Advance search

บ้านหลวง

ชุมชนวัดศรีหลวงแจ้ซ้อน ชุมชนคุณธรรมที่พัฒนาเคียงคู่ไปพร้อมกับวัดหลวงศรีแจ้ซ้อน ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สวยงามและสำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือ

บ้านหลวง
แจ้ซ้อน
เมืองปาน
ลำปาง
อบต.แจ้ซ้อน โทร. 0-5426-3234
อาทิตยา รุ่งเรือง
14 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
25 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
25 ก.พ. 2024
วัดศรีหลวงแจ้ซ้อน
บ้านหลวง


ชุมชนชนบท

ชุมชนวัดศรีหลวงแจ้ซ้อน ชุมชนคุณธรรมที่พัฒนาเคียงคู่ไปพร้อมกับวัดหลวงศรีแจ้ซ้อน ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สวยงามและสำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือ

บ้านหลวง
แจ้ซ้อน
เมืองปาน
ลำปาง
52240
18.808602128526488
99.50354773008308
องค์การบริหารส่วนตำบลแจ้ซ้อน

ชุมชนวัดศรีหลวงแจ้ซ้อน เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ประเทศไทย มีความสำคัญเนื่องจากเป็นบริเวณที่มีวัดศรีหลวงแจ้ซ้อน เป็นศูนย์กลางทางศาสนาและวัฒนธรรมของชุมชนในบริเวณนี้ โดยประวัติความเป็นมาของวัดศรีหลวงแจ้ซ้อนนั้นไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการสร้างขึ้นในสมัยใด แต่มีการสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับวัดภูมินทร์ วัดหนองบัว และมีการกล่าวถึงในตำนานที่หนานยศตะนาได้บันทึกไว้ในใบลาน โดยมีพระครูพิพัฒน์วรเดชเป็นผู้แปล มีใจความว่า ครูบาเจ้าวะจิระปัญญาร่วมกับแสนเมืองลือโลก พร้อมด้วยศรัทธาของชาวบ้านได้เดินทางไปขออนุญาตจากเจ้าเมืองละกอนในการสร้างวิหาร จากนั้นจึงไปนิมนต์ครูบายาวิชัยแห่งวัดบ้านถ้ำให้มาเป็นช่างก่อสร้าง ครูบายาวิชัยจึงให้ไปขอครูบาเจ้าอสิงวิตั๊กแห่งวัดพระยืน จังหวัดลำพูน ช่วยเขียนแปลนก่อสร้างให้ เมื่อได้แบบแปลนมาแล้วก็กลับมานิมนต์ให้ครูบายาวิชัยเป็นช่างก่อสร้าง เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2400 ในสมัยนั้นได้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า "วัดป่าไผ่" ซึ่งมีเพียงวิหารและเจดีย์ทรงระฆังคว่ำย่อมุม 12 เป็นศิลปกรรมล้านนาผสมพม่า กระทั่งในปี พ.ศ. 2509 ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ จากนั้นกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ห้ามให้มีการบูรณะโดยไม่ได้รับอนุญาต

ชุมชนบ้านหลวง มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ จดเขตเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
  • ทิศตะวันออก จดเขตอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
  • ทิศใต้ จดเขตอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล
  • ทิศตะวันตก จดอำเภอสันกำแพง และอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศของแจ้ซ้อนทั่วไปเป็นภูเขาสลับซับซ้อนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาที่สำคัญ คือ เทือกเขาผีปันน้ำตะวันตก ซึ่งเป็นเทือกเขาที่ทอดตัวเป็นแนวยาวจากทิศเหนือสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เลื่อนลงไปทางทิศใต้จนถึงอำเภอแม่พริก แนวสันเขานี้ใช้เป็นเขตแบ่งการปกครองระหว่างจังหวัดลำปางกับจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน

จากรายงานข้อมูลตำบลแจ้ซ้อนปี พ.ศ. 2567 มีจำนวนประชากรในบ้านหลวงแจ้ซ้อน หมู่ที่ 5 จำนวนทั้งหมด 385 คน

ชุมชนคุณธรรมวัดศรีหลวงแจ้ซ้อน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำเกษตรกรรม ดำรงชีวิตประจำวันด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทุกครัวเรือนมีการปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภค มีภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน เช่น หมอสมุนไพร การจักสานฯ มีการรวมกลุ่มร่วมกิจกรรมในชุมชน เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์

ชาวบ้านมีวิถีการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย มีการจัดเทศกาลประเพณีวันสำคัญต่าง ๆ เช่น ประเพณีสรงน้ำพระในวันสงกรานต์ การแห่บั้งไฟ การละเล่นผีตาโขน ในด้านของวิถีการประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ชาวบ้านก็จะทำการเย็บผ้า-ปักผ้าเป็นหลัก รวมถึงมีภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น มีการนำสมุนไพรมาใช้

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม 

วัดศรีหลวงแจ้ซ้อน

ตั้งอยู่เลขที่ 394 หมู่ที่ 5 บ้านหลวงแจ้ซ้อน อำเภอแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง เป็นวัดที่มีความสวยงามตามยุคสมัยนั้น เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ บริเวณวัดมีความสงบ ร่มรื่น ร่มเย็น มีความสวยงามทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม

วิหารวัดศรีหลวงสร้างขึ้นแบบก่ออิฐถือปูนในอดีตเป็นเพียงศาลาโล่ง ๆ ปัจจุบันได้ก่อผนังอิฐและใส่ปล่องหน้าต่างขึ้น บริเวณบันไดทางขึ้นวิหารมีประติมากรรมปูนปั้นรูปสัตว์ในนิยาย ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปประธานศิลปะเชียงแสนและธรรมาสไม้สักเก่าแก่อายุร้อยกว่าปี ด้านหลังวิหารประดิษฐานเจดีย์ทรงระฆังคว่ำหุ้มด้วยทองจังโกฐ สันนิษฐานว่าวัดนี้น่าจะอยู่ในยุคสมัยเดียวกับวัดหนองบัวอำเภอท่าวังผาและวัดภูมินทร์จังหวัดน่าน เพราะรูปทรงอาคารมีลักษณะคล้ายคลึงกัน

ทุนทางธรรมชาติ

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน หรือบ่อน้ำร้อนแจ้ซ้อน ตั้งอยู่ที่ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เป็นบ่อน้ำร้อนน้ำแร่ที่ผุดขึ้นมาจากพื้นดิน และเต็มไปด้วยโขดหินจากธรรมชาติสวยงดงามที่แทรกตัวอยู่กลางแอ่งน้ำร้อน

น้ำตกแจ้ซ้อน เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำน้ำแม่มอญ มีน้ำไหลใสสะอาดตลอดปี มีแอ่งน้ำรองรับตลอดสายไหลตกลงมาเป็นชั้น ๆ มีความสูงทั้งหมด 6 ชั้น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

หลังบูรณะทั้งวิหารหลวง พระธาตุ ที่เก่าแก่ของวัดศรีหลวงแจ้ซ้อน แล้วกลายเป็นวัดใหม่ ไม่หลงเหลือศิลปวัฒนธรรมของล้านนาที่เก่าแก่อายุกว่า 400 ปี โดยพระธาตุที่เคยแสดงถึงความเก่าแก่กลับกลายเป็นเหมือนพระธาตุใหม่ ทาองค์พระธาตุด้วยสีทองสดใส และฐานสีขาวใหม่ ส่วนวิหารหลวง ซึ่งเคยมีลักษณะที่บอกให้เห็นถึงความสวยงาม และความเก่าแก่ด้านวัฒนธรรมล้านนา ก็ถูกทาสีใหม่จนไม่เหลือความเก่าแก่ให้เห็น โดยเฉพาะลายไม้หน้าวิหารหลวงที่ถูกทาด้วยสีทอง และประดับด้วยกระจกจีนสีเขียว นับเป็นภาพที่ดูแปลกตาไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กระทรวงวัฒนธรรม. (2564). ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัดลำปาง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567. https://www2.m-culture.go.th/lampang/

ข่าวฮอตภูธร. (2558). วิจารณ์สนั่น! กรมศิลป์บูรณะ “วัดศรีหลวงแจ้ซ้อน” อายุกว่า 400 ปีกลายเป็นวัดใหม่ใสกิ๊ก. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567. https://mgronline.com/local/

จักรพงษ์ คำบุญเรือง. (2563). วัดเก่าร้อยปี “ศรีหลวงแจ้ซ้อน”. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567. https://www.chiangmainews.co.th/

วราพร สิงห์อยู่เจริญ. (2551). การจัดการนันทนาการในอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนันทนาการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

TANTHIKA THANOMNAM. (2565). ชุมชนคุณธรรมวัดศรีหลวงแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567. https://jk.tours/2022/01/26/ชุมชนคุณธรรมวัดศรีหลวง/

ปุญชรัสมิ์ คงเศรษฐกุล. (2559). วัดศรีหลวงแจ้ซ้อน. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2567. https://asa.or.th/conservationaward/

อบต.แจ้ซ้อน โทร. 0-5426-3234