มีวัดชัยมงคลพระอารามหลวงเป็นจุดเด่นของชุมชนนี้มีวัดชัยมงคลพระอารามหลวงเป็นจุดเด่นของชุมชน
เป็นชุมชนที่มีชื่อวัดเป็นองค์ประกอบทั้งหมดในเขตเทศบาลเมือง จึงตั้งชื่อชุมชนตามวัดนั้น จึงได้ชื่อว่าชุมชนวัดชัยมงคล เดิมมีชื่อว่าวัดโคกเสม็ด แต่เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้นก็ทำแผนพัฒนาชุมชนในทุกๆ ด้านจึงชื่อชุมชนวัดชัยมงคล
มีวัดชัยมงคลพระอารามหลวงเป็นจุดเด่นของชุมชนนี้มีวัดชัยมงคลพระอารามหลวงเป็นจุดเด่นของชุมชน
วัดชัยมงคลเป็นวัดที่เก่าแก่ที่บรมธาตุที่ศักดิ์สิทธิเป็นที่เคารพบูชาของชาวสงขลา ภายในวัดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นที่เคารพบูชา และวัดนี้ก็มีการบอกกล่าวต่อกันมาว่พระอาจารย์ชัยพระภิกษุชาวกลันตัน เป็นคนก่อตั้งวัดนี้ขึ้นมาปลายสมัยพระบาทสมเด็จฯพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณปี พ.ศ. 2320
สภาพทั่วไปของตำบลบ่อยาง เป็นชุมชนเมือง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของหน่วยงานต่างๆ ของจังหวัด เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น ศาลากลางจังกวัด ศาลจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สถานีรถไฟ วัดชัยมงคล แหลมสมิหลา โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดอ่าวไทย
- ทิศใต้ ติดต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา
- ทิศตะวันออก ติดอ่าวไทย
- ทิศตะวันตก ติดทะเลสาบสงขลา
ชุมชนวัดชัยมงคล ประชากรรวมทั้งสิ้น 1,304 คน ตามทะเบียนราษฎร์
กลุ่มอาชีพมีทั้งด้านทางแพทย์แผนไทยหรือหมอพื้นบ้าน มีความชำนาญเฉพาะทางด้านสมุนไพร และมีบุคคลที่เป็นช่างไม้ ช่างหัตถกรรมที่ทำกรงนกหัวจุก และทำว่าวควาย
ทุนวัฒนธรรม
- วัดชัยมงคล
วัดชัยมงคลเป็นวัดที่เก่าแก่มีพระบรมธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพบูชาของชาวจังหวัดสงขลา และจังหวัดใกล้เคียง จะสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่จากคำบอกเล่าของคนรุ่นก่อนๆ และจากคุณคณิศร แสงรัตน์ (อดีตพระครูประภัสสรวินัยกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล) ซึ่งเล่าว่าได้ฟังประวัติวัดชัยมงคลจากพระครูพินิจสมณการ (อดีตเจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส) ซึ่งท่านเจอเมื่อครั้งเดินทางไปจังหวัดนราธิวาส ขณะนั้นพระครูพินิจสมณการ อายุได้ 83 ปีแล้ว ท่าน พระครูพินิจสมณการ เล่าว่าเพราะเมื่อครั้งที่ท่านยังเป็นเด็กอายุได้ 13 ปี ได้ถวายตัวเป็นศิษย์เรียนอักขระจากพระอาจารย์ชัย ในครั้งที่อาจารย์ชัยกลับจากสงขลาไปอยู่ที่กลันตัน (สมัยกลันตันยังเป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรไทย ปัจจุบันคือประเทศมาเลเซีย) และได้ทราบประวัติของวัดชัยมงคลว่า วัดนี้สร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดเพชรมงคล (ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของวัดชัยมงคล ไม่ไกลจากวัดชัยมงคลมากนัก (อยู่ในเขตตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา เช่นเดียวกัน) โดยพระอาจารย์ชัยเป็นผู้สร้างวัดชัยมงคล และพระอาจารย์เพชรเป็นผู้สร้างวัดเพชรมงคล พระภิกษุทั้ง 2 รูปนี้เป็นสหธรรมิกสนิทกันและก็เป็นชาวกลันตันด้วยกัน แต่จะสร้างขึ้นเมื่อใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ก็น่าจะราวปี พ.ศ. 2394 ราวๆ ปลายสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดชัยมงคล เดิมนั้นมีชื่อว่า "วัดโคกเสม็ด" เพราะตั้งอยู่บนเนินทรายที่มีต้นเสม็ดอยู่จำนวนมาก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดชัยมงคล" ภายในวัดมีพระสถูปเจดีย์หรือเจดีย์พระบรมธาตุ หอระฆังของวัดชัยมงคล และพระพุทธไสยยาสน์ชัยมงคล
ฐานข้อมูลการท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้. (ม.ป.ป.). ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก: http://ska.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=136&Itemid=119
ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้. (2561). วัดชัยมงคล. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก: ฐานข้อมูลท้องถิ่น ภาคใต้ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ม.อ. - Southern Information @Clib PSU
ณัฐนีภรณ์ น้อยเสงี่ยม. (2563). การค้นหาอัตลักษณ์พุทธสถาปัตยกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา. รายงานการวิจัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
นฤมล วรรธนเศรณี, จำเริญ แสงดวงแข และสุมใจ ศรีนวล. (2549). ศึกษาบทบาทและผลกระทบจากบทบาทของวัดชัยมงคล อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. วารสารปาริชาต. 18(3), 68-71.