Advance search

ชาติพันธุ์มอญ การรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายมอญ ยังคงยึดมั่นในพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น ประเพณีที่สําคัญ เช่น เทศกาลตักบาตรนํ้าผึ้ง เทศกาลตักบาตรดอกไม้ ตักบาตรเทโว และเทศกาลกวนกระยาสารท

แสมดำ
บางขุนเทียน
กรุงเทพมหานคร
ชุมชนมอญบางกระดี่ โทร. 09-0914-9558
น่านนที รอดสะเอี่ยม
11 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
24 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
24 ก.พ. 2024
บ้านบางกระดี่

บริเวณนี้เคยเป็นแหล่งชุมนุมกองเกวียนที่ไปมาค้าขายจากสุพรรณบุรี โดยทุกกองเกวียนจะมีผู้นําทําหน้าที่คุ้มกันประจํากองเรียกว่า “ขุน” บริเวณที่หยุดรวม กองเกวียนนี้ ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “บางขุนเกวียน” แล้วเพี้ยนเป็น “บางขุนเกียน” ต่อมาเขียนสะกดเป็น “บางขุนเทียน” ถึงทุกวันนี้ ยังมีความเห็นอีกว่า ชื่อ บางขุนเทียน มาจากนามและตําแหน่งบุคคลว่า “ขุนเทียร” เป็นขุนนางรักษาสวนหลวง ที่คงมีส่วนเข้ามาดูแลสวนบริเวณพื้นที่คลองบางขุนเทียนนั่นเอง


ชาติพันธุ์มอญ การรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายมอญ ยังคงยึดมั่นในพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น ประเพณีที่สําคัญ เช่น เทศกาลตักบาตรนํ้าผึ้ง เทศกาลตักบาตรดอกไม้ ตักบาตรเทโว และเทศกาลกวนกระยาสารท

แสมดำ
บางขุนเทียน
กรุงเทพมหานคร
10150
13.611532
100.384330
กรุงเทพมหานคร

มีงานศึกษาที่อธิบายถึงการเข้ามาตั้งถิ่นฐานในชุมชนบ้านกระดี่หลายแนวทาง เช่น ศิริพร รัตนดํารงอักษร กล่าวว่า ชาวมอญบางกระดี่เป็นกลุ่มที่อพยพมาจาก “บ้านบางกระดี่ เมืองหงสาวดี ขณะที่ พิศาล บุญผูก เผยว่า ชุมชนมอญบางกระดี่เกิดจากความจําเป็นที่จะต้องหาพื้นที่หรือแหล่งทํากินเพิ่มขึ้นของกลุ่มชาวมอญบ้านแพร้ว จังหวัดสมุทรสาคร และชาวมอญปากลัด จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีความสัมพันธ์ติดต่อกัน โดยอาศัยคลองมหาชัย (หรือคลอง สนามไชย) เป็นเส้นทางคมนาคมต่างเห็นว่าแถบแสมดํามีป่าชายเลน และป่าจากเหมาะที่จะเป็นแหล่งวัตถุดิบในการประกอบอาชีพตัดฟืนและเย็บจากส่งขายกรุงเทพมหานครได้เป็นอย่างดีจึงทยอยกันอพยพมาตั้งรกรากเพิ่มมากขึ้นกลายเป็นชุมชน ส่วนสุจริตลักษณ์ ดีผดุง กล่าวเพียงว่า คนมอญในบางขุนเทียนว่ามีชุมชนมอญอยู่ 2 แห่ง คือ ชุมชนมอญท่าข้าม และชุมชนมอญบางกระดี่ ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเย็บจาก ตัดฟื้น และทํานา

ในด้านประวัติศาสตร์ของคลองสนามไชย 4 ลําคลองสายหลักของชุมชนบางกระดี่นั้นเป็นคลองที่เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า ช่วงที่เรียกว่าคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง) ลงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้สู่แม่น้ำท่าจีนเขตอําเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร มีความยาวประมาณ 35 กิโลเมตร เส้นทางคลองสนามไชยจะผ่านไปทางแขวงบางค้อ แขวงบางขุนเทียนและแขวง แสมดํา อยู่ในท้องที่เขตจอมทองและเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร แล้วต่อเนื่องไปคลองมหาชัยเขตจังหวัดสมุทรสาคร ส่วนชื่อคลองที่ใช้เรียกชื่อคลองสนามไชยนั้นมีหลายชื่อด้วยกัน คือ ช่วงแรกที่เชื่อมคลองบางกอกใหญ่ เรียกว่า คลองด่าน ช่วงกลางเรียกว่า คลองสนามไชย ช่วงสุดท้ายเรียกว่า คลองมหาชัย แต่สําหรับชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันกลับขึ้นอยู่กับความสะดวกมากกว่า เช่น ช่วงที่ผ่านเขตบางขุนเทียนเรียกคลองบางขุนเทียน ช่วงที่ผ่านบางกระดี่เรียกคลอง บางกระดี่ หรือช่วงที่ผ่านแสมดําเรียกคลองแสมดํา เป็นต้น ในอดีตคลองสนามไชยนอกจากจะใช้เป็นเส้นทางติดต่อไปมาและค้าขายแล้วยังใช้เป็นเส้นทางเดินทัพ และเส้นทางเสด็จประพาสออกสู่ทะเลของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คลองสนามไชยจึงนับว่าเป็นเส้นทางคมนาคมสายประวัติศาสตร์ที่สําคัญโบราณสายหนึ่ง แต่เส้นทางนี้คงใช้ได้สะดวกเฉพาะฤดูฝนพอถึงหน้าแล้งน้ำก็ตื้นเขินเรือใหญ่ล่องไปมาไม่ได้

ชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญ ตั้งอยู่ริมสองฝั่งคลองสนามไชย กล่าวกันว่า ชาวมอญบ้านบางกระดี่อพยพมาจากมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร และคลองสุนัขหอน เพื่อมาจับจองแหล่งทำมาหากิน เนื่องจากหมู่บ้านบางกระดี่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีสภาพเป็นป่าชายเลนเต็มไปด้วยป่าจาก สามารถเดินทางโดยใช้คลองสนามชัยไปยังมหาไชย ราชบุรี กรุงเทพ ปากเกร็ด และมีคลองบางกระดี่ที่แยกจากคลองสนามไชยบริเวณวัดบางกระดี่ ปัจจุบันชุมชนบางกระดี่สามารถเข้าถึงได้ทางรถยนต์จากถนนบางกระดี่ที่เชื่อมต่อถนนพระรามที่ 2 ชุมชนบางกระดี่จะตั้งอยู่สุดปลายถนนบางกระดี่ อีกแหล่งข้อมูลระบุว่า ชุมชนมอญบางกระดี่เดิมตั้งอยู่บริเวณคลองเลนเปน ห่างจากชุมชนปัจจุบันไปทางตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร โดยคนกลุ่มแรกที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ คือ ทหารมอญจาก หงสาวดีที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต่อมาได้ย้ายวัดและอพยพผู้คนมาอยู่ที่ปากคลองกระดี่น้อยแทน เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่า

แขวงแสมดำ เป็นท้องที่การปกครองในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ แขวงบางบอนใต้ แขวงคลองบางบอน (เขตบางบอน) แขวงบางขุนเทียน แขวงจอมทอง (เขตจอมทอง) และแขวงท่าข้าม (เขตบางขุนเทียน) มีทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย คลองวัดสิงห์ และคลองสนามชัยเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ แขวงท่าข้าม (เขตบางขุนเทียน) มีคลองสนามชัยเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ แขวงท่าข้าม (เขตบางขุนเทียน) มีคลองสนามชัย คลองพระยาไชยยศสมบัติ และลำรางตาเณรเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลพันท้ายนรสิงห์และตำบลบางน้ำจืด (อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร) มีคลองแสมดำใต้ คลองแสมดำเหนือ และแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาครเป็นเส้นแบ่งเขต

เป็นชุมชนที่มีชาติพันธุ์มอญอาศัยอยู่

จากสถิติชุมชนบางกระดี่ปี พ.ศ. 2543 มีประชากรรวม 5,375 คน

ระบบเครือญาติจะเป็นพลังสนับสนุนการพัฒนาชุมชนที่ขับเคลื่อนการดําเนินกิจกรรมของชุมชน อีกทั้งยังเป็นการควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในครอบครัวและชุมชนให้อยู่ในพฤติกรรมที่ดีงาม จากพื้นฐานของชุมชนที่เกิดจากการย้ายถิ่นฐานของคนในชุมชนมอญบางกระดี่จากคนมอญพื้นที่ละแวกใกล้เคียงได้สร้างความเชื่อใหม่ร่วมกัน คือ การนับถือเจ้าพ่อบางกระดี่และเจ้าแม่หัวละหาน ทําให้เกิดคนในชุมชนมีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของร่วมกัน มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อชุมชน รวมถึงเป็นการสร้างความเป็นพวกเดียวกัน เป็นเครือญาติเดียวกัน ที่ต่างจากชุมชนในพื้นที่อื่น ๆ จากการสร้างความเชื่อขึ้นมาใหม่นี้ได้ถูกพัฒนาเป็นความศรัทธาโดยจะมีการเข้าทรงเจ้าพ่อบางกระดี่และเจ้าแม่หัวละหานในเทศกาลสงกรานต์เป็นกลไกตัวหนึ่งที่ทําหน้าใน รักษาอัตลักษณ์ของชุมชนมอญบางกระดี่ ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ชุมชนมอญบางกระดี่ได้เกิดขึ้นและถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชนทําให้การนับถือผีมิได้มองเป็นมิติของความเชื่อที่ไม่มีเหตุและผล แต่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่มีความงดงามที่สามารถอนุรักษ์ฟื้นฟูภายใต้บริบทของกระแสโลกาภิวัตน์

นอกจากนี้ ความเป็นเครือญาตินับเป็นส่วนสําคัญที่ทําให้เกิดการนําทุนทางสังคมมาใช้ ชุมชนมอญบางกระดี่มีพื้นฐานของสมาชิกในชุมชนจากระบบเครือญาติเพราะเป็นครอบครัวขยายที่ยังอยู่ร่วมกัน แม้ว่าชุมชนเริ่มมีคนภายนอกเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้นแต่การดํารงอยู่ของระบบเครือญาติยังมีอยู่โดยมีกลไกของความเชื่อเรื่อง ป๊ะ-หนก เข้ามาสร้างความสัมพันธ์ให้ระบบเครือญาติของตระกูลยังคงดํารงอยู่ในปัจจุบัน ทําให้ระบบความคิด ค่านิยม ทัศนคติถูกกล่อมเกลาจากครอบครัวที่มีคนในหลากหลายช่วงอายุส่งผลต่อแนวทางในการปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

มอญ

อาชีพหลักแต่เดิม คือ ทำนา จนหลัง พ.ศ. 2510–2512 เปลี่ยนอาชีพมาเย็บจาก ตัดฟืนขาย ภายหลังหันไปประกอบอาชีพอย่าง ทำวังกุ้ง วังปลา ค้าขาย รับราชการ รวมถึงทำงานโรงงาน ประชากรร้อยละ 20 ประกอบอาชีพทำงานในโรงงาน (ข้อมูล พ.ศ. 2545)

วิถีชีวิตประจําวัน มีการถือศีล-ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดเสมอมา รวมทั้งความสํานึกร่วมกันประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์มอญที่ยาวนาน ตั้งแต่การอพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยก็ได้รับแนวคิดค่านิยม ทัศนคติของพระพุทธศาสนามาปฏิบัติจนเป็นจารีตประเพณีของชุมชนนําไปสู่กฎเกณฑ์การควบคุมในชุมชน รวมถึงทําให้คนในชุมชนมีความเอื้ออาทร เมตตาต่อสรรพสิ่งทั้งหลาย โดยใช้กลวิธีการผ่านการเล่าเรื่องที่แฝงไปด้วยศีลธรรม ซึ่งเป็นหลักของการอยู่ร่วมกันด้วยความรักความเมตตา เอื้ออาทรต่อกัน

ปัจจัยบางสิ่งทำให้วิถีชีวิตของชุมชนมอญบางกระดี่บางอย่างได้เปลี่ยนแปลงไป การที่คนมอญบางกระดี่มีการแต่งงานกับคนชาติพันธุ์อื่น เช่น ไทย-จีน มีผลต่อการนับถือ ป๊ะ-หนก ในแต่ละตระกูลลดน้อยลงหรือหายไปจากตระกูลของตนเอง อีกทั้งจากเงื่อนไขของข้อปฏิบัติของการนับถือ ป๊ะ-หนก ห้ามมีการทําผิดผีถ้ามีการทําผิดจะต้องประกอบพิธีการรําผีในปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายเป็นจํานวนมากในตระกูลใหญ่ๆ มีค่าใช้จ่ายเป็นนับแสนบาทรวมถึงต้องมีการเชิญญาติพี่น้องในตระกูลทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆ มาร่วมในพิธีกรรมด้วย

1.ครูกัลยา ปุงบางกะดี่

ปราชญ์ชุมชนด้านทะแยมอญ บางกระดี่ เขตบางขุนเทียน ตำนานจากคณะหงส์ฟ้ารามัญ ศิลปวัฒนธรรมทางด้านดนตรี คณะหงส์ฟ้ารามัญนั้น เรียกได้ว่าทำการแสดงทะแยมอญด้วยความรัก และด้วยใจที่ต้องการอนุรักษ์ศิลปะการแสดงดนตรีทะแยมอญนี้อย่างเต็มที่ โดยทุกวันนี้การแสดงทะแยมอญก็ได้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมการแสดงอันดีงามนี้สู่คนรุ่นอื่นต่อไป

ทุนธรรมชาติ

พื้นที่ป่าชายเลน ระบบนิเวศในคลองสนามไชยเกิดการเปลี่ยนแปลง สะท้อนระบบคิดของคนในชุมชนเริ่มมีผลต่อระบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในชุมชนและทรัพยากรธรรมชาตินําไปสู่ความเสื่อมโทรมของป่าชายเลน เกิดนำเน่าเสียในคลองสนามไชย ระบบการผลิต คือ การทํานา ไม้ฟืน ตัดจาก ถูกเปลี่ยน ระบบความสัมพันธ์จากแรงงานในครอบครัวและเพื่อนบ้านเป็นผู้ว่าจ้างกับผู้ถูกจ้าง

ทุนวัฒนธรรม

โดยในชุมชนจะมีศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญบางกระดี่มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อรื้อฟื้นประเพณีและวัฒนธรรมมอญ อีกทั้งยังเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ด้าน “มอญศึกษา” ไม่จำกัดการศึกษาเฉพาะแค่ เรื่องราวของคนมอญในเมืองไทย หากรวมถึงมอญประเทศพม่าด้วย โดยเปิดบริการแก่นักเรียน นักศึกษา   กลุ่มข้าราชการ หรือประชาชนทั่วไป โดยไม่ต้องเสียธรรมเนียมเข้าชม แต่จะรับเงินจากการบริจาคด้วยความศรัทธาซึ่งถือเป็นแหล่งรายได้ทางเดียวของศูนย์ฯ 

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญบางกระดี่ถือเป็นสถาบันทางวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ ที่เข้าไปตั้งในหมู่บ้าน การดำเนินงานทุกอย่างเป็นไปตามแนวคิดของประธานศูนย์ฯ โดยหลักการศูนย์ฯ จึงถือเป็น “พื้นที่” ที่มีอิสระในการบริหารงาน เพราะไม่ต้องขึ้นกับอำนาจสถาบันใดของหมู่บ้าน แต่ทว่าเมื่อศูนย์ฯ ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน อีกทั้งของที่ถูกจัดแสดงบางส่วนก็เป็น ของวัด และของที่ได้รับจากการบริจาคซึ่งถือเป็น “ของส่วนรวม” หรือ “พื้นที่สาธารณะ” ย่อมต้องมีปฏิสัมพันธ์กับชาวบ้านและสถาบันต่างๆ ในหมู่บ้าน คือ สถาบันการปกครอง การศึกษา และศาสนา ดังนั้น สัมพันธภาพจะเป็นเช่นใดย่อมแสดงออกผ่านทางตัวแทนของสถาบันนั้นๆ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ชาวบ้าน ข้าราชการเขตบางขุนเทียน ครูใหญ่ และเจ้าอาวาส เป็นต้น

เมื่อราว พ.ศ. 2540–2541 มอญบางกระดี่จะติดต่อสื่อสารกันด้วยภาษามอญเป็นภาษาแรก และภาษาไทยเป็นภาษารอง ประชากรรุ่นอายุ 40 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะมีความรู้ด้านเขียนอ่านภาษามอญได้ดี นอกเหนือจากการพูด ซึ่งตรงข้ามกันผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี น้อยคนที่จะเขียนอ่านภาษามอญได้

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

วัดบางกระดี่

ซึ่งจะมีหลักฐานที่สามารถอธิบายความเป็นมา และความเก่าแก่ของชุมชนมอญบางกระดี่ คือ สถาปัตยกรรม และสิ่งก่อสร้างภายในวัดบางกระดี่ ได้แก่ เจดีย์ พระพุทธรูป และความเชื่อมโยงทางด้านสังคม และวัฒนธรรมประเพณีในชุมชนวัดบางกระดี่ โดยสถาปัตยกรรมภายในวัด เป็นงานศิลปะแบบพื้นบ้าน ใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นซึ่งเกิดจากพลังศรัทธาของชาวบ้าน ศิลปกรรมสร้างเป็นแบบมอญ พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปทองเหลือง ปางมารวิชัย เป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีพระพุทธรูปยืนซึ่งแกะสลักจากซุงทั้งต้น และมีเจดีย์ทรงฉลุลายโปร่ง ซึ่งมีความงดงามมาก บริเวณหน้าวัด มีเสาหงส์ เป็นสัญลักษณ์ วัดนี้ถือเป็นศูนย์รวมชาวไทยเชื้อสายมอญ ที่ยังคงสืบทอดและอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ของตนไว้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการถือผี หรือประเพณีต่าง ๆ ในรอบปี เช่น การแข่งเรือ การเล่นสะบ้า ประเพณีสงกรานต์ เป็นต้น

ปริตรตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล และคณะ. (2547). วิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่น ระยะที่ 1 สร้างเครือข่ายและสำรวจสภาพพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น. รายงานฉบับสมบูรณ์. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

พิศาล บุญผูก. (2537). สงกรานต์บางกระดี่. กรุงเทพฯ: ธีรพงษ์การพิมพ์.

วิกิพีเดีย. (2564). แขวงแสมดำ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.wiki3.th-th.nina.az/

ศิริพร รัตนดํารงอักษร. (2544). บทบาทพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญ ต่อสํานึกทางชาติพันธุ์ กรณีศึกษาชุมชนมอญบางกระดี่”. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (2538). มอญบทบาทด้านสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สหธรรมิกการพิมพ์.

สุวัฒน์ชัย สวัสดิผล. (2552). ทุนทางสังคมกับการจัดการศูนย์การเรียนรู้ : กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์ชุมชนมอญ บางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอกรินทร์ ซึ่งประชา. (2546). พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน : “พื้นที่” ที่ถูกต่อรองบนความขัดแย้ง : กรณีศึกษา : ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญบางกระดี่. ดำรงวิชาการหนังสือรวมบทความวิชาการ คณะโบราณคดี, 2(3). เลขหน้า 119-148.

ชุมชนมอญบางกระดี่ โทร. 09-0914-9558