
ชุมชนตั้งอยู่นอกเขตเมืองของลำปาง หนึ่งในเส้นทางการเดินทางไปนมัสการพระธาตุลำปางบริเวณลุ่มน้ำวัง
ความหมายของ "บ้านต้า" แปลว่า ท่าน้ำ โดยพื้นที่นี้เป็นท่าน้ำที่ชาวบ้านในพื้นที่บ้านป่ากล้วย บ้านป่าตันกุมเมือง เดินลัดทุ่งนามาถึงบ้านหมอสม เพื่อจะเดินทางไปไหว้วัดพระธาตุลำปางหลวง
ชุมชนตั้งอยู่นอกเขตเมืองของลำปาง หนึ่งในเส้นทางการเดินทางไปนมัสการพระธาตุลำปางบริเวณลุ่มน้ำวัง
ชุมชนบ้านต้า ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลชมพู ติดกับฝั่งตะวันออกของแม่น้ำวัง ตรงข้ามกับบ้านหมอสม บ้านต้าสมัยก่อน เรียกว่า บ้านท่า สืบเนื่องมาจากชาวบ้านละแวกนี้ ได้แก่ บ้านป่ากล้วย บ้านป่าตันกุมเมือง เดินลัดทุ่งนามาถึงบ้านหมอสม เพื่อจะเดินทางไปไหว้วัดพระธาตุลำปางหลวง และจะมารวมตัวกันขึ้นที่ท่าน้ำแห่งนี้ดังนั้น บ้านต้า จึงมาจาก คำว่า ท่าน้ำ เมื่อเรียกขานต่อๆกันมากลายเป็นบ้านต้า โดยได้จัดตั้งเป็นชุมชนบ้านต้า เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2545
ลักษณะภูมิประเทศ
อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 268.60 เมตร ลักษณะภูมิประเทศ มีสภาพทั่วไปเป็นที่ราบและราบลุ่มแม่น้ำ ชุมชนมีลักษณะเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ แม่น้ำวัง ชุมชนบ้านหมอสม หมู่ที่ 2 ตำบลปงแสนทอง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านห้วยหล่อ หมู่ที่ 2 ตำบลชมพู
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านศาลาดอน หมู่ที่ 3 ตำบลชมพู
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านฟ่อน หมู่ที่ 2 ตำบลชมพู
ประชากรในพื้นที่บ้านต้า ตำบชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
- ข้อมูลประชากร รวมทั้งสิ้น 1,967 คน แยกเป็น ชาย 929 คน หญิง 1,038 คน
- จำนวนครัวเรือน 878 ครัวเรือน
ข้อมูลกลุ่มองค์กรต่างๆ ในชุมชน มีจำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านต้า จำนวนสมาชิก 281 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ พ.ต.ท.ทวี ฝั้นเต็ม
- กลุ่มสตรีชุมชนบ้านต้า จำนวนสมาชิก 109 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางพจวรรณ เนาว์แก้ว
- กลุ่ม อสม.ชุมชนบ้านต้า จำนวนสมาชิก 45 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางปิยากร คำนนท์
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้านฯ ชุมชนบ้านต้า จำนวนสมาชิก 650 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นายสุทัศน์ แก้วบุญปัน
งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุวัดบ้านต้า
ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ณ วัดบ้านต้า ชุมชนบ้านต้า ตำบลชมพู โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมขนบธรรมเนียมที่ดีงามของท้องถิ่นไว้ ถ่ายทอดขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้รับทราบ รวมทั้งสร้างความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ ตลอดจนปลูกฝังให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาวัฒนธรรมอันดีงามและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของท้องถิ่นไว้
ภาษาไทยถิ่นเหนือหรือภาษาล้านนา เป็นภาษาที่ยังใช้งานอยู่ในพื้นที่
- สภาพพื้นที่ของชุมชนกว้าง พื้นที่ของชุมชนแบ่งออกเป็น 2 ฝั่งถนน ทำให้คณะกรรมการชุมชนดูแลไม่ทั่วถึงทั้งด้านความปลอดภัยและการแจ้งข่าวสารให้กับประชาชน
- ปัญหาการว่างงาน
- มีรายได้น้อยไม่เพียงพอกับค่าครองชีพ
- ผู้ด้อยโอกาสยังขาดการดูแลอย่างต่อเนื่อง
- ประชาชนบางส่วนยังขาดการปฏิสัมพันธ์ และให้ความร่วมมือต่อส่วนรวม
- ถนนบางเส้นทางไม่มีระบบระบายน้ำ
- ถนนชำรุดเสียหาย
- น้ำท่วมขังในฤดูฝน เนื่องจากยังขาดการระบายน้ำที่ด
- ปัญหาผู้สูงอายุด้านสุขภาพ เช่น ยังขาดการให้ความรู้เรื่องการดูแลด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
- ไม่มีเครื่องออกกำลังกายภายในชุมชน
- ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกำจัดขยะในชุมชน
- ปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
- ตลิ่งแม่น้ำวังพังในฤดูฝน
ร้านอาหารชื่อดังในพื้นที่ : ก๋วยเตี๋ยวป้าเนียน
เมนูส่วนใหญ่ในที่นี่จะเป็นอาหารประเภท หมูลวก ก๋วยเตี๋ยวน้ำใส โดยมีน้ำจิ้มรสเด็ดที่เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้รสชาติอาหารร้านนี้โดดเด่นกว่าร้านไหน ๆ ในพื้นที่ อีกทั้งที่ตั้งใกล้กับวัดประจำชุมชนทำให้สามารถแวะมาสักการะ แล้วรับประทานอาหารอร่อยได้
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2566). ชุมชนบ้านฟ่อน ตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. จาก https://www.kelangnakorn.go.th/kelang/
ลุงน้ำชา. (25 มีนาคม 2562). วัดบ้านต้า ต.ชมพู อ.เมือง จ.ลำปาง. จาก https://backpackerthai.blogspot.com
Wongnai. (2561). ก๋วยเตี๋ยวป้าเนียน. Wongnai. จาก https://www.wongnai.com/restaurants/