Advance search

ชุมชนชาวมุสลิมที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอย่างยาวนานตั้งแต่ในสมัยอยุธยาจนถึงในปัจจุบัน และยังคงสืบทอดความเชื่อทางศาสนามาอย่างต่อเนื่อง

ลุมพลี
พระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยา
องค์การบริหารส่วนตำบลลุมพลี โทร. 0-3579-6500
อภิชญา พอพริ้ง
9 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
21 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
21 ก.พ. 2024
ลุมพลีและภูเขาทอง

ชุมชนลุมพลี คำว่า ลุมพลี เป็นชื่อทุ่งนา สมัยกรุงศรีอยุธยาเล่าขานกันมาว่า เมื่อครั้งพม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2310 พม่าได้โอบล้อมกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานาน ฝ่ายไทยได้ออกมาตั้งรับพม่าอยู่ ณ ทุ่งลุมพลี และเข้าตีพม่าแตกพ่ายในที่สุด ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยได้ยกทัพไปตีไทรบุรีและมะริดทางภาคใต้ได้กวาดต้อนเอาเชลยที่เป็นชาวมุสลิมมาไว้ที่กรุงเทพฯ และแยกไปอยู่ตามจังหวัดอื่น ๆ และมีอยู่กลุ่มหนึ่งได้อพยพมาอยู่ ณ ทุ่งลุมพลี ซึ่งเป็นตําบลลุมพลีในปัจจุบัน 

ชุมชนมุสลิมภูเขาทองเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชุมชนมุสลิมหัวแหลม จากการจัดการปกครองด้วยระบบบริหารราชการของกระทรวงเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ทําให้พื้นที่ชุมชนต่างๆ ในพระนครศรีอยุธยาถูกจัดแบ่งด้วยเขตการปกครองแทน และเมื่อมีการแบ่งเขตการปกครองดูแลรับผิดชอบใหม่ ก็ทําให้พื้นที่เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา และนอกเกาะเมืองบางส่วนต้องอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงาน 2 หน่วย คือ เทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยา และอําเภอพระนครศรีอยุธยา 


ชุมชนชาวมุสลิมที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอย่างยาวนานตั้งแต่ในสมัยอยุธยาจนถึงในปัจจุบัน และยังคงสืบทอดความเชื่อทางศาสนามาอย่างต่อเนื่อง

ลุมพลี
พระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยา
13000
14.38442
100.550562
องค์การบริหารส่วนตำบลลุมพลี

การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวมุสลิมในประเทศไทยปราฏครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โดยมีพ่อค้าชาวเปอร์เซีย 2 คน คือ เชคอะหมัด และ เชคสะอิ๊ด พร้อมด้วยบริวารได้เข้ามาตั้งรากฐานในกรุงศรีอยุธยา และนอกจากชาวมุสลิมชาวเปอร์เซียแล้วยังมีชาวมุสลิมจากชนชาติอื่นที่เข้ามาตัั้งถิ่นฐานภายในอาณาจักรด้วย เช่น มุสลิมชาวมลายู และมุสลิมชาวจาม ซึ่งชาวมุสลิมถือว่ามีบทบาทสําคัญทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจในสังคมอยุธยาโดยเฉพาะในสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองที่ชาวมุสลิมเปอร์เซียได้รับตำแหน่งเป็นถึงสมุหนายก โดยมุสลิมชาวเปอร์เซียส่วนใหญ่จะเข้ารับราชการและทําการค้าขาย ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ภายในเกาะเมืองกรุงศรีอยุธยา ส่วนมุสลิมชาวมลายูและชาวจามส่วนใหญ่จะทำการเกษตร การประมง และค้าขาย โดยตั้งถิ่นฐานอยู่รอบเกาะเมืองอีกฝั่งแม่น้ําทั้งทางตอนเหนือและตอนใต้ของเกาะเมืองกรุงศรีอยุธยา ซึ่งชุมชนมุสลิมที่อาศัยอยู่บริเวณด้านเหนือของเกาะเมืองกรุงศรีอยุธยา คือ ชุมชนมุสลิมตําบลลุมพลีและตําบลภูเขาทองในปัจจุบัน

ชุมชนลุมพลีและชุมชนภูเขาทองเป็นพื้นที่บริเวณนอกเกาะเมืองด้านทิศเหนือ มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม น้ําท่วมถึงในฤดูน้ําหลาก บริเวณด้านเหนือของเกาะเมืองมีแม่น้ําลพบุรีและแม่น้ําป่าสักไหลมา บรรจบกันบริเวณหัวรอ ซึ่งแม่น้ําทั้ง 2 สายดังกล่าวนั้นได้ถูกใช้เป็นเส้นทางคมนาคมในการติดต่อกับเมืองต่างๆ ที่ตั้งอยู่เหนือเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาขึ้นไป ทั้งในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ทางด้านทิศเหนือนอกเกาะเมืองมีคลองที่สําคัญ คือ คลองบางขวด และคลองสระบัว

ชุมชนลุมพลี คำว่า ลุมพลี เป็นชื่อทุ่งนา สมัยกรุงศรีอยุธยาเล่าขานกันมาว่า เมื่อครั้งพม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2310 พม่าได้โอบล้อมกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานาน ฝ่ายไทยได้ออกมาตั้งรับพม่าอยู่ ณ ทุ่งลุมพลี และเข้าตีพม่าแตกพ่ายในที่สุด ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยได้ยกทัพไปตีไทรบุรีและมะริดทางภาคใต้ได้กวาดต้อนเอาเชลยที่เป็นชาวมุสลิมมาไว้ที่กรุงเทพฯ และแยกไปอยู่ตามจังหวัดอื่นๆ และมีอยู่กลุ่มหนึ่งได้อพยพมาอยู่ ณ ทุ่งลุมพลี ซึ่งเป็นตําบลลุมพลีในปัจจุบัน 

ชุมชนมุสลิมภูเขาทองเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชุมชนมุสลิมหัวแหลม ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่ที่มีพื้นที่อยู่ด้านทิศเหนือของเกาะเมืองบริเวณที่เป็นจุดที่คลองเมืองหรือแม่น้ําลพบุรีไหลมาบรรจบกับแม่น้ําเจ้าพระยา ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษากลาง นับถือศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ ในระยะหลังจากที่มีการจัดการปกครองด้วยระบบบริหารราชการของกระทรวงเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ทําให้พื้นที่ชุมชนต่างๆ ในพระนครศรีอยุธยาถูกจัดแบ่งด้วยเขตการปกครองแทน และเมื่อมีการแบ่งเขตการปกครองดูแลรับผิดชอบใหม่ทําให้พื้นที่เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาและนอกเกาะเมืองบางส่วนต้องอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงาน หน่วย คือ เทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยา และอําเภอพระนครศรีอยุธยา ชุมชนหัวแหลมจึงได้ถูกแบ่งออกเป็น ส่วนด้วยเช่นกัน คือ ชุมชนหัวแหลม ตําบลท่าวาสุกรี อยู่ภายใต้การดูแลของเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา และชุมชนหัวแหลม ตําบลภูเขาทอง อยู่ภายใต้การดูแลของอําเภอพระนครศรีอยุธยา ตําบลภูเขาทองมีศาสนสถานที่สําคัญ คือ วัดภูเขาทอง วัดดาวดึงส์ มัสยิดดารุซซุนนะห์ และมัสยิดอาลียิดดารอยน์

  • ตำบลลุมพลี

เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอพระนครศรีอยุธยา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอพระนครศรีอยุธยาประมาณ 8 กิโลเมตร ตำบลลุมพลี แต่เดิมเรียกว่า "ทุ่งลุมพลี" เป็นพื้นที่ราบลุ่มทุ่งนา ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะเมืองกรุงศรีอยุธยา ทุ่งลุมพลีในอดีตเป็นสนามรบที่สำคัญในการทำศึกสงครามสมัยประวัติศาสตร์ที่กรุงศรีอยุธยารบกับพม่า ตำบลลุมพลีประกอบไปด้วย 6 หมู่บ้าน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีคลองบางขวด และคลองสองไพไหลผ่าน มีทุ่งนากว้าง และมีลำคลองทั้ง 4 ด้าน (ปัจจุบันน้ำแห้ง) เมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำ จะท่วมทุ่งลุมพลีทั้งหมด ประชาชนสร้างบ้านเรือนหนาแน่นบริเวณทุ่งด้านทิศเหนือและตลอดแนวลำคลอง มีพื้นที่ทั้งหมด 678 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,557 ไร่ มีอาณาเขตทางด้านทิศเหนือติดต่อกับตำบลวัดตูม ทิศใต้ติดต่อกับตำบลคลองสระบัว ทิศตะวันออกติดต่อกับตำบลสวนพริก และทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลภูเขาทอง

  • ตำบลภูเขาทอง

เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอพระนครศรีอยุธยา ทิศเหนือติดกับตำบลวัดตูมและตำบลบ้านใหม่ ทิศใต้ติดกับตำบลบ้านป้อมและตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา ทิศตะวันออกติดกับตำบลลุมพลี และทิศตะวันตกติดกับตำบลบ้านใหม่และตำบลข้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,491 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทางการเกษตร 1,274 ไร่สภาพพื้นที่ตำบลภูเขาทอง มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม มีทุ่งนากว้าง ในอดีตเมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมเข้าทุ่งนา และบริเวณใกล้เคียง จนได้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำและอนุสาวรีย์องค์สมเด็จพระนเรศรมหาราชขึ้น ณ บริเวณเจดีย์ภูเขาทอง ทำให้น้ำไม่หลากเหมือนเคย สภาพอากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อน

  • ชุมชนลุมพลี

สภาพสังคมส่วนใหญ่เป็นชุมชนมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม มีเชื้อสายมาจากเมืองปัตตานีและเมืองไทรบุรี ทางหัวเมืองปักษ์ใต้ของประเทศไทย โดยประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรและการค้าขายเป็นหลัก

  • ชุมชนภูเขาทอง

มีประชากรทั้งสิ้น 2,958 คน แยกเป็นชาย 1,462 คน หญิง 1,496 คน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 65 และศาสนาพุทธ ร้อยละ 35 ประชากรในตําบลภูเขาทองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ค้าขาย รับจ้างทั่วไป ลูกจ้างโรงงานอุตสาหกรรม เลี้ยงสัตว์ และอื่นๆ อีกทั้งยังมีกลุ่มอาชีพต่างๆ ในชุมชนประกอบด้วย กลุ่มจักสาน ใบลานปลาตะเพียน กลุ่มแกะสลักไม้ กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วน กลุ่มนวดแผนไทย กลุ่มเกษตรกรรม กลุ่มเปลญวน และกลุ่มออมทรัพย์

ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลลุมพลีจะนับถือศาสนาอิสลามเป็นหลักแประชากรในตําบลลุมพลีมีการรวมกลุ่มเพื่อการประกอบอาชีพ โดยมีกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จํานวน 1 กลุ่ม และกลุ่มออมทรัพย์ จํานวน 1 กลุ่ม ตําบลลุมพลีมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย อาทิ การแกะสลักไม้ การเขียนอักษรวิจิตรอาหรับ การทําอิฐ การทําน้ําพริกเผา การทําเนื้อเค็ม การทํากะละแม ข้าวเหนียวแดง กระยาสารท และขนมกล้วย เป็นต้น นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ในตําบลลุมพลีจะประกอบอาชีพการเกษตรเป็นอาชีพหลัก โดยเฉพาะการทํานาและการปลูกไม้ผลแบบสวนหลังบ้าน แต่ปัจจุบันประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรมจึงทําให้การประกอบอาชีพด้านการเกษตรลดลง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

รับอิทธิพลจากภาษามลายู และภาษากลาง


มีการจัดตั้งการโดยเป็น  Imagine Thailand Movement โดยการนำของ ดร.อุดม หงส์ชาติกุล ผู้นำการขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ คือ หนึ่งในองค์กรที่พัฒนารูปแบบความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะที่ดีของเยาวชนไทย สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ล่าสุดร่วมกับแกนนำชุมชน (อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 6 หมู่)  โรงเรียนพัฒนาการอำเภอพระนครศรีอยุธยา สำนักงาน ปปส. ภาค 1 เครือข่ายครูนัก รณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ร่วมกันทดสอบเส้นทางท่องเที่ยวย้อนรอยประวัติศาสตร์ตามแนวคิดนำท่องเที่ยวพัฒนาชุมชนเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เยาวชนและคนในชุมชนลุมพลี


การที่ชุมชนในตำบลลุมพลีมีการนับถือศาสนาอิสลามทำให้แต่เดิมที่อาจจะมีคนศาสนาอื่นๆ เข้ามาอยู่ในพื้นที่แหล่งอาศัยทำให้อาจจะมีการเปลี่ยนในเรื่องของพื้นที่ ศาสนา และพิธีกรรม ที่เป็นพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามและการมีส่วนร่วมของประชากรคนอื่นที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามทำให้พื้นที่ไม่มีวัดหรือโบสถ์ทางศาสนาทำให้การมีส่วนร่วมของประชากรต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมเช่นประชากรที่นับถือศาสนาอื่นอาจจะต้องไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในชุมชนบริเวณใกล้เคียง 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

วิวัฒน์ ร้อยศรี. (2563). มุสลิมชุมชนลุมพลีและชุมชนภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา : การสำรวจเบื้องต้น. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา. 13(1), 57-71.

องค์การบริหารส่วนตำบลลุมพลี โทร. 0-3579-6500