวียงเมืองเก่า ไดโนเสาร์ล้านปี มากมีป่าไม้ กราบไว้เจ้าจอม พรั่งพร้อมธรรมชาติ งามพิลาศอุทยาน

หมู่ที่ 5
บ้านหนองคา
ในเมือง
เวียงเก่า
ขอนแก่น
เทศบาลในเมือง โทร. 0-4343-8037
ศิราณี ศรีหาภาค
4 เม.ย. 2023
วีรภัทร ศรีทำบุญ
4 เม.ย. 2023
veerapat srithamboon
19 เม.ย. 2023
บ้านหนองคา

เดิมบ้านหนองคา เป็นหมู่ที่ 9 ตำบลในเมือง และแยกเป็นหมู่ที่ 6 ตอนแยกตำบลเขาน้อยออก เมื่อพ.ศ. 2513 ต่อมาแยกเป็นหมู่ที่ 5ตำบลในเมืองจนปัจจุบัน ซึ่งในอดีตบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านมีหนองน้ำกลางหมู่บ้าน บริเวณหนองน้ำมีต้นคล้าจำนวนมาก ชวนบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามลักษณะที่ตั้ง ชื่อหมู่บ้านหนองคล้า ต่อมามีการเรียกชื่อหมู่บ้านเพี้ยนมาเป็น บ้านหนองคา ดังที่เรียกในปัจจุบัน


ชุมชนชนบท

เวียงเมืองเก่า ไดโนเสาร์ล้านปี มากมีป่าไม้ กราบไว้เจ้าจอม พรั่งพร้อมธรรมชาติ งามพิลาศอุทยาน

บ้านหนองคา
หมู่ที่ 5
ในเมือง
เวียงเก่า
ขอนแก่น
40150
16.6762
102.2956
เทศบาลตำบลภูเวียง

บ้านหนองคาเป็นหมู่บ้านหนึ่งในอำเภอเวียงเก่า เดิมเป็นอำเภอภูเวียง ประวัติความเป็นมา ภูเวียงเป็นเมืองเก่ามาแต่โบราณกาล โดยจะเห็นได้ว่าเมื่อแรกตั้ง จังหวัดขอนแก่น มีเพียง 3 เมืองเท่านั้น คือ เมืองชนบท เมืองภูเวียง และเมืองขอนแก่น โดยที่เมืองภูเวียงเป็นเมืองที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตก คนทั้งหลายมักจะเรียกเมืองภูเวียงว่าเป็น "หัวเมืองเอกฝ่ายตะวันตก" ตามประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค ของอำเภอภูเวียง ปรากฏว่าเมืองประมาณ พ.ศ.2300 มีพรานป่าคนหนึ่งชื่อสิงห์ ภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็น "กวนทิพย์มนตรี" ได้เข้าไปล่าเนื้อในเขาภูเวียง กวนทิพย์มนตรีเดิมอยู่บ้าข่าเชียงพิณ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ได้เห็นในวงภูเวียงเป็นทีราบน้ำท่าอุดมสมบูรณ์เป็นทำเลที่เหมาะสมแก่การทำมาหากิน จึงชักชวนพี่น้องเข้าไปตั้งหลักฐานบ้านเรือนครั้งแรก อพยพไปประมาณ 10 ครอบครัว ไปตั้งบ้านบริเวณบริเวณ"ด่านช้างชุม" เพราะที่ตรงนั้นมีโขลงข้างป่ามารวมกันมาก คือ บ้านเมืองเก่าในปัจจุบัน ขณะนั้นพื้นแผ่นดินภูเวียงขึ้นกับประเทศลาว ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชของประเทศไทย เมื่อกวนทิพย์มนตรีไปตั้งบ้านเรือน ณ ดังกล่าวและต่อมามีประชาชนเมืองยโสธร นครจำปาศักดิ์ และนครเวียงจันทร์ เข้าไปอยู่จำนวนมาก บ้านเมืองก็ขยายออกไปหลายหมู่บ้าน ทางเจ้าเมืองเวียงจันทร์ได้แต่งตั้งให้กวนทิพย์มนตรีเป็นเจ้าเมืองภูเวียง ส่งผ้าขาวเป็นเครื่องบรรณาการ แก่เมืองเวียงจันทร์ 

ต่อมากวนทิพย์มนตรีถึงแก่กรรม จึงตั้งท้าวศรีสุทอ น้องชาย เป็นเจ้าเมืองแทน ในระหว่างนั้น พระวอพระตาเป็นกบฏ ต่อเมืองผู้ครองนครเวียงจันทร์ และได้หลบตัวมาอยู่ในเมืองโกมุทไสย์ (จังหวัดหนองบัวลำภู) ต่อมาเจ้านครเวียงจันทร์สั่งให้ทหารจับพระวอพระตา เมื่อพระวอพระตารู้ตัวจึงหลบหนีไปอยู่ดอนมดแดงแขวงเมืองอุบลราชธานี เจ้านครเวียงจันทร์สั่งให้แม่ทัพคุมทหาร ติดตามไปจับพระวอพระตาประหารชีวิต ความทราบถึงพระเจ้าตากสินทราบพิโรธ เห็นเจ้านครเวียงจันทร์ดูหมิ่นพระเดชานุภาพ และรุกล้ำแดนไทย จึงส่งให้เจ้าพระยาจักรี (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) และเจ้าพระยาสุรสิห์ (สมเดชกรมพระราชวังบวร) สองพี่น้องยกทัพไปปราบเจ้านครเวียงจันทร์ ปรากฏว่าพระยาจักรีตีนครเวียงจันทร์แตก และเข้ายึดเมืองนครเวียงจันทร์ และหลวงพระบางไว้ได้ ต่อมาท้าวศรีสุทอเจ้าเมืองภูเวียง ซึ่งอยู่ในความปกครองของเจ้าผู้ปกครองนครเวียงจันทร์ไหวตัวทัน จึงยอมอ่อนน้อมต่อพระยาจักรี และพระยาจักรีจึงสั่งให้ท้าวศรีสุทอกลับไปเป็นเจ้าเมืองภูเวียงดังเดิม และให้ขึ้นกับเจ้าเมืองหนองคายซึ่งเป็นเมืองใหญ่

เมื่อท้าวศรีสุทอถึงแก่กรรม ทางราชการได้แต่งตั้งเจ้าเมืองต่อจากท้าวศรีสุทอ ต่อมาอีก 2 คน เมื่อท้าวสุทอที่ 3 ถึงแก่กรรม พระศรีธงชัยเป็นเจ้าเมืองแทนเมืองพระศรีธงชัยถึงแก่กรรม ข้าหลวงจันทร์มาซึ่งส่งมาจากหนองคายเป็นเจ้าเมืองแทน แล้วจึงยุบภูเวียงเป็นอำเภอ ขึ้นตรงต่อจังหวัดขอนแก่น เมื่อประมาณปี พ.ศ.2369 ต่อมาภายหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารราชการใหม่ เมืองภูเวียงถูกลดฐานะแค่เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นในปี พ.ศ.2445 และย้ายอำเภอจากบ้านเมืองเก่ามาตั้งใหม่ที่บ้านเมืองใหม่ และมีการตั้งสถานที่ราชการ ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจและสุขศาลา ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ต่อมา พ.ศ. 2496 อำเภอภูเวียงได้เจริญเติบโต และได้ย้ายออกจากหุบเขาภูเวียงจากบ้านเมืองใหม่ออกมาตั้งในพื้นที่ด้านนอกในบริเวณอำเภอภูเวียงปัจจุบันเพื่อการเดินทางคมนาคมได้สะดวกรวดเร็วขึ้น และยังสามารถขยายเมืองออกไปเพื่อที่จะรองรับความเจริญในภายหน้า ต่อมาในปีพ.ศ. 2549 บริเวณเมืองภูเวียงเก่า (พื้นที่ในหุบเขา) ได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอเวียงเก่า และในปีถัดมา พ.ศ. 2550 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอเวียงเก่า

เดิมบ้านหนองคา เป็นหมู่ที่ 9 ตำบลในเมือง และแยกเป็นหมู่ที่ 6 ตอนแยกตำบลเขาน้อยออก เมื่อพ.ศ. 2513 ต่อมาแยกเป็นหมู่ที่ 5ตำบลในเมืองจนปัจจุบัน ซึ่งในอดีตบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านมีหนองน้ำกลางหมู่บ้าน บริเวณหนองน้ำมีต้นคล้าจำนวนมาก ชวนบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามลักษณะที่ตั้ง ชื่อหมู่บ้านหนองคล้า ต่อมามีการเรียกชื่อหมู่บ้านเพี้ยนมาเป็น บ้านหนองคา ดังที่เรียกในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2535 ผู้ใหญ่บ้าน(พ่อพิทักษ์ แก้วเวียง) ได้มีการปรับปรุงบูรณพื้นที่โดยถมที่บริเวณหนองน้ำเพื่อใช้พื้นที่เป็นที่ตั้งของศาลากลางบ้านในปัจจุบัน 

ลักษณะทางกายภาพ : ที่ตั้งชุมชนและอาณาเขต

บ้านหนองคา หมู่ที่ 5 อยู่ในเขต ต.ในเมือง อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นหมู่บ้านหนึ่งใน ต.ในเมือง อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น 40150 มีพื้นที่ 936 ไร่ มีตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ประมาณ 80 กิโลเมตร ห่างจากสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ประมาณ 84 กิโลเมตร ห่างจากที่ว่าการอำเภอเวียงเก่าประมาณ 0.5 กิโลเมตร

บ้านหนองคาตั้งอยู่ในพื้นที่หุบเขาภูเวียง โดยมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบในหุบเขา มีเขาภูเวียงล้อมรอบ ชุมชนที่ตั้งเป็นชุมชนชนบท ประชากรมีเชื้อชาติไทย สัญชาติไทยนับถือศาสนาพุทธ ลักษณะครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมแบบยังชีพ ทำนา ปลูกอ้อย ยางพารา มันสำปะหลัง นอกนั้นประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย รับราชการ และอื่น ๆ ฐานะทางเศรษฐกิจยากจนถึงปานกลาง จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 178 หลังคาเรือน ประชากร 569 คน เพศชาย 257 คน เพศหญิง 312 คน

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ จดบ้านเมืองใหม่
  • ทิศใต้ จดทุ่งนาบ้านโพธิ์
  • ทิศตะวันออก จดทุ่งนาบ้านเมืองเก่าตำบลเมืองเก่าพัฒนา
  • ทิศตะวันตก จดทุ่งนาบ้านหนองขาม

ลักษณะทางธรณีวิทยา

บ้านหนองคาเวียงเก่ารวมถึง จ.ขอนแก่น จากการสำรวจของนักธรณีวิทยา เขต 2 (ขอนแก่น ) พบว่าในอดีตพื้นที่นี้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำไหนผ่านที่มีความอุดมสมบูรณ์ของอาหารมาก่อน และเป็นแหล่งอาหารของไดโนซอว์ ต่อมาอาจจะประมาณยุคหลังคริเตเชียส เกิดการยุบยกของแผ่นเปลือกโลก และภูมิอากาศ เส้นทางน้ำเปลี่ยนแปลง เลยทำให้ไดโนซอว์บางส่วนตายลงถูกอัดลงไปในตะกอนทราย(หินทรายหรือหินอัคนีในปัจจุบัน) จนกลายเป็นฟอสซิลในกาลต่อมา ซึ่งในบริเวณที่เป็นภูเขาของเวียงเก่าน่าจะเกิดจากการยุบตัวลงของภูเขาจนกลายเป็นเวิ้ง เป็นหลุม จากส่วนที่เป็นท้องทะเลก็ถูกการเคลื่อนซ้อนของทวิปจะกลายมาเป็นภูเขาดังที่เห็นในปัจจุบัน

ลักษณะภูมิประเทศ

บ้านหนองคา หมู่ 5 ตำบลในเมือง สภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ราบ ในหุบเขามีเขาภูเวียงล้อมรอบเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารต่างๆมีลำห้วยขนาดเล็กหลายสายและพื้นที่บางส่วนเป็นเขตป่าสงวน ภูเขา เขตอุทยานแห่งชาติภูเวียง มีหนองน้ำขนาดใหญ่อยู่ใจกลางเป็นที่กักเก็บน้ำลักษณะดินเป็นดินร่วนปนซุย

ลักษณะภูมิอากาศ ประกอบด้วย 3 ฤดู ดังนี้

  • ฤดูร้อน : ช่วงระยะเวลาตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม โดยในฤดูร้อนจะมีสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งมาก โดยเฉพาะปี พ.ศ 2557-2558 แหล่งน้ำหนองคู แห้งเหือด ไม่มีน้ำกินน้ำใช้ จนกระทั่งมีโครงการขุดลอกของทางรัฐบาล ร่วมมีฝนตกในปี พ.ศ.2559 จึงทำให้หนองคูกลับมามีน้ำจนถึงปัจจุบัน
  • ฤดูฝน : ช่วงระยะเวลาตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม-ถึงเดือนตุลาคม ซึ่งฤดูฝนน้ำพอเหมาะแก่การทำการเกษตร (ทำนา) และยังพอสำหรับรองน้ำฝนไว้ใช้สำหรับบริโภคอีกด้วย
  • ฤดูหนาว : ช่างระยะตั้งแต่เดือนตุลาคม-ถึงเดือนกุมภาพันธ์

สภาพการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชน

สุขาภิบาลในชุมชนมีน้ำดื่มเป็นน้ำฝน โดยชาวบ้านหมู่ที่ 5 บ้านหนองคา จะมีโอ่งรองน้ำฝนขนาด 2000 ลิตร แทบทุกหลังคาเรือน ซึ่งเพียงพอสำหรับบริโภคใน 1 ปี โดยมีการควบคุมจากเจ้าหน้าที่กรมประปา ซึ่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจและให้ความรู้ชาวบ้านเกี่ยวกับการรองน้ำฝนให้สะอาดเพื่อบริโภค และบางครัวเรือนซื้อน้ำดื่ม พบว่าทุกครัวเรือนมีน้ำประปาจากหนองคู ไว้ใช้อุปโภค ด้านไฟฟ้าพบว่าทุกหลังคาเรือนมีไฟฟ้าใช้ และตามถนนภายในหมู่บ้านมีไฟฟ้าส่องแสงสว่างเพียงตามหัวมุมถนน ซึ่งทราบข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ใหญ่บ้านว่า พอเวลาหัวค่ำชาวบ้านต่างก็เข้าบ้าน และหมู่บ้านก็ไม่ใช่พื้นที่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ มีไฟฟ้าเพียงเท่านี้จึงเพียงพอแล้ว ส่วนการติดต่อสื่อสารนั้นจากการสำรวจพบว่า ไม่มีตู้โทรศัพท์สาธารณะในหมู่บ้านหนองคา และชาวบ้านส่วนใหญ่มีโทรศัพท์มือถือส่วนตัวใช้ในการติดต่อสื่อสาร

  • ลักษณะบ้านส่วนใหญ่เป็นบ้านชั้นเดียวและสองชั้น หลังเล็กและใหญ่สลับกับไป มีพื้นที่ใช้สอยในบ้านกว้างขวาง บางบ้านยกใต้ถุนบ้านสูง สภาพที่อยู่อาศัยมีสภาพคงทน บริเวณบ้านสะอาด อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีขยะเกลื่อนตามบริเวณบ้านหรือตามท้องถนน ไม่มีสัตว์หรือแมลงที่ทำให้ก่อโรคระบาด
  • ห้องน้ำห้องส้วมอยู่ตัวในและนอกตัวบ้านเป็นบางหลัง มีท่อระบายน้ำเป็นบางบ้าน
  • มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรเช่น การใช้สารเคมีในการฆ่าแมลงและกำจัดวัชพืช
  • มีถังขยะประจำแต่ละบ้านทุกหลังคาเรือน โดยตั้งกระจายตามมุมต่างๆของบ้าน มีรถเก็บขยะจากเทศบาลต.ในเมือง สัปดาห์ละ2หนึ่งครั้ง ได้แก่ ทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี โดยเก็บค่าขยะเดือนละ 10 บาท

สาธารณูปโภคในชุมชน

  • มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน
  • น้ำอุปโภคส่วนใหญ่ใช้น้ำประปาและน้ำซื้อในการบริโภค
  • โทรศัพท์สาธารณะ ร้าน ช ในเมือง ร้านอินเทอเน็ต ระบบกล้องวงจรปิด ATM 2 ตู้ 

การคมนาคม

การเดินทางเข้าสู่บ้านหนองคา ตำบลในเมือง อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น โดยเริ่มต้นจากจังหวัดขอนแก่น สามารถเดินทางสายขอนแก่น - ศรีบุญเรือง ไปตามถนนมะลิวรรณ (ทางหลวงหมายเลข 12) ถึง กม.ที่ 48 แยกขวาไปตามถนนกุดฉิม-ภูเวียง (ทางหลวงหมายเลข 2038) อีก 18 กม. ถึงที่ว่าการอำเภอภูเวียง แล้วตรงไปอีก 12 กม. ถึงที่ทำการ อบต.ในเมือง ถ้าใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 228 (ชุมแพ-ศรบุญเรือง-หนองบัวลำภู) เลี้ยวขวาทางหลวงหมายเลข 2133 (ภูเวียง - หนองนาคำ - ศรีบุญเรือง) เพื่อเข้าสู่อำเภอภูเวียง ระยะทาง 25 กม. ก่อนถึงที่ว่าการอำเภอภูเวียง ให้เลี้ยวขวาเพื่อเข้าสู่ตำบลในเมือง ระยะทาง 12 กม. จากนั้นเมื่อเข้าสู่ชุมชน และต้องการจะเดินทางติดต่อกับชุมชนใกล้เคียงหรือเดินทางเข้าเมือง โดยใช้ถนนลาดยางสายภูเวียง-เมืองใหม่ ซึ่งสามารถใช้บริการโดยรถตู้ประจำทาง โดยวิ่งวันละ 6 รอบ ได้แก่ 6.00 น. , 7.00 น. , 10.00 , 11.30 น. , 14.00,และรอบสุดท้าย 16.30 น. การเดินทางในชุมชน ชาวบ้านและผู้สัญจรไปมาใช้รถยนต์ส่วนตัว และรถจักรยานยนต์เป็นหลัก โดยใช้ถนนสาย หนองคา-อุทยานแห่งชาติภูเวียง ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น เป็นถนนสายหลัก ส่วนการเดินทางในระยะใกล้ๆ เช่น การมารักษาที่ อนามัยเฉลิมพระเกียรติ จะใช้การเดินเท้า จักรยาน และรถจักรยานยนต์เป็นหลัก มีแยกที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่บริเวณสามแยกวัดนายมวราราม บริเวณหน้าโรงเรียนภูเวียงวิทยายน สี่แยกหน้าร้านมินิมาร์ท ถนนหนทางในการเชื่อมต่อชุมชนเป็นถนนลาดยาง ถนนในชุมชนเป็นหลุมเป็นบ่อในบางพื้นที่ ชุมชนเป็นทางผ่านของ 14 หมู่บ้านและเป็นทางผ่าน ไปสู่อุทยานแห่งชาติ วัดถ้ำผาเกิ้ง น้ำตกตาดฟ้า ทำให้มีรถยนต์สัญจรเพิ่มมากขึ้น จากการสังเกตพบว่า หมู่บ้านหนองคาไม่มีสัญญาณไฟจราจร มีป้ายจราจร เขตชุมชนโปรดลดความเร็วอยู่บริเวณปากทางเข้าหมู่บ้าน 

จากการลงสำรวจประชากรทั้งหมดของบ้านหนองคา หมู่ที่ 5 ต.ในเมือง อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น มีประชากรรวมทั้งหมด 569 คน เป็นเพศชาย 259 คน เพศหญิง 310คน และมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 178 หลังคาเรือน แต่จากการสำรวจจริงนั้นพบว่ามีทั้งหมด 109 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 337 คนเป็นเพศชาย 140 คน เพศหญิง 197 คน

  • ช่วงอายุที่มีจำนวนประชากรสูงสุดคือ ช่วงอายุ  35-39 ปี จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 10.39
  • ช่วงอายุที่มีจำนวนประชากรต่ำสุดคือ ช่วงอายุ 65-69 ปี จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 2.0

จากข้อมูลของแผนกงานพัฒนาชุมชนและอําเภอ ประจําที่ว่าการ อําเภอหมู่ 5 บ้านหนองคา ต.ในเมือง อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น พบว่าจาก ประชากรจํานวน 569 คน มีประชากรทั้งหมด 569 คน นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 100

  1. กองทุนเงินล้าน
  2. กองทุนฌาปนกิจหมู่บ้าน
  3. ชมรมผู้สูงอายุ
  4. ชมรมออกกำลังกาย
  5. ชมรมแม่บ้าน

ประเพณีในชุมชน

ฮีตสิบสองที่มีในชุมชน โดยการบอกเล่าของคนในชุมชน

วัฒนธรรมของคนอีสานเป็นวัฒนธรรมที่มีความและทำสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นความเชื่อที่ดีที่สุดสำหรับภูมิภาคอีสาน ซึ่งเดิมในแคว้นสุวรรณภูมิล้วนมีวัฒนธรรมแต่โบราณมาวัฒนธรรมของคนอีสานสร้างคนให้เป็นคน สร้างคนให้ละจากความโลภ ความโกรธ ความหลงให้ทำคุณงามความดีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน มีฮีตมีคองอยู่ เรียกว่าฮีตสิบสองคองสิบสี่ ฮีตบ้านคองเมือง ฮีตพ่อคองพ่อฮีตเต่าคองเขยเลยมาสมสู่ขออยู่ อาสาเลี้ยงดูลูกตามิ่ง เป็นฮีตเป็นคองฮีตสิบสองของคนอีสานว่าไว้ตามลักษณะสิบสองเดือน แต่ละเดือนมีงานประเพณีกฎเกณฑ์ ตามกติกาสังคมอีสานวางไว้แต่สังคมบรรพบุรุษมา

ฮีตสิบสองของชาวอีสานส่วนที่กำเนิดจากคำสอน และความเชื่อของพระพุทธศาสนา จะคล้ายกับประเพณีของชาวพุทธในสังคมอื่น ส่วนฮีตที่เกิดจากความเชื่อในเรื่องผี อำนาจลึกลับและปัญหาในการดำรงชีวิตประจำวันของชาวอีสานจะมีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น ฮิตสิบสองเดือนมี ดังนี้

  • เดือนอ้าย (เดือนเจียง) : บุญขึ้นบ้านใหม่บุญกุ้มข้าวใหญ่
  • เดือนอ้าย (เดือนมกราคม ) : ชุมชนจะมีบุญกุ้มข้าวใหญ่ หรือ บุญคูนลาน เป็นประเพณีทำบุญที่ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวแล้วจะนำมานวดที่ลานนวดข้าว ก่อนนำข้าวไปเก็บในยุ้งฉาง เรียกว่า บุญคูนลาน โดยเชิญญาติพี่น้องมาร่วมทำบุญเพื่อร่วมบูชาแม่โพสพ โดยนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ โยงด้ายสายสิญจ์รอบกองข้าว ถวายอาหารบิณฑบาต เลี้ยงญาติมิตร พระสงฆ์อนุโมทนาประพรมน้ำพระพุทธมนต์ผู้ร่วมพิธี
  • เดือนยี่ : บุญข้าวจี่ นิมนต์สังฆเจ้าเข้ากรรมฯ ชาวบ้านเลี้ยงผีแถนและผีต่างๆ(บรรพบุรุษหรือบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ) การนิมนต์พระสงฆ์เจ้ามาเข้าปริวาสกรรมหรือเข้ากรรมนั้น เป็นพิธีกรรมเพื่อให้พระภิกษุผู้กระทำความผิดได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์ (มิใช่การล้างบาป) เป็นการฝึกความรู้สึกสำนึก วิจัยต่อความบกพร่องของตัวเอง ซึ่งตรงกันข้ามกับสังคมสมัยนี้ที่มีแต่โพนทะนาถึงความชั่วความผิดของผู้อื่นข้างเดียว
  • เดือนสาม : ในมื้อเพ็ง (วันเพ็ญ) ให้ทำบุญข้าวจี่และบุญมาฆะบูชา เริ่มพิธีทำบุญข้าวจี่ในตอนเช้าโดยใช้ข้าวเหนียวปั้นหุ้มน้ำอ้อยเอาไปปิ้งหรือจี่พอเกรียมแล้วชุบด้วยไข่ลนไฟจนสุกแล้วใส่ภาชนะไปตั้งไว้ในหัวแจก(ศาลาวัด)นิมนต์พระรับศีล แล้วเอาข้าวจี่ใส่บาตรนำถวายแด่พระภิกษุสงฆ์พร้อมด้วยอาหารอื่น เมื่อพระฉันเสร็จแล้วมีการแสดงพระธรรมเทศนาข้าวจี่ที่เหลือจากพระฉันก็แบ่งกันรับประทานจะถือว่าโชคดี
  • เดือนสี่ : บุญสงกรานต์ การทำบุญประเวศฟังเทศน์มหาชาติ มูลเหตุเนื่องมาจากพระคัมภีร์มาลัยหมื่นและมาลัยแสน ว่าผู้ใดปรารถนาที่จะได้พบพระศรีอริยเมตไตย์ หรือเข้าถึงศาสนาของพระพุทธองค์แล้วจงอย่าฆ่าตีบิดามารดา สมณพราหมณาจารย์ อย่ายุยงให้สงฆ์แตกสามัคคีกัน กับให้อุส่าห์ฟังธรรมเทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดกให้จบสิ้นภายในวันเดียวกัน เป็นต้น ในงานบุญนี้มักจะมีผู้นำของมาถวายพระซึ่งเรียกว่า "กัณฑ์หลอน" หรือถ้าจะเจาะจงถวายเฉพาะพระนักเทศน์ที่ตนนิมนต์มาก็เรียกว่า "กัณฑ์จอบ" เพราะต้องแอบซุ่มดูให้แน่เสียก่อนนอกจากนั้นในเดือนนี้ยังมีการทำบุญโดยหาดอกไม้มาตากไว้ด้วย
  • เดือนห้า : ทำบุญขึ้นปีใหม่หรือตรุษสงกรานต์ สรงน้ำพระพุทธบาท ไปเก็บดอกไม้ป่ามาบูชาพระในระหว่างบุญนี้ทุกคนจะหยุดงานธุรกิจประจำวัน โดยเฉพาะมีวันสำคัญดังนี้ คือ วันสังขารล่วง เป็นวันแรกของงานจะนำพระพุทธลงมาความสะอาดและตั้งไว้ ณ สถานที่อันสมควร แล้วพากันสรงพระด้วยน้ำหอม วันสังขารเน่า เป็นวันที่สองของงาน พากันทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว วันสังขารขึ้น เป็นวันที่สามของงงาน ทำบุญตักบาตรถวายภัตาหารแด่พระ-เณร แล้วทำการคารวะบิดามารดาและคนแก่ ส่งท้ายด้วยมีพิธีบายศรีสู่ขวัญ แล้วใช้น้ำที่เหลือใช้จากการรดน้ำให้ผู้ใหญ่น้ำ มารดให้แก่ผู้ร่วมงาน ภายหลังจึงแผลงมาเป็นการวิ่งไล่สาดน้ำกลั่นแกล้งกัน
  • เดือนหก : ทำบุญวันวิสาขบูชา มีการเทศน์ตลอดวัน ตลอดกลางคืนมีการเวียนเทียนในเดือนนี้มีงานบุญสำคัญอีกบุญหนึ่งคือ บุญสัจจะ หรือบุญบั้งไฟเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและขอฝน มีผลทางอ้อมเพื่อฝึกฝนให้รู้จักผสมดินปืนและให้ประชาชนมาร่วมสนุกสนานกันได้อย่างสุดเหวี่ยงก่อนจะลงมือทำนาซึ่งเป็นงานหนักประจำปี แต่ในปัจจุบันได้มีการจัดบุญบั้งไฟไปอยู่ที่ อำเภอภูเวียงเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของบ้านเมือง โดยในบุญบั้งไฟจะมีพิธีบวชอุปสมบทร่วมด้วย เป็นการอุปสมบทหมู่ เรียกบุญนี้อีกชื่อว่า บุญสัจจะ และจะมีการนำบั้งไฟของแต่ละตำบลมาแข่งกัน 
  • เดือนหก : บุญซำฮะ
  • เดือนเจ็ด : ทำบุญบูชาเทวดาอาฮักษ์หลังเมือง (วีรบุรุษ) ทำการเซ่นสรวง หลักเมือง หลักเมือง ผีพ่อแม่ ผีปู่ตา ผีเมือง (บรรพบุรุษ) ผีแฮก(เทวดารักษานาไร่) ทำนองเดียวกันกับแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีกรรมก่อนจะมีการทำนา สรุปแล้วคือให้รู้จักคุณของผู้มีพระคุณและสิ่งที่มีคุณ จึงจะเจริญโดยจะมีการประชุดปรึกษาหารือกันก่อนในกากำหนดวันเวลาในการทำบุญนี้
  • เดือนเจ็ด : บุญเข้าพรรษา
  • เดือนแปด : ทำบุญเข้าพรรษา ทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารเช้าและเพลแก่พระสงฆ์ บ่ายมีการฟังธรรมเทศนา ตอนเย็นมีการเวียนเทียนที่วัดเดือนแปด-บุญข้าวประดับดิน
  • เดือนเก้า : ทำบุญข้าว และอาหารความหวานพร้อมทั้งหมากพลูบุหรี่ห่อด้วยใบตองกล้วยแล้วนำไปวางไว้ตามต้นไม้และพื้นหญ้า เพื่ออุทิศให้แก่บรรดาญาติผู้ล่วงลับไปแล้วโดยกำหนดทำใน วันแรมสิบสี่ค่ำต่อมาภายหลังนิยมทำภัตตาหารถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร แล้วอุทิศให้ผู้แก่ตามด้วยการหยาดน้ำ ( กรวดน้ำ ) ทั้งนี้เกิดจากความเชื่อตามนิทานชาดก และเป็นที่มาของการแจกข้าวด้วย
  • เดือนสิบ : ทำบุญข้าวสากหรือข้าวสลาก (สลากภัตร) ในวันเพ็ญ เชื่อว่าเป็นวันที่สามโลกเปิดพร้อมกัน สามารถส่งถึงกันได้ เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายเช่นเดียวกับบุญข้าวประดับดิน โดยมีเวลาห่างกัน 15 วัน เป็นระยะเวลาที่พวกเปรตจะต้องกลับคืนไปเมืองนรก (ตามนิทานชาดก) โดยผู้ที่ถวายทานจะเขียนชื่อของตนไว้ในภาชนะที่ใส่ของทานไว้ แล้วเขียนชื่อของตนใส่กระดาษนำไปใส่ไว้อีกบาตร เมื่อภิกษุสามเณรรูปใดจับได้สลากของผู้ใดก็จะเรียกให้เจ้าของสลากนำเอาของถวาย ครั้นพระเณรฉันแล้วก็ประชุมกันฟังเทศน์ บรรยายนิทานวัตถุและภาษิตต่างๆทั้งอานิสงส์สลากภัตด้วยชั่ววันกับคืนหนึ่งจึงเลิก
  • เดือนสิบเอ็ด : ทำบุญออกพรรษา หรือสังฆเจ้าออกวัสสปวารณาฯ มีการตามประทีปโคมไฟเรียกว่าทำบุญจุดประทีป ถ้าไม่ใช้โคมแก้วโคมกระดาษก็มักขูดเปลือกลูกตูมกาให้ใสหรือขุดเปลือกลูกฟักทองให้ใสบางทำเป็นโคม ใช้น้ำมันมะเยาหรือมะพร้าวมีไส้ลอยอยู่มีหูหิ้วและนำไปแขวนไว้ตามต้นไม้เต็มวัด ส่วนบุญลอยกระทง ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก
  • เดือนสิบสอง : เดือนส่งท้ายปีเก่าตามคติเดิม มีการทำบุญกองกฐิน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ดถึงกลางเดือนสิบเอ็ดถึงกลางเดือนสิบสอง แต่ชาวอีสานครั้งก่อนนิยมเริ่มทำตั้งแต่วันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบสอง จึงมักเรียกว่าบุญกฐินว่าเป็นบุญเดือนสิบสอง มีทั้งมหากฐิน(กองใหญ่) และบุญจุลกฐิน(กองเล็ก) ซึ่งทำกันโดยด่วน อัฏฐะบริขารที่จำเป็นต้องทอดเป็นองค์กฐิน ขาดมิได้คือบาตร สังฆาฏิ จีวร สบง มีโกนหรือมีดตัดเล็บ สายรัดประคด ผ้ากรองน้ำ และเข็ม นอกจากนั้นเป็นเพียงองค์ประกอบหลังจากวันเพ็ญเดือนสิบสองแล้วจะทอดกฐินไม่ได้อีกจึงต้องทำบุญกองบัง(บังสุกุลหรือทอดผ้าป่า) และทำบุญกองอัฏฐะ คือการถวายอัฏฐะบริขารแปดอย่างแก่พระสงฆ์

1.นายจันทา กำขันตี บทบาทสำคัญของชุมชนคือ พ่อจ้ำ ผู้นำทางพิธีกรรม

เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2489 ปีจอ ปัจจุบันอายุ 72 ปี เป็นบุตรของคุณพ่อคง คุณแม่ซุม กำขันตี เกิดที่บ้านโนนสะอาด ตำบลนาหว้า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น การศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนชุมชนภูเวียง ต่อมาเรียนต่อการศึกษานอกสถานที่จบชั้นประถมปีที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2556 ต่อมาได้แต่งงานกับแม่ละมุน กำขันตี มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 3 คนชาย 1 คนหญิง 2 คนอาชีพหลักทำนา มีเวลาว่างจากการทำนาก็รับจ้างทั่วไป และการทำหน้าที่เป็นพ่อจ้ำเมื่อ พ..2518 ได้รับการสืบทอดมาจากพ่อตาโดยจะมีพิธีกรรมต่างๆดังนี้คือการทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการไหว้ศาลเจ้าปู่ในหมู่บ้านหนองคาซึ่งจะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ 1 จัดขึ้นเมื่อเดือน พฤษภาคม ของทุกปี โดยชาวบ้านจะร่วมกันบริจาคเงินเพื่อที่จะซื้อไก่และเหล้าซึ่งจะนำไก่มาประกอบอาหารถวายเจ้าปู่และรอเวลาให้หมด 1 ก้านธูปแล้วนำมาเลี้ยงชาวบ้าน ครั้งที่ 2 จะเป็นช่วงเดือน พฤศจิกายน เป็นบุญข้าวเม่า ซึ่งชาวบ้านจะนำข้าวเม่ามารวมกันและแบ่งออกเป็น 2 ส่วนส่วนที่ 1 จะนำไปถวายพระ และส่วนที่ 2 นำไปสักการะศาลเจ้าปู่โดยพ่อจ้ำจะมีบทบาทคือเป็นคนพานำกล่าวพิธีกรรมและเตรียมเครื่องสักการะในการประกอบพิธีกรรมคือ ผ้าสะโหรง ผ้ายาว ผ้าสไบ ผ้าไหม แหวน กำไร และเงินเหรียญสมัยโบราณ 

2.นายพิทักษ์ แก้วเวียง ผู้นำชุมชนคนปัจจุบัน

เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ปัจจุบันอายุ 69 ปี เป็นบุตรของคุณพ่อมั่น คุณแม่หนูเวียง แก้วเวียง เกิดที่บ้านหนองคา ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น การศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ โรงเรียนภูเวียงวิทยายน จบ มศ3ที่โรงเรียนแสนเวียงวิทยา จบ มศ 5 จากโรงเรียนเทพลีลา จังหวัดกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2519 จากนั้นไปเรียนเขียนแบบ ได้ 3 ปี จึงไม่ได้เรียนต่อเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเรียนสูง จากนั้นจึงศึกษาด้วยตนเอง ของสถานศึกษากรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ สอบเทียบวุฒิครู ได้วุฒิอนุปริญญาตรีปี 2528 จึงได้ไปทำงานรับเหมาอู่ต่อเรื่อที่เชียงคาน จังหวัดได้ 2 ปี จากนั้นกลับมาเยี่ยมบ้าน ซึ่งในขณะนั้นผู้ใหญ่บ้านคนเก่าได้ลาออก คนในหมู่จึงเห็นว่ามีความเหมาะสมจึงให้ลองเป็นผู้ใหญ่บ้าน และได้ได้ดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบันนี้ 

เมื่อปี พ.ศ. 2530 ได้แต่งงานกับแม่เพ็ญประภา แก้วเวียง อายุ 55 ปี อาชีพ เสมียน มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 1 คน เพศหญิง อายุ 20 ปี กำลังศึกษาอยู่ปริญญาตรี ปี 2 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

บทบาทเป็นผู้นำหมู่บ้าน รับแจ้งเกิด แจ้งตาย ดูแลช่วยเหลือลูกบ้าน ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ

3.นางสาวมณีนิล รุ่งสุวรรณ เป็นประธาน อสม. ของหมู่บ้าน หัวหน้ากลุ่มสตรีแม่บ้าน

เกิดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ปัจจุบันอายุ 56 ปี เป็นบุตรของคุณพ่อพัน คุณแม่สุด รุ่งสุวรรณ เกิดที่บ้านหนองคา ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น การศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ โรงเรียนภูเวียงวิทยายน จบ มศ .3ที่โรงเรียนแสนเวียงวิทยา จบ มศ 5 ศิริวิทยากร จังหวัดนครราชสีมา จากนั้น ปวส. ภูมิมิสิทธิ จังหวัดขอนแก่น จึงได้ไปทำงานบริษัทเมื่อปี 2535 ที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้น เมื่อปี พ.. 2547 ออกจากงานมาอยู่บ้าน มาทำอาชีพ ค้าขาย เสริมสวย จนถึงปัจจุบัน ได้สมัครได้อาสามาเป็นมาเป็นสมาชิกอาสาสมัครในหมู่บ้าน (อสม.) หลังจากนั้นหัวหน้าอาสาสมัครคนเกาได้ลาออกไป จึงได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าอาสาสมัครในหมูบ้าน ตั้งแต่ พ.. 2556 เป็นต้นมา ปี พ.. 2559 ได้รับตำแหน่งเพิ่มเป็นหัวหน้ากลุ่มสตรีแม่บ้าน และได้ได้ดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบันนี้ 

บทบาทเป็นหัวหน้าอาสาสมัครในหมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆที่ทาง รพสต.ให้แจ้งให้ชาวบ้านทราบ ออกคักกรอง เบาหวาน ความดัน ตรวจลูกน้ำยุงลายเป็นต้น

4.พระครู ทอมสัน วันพุททา/ พระครูสุตธรรมานุกูล สุตธมโม ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ, ผู้อำนวยการโรงเรียนการกุศลวัดนายมวราราม

เกิดวันที่ 4 สิงหาคม 2510 อายุ 49 ปี เป็นบุตรของ นายทักษิณ วันพุททา และนางเปี่ยง วันพุททา อายุ 79 ปีประวัติการศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่โรงเรียนภูเวียงวิทยายน จบชั้นมัธยมศึกษา 1-3 ที่โรงเรียนภูเวียงวิทยาคมหลังจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว ได้เข้าเรียนที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดขอนแก่น และฝึกงานที่การไฟฟ้าเมืองเลย 1 ปี และทำงานต่ออีก 10 ปี จากนั้นย้ายมาทำงานที่กรุงเทพมหานครและเมื่อต้นปี 2537 ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2537 ได้บวชเป็นเวลาหนึ่งอาทิตย์ แล้วได้กลับมาทำงานต่อ จึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้างานในขณะนั้นเป็นช่วงพลิกผันของชีวิตจึงได้ตัดสินใจบวชเพื่อศึกษาตนเองและในปลายปี 2537 ได้ธุดงค์หลังออกพรรษา ซึ่งมีผ้า 3 ผืน บาท 1ใบ ต่อจากนั้นมีโอกาสได้สนทนากับพระธุดงอีกรูปหนึ่ง ได้คำแนะนำว่าการเป็นพระยึดหลักปริยปฏิบัติและปฏิเวธจึงได้ตั้งเป้าหมายชีวิตจะเริ่มเรียนในปี 2538 ซึ่งเป็นการเรียนทางธรรม เริ่มจากปี2538 เป็นนักเรียนนักธรรมชั้นตรีศึกษาที่วัดนายมวรารามปี 2540 เข้าเรียนวัดโพธิ์ทอง ตำบลหนองกง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เป็นนักเรียนนักธรรมชั้นโทและนักธรรมชั้นเอกและเรียนบาลีประโยค 1,2 เพื่อที่จะเป็นมหาเรียนจนถึงปี 2542 จบบาลีประโยค 3 ในขณะเดียวกันก็เรียนการศึกษานอกสถานที่จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ต่อมาในปี 2541 เข้าเรียนมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์วิทยาลัยวิทยาเขตขอนแก่น วุฒิการศึกษาปริยัติธรรมและได้เป็นเจ้าอาวาสวัดในอมราดำ และเป็นเจ้าคณะตำบลในปี 2550 ได้ศึกษาปริญญาโทคณะบริหารการศึกษาที่มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดขอนแก่น เรียนจบภายในหนึ่งปีครึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาวัดและพบปัญหาว่า เด็กอ่านหนังสือไม่ได้เขียนไม่ได้ จึงได้มีการศึกษาด้วยตนเองพบว่า เกิดจากพื้นฐานไม่ดีจึงได้จัดตั้งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ จากนั้นทางราชการเข้ามาควบคุมทำให้บริหารจัดการงานได้ไม่เต็มที่ ในปี 2552 ได้รับเลือกให้เป็นรักษาการเจ้าคณะอำเภอและเป็นเจ้าคณะอำเภอในเวลาต่อมาในปี 2554 ย้ายศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ใหม่อยู่ในพื้นที่วัดและเป็นโรงเรียนเพื่อให้การศึกษาเนื่องจากมีความคิด ว่าตนเองเป็นผู้เรียนน้อยจึงอยากให้คนอื่นได้เรียนในปี 2557 ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ มหาวิทยาลัยมคธประเทศอินเดียและจบการศึกษาในปี 2559

นอกจากนี้ในส่วนการปกครองบ้านหนองคามีผู้นำหมู่บ้านมาแล้ว 12 คน

  1. กวนทิพย์มนตรี
  2. ขุนพรมแสง
  3. หลวงธานี
  4. นายทามาศ
  5. นายสีทา
  6. นายเกลี้ยง
  7. นายกำจัด สุวรรณธรรมมา
  8. นายศุภชัย วีรวงษ์
  9. นายล้าน งามฉลวย
  10. นายคะนึง สุวรรณธรรมมา
  11. นายแปลง ขวาเวียง (2525-2530)
  12. นายพิทักษ์ แก้วเวียง (2530-ปัจจุบัน)

มีหนองคูอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน 1 แห่ง เป็นแหล่งผลิตน้ำใช้อุปโภค และการเกษตร ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นสถานที่ออกกำลังกาย และจัดกิจกรรมประเพณีต่าง ๆ ได้แก่ ลอยกระทง วันขึ้นปีใหม่

อุทยานตาดฟ้า น้ำตกตาดฟ้า คืออีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของอุทยานแห่งชาติภูเวียง อุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อยู่ห่างจากทุ่งใหญ่เสาอารามประมาณ 5 กิโลเมตร และห่างจากบ้านโคกสูงประมาณ 10 กิโลเมตร น้ำตกตาดฟ้า เป็นน้ำตกขนาดกลางอยู่ทางทิศเหนือของเทือกเขาภูเวียง มีเส้นทางเดินเท้าขึ้นเขาระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร จากด่านตรวจโคกสูง มีความสูงประมาณ 15 เมตร สภาพป่าเป็นป่าดิบที่อุดมสมบูรณ์ ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้ให้สำหรับผู้ประสงค์จะพักแรม

วัดถ้ำผาเกิ้ง วัดถ้ำผาเกิ้งเป็นสถานปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนา บรรยากาศร่มรื่นสถานที่กว้างขวางบริเวณวัดมีศาลาไม้ขนาดใหญ่เป็นการรวมแรงกายแรงใจ และแรงศรัทธาอันบริสุทธิ์ของชาวบ้านโคกหนองขามและหมู่บ้านใกล้เคียง ภายในอำเภอเวียงเก่า และศรัทธาจากจังหวัดขอนแก่น วัดถ้ำผาเกิ้ง ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูเวียง ห่างจากบ้านหนองดู่ หมู่ที่ 12 ต.ในเมือง อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น ประมาณ 6 กิโลเมตร ลักษณะเด่น คือ พระพุทธรูปแกะสลักด้วยไม้ปัจจุบัน

อุทยานศรีเวียง ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่าพัฒนา อำเภอเวียงเก่า เป็นสวนสาธารณะริมเส้นทางระหว่างทางไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง มีพื้นที่ 25 ไร่ มีฉากหลังเป็นเทือกเขาภูเวียง ในบริเวณจัดทำเป็นสวนพักผ่อน สวนสุขภาพ มีโขดหิน น้ำตก บ่อน้ำ สวนหย่อม สนามนั่งเล่น มีหุ่นไดโนเสาร์จำลองเรียงรายทั่วบริเวณนับร้อยตัว บางตัวสามารถร้องได้ เคลื่อนไหวได้คล้ายของจริง เป็นไดโนเสาร์ที่มีการค้นพบฟอสซิลในภาคอีสาน การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง โดยเดินทางจากขอนแก่นถึงอำเภอภูเวียงระยะทาง 70 กิโลเมตร และเดินทางจากตัวอำเภอต่อไปอีก 7 กิโลเมตร จะเห็นอุทยานไดโนเสาร์ศรีเวียงอยู่ด้านซ้ายมือ

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง เป็นพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาแห่งหนึ่ง โดยเน้นที่การจัดแสดงเรื่องราวของซากดึกดำบรรพ์ สังกัดกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่บนพื้นที่สาธารณประโยชน์โคกสนามบินเนื้อที่ 100 ไร่ ในเขตพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่นอุทยานไดโนเสาร์

อุทยานแห่งชาติภูเวียง ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราชมีลักษณะเป็นหินชั้น ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนบนแผ่นดินหนากว่า 4,000 เมตร ชั้นของหินตะกอนมักมีสีแดงเกือบทั้งหมดเรียกว่าหินชั้นตะกอนแดง หรือกลุ่มหินโคราช ประกอบด้วย หน่วยหินเขาพระวิหาร หินเสาขัว หินภูพาน และหินโคกกรวด หินดังกล่าวถูกปกคลุมด้วยตะกอนร่วนและดินยุคควอเทอร์นารี่ และยุคปัจจุบัน ซึ่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเวียงนั้นยังมีการสำรวจสายแร่ยูเรเนียมในพื้นที่อีกด้วย อุทยานแห่งชาติภูเวียงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของห้วยทรายขาวซึ่งจะไหลลงลำน้ำพอง ห้วยบั้งทิ้ง ห้วยน้ำไหล ซึ่งจะไหลลงลำน้ำเชิญ ห้วยเรือ ห้วยขุมปูน ห้วยน้ำบอง และห้วยมะนาว ซึ่งจะไหลลงห้วยบอง ทั้งลำน้ำพอง หัวยบอง และลำน้ำเชิญ จะไหลลงอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์

ผู้คนในชุมชนบ้านหนองคาใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทยในการพูดและการอ่านเขียน


ชุมชนบ้านหนองคาได้เข้าร่วมโครงการ ลดโรค ลดเสี่ยง หลีกเลี่ยงเบาหวาน ณ บ้านหนองคา หมู่ที่ 5 ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น จังหวัดขอนแก่นพบข้อมูลผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานย้อนหลัง 3 ปีดังนี้ ปี พ.ศ. 2555 - 2557 คิดเป็นร้อยละ 1.23, 1,26, และ 1.42 ตามลำดับ (รายงานผู้ป่วยในรายโรค (รง. 505). สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 2557) จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี และมีการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานข้อมูลย้อนหลัง 3 ปีดังนี้ ปี พ.ศ. 2555, ปี พ.ศ. 2556, ปี พ.ศ. 2557 คิดเป็นร้อยละ 27.46, 36 และ 40.67 ตามลำดับ (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข รวบรวมและประมวลผลจากสำนักบริหารกรมทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ข้อมูล 1 ม.ค. – 31 ธ.ค. ของปี พ.ศ.2553 - 2557)

ข้อมูลจากผลการศึกษาชุมชน (วันที่ 17 มกราคม 2560) บ้านหนองคา หมู่ที่ 5 พบจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 19 คน คิดเป็น ร้อยละ 5.63 มีภาวะแทรกซ้อน เบาหวานขึ้นจอตา 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.52 และมีภาวะไตเสื่อม 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.52 และมีภาวะแทรกซ้อนทางเท้า คือการตัดนิ้วนางข้างซ้าย 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.26

ดังนั้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานคณะผู้จัดโครงการจึงได้จัดทำโครงการ ลดโรค ลดเสี่ยง หลีกเลี่ยงเบาหวานเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ และ ป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และเพิ่มความตระหนักในการดูแลตนเอง ให้สามารถปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม

ชุมชนบ้านหนองคามีจุดที่น่าสนใจอื่นๆเช่น ร้าน ป้าแมวอาหารตามสั่ง เคียงนาคาเฟ่ - Kiangna Cafe กลางไพรไอดิน ณ หุบเขาสำราญ@เวียงเก่า วัดถ้ำผาเกิ้ง และ วัดทรงศิลา (ถ้ำกวาง)

จากข้อมูลการสำรวจข้อมูลของนักศึกษาจากวิทยาลัยบรมราชชนนี ขอนแก่น

เทศบาลในเมือง โทร. 0-4343-8037