Advance search

จิงเพาะกะถ่อง

ถิ่นฐานของชนเผ่าคะฉิ่นเพียงหมู่บ้านเดียวในประเทศไทย ที่ยังรักษาประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ได้ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายผ้าทอ ภาษาพูด ดนตรี การรำมะหน่าว เป็นต้น

ปิงโค้ง
เชียงดาว
เชียงใหม่
ทต.เชียงดาว โทร. 0-5345-5079 ต่อ 26
หทัยชนก แกล้วกล้า
14 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
22 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
22 ก.พ. 2024
บ้านใหม่สามัคคี
จิงเพาะกะถ่อง


ถิ่นฐานของชนเผ่าคะฉิ่นเพียงหมู่บ้านเดียวในประเทศไทย ที่ยังรักษาประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ได้ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายผ้าทอ ภาษาพูด ดนตรี การรำมะหน่าว เป็นต้น

ปิงโค้ง
เชียงดาว
เชียงใหม่
50170
19.725010171926254
98.95238241053407
เทศบาลตำบลเชียงดาว

ชนเผ่าคะฉิ่นในบ้านใหม่สามัคคี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ ทำสวน ปลูกข้าวโพด ข้าว มะม่วง ถั่วลิสง อะโวคาโด ซึ่งแต่เดิมเป็นบรรพบุรุษของชนเผ่าคะฉิ่น ได้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาจากบริเวณประเทศมองโกเลียเนื่องจากภาวการณ์สู้รบของแต่ละเผ่าสมัยนั้นทำให้อพยพลงมาเรื่อย ๆ จนมาถึงทางเหนือ ของประเทศพม่า ซึ่งปัจจุบันเป็นรัฐคะฉิ่น บางส่วนอยู่ทางมณฑลยูนนานของประเทศจีนและรัฐอัสสัม ทางอินเดีย หลังจากนั้นเกิดภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งจากสงครามความไม่สงบและความยากจนในประเทศพม่าทำให้ชาวคะฉิ่นจำนวนหนึ่งอพยพเข้ามาประเทศไทยกลุ่มแรกเข้ามาในสมัยสงครามปราบปรามคอมมิวนิสต์ในสมัยรัฐบาลจีนก๊กมินตั๋ง เมื่อสงครามสิ้นสุด ชาวคะฉิ่นบางคนไม่ได้อพยพกลับภูมิลำเนาเดิมและเข้ามาอาศัยอยู่ในไทยแทน เข้ามาทีละน้อยไม่ได้มาเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ จึงทำให้ไม่สามารถตั้งถิ่นฐานสร้างชุมชนของชาวคะฉิ่นเป็นเอกเทศของตนเองได้ โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ที่ติดต่อกับประเทศพม่า และบางส่วนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงรายโดยรวมตัวกันอยู่กันแบบกระจัดกระจาย ไม่แสดงตัวว่าเป็นคะฉิ่น เพราะกลัวถูกจับในความผิดฐานลักลอบเข้าเมืองโดยไม่ถูกกฎหมาย จนภายหลัง การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรตามแนวชายแดนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในปี พ.ศ. 2523 พระองค์ได้พระราชทานแผ่นดินให้กับชาวคะฉิ่นเพื่อใช้เป็นที่ทำกินและอยู่อาศัยในพื้นที่หมู่บ้านใหม่สามัคคี (คะฉิ่น) จึงเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ชาวคะฉิ่นที่อยู่กันอย่างกระจัดกระจายในเมืองไทย ทราบข่าวว่ามีหมู่บ้านคะฉิ่นตั้งขึ้น จึงตัดสินใจมาอยู่ร่วมกันมากขึ้น จาก 7 ครอบครัว จึงเพิ่มขึ้นอีกมาก ปัจจุบันบ้านใหม่สามัคคี นอกจากชาวคะฉิ่นกลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามาบุกเบิกตั้งรกราก ในประเทศไทยแล้ว ยังมีชาวคะฉิ่นที่อาศัยอยู่ในรัฐฉาน และรัฐคะฉิ่นในประเทศพม่าเดินทางอพยพเข้มพึ่งพาญาติพี่น้องคะฉิ่นในไทยมากขึ้นอีกด้วย

เดิมบรรพบุรุษของชนเผ่าคะฉิ่นได้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาจากบริเวณประเทศมองโกเลีย เนื่องจากสถานการณ์สู้รบของแต่ละเผ่าในสมัยนั้นจึงทําให้มีการอพยพลงมาเรื่อยๆ จนมาถึงทางเหนือของประเทศพม่า ซึ่งปัจจุบันเป็นรัฐคะฉิ่นบางส่วนอยู่ทางมณฑลยูนานของประเทศจีน และรัฐอัสสัม ทางอินเดีย หลังจากนั้นก็เกิดภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งจากสงครามความไม่สงบและความยากจนในประเทศพม่าทําให้ชาวคะฉิ่นจํานวนหนึ่งอพยพเข้ามาในประเทศไทย กลุ่มแรกเข้ามาในสมัยสงครามปราบคอมมิวนิสต์ในสมัยรัฐบาลจีนก๊กมินตั๋ง เมื่อสงครามสิ้นสุดลงชาวคะฉิ่นบางคนก็ไม่ได้อพยพกลับภูมิลําเนาเดิมและเข้ามาอาศัยอยู่ในไทยแทน ในเวลาต่อมาชาวคะฉิ่นได้มาอยู่รวมกันที่หมู่บ้านปางมะเยา ตําบลปิงโค้ง อําเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นกันรวมกันเป็นชุมชนคะฉิ่นในเมืองไทย ต่อมาอยู่ได้ไม่นานก็เกิดปัญหาที่อยู่อาศัยทับซ้อนกับพื้นที่ป่าสงวนจึงอพยพโยกย้ายมาตั้งชุมชนใหม่ในเขตพื้นที่ศูนย์พัฒนา โครงการหลวงหนองเขียว ในปี พ.ศ. 2523 

คะฉิ่น

ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ ทำสวน ปลูกข้าวโพด ข้าว มะม่วง ถั่วลิสง อะโวคาโด หากด้วยยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ส่งผลให้ช่วงหนึ่งวัฒนธรรมในชุมชนคะฉิ่นสูญหายไป เยาวชนและวัยแรงงานบางส่วนยังออกจากหมู่บ้านไปทำมาหากินในเมือง รับวัฒนธรรมทั้งด้านภาษาพูด การแต่งกาย อาหารการกินจากภายนอก แกนนำในชุมชนจึงได้มีความเห็นร่วมกันที่จะฟื้นฟูศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนคะฉิ่น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้เด็กในชุมชน และเป็นแหล่งศึกษาดูงานให้ชุมชนอื่นในประเทศไทย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

ประเพณีการรำมะหน่าวเป็นประเพณีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของชนเผ่าคะฉิ่นในแง่ของการสะท้อนถึงอัตลักษณ์เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นคะฉิ่น รวมทั้งเป็นประเพณีที่เชื่อมความสัมพันธ์ในระหว่างกลุ่มย่อยต่าง ๆ ของชนเผ่าคะฉิ่น การรำมะหน่าวเป็นประเพณีที่บรรพบุรุษได้สืบทอดมาตั้งแต่เมื่อชนเผ่ายังมีการนับถือผีจนหันมานับถือศาสนาคริสต์ แต่ก็ยังสืบทอดประเพณีการรำมะหน่าวมาจนปัจจุบัน ประเพณีนี้ไม่ได้จัดกันบ่อย ๆ จะจัดเมื่อฉลองวาระสำคัญเท่านั้น เช่น การครบรอบวาระต่าง ๆ ฉลองชัยชนะ หรือประสบผลสำเร็จ รวมทั้งรำถวายให้กับบุคคลสำคัญ ชนเผ่าคะฉิ่นจากกลุ่มย่อยต่าง ๆ จะมาร่วมรำมะหน่าวด้วยกัน ซึ่งท่าทางประกอบการรำมะหน่าวแต่ละท่ามีความหมายแตกต่างกันไป ตรงกลางจะต้องมีเสามะหน่าว มีเครื่องดนตรีประกอบการรำ รวมทั้งมีผู้นำเต้นรำซึ่งเรียกว่า “หน่าวซอง” ในส่วนของผู้เข้าจะแต่งกายชุดชนเผ่าของแต่ละชนเผ่าอย่างสวยงามเพื่อเข้าร่วมพิธีการรำมะหน่าว ซึ่งในการประชุมระดมความคิดในเวทีนําเสนอผลการ  ดําเนินงานร่วมกับชุมชนในวันที่ 23 ธันวาคม 2556 ชุมชนสะท้อนถึงความสําคัญและความต้องการให้ประเพณีรํามะหน่าวยังคงมีอยู่ในจัดงาน แต่เนื่องจากการจัดงานในแต่ละครั้งต้องอาศัยผู้นําเต้น หรือ หน่าวซอง จากประเทศพม่า จึงทําให้เสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นทางชุมชนจึงได้พยายามจัดให้มีการเรียนรู้ในเรื่องของการเป็นหน่าวซอง โดยจัดให้มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกับหน่าวซองที่มาจากประเทศพม่า โดยเฉพาะในการจัดงานปีที่ผ่านมารวมถึงความพยายามในการถ่ายทอดให้กับลูกหลานในชุมชน ซึ่งไม่เฉพาะในเรื่องของการรํามะหน่าว แต่ร่วมถึงการถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิต การแต่งกาย อาหาร ภาษา ฯลฯ ให้คงอยู่กับลูกหลานในชุมชนต่อไป

เผ่าคะฉิ่นประกอบด้วยกลุ่มย่อยถึง 6 กลุ่ม ได้แก่ 

  1. จิงเพาะ เป็นกลุ่มใหญ่และใช้ภาษาจิงเพาะเป็นภาษากลางในการสื่อสารระหว่างกลุ่ม
  2. มาหรู่ และลองว่อ
  3. ระวาง
  4. ลีซู (เฉพาะในรัฐคะฉิ่น)
  5. ละซี และลิซิก
  6. ไซว้า และอะซี 

ซึ่งในแต่ละกลุ่มยังมีกลุ่มย่อยอีกมากทำให้ประเพณีและภาษาของแต่ละกลุ่มมีความแตกต่าง


การเปลี่ยนแปลงด้านอาชีพการงาน เกิดการพัฒนาตามสภาพแวดล้อมมากขึ้นและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี นำไปสู่การพัฒนาชีวิตที่ดีต่อไป


ด้านสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์สามารถแสดงออกได้อย่างเปิดเผยตามกรอบกฎหมาย เช่น ด้านวัฒนธรรม ประเพณีการแต่งกาย ภาษา และประเพณีการเต้นรำมะหน่าว 


ด้านสุขภาพอนามัย พบว่าในอดีตชาวคะฉิ่นขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพ ขาดการเอาใจใส่ต่อสุขภาพของตนเอง การดูแลสุขอนามัยเป็นสิ่งไกลตัวส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการจัดการสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม ปัจจุบันได้รับการเอาใจใส่จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการด้านสวัสดิการด้านสุขภาพ ส่งเจ้าหน้าที่มาดูแลให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อหรือเป็นแหล่งโรคระบาด


ด้านบ้านเรือนที่อยู่อาศัยสมัยก่อน เสาและโครงบ้านเป็นไม้ผสมกับไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา แต่ในปัจจุบันพัฒนาขึ้นมาตามยุคสมัยสร้างด้วยอิฐ ปูน เหล็ก กระเบื้อง อย่างถาวร


การจัดสรรน้ำ ปัจจุบันชาวบ้านได้ช่วยกันดูแลอย่างเต็มที่ ได้รับผลลัพธ์ที่ดีตามทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ภายใต้การดำเนินงานของโครงการหลวงหนองเขียวเป็นอย่างดี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สม จะเปา. (2560). การเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์คะฉิ่น บ้านใหม่สามัคคี ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา. 8(2), 69-77.

อนุชาติ ลาพา. (2557). แนวทางการอนุรักษ์ประเพณีการรำมะหน่าว (MANAU) ของชนเผ่าคะฉิ่นในชุมชนบ้านใหม่สามัคคีคะฉิ่น หมู่ 14 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. เชียงใหม่ มูลนิธิโครงการหลวง.

เทศบาลตำบลเชียงดาว. (ม.ป.ป.) แผนที่เทศบาลตำบลเชียงดาว. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://images.app.goo.gl/

North Public News. (2561). ท่องเที่ยวบ้านใหม่สามัคคี อ.เชียงดาว สัมผัสวัฒนธรรม”คะฉิ่น”ที่เดียวในไทย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.northpublicnews.com/

ทต.เชียงดาว โทร. 0-5345-5079 ต่อ 26