ชุมชนตีเหล็กเก่าแก่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ทางผ่านเขตอำเภอเมืองและอำเภอแม่ทะ
ในอดีตพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ของการทำมีดมาก่อน จึงเคยใช้ชื่อว่าหมู่บ้าน "กาดมีด" ซึ่งมีความหมายว่า หมู่บ้านตลาดมีด แต่คำว่า "มีด" นั้นมีความหมายที่ค่อนข้างไม่เป็นมงคลเพราะเป็นอาวุธที่มีคม ทำให้ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนชื่อชุมชนเป็นหมู่บ้าน "กาดเมฆ" แทน ด้วยเพราะจากทิวทัศน์ที่เห็นก้อนเมฆได้ง่ายบริเวณเนินที่ลาด โดยภายหลังทางการได้แยกชุมชนเป็นสองส่วน คือ ตะวันออกและตก ทำให้ชื่อชุมชนกาดเมฆตะวันออก เป็นชื่อชุมชนแห่งนี้เรื่อยมา
ชุมชนตีเหล็กเก่าแก่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ทางผ่านเขตอำเภอเมืองและอำเภอแม่ทะ
หมู่บ้านกาดเมฆเดิมมีชื่อเรียกว่า "หมู่บ้านกาดมีด” เพราะว่าสมัยก่อนชาวบ้านแต่เดิมเกือบทุกหลังคาเรือนจะประกอบอาชีพตีมีด ตีขวานกันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อชาวบ้านแคว้นพม่าและลาวบางส่วนได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยร่วมกับชาวบ้านบริเวณนี้ จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านขึ้นมาว่า “หมู่บ้านกาดมีด” ต่อมาชาวบ้านเห็นพ้องกันว่า “มีด” ฟังแล้วไม่เป็นมงคล จึงได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อว่าหมู่บ้าน “กาดเมฆ”เนื่องจากหมู่บ้านเป็นพื้นที่เนินสูงช่วงฤดูหนาวมักเห็นเมฆหมอกตามลาดเนินเขาบริเวณหมู่บ้าน จึงได้ใช้ชื่อเป็นบ้านกาดเมฆได้มีการแยกหมู่บ้านออกเป็น 2 ชุมชน โดยมีการจัดตั้งชุมชนบ้านกาดเมฆตะวันตก และบ้านกาดเมฆตะวันออก เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2545
ลักษณะภูมิประเทศ
อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 268.60 เมตร ลักษณะภูมิประเทศ มีสภาพทั่วไปเป็นที่ราบ ชุมชนมีลักษณะเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านป่าแลว 1 หมู่ที่ 13 ตำบลชมพู
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านหนองหัวหงอก หมู่ที่ 9 ตำบลชมพู
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านหนองวัวเฒ่า หมู่ที่ 7 ตำบลพระบาท
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านกาดเมฆตะวันตก หมู่ที่ 5 ตำบลชมพู
ประชากรในพื้นที่บ้านกาดเมฆตะวันออก ตำบล ชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัด ลำปาง
- จำนวนครัวเรือน 379 ครัวเรือน
- ข้อมูลประชากร รวมทั้งสิ้น 1,337 คน แยกเป็น ชาย 622 คน หญิง 715 คน
ข้อมูลกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน จำนวน 3 กุล่ม ดังนี้
- กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านกาดเมฆตะวันออก จำนวนสมาชิก 263 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางสาย ปวนปันวงค์
- กลุ่มสตรีชุมชนบ้านกาดเมฆตะวันออก จำนวนสมาชิก 215 โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางแก้ว มาปลูก
- กลุ่ม อสม. ชุมชนบ้านกาดเมฆตะวันออก จำนวนสมาชิก 20 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางแก้ว มาปลูก
ทุนวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุมชนแห่งนี้มีภูมิปัญญาในการทำมีดที่มีชื่อเสียงจนทำให้กลายเป็นหนึ่งในชื่อของชุมชนที่เคยมี แต่อย่างไรก็ตามการทำมีดของชุมชนแห่งนี้เริ่มสูญหายไปเนื่องจากขาดผู้สืบทอดภูมิปัญญาในการทำมีด กระนั้นก็ยังคงมีกลุ่มที่พยายามอนุรักษ์และสืบทอดอาชีพ โดยผู้ที่สนใจมีดสามารถติต่อกับกลุ่มคนที่ทำมีดในชุมชนได้ที่ พี่หน้อยสุข คนกาดเมฆ โทร. 08-1765-6224
ภาษาทยถิ่นเหนือหรือภาษาล้านนาโดยใช้งานเป็นภาษาพูดเพียงอย่างเดียว แต่การใช้งานภาษาเขียนไม่ได้ใช้งานในชีวิตประจำวันแล้ว บางครั้งอักษรธรรมอาจถูกใช้งานในทางศาสนา เช่น การเขียนผ้ายันต์หรือการเขียนในบางสิ่งที่ต้องการความศักดิ์สิทธิ์
- ประชาชนไม่มีอาชีพเสริม
- แหล่งเงินทุนไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน
- ไม่มีสถานที่ทำกิจกรรมของกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน
- มีประชากรแฝงในชุมชนจำนวนมาก
- ไม่มีกล้องวงจรปิดตามถนนและพื้นที่เสี่ยง
- ถนนภายในชุมชนคับแคบ ยากแก่การสัญจรไปมา
- ไม่มีสนามกีฬาออกกำลังกายสำหรับเด็กและเยาวชน
- ท่อระบายน้ำมีการก่อสร้างยังไม่ครบทุกซอย
- ไม่มีศาลาอเนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรมของต่าง ๆ ในชุมชน
- ไม่มีที่สาธารณะในการจัดกิจกรรมของชุมชน
- มีปัญหาขยะ และน้ำเสียในครัวเรือน
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2566). ชุมชนกาดเมฆตะวันออก ตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. จาก https://www.kelangnakorn.go.th/