Advance search

" นายขนมต้มลือไกล ดนตรีไทยลือลั่น หลวงพ่อขันศักดิ์สิทธิ์ อิฐมอญเนื้อแกร่ง แหล่งผลิตก้านธูป "

บางบาล
บางบาล
พระนครศรีอยุธยา
เทศบาลตำบลบางบาล โทร. 0-3530-7774
ธนบดี เปาะศิริ
15 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
24 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
24 ก.พ. 2024
บ้านบางบาล


เครือข่ายชุมชน

" นายขนมต้มลือไกล ดนตรีไทยลือลั่น หลวงพ่อขันศักดิ์สิทธิ์ อิฐมอญเนื้อแกร่ง แหล่งผลิตก้านธูป "

บางบาล
บางบาล
พระนครศรีอยุธยา
13250
14.3932827442
100.479007871
เทศบาลตำบลบางบาล

อำเภอบางบาล เป็นหนึ่งใน 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2488 เดิมชื่อ อำเภอเสนาใน ตั้งอยู่ที่ตำบลผีมด(ตำบลไทรน้อย ปัจจุบัน) จนเมื่อปี พ.ศ. 2453 ได้ย้ายที่ทำการอำเภอไปอยู่ที่ ม.5 ต.บางบาล ซึ่งนายเขียว บางบาล ได้บริจาคที่ดินเพื่อให้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอ          จึงได้เปลี่ยนจากอำเภอเสนาใน เป็นอำเภอบางบาล ตามนามสกุลของผู้ที่บริจาคที่ดิน

อำเภอบางบาลตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางทิศตะวันตกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

  • ทิศเหนือ       ติดต่อกับอำเภอป่าโมก (จังหวัดอ่างทอง) 
  • ทิศตะวันออก  ติดต่อกับอำเภอบางปะหันและอำเภอพระนครศรีอยุธยา 
  • ทิศใต้         ติดต่อกับอำเภอบางไทร 
  • ทิศตะวันตก   ติดต่อกับอำเภอเสนาและอำเภอผักไห่

ประชากรชาวชุมชนบางบาลส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยชนชาติมอญ โดยเทศบาลตำบลบางบาลมีจำนวนประชากรรวม 1,062 คน แบ่งเป็นชาย 503 คน และเป็นหญิง 559 คน

ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาปีและทำนาปรัง

ชาวบางบาลมีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย โดยชาวบางบาลมีการจัดเทศกาลหรือประเพณีต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการปักผ้าสไบมอญอการจัดงานวันสำคัญทางศาสนาต่างๆ เช่น การสร้างโบสถ์มหาอุตถ์ด้วยอิฐมอญ การสวดมนต์เมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนา และวิถีชีวิตในการประกอบอาชีพ ชุมชนบางบาลประกอบอาชีพด้วยการทำสมุนไพร และการปักผ้าเพื่อขาย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

  • วัดท่าสุทธาวาส

เดิมเรียกว่า “วัดผีมด” สร้างสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ. 2315 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ. 2320 มีประธานในพระอุโบสถคือ หลวงพ่อเศียรและหลวงพ่อเฒ่า มีคำขวัญของวัดคือ”หลวงพ่อเศียรคุ้มเกล้า หลวงพ่อเฒ่าคุ้มภัย”

  • วัดบุญกันนาวาส

วัดบุญกันนาวาสสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2356 โดยมีนางบุญมี และนายแจ่ม บริจาคที่ดินสร้างวัด มีหลวงพ่อเพชร ที่พบใต้ฐานโบถส์ เมื่อคราวดีดโบสถ์ขึ้น ประชาชนทั่วไปนิยมไปกราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคล

  • วัดปราสาททอง

วัดปราสาททองสร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ. 2200 ต่อมากลายเป็นวัดร้าง มีซากฐานเจดีย์ใหญ่ปรากฎอยู่ และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ประมาณ พ.ศ. 2452 เดิมชาวบ้านเรียกชื่อวัดหลายชื่อ เช่น ชาวบ้านทางเหนือ เรียก"วัดใต้" ชาวบ้านทางใต้ เรียก"วัดเหนือ" ชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่รอบวัดเรียก"วัดเจดีย์" เมื่อคราวมีผู้ดูแลวัด ชื่อ "ตาบูน" ก็เรียก "วัดตาบูน" มีหลวงพ่อศิลานาเวงประดิษฐานอยู่ในวิหาร สร้างด้วยศิลาแลงปางสมาธิ ผู้คนทั่วไปจะไปกราบไหว้ขอให้ช่วยเหลือต่างๆ ตามแต่ปรารถนา หากสำเร็จจะจุดพลุถวายท่าน

  • วัดเก้าห้อง

เดิมชื่อวัดท้ายตลาด ตั้งอยู่บ้านเก้าห้อง สร้างเป็นวัดตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2380 พระประธานในโบสถ์สร้างด้วยหินทรายปิดทองทั้งองค์ ใบเสมาคู่ทำด้วยศิลาแลงสลักลวดลายเครือเถาวัลย์เป็นของเก่าแก่ มีวัตถุมงคล คือเหรียญ , แหวนหลวงพ่อพระครูสุมนเมธากร (หลวงพ่อโก๊ะ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเก้าห้อง ซึ่งเป็นเหรียญที่แปลกนั่นคือ หลวงพ่อนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ลูกศิษย์เมื่อยามได้รับนิมนต์ไปในงานต่างๆ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

จากการที่ได้แบ่งแขวงเสนาออกเป็น 4 แขวง อาจทำให้มีการเรียกชื่อทางการปกครองในระยะต่อมา เกิดการสับสนจึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอเสียใหม่เพื่อความสะดวดยิ่งขึ้น และในปี พ.. 2514  ได้ย้ายที่ว่าการอำเภออีกครั้ง เนื่องจากสถานที่ตั้งของอำเภอแคบ การขยายบริเวณทำได้ยาก สภาพการคมนาคม   การปกครองไม่สะดวก โดยย้ายมาตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลมหาพราหมณ์ จนปี พ.. 2548 ได้รับงบประมาณจากกรมการปกครอง ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่จนถึงปัจจุบัน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

วิจิตต์ศรี ร้อยศรี. (2564). มุสลิมชุมชนลุมพลีและชุมชนภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา : การสำรวจเบื้องค้น. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา. 13(1), 57-71.

muang-krabi. (2559). ประวัติความเป็นมาอำเภอบางบาล. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก: https://district.cdd.go.th/bangban/about-us/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2/

เทศบาลตำบลบางบาล โทร. 0-3530-7774