ชุมชนแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำวังในเส้นทางไปกราบสักการะพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งมีเรื่องราวและประเพณีที่เป็นวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ในภูมิภาคของตน
สันนิษฐานว่าชื่อชุมชนจอมเมือง มาจากชื่อของวัดภายในชุมชน
ชุมชนแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำวังในเส้นทางไปกราบสักการะพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งมีเรื่องราวและประเพณีที่เป็นวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ในภูมิภาคของตน
ในอดีตกาลตั้งถิ่นฐานของคนสมัยก่อน นิยมตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกับแม่น้ำเพื่อความสะดวกในการเดินทาง และการประกอบอาชีพ เดิมมีวัดต้นผึ้ง ซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำวัง ที่ชาวบ้านใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ต่อมาบริเวณวัดต้นผึ้งได้ถูกน้ำกัดเซาะ จนเกิดความเสียหาย ชาวบ้านจึงขยับขยายมาตั้งถิ่นฐานบริเวณท้ายหมู่บ้านชมพู แต่เดิมบริเวณนั้นจะเป็นทุ่งนากว้าง เหมาะกับการดำรงชีวิต ทำให้มีผู้คนมาอาศัยเพิ่มมากขึ้น ต่อมาได้มีการเคลื่อนทัพของเจ้าพ่อทิพย์ช้าง ผ่านมายังบริเวณพื้นที่แห่งนั้น เพื่อไปยังวัดลำปางหลวง ชาวบ้านจึงได้ริเริ่มสร้างวัดขึ้นโดยใช้ชื่อว่า “วัดจอมเมือง” และได้มีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งชุมชนขึ้นใหม่ ซึ่งแยกมาจากบ้านชมพู ได้มีการจัดตั้งชื่อชุมชนตามชื่อวัดว่า “ชุมชนบ้านจอมเมือง” โดยได้จัดตั้งชุมชนบ้านจอมเมือง เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2554
ลักษณะภูมิประเทศ
อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 268.60 เมตร ลักษณะภูมิประเทศ มีสภาพทั่วไปเป็นที่ราบ และที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ ชุมชนมีลักษณะเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ แม่น้ำวัง ชุมชนบ้านแม่กืย หมู่ 9 ตำบลปงแสนทองและชุมชนบ้านชมพู หมู่ที่ 7 ตำบลชมพู
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านลำปางกลางตะวันออก หมู่ที่ 11 ตำบลชมพู
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านชมพู หมู่ที่ 7 ตำบลชมพู
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านลำปางกลางตะวันออก หมู่ที่ 11 ตำบลชมพู
- ข้อมูลจำนวนประชากร รวมทั้งสิ้น 377 คน แยกเป็น ชาย 168 คน หญิง 209 คน
- ข้อมูลจำนวนครัวเรือน 118 ครัวเรือน
ข้อมูลกลุ่มองค์กรต่างๆ ในชุมชน มีจำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านชมพู และชุมชนบ้านจอมเมือง จำนวนสมาชิก 366 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นายทวี แก้วบุญปัน
- กลุ่มสตรีชุมชนบ้านจอมเมือง จำนวนสมาชิก 88 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางธิดารัตน์ สร้อยแก้ว
- กลุ่ม อสม. ชุมชนบ้านจอมเมือง จำนวนสมาชิก 10 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางสาวพัชราภรณ์ เสริมสุข
- กลุ่มเกษตรกรชุมชนบ้านจอมเมือง จำนวนสมาชิก 10 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นายคำมูล จิตมั่น
ภาษาพูด ภาษาไทยถิ่นเหนือหรือภาษาล้านนา
- ประชาชนมีรายได้น้อย
- ประชาชนมีอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น
- ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ
- เยาวชนไม่ให้ความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน
- ไม่มีกล้องวงจรปิดบริเวณจุดเสี่ยงภายในชุมชน
- ไม่มีไฟส่องสว่างบางจุดที่มีความเสี่ยง
- ถนนในซอยชำรุด
- ไม่มีฌาปนสถานของชุมชน
- ระบบระบายน้ำยังไม่ครอบคลุมทุกซอย
- เยาวชนติดสื่อสมัยใหม่ทำให้วัฒนธรรมและประเพณีของชุมชนเริ่มสูญหายไป
- ไม่มีการคัดแยกขยะในครัวเรือน
- เกษตรกรใช้สารเคมี ยาปราบศัตรูพืช ทำให้เกิดสารเคมีตกค้าง
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2566). ชุมชนบ้านจอมเมือง ตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. จาก https://www.kelangnakorn.go.th/kelang/