ชุมชนที่มีต้นไม้ใหญ่ ไม้หายาก และสัตว์นานาชนิด ประชาชนมีกฎระเบียบในการดำเนินป่าชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นต้นแบบของชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
เดิมชุมชนมีชื่อว่า "บ้านห้วยจาน" ภายหลังได้ทำการเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านมาเป็น "บ้านดงผาปูน" ซึ่งตั้งตามลักษณะภูมิประเทศของหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาหินปูน แวดล้อมไปด้วยป่าดิบเขา
ชุมชนที่มีต้นไม้ใหญ่ ไม้หายาก และสัตว์นานาชนิด ประชาชนมีกฎระเบียบในการดำเนินป่าชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นต้นแบบของชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
เดิมบ้านดงผาปูน มีชื่อเดิมว่า "บ้านห้วยจาน" เป็นชื่อเรียกตามสายน้ำที่ไหลผ่าน หมู่บ้านนี้อยู่ห่างจากตัวจังหวัดน่านประมาณ 109 กิโลเมตร เดิมทีเป็นหมู่บ้านบริวารของบ้านนาขวาง หมู่ 5 ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นป่าเขา พื้นที่แห่งนี้จึงเป็นจุดแย่งชิงมวลชนที่เกิดจากความแตกต่างทางอุดมการณ์การเมืองเมื่อ 30 ปีที่แล้ว จนกระทั่งปี 2526 หลังผ่านพ้นมรสุมทางความคิด ชาวบ้านส่วนหนึ่งซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเหนือที่เรียกตัวเองว่า "ถิ่น" (หรือชาวลั๊วะ) ซึ่งอพยพมาจากบ้านผาแดง (ส่วนหนึ่งของบ้านนาขวานในอดีต ปัจจุบันไม่มีแล้ว) เข้ามาจับจองที่ดินทำกิน สร้างบ้านแปลงเมืองโดยการนำของ นายอุ๋ย ใจปิง นายศรีจันทร์ พิศจารย นายตั๋น พิศจาร และนายรัตน์ พิศจาร ซึ่งในขณะนั้นเรียกว่า หมู่ 5.5 เป็นสาขาของบ้านนาขวางสมัยนั้น ผู้อพยพต่างพากันจับจองพื้นที่ป่าตามไหล่เขาเพื่อปลูกข้าวไร่
ปี พ.ศ. 2528 มีราษฎรจากบ้านม่อน บ้านบ่อหลวง อพยพเข้ามาอาศัยพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก บ้านห้วยจานแขณะนั้นยังจัดว่าเป็นพื้นที่สีแดงอยู่ กระทั่งทุกอย่างสงบ ตำรวจตระเวนชายแดนและหน่วยงานของรัฐก็เข้ามาพัฒนาร่วมกับชาวบ้าน และเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านมาเป็น "บ้านดงผาปูน" ตามลักษณะภูมิประเทศ ของหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาหินปูน
ในสมัยเริ่มแรกของการอพยพ ผู้มาตั้งรกรากทำมาหากินแบไร่หมุนเวียน โดยเฉพาะการปลูกข้าวโพด ไร่ข้าว โดยเปลี่ยนเวียนไปเรื่อย ๆ ทุก 3 ปี เป็นวิถีดำรงชีพที่สืบทอดมาจากบรรพชน แต่เงื่อนไขความขัดแย้งทางการเมืองในอดีตประกอบกับการแผ้วถางป่าอย่างไม่เหมาะสม ทำให้ป่าเสื่อมโทรม และเปิดปัญหาความแห้งแล้ง ฝนแล้งที่เริ่มหนักขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ทำให้ชาวบ้านเริ่มหันหน้ามาพูดคุยกัน แหล่งน้ำธรรมชาติที่เปรียบเป็นเสมือนสายเลือดของหมู่บ้านเริ่มแห้งเหือด จะมีบ้างก็ตรงที่เป็นร่องลึกซึ่งอยู่ไกลจากหมู่บ้าน ลุงตั๋น พิศจาร ผู้อาวุโสของหมู่บ้านบอกว่า ชาวบ้านยังมีความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่กับป่า จึงได้มีการกันพื้นที่ส่วนหนึ่งที่ติดกับป่าช้า มาทำเป็นป่าใช้สอยของชุมชนประมาณ 800 ไร่ ป่าส่วนนี้ ชาวบ้านได้ขอกับเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคาว่าจะกันไว้เป็นป่าชุมชน ชาวบ้านจะช่วยกันดูแล แม้จะเป็นป่าผืนเล็ก ๆ แต่เมื่อเทียบกับประชากรที่มีเพียง 177 คน หรือ 45 ครัวเรือน
บ้านดงผาปูนตั้งอยู่บนพื้นที่ราบหุบเขาหินปูน ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติขุนน่าน มีภูเขาสูงชันล้อมรอบ ชาวบ้านมักตั้งบ้านเรือนอยู่ตามไหล่เขาเรียงลำดับลดหลั่นกันไป มีลำห้วยจาน หรือลำห้วยคำเป็นลำห้วยสายหลักไหลผ่านหมู่บ้านตลอดทั้งปี ทั้งยังมีลำห้วยสาขาสายอื่น ๆ ที่ไหลมาจากป่าชุมชนและนอกเขตป่าชุมชนอีก 6 สายได้แก่ห้วยบงห้วยโต้งห้วยเป็นห้วยปลาบู่ ห้ายหมาล่อง และห้วยน้ำอุ่น ซึ่งลำห้วยทั้ง 6 สายนี้จะไหลมารวมกันที่ลำห้วยจานไหลผ่านหมู่บ้าน ก่อนไหลลงสู่ลำน้ำมาง ลำน้ำว้า และไหลลงสู่แม่น้ำน่าน
หมู่บ้านพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 8,780 ไร่ โดยทั้งหมดไม่มีเอกสารสิทธิ์รับรองความเป็นเจ้าของแบ่งเป็นที่นา 50 ไร่ ที่สวน 146 ไร่ ที่อยู่อาศัย 21 ไร่พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 180 ไร่ พื้นที่ป่าขุนน้ำ 150 ไร่ พื้นที่ป่าใช้สอย740 ไร่ และพื้นที่ป่าประเพณี 8 ไร่ส่วนอีก 7,500 ไร่ เป็นไร่หมุนเวียนและไร่เหล่า โดยส่วนใหญ่จะที่อายุมากกว่า 5 ปี และจะปรับเปลี่ยนเป็นป่าใช้สอย โดยบ้านดงผาปูนมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านนาบง ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านห่างทางหลวง ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านวังปะ ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ
ประชากรบ้านดงผาปูนมีทั้งสิ้น 47 ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 182 คน เพศชาย 98 คน เพศหญิง 84 คน ทั้งหมดใช้ภาษาคําเมืองเป็นภาษาพูด มีเชื้อสายปนหลายกลุ่มชาติพันธุ์ประกอบด้วย คนเหนือพื้นเมือง คนที่มีเชื้อสายจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คนมีเชื้อสายสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มคนลัวะหรือขมุ กลุ่มไทลื้อจากอำเภอทุ่งช้าง รวมไปถึงคนจากภาคกลาง โดยทั่วไปชุมชนบ้านดงผาปูนชาวบ้านส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติลักษณะครอบครัวเดี่ยว 4-5 คน เท่านั้น จะประกอบด้วย สามี ภรรยา และบุตร เพราะหากแต่งงานแล้วจะแยกครอบครัวออกไปเป็นของตนเอง โดยปลูกสร้างบ้านเรือนใหม่ไม่ห่างจากบริเวณเรือนของบิดา มารดา ชาวบ้านจึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและเกื้อกูลกัน ซึ่งในการจัดการป่าชุมชนนั้นพบว่ากลุ่มที่มีอิทธิพลในการจัดการมากที่สุดจะเป็นกลุ่มคนเหนือพื้นเมืองตระกูลพิศจารย์และใจปิง เพราะได้เข้ามามีบทบาทในการเป็นผู้นําชุมชนทั้งอย่างเป็นทางการและตามธรรมชาติ รวมไปถึงยังเป็นกลุ่มผู้บุกเบิกหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงให้ความเชื่อถือมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ
กำมุ, ไทลื้อชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรเป็นหลักทำการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคมีบางส่วนปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อขาย มีการประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะออกจากชุมชนไปรับจ้างทำงานเป็นรายได้เสริมหลังจากเสร็จสิ้นฤดูกาลเกษตรแล้ว แต่ก็มีส่วนน้อยที่รับจ้างเป็นอาชีพหลัก
อาชีพรับจ้างทั่วไปเป็นอาชีพหลักของคนส่วนน้อยในชุมชน มีทั้งเป็นลูกจ้างรายวันให้กับโครงการของรัฐและเอกชนอย่าง เช่น โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ลุ่มน้ำน่านอันเนื่องมาจากพระราชดําริฯ พื้นที่ที่ 9 (พมพ.9) กรมป่าไม้ ส่วนชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักจะทำงานรับจ้างเป็นอาชีพเสริมหลังจากเสร็จสิ้นฤดูกาลเกษตร ชาวบ้านจะเดินทางไปยังจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดลําปางเพื่อรับจ้างทำงานที่โรงงานลูกชิ้น บางคนเดินทางไปทำงานประจำเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย แรงงานก่อสร้างที่กรุงเทพฯ เมื่อถึงฤดูกาลเพาะปลูกจึงกลับมายังชุมชนการเก็บหาของป่าขายการเก็บหาของป่า เป็นแนวทางการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งของชาวบ้านด้วยความอุดมสมบูรณ์ของป่าความหลากหลายทางชีวภาพและประเภทของป่าที่แตกต่างกันของหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงสามารถเก็บหาของป่าได้หลากหลายชนิด เป็นแหล่งอาหาร ทั้งเนื้อสัตว์พืชผัก เห็ดและผลไม้ เป็นวัสดุในการสร้างอยู่อาศัย เช่น ไม้ก่อ ไม้ไผ่ ใบค้อ ใช้เป็นยาสมุนไพรเช่น พญาเสือโคร่ง หลุบหลิบ นางหมาย เป็นต้น และเป็นแหล่งไม้ฟืนที่ชาวบ้านใช้ในการหุงต้มและให้ความอบอุ่น จากการสํารวจพบว่าชาวบ้านเก็บหาของป่าประมาณ 160 ชนิด มีมูลค่าประมาณ 1,700,000 บาท
ปฏิทินชุมชน
- ประเพณีปีใหม่ม้ง : จัดขึ้นในเดือนธันวาคม เป็นการเฉลิมฉลองการเริ่มต้นปีใหม่ของชาวม้ง
- ประเพณีสรงน้ำพระ : จัดขึ้นในเดือนเมษายน เป็นการสรงน้ำพระพุทธรูปเพื่อความเป็นสิริมงคล
- ประเพณีแห่ครัวทาน : จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับ
- ประเพณีเข้าพรรษา : จัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม เป็นการจำพรรษาของพระภิกษุ
- ประเพณีออกพรรษา : จัดขึ้นในเดือนตุลาคม เป็นการทำบุญตักบาตรเทโว
ภาษาที่ใช้พูดในบ้านดงผาปูน เรียกว่า ภาษาไทยถิ่นล้านนา หรือภาษาคำเมือง
ขุนน่าน
- น้ำตกตาดฟ้า น้ำตกตาดฟ้าในหมู่บ้านดงผาปูนธ 2 เป็นน้ำตกสูง 3 ชั้น ล้อมรอบด้วยต้นไม้เขียวขจี
- ถ้ำผีแมน ถ้ำผีแมนในหมู่บ้านดงผาปูนธ 3 เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม
- จุดชมวิวทะเลหมอกดอยภูคา จุดชมวิวทะเลหมอกดอยภูคาจุดชมวิวหมู่บ้านผาปูน ธ 5 ที่เป็นจุดชมวิวที่เที่ยวทะเลหมอกได้ 360 องศา
- โฮมสเตย์บ้านดงผาปูนโฮมสเตย์บ้านดงผาปูนเป็นโฮมสเตย์ที่เปิดบ้านให้ความเห็นในความเห็นสามารถสัมผัสได้ถึงผู้ชมของชาวบ้านที่นับถือพื้นเมืองและชิมอาหารพื้นเมือง
- ผลิตภัณฑ์ OTOP บ้านดงผาปูนผลิตภัณฑ์ OTOP บ้านดงผาปูนเป็นคำอธิบายของชาวบ้าน เช่น ผ้าทอลายน้ำไหล กระเป๋า ยาสมุนไพร ฯลฯ
- กิจกรรมอื่น ๆ สามารถเยี่ยมชมสวนดอกไม้ ชมนกชมผีเสื้อ ปั่นร้านอาหารและเดินป่า บ้านดงผาปูนชุมชนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สามารถสัมผัสธรรมชาติวัฒนธรรมและนักท่องเที่ยวของประชาชน
นรชาติ วงศ์วันดี. (2554). ความสำเร็จของการจัดการป่าชุมชนบ้านดงผาปูน ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระสมคิด จารณธมฺโม. (2550). ชุมชนบ้านดงผาปูน ต้นแบบการจัดการทรัพยากรอย่างยุติธรรม จังหวัดน่าน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก สถาบันลูกโลกสีเขียว