ทางผ่านสำคัญของภูมิภาคที่เป็นจุดตัดในการเดินทางไปเมืองต่าง ๆ ของภาคเหนือ อีกทั้งในชุมชนยังมีพระธาตุ และการรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม
ที่มาของชื่อ "หนองยาง" มาจากชื่อของหนองภายในหมู่บ้านเลยเรียกขานกันว่า "ทุ่งหนอง" และคำว่า "ยาง" มีที่มาจากชื่อของนกกระยางในพื้นที่ที่มีจำนวนมาก จึงกลายมาเป็นชื่อ "หนองยาง" และเรียกขานถึงปัจจุบัน
ทางผ่านสำคัญของภูมิภาคที่เป็นจุดตัดในการเดินทางไปเมืองต่าง ๆ ของภาคเหนือ อีกทั้งในชุมชนยังมีพระธาตุ และการรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม
จากการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า แต่เดิมมีการอพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณทางทิศใต้ของหมู่บ้านศรีหมวดเกล้า เป็นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยหนองน้ำขนาดใหญ่ ที่เรียกกันว่า “ทุ่งหนอง” มีต้นไม้ใหญ่นานาชนิดร่วมถึงพืชพันธุ์ธัญญาหารเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ และปลูกพืชนอกจากนี้ทุ่งหนองแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของนกกระยางเป็นจำนวนมาก เมื่อสถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าว จึงมีการตั้งถิ่นฐานขึ้นและได้มีการเลือกผู้นำชุมชนในสมัยก่อนจะเรียกผู้นำชุมชนว่า “ท้าว” ซึ่งมีอยู่ 3 ท้าว คือ 1. ท้าวเสาร์ เขาเรียกกันว่า ท้าวแสนเมือง 2. ท้าวยศ และ 3. ท้าววงศ์ ท้าวดังกล่าวได้พยายามสร้างบ้าน ปลูกเรือนขึ้นด้วยความสมานสามัคคีกันจึงทำให้มีผู้คนอาศัยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และได้ร่วมกันลงมติตั้งชื่อหมู่บ้านขึ้นว่า “หนองยาง” เนื่องจาก ทุ่งหนองแห่งนี้มีนกกระยาง และหนองน้ำเป็นจำนวนมาก จึงนำชื่อหนองน้ำรวมกับนกกระยาง เป็นบ้านหนองยางจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาได้ร่วมกันสร้างวัดเป็นสถานที่รวมน้ำใจ ด้วยเหตุนี้มีผู้คนมาจากหลากหลายพื้นที่มีส่วนร่วมในการสร้างวัด จึงตั้งชื่อวัดว่า “วัดเข้าหมู่” เพื่อเป็นที่โน้มน้าวจิตใจของผู้คนที่อยู่อาศัยในสถานที่แห่งนี้ให้มีความสามัคคีกัน รวมกันเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และประเพณีต่าง ๆ มาจนถึงปัจจุบัน โดยได้จัดตั้งเป็นชุมชนบ้านหนองยาง เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2545
ลักษณะภูมิประเทศ
อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 268.60 เมตร ลักษณะภูมิประเทศ มีสภาพทั่วไปเป็นที่ราบ ชุมชนมีลักษณะเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านศรีหมวดเกล้า 1 หมู่ที่ 4 ตำบลชมพูชุมชนบ้านศรีปงชัย หมู่ที่ 6 ตำบลชมพูและเทศบาลนครลำปาง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านศาลาดอน หมู่ที่ 3 ตำบลชมพูและชุมชนบ้านกล้วยหลวง หมู่ที่ 1 ตำบลกล้วยแพะ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านหนองหัวหงอก หมู่ที่ 9 ตำบลชมพูชุมชนบ้านแพะดอนตัน หมู่ที่ 9 ตำบลชมพูและชุมชนบ้านศรีหมวดเกล้า 1 หมู่ที่ 4 ตำบลชมพู
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านย่าเป้า หมู่ที่ 1 ตำบลชมพูและชุมชนบ้านหนองเจริญ หมู่ที่ 14 ตำบลชมพู
ประชากรในพื้นที่บ้านหนองยาง ตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
- จำนวนประชากร รวมทั้งสิ้น 1,448 คน แยกเป็น ชาย 673 คน หญิง 775 คน
- จำนวนครัวเรือน 647 ครัวเรือน
ข้อมูลกลุ่มองค์กรต่างๆ ในชุมชน มีจำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านหนองยาง จำนวนสมาชิก 205 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางศรีนวล สุรินทร์มงคล
- กลุ่มสตรีชุมชนบ้านหนองยาง จำนวนสมาชิก 100 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางอมลรัศมิ์ ศรีแปงวงค์
- กลุ่ม อสม. ชุมชนบ้านหนองยาง จำนวนสมาชิก 35 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางอมลรัศมิ์ ศรีแปงวงค์
- กองทุนหมู่บ้าน ชุมชนบ้านหนองยาง จำนวนสมาชิก 454 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นายสมบุญ ลาวิตา
ภาษาพูด ภาษาไทยถิ่นเหนือหรือภาษาล้านนาที่ใช้งานกันแพร่หลายในภูมิภาค
- ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเพียงด้านเดียว ไม่มีอาชีพเสริม
- ประชาชนมีรายได้น้อย
- ประชาชนอยู่ในสภาวะการว่างงานหลังจาการทำการเกษตร
- เยาวชนมีส่วนร่วมกิจกรรมของชุมชนน้อย เนื่องจากต้องไปศึกษาต่างจังหวัด หรือทำงานนอกพื้นที่
- ปัญหาด้านยาเสพติด
- เกิดอุบัติเหตุจากการสัญจรของประชาชนในพื้นที่จุดเสี่ยง
- ถนนบางเส้นทางภายในชุมชนมีขนาดคับแคบไม่สามารถสัญจรไปมาได้สะดวก
- ถนนบางเส้นทางยังไม่มีระบบระบายน้ำ
- เยาวชนไม่ให้ความสนใจวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชน
- เกิดมลพิษจากการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรที่ไม่ถูกวิธี
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2565). ชุมชนบ้านหนองยาง หมู่ที่ 8 ตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. จาก https://www.kelangnakorn.go.th/kelang/
วัดเข้าหมู่ หนองยาง. (2566). ภาพถ่ายวัดเข้าหมู่. [Facebook] จาก https://www.facebook.com/