จากความชำนาญด้านงานปูนในอดีตสู่ที่มาของชื่อชุมชน
ในอดีตมักเรียกผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะทางว่า "หมอ" ประกอบกับชาวบ้านมีความชำนาญด้านการผสมปูน จึงเรียกว่า "หมอผสม" ต่อมาจึงเรียกเพี้ยนเป็น "หมอสม"
จากความชำนาญด้านงานปูนในอดีตสู่ที่มาของชื่อชุมชน
ในอดีตประมาณ 1,300 ปีล่วงมาแล้ว เจ้าอนันตยศผู้เป็นบุตรของพระนางจามเทวี แห่งเมืองหริภุญชัย ลำพูน ได้มาสร้างเมือง ณ เขลางค์นคร พระนางจามเทวีได้เสด็จมาประทับด้วย และได้เสด็จนมัสการองค์พระธาตุลำปางหลวงหลายครั้ง พระนางมีความประสงค์อยากจะบูรณะองค์ธาตุ ลำปางหลวง จึงต้องการ ผู้ที่มีความชำนาญงานปูน ทั้งการก่อ การเท การฉาบและการผสมปูน ซึ่งในครั้งนั้น มีชาวบ้านหมอสมได้ร่วมปฏิบัติงานด้วย เนื่องจากมีความชำนาญด้านการผสมปูน ซึ่งคนในอดีตมักจะเรียก ผู้ที่มีความสามารถเฉพาะทางด้านนั้น ๆ ว่า “หมอ” ดังนั้น จึงเรียกชาวบ้านที่ชำนาญในการผสมปูน ว่า “หมอผสม” ต่อมาได้มีการเรียกขานเพี้ยนมาเป็น “หมอสม” จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อชุมชนว่า “บ้านหมอสม” และได้จัดตั้งเป็นชุมชนบ้านหมอสม เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2545
ลักษณะภูมิประเทศ
มีลักษณะการตั้งถิ่นฐานและพื้นที่ชุมชนจะอาศัยอยู่เลียบแม่น้ำวังและล้อมรอบไปด้วยทุ่งนา
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านศรีก้ำ หมู่ที่ 1 ตำบลปงแสนทองชุมชนบ้านวังแคว้ง หมู่ที่ 2 ตำบลปงแสนทองและชุมชนบ้านหนองบัว หมู่ที่ 5 ตำบลปงแสนทอง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านสำเภา หมู่ที่ 9 ตำบลปงแสนทอง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านวังแคว้ง หมู่ที่ 2 ตำบลปงแสนทอง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านป่ากล้วย หมู่ที่ 4 ตำบลปงแสนทอง
ประชากรในพื้นที่บ้านหมอสม ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
- จำนวนประชากร รวมทั้งสิ้น 1337 แยกเป็น ชาย 657 คน หญิง 680 คน
- จำนวนครัวเรือน 492 ครัวเรือน
โครงสร้างองค์กรชุมชนบ้านหมอสม
- กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านหมอสม จำนวนสมาชิก 400 คน ประธานกลุ่ม : นายรส สายวงค์ปัญญา
- กลุ่มสตรีชุมชนบ้านหมอสม จำนวนสมาชิก 100 คน ประธานกลุ่ม : นางสุนันทา อินผูก
- กลุ่ม อสม. ชุมชนบ้านหมอสม จำนวนสมาชิก 45 คน ประธานกลุ่ม : น.ส.ปทุมพร สายวงค์ปัญญา
- กลุ่มสร้างอาชีพชุมชนบ้านหมอสม จำนวนสมาชิก 7 คน ประธานกลุ่ม : นางธัญญาพร อินทราวุธ
กองทุนในหมู่บ้าน มีจำนวน 1 กองทุน ดังนี้
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้านฯ ชุมชนบ้านหมอสม มีงบประมาณ 2,000,000 บาท ประธานกลุ่ม : นายสุริยา ชุ่มอินทร์จักร
ชื่อ | สกุล | ตำแหน่ง | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
1.นายวันชัย | อินทะนัก | ผู้ใหญ่บ้าน | ปี 2547 - 7 มี.ค. 2548 |
2.นายรส | สายวงศ์ปัญญา | ประธานชุมชน | 14 มี.ค. 2545 - 13 มี.ค. 2547 |
3.นายวันชัย | อินทะนัก | ประธานชุมชน | 15 พ.ค. 2548 - 14 พ.ค. 2550 |
4.นายวันชัย | อินทะนัก | ประธานชุมชน | 2 มิ.ย. 2550 - 1 มิ.ย. 2552 |
5.นายวันชัย | อินทะนัก | ประธานชุมชน | 20 มิ.ย. 2552 - 19 มิ.ย. 2554 |
6.นายสุริยา | ชุ่มอินทร์จักร์ | ประธานชุมชน | 24 ก.ค. 2554 - 23 ก.ค. 2558 |
7.นายสุริยา | ชุ่มอินทร์จักร์ | ประธานชุมชน | 23 ส.ค. 2558 - 22 ส.ค. 2562 |
8.นายวันชัย | อินทะนัก | ประธานชุมชน | 6 ต.ค. 2562 - 5 ต.ค. |
ด้าน/ปัจจัย | ทุน | ท้าทาย |
ด้านเศรษฐกิจ |
|
|
ด้านสังคม |
|
|
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
|
|
ด้านความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย |
|
|
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน |
|
|
ปัจจัยภายนอก/สภาพแวดล้อมภายนอก |
|
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือหรือภาษาล้านนา
- ประชาชนมีรายได้น้อย ไม่เพียงพอกับรายจ่าย
- ไม่มีการรวมกลุ่มของคนในชุมชนเพื่อทำอาชีพเสริม
- การดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านฯ ไม่มีระบบขาดการตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐ
- เด็ก และเยาวชนส่วนใหญ่ ขาดความสนใจในการร่วมกิจกรรมด้านศาสนา และ วัฒนธรรมประเพณี
- ผู้สูงอายุ และเด็ก ไม่มีสถานที่ในการออกกำลังกายเป็นกลุ่ม
- ปัญหายาเสพติดและการพนันในชุมชน
- ประชาชนบางส่วนยังไม่สามารถใช้เทคโนโลยีต่างๆได้ เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจ
- การดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านฯ ไม่มีระบบขาดการ
- สถานที่บางแห่งยังเป็นจุดเสี่ยงต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ไม่มีกล้องวงจรปิด)
- บางพื้นที่ในชุมชนไม่มีระบบระบายน้ำ
- แหล่งน้ำเพื่อใช้ในอุปโภค – บริโภคไม่เพียงพอ
- ถนนบางซอยชำรุดเป็นหลุมเป็นบ่อ
- คนในชุมชนขาดความตระหนักในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม
- มีแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ
- มีการเผาขยะ
- เกษตรกรยังใช้สารเคมีในการท าการเกษตร (ทำนา)
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2560). ชุมชนบ้านหมอสม ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. เทศบาลเมืองเขลางค์นคร https://www.kelangnakorn.go.th/