เมืองหน้าด่านของนครหลวงลำปางที่มีเรื่องราวการต่อสู้ของชุมชน กลายเป็นชื่อของเมืองแห่งนี้
บ้านป่าตันกุมเมือง เดิมชื่อ บ้านป่าดงตัน เนื่องจากเป็นหมู่บ้านเป็นป่าดงของต้นพุทรา ภายหลังได้เปลี่ยนเป็น บ้านป่าตันตุ้มเมือง ซึ่งตุ้ม หมายถึง การพยุงไว้ช่วงขณะหนึ่ง และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “บ้านป่าตันกุมเมือง” ซึ่งคำว่า “กุม” หมายถึง คุ้มครองหรือป้องกัน
เมืองหน้าด่านของนครหลวงลำปางที่มีเรื่องราวการต่อสู้ของชุมชน กลายเป็นชื่อของเมืองแห่งนี้
บ้านป่าตันกุมเมืองเดิมชื่อ “บ้านป่าดงตัน” เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นป่าดงของต้นพุทรา (บ่าตัน) ชาวบ้านจึงได้เรียกชื่อตามสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ ต่อมาในสมัยเจ้าพ่อทิพย์ช้างได้เกิดการสู้รบขึ้นจึงได้ใช้บ้านป่าดงตันเป็นหมู่บ้านหน้าด่าน เพราะมีป่าดงพุทราที่หนาทึบ เมื่อพวกทหารพม่ายกทัพเข้าตีเมืองนครลำปาง โดยได้เดินทัพมาจากวัดพระธาตุลำปางหลวงก็จะต้องผ่านป่าดงพุทราแห่งนี้เพราะเป็นหนทางที่ใกล้กว่าทางอื่น แต่ด้วยความหวงแหนและรักแผ่นดินถิ่นกำเนิดของชาวบ้านป่าดงตันจึงได้รวมตัวกันตั้งกองทัพเพื่อสู้กับกองทัพทหารพม่า แต่ในที่สุดชาวบ้านป่าดงตันก็พ่ายแพ้แก่ทหารพม่าเพราะกำลังพลไม่ได้มีการฝึกฝนการสู้รบและไม่มีอาวุธในการต่อสู้ ทัพบ้านป่าดงตันก็แตกสลายพ่ายแพ้แก่ทัพของพม่า ต่อมามีบุคคลเก่งกล้าชื่อ “หนานทิพย์ช้าง” ได้อาสาไปปราบทหารพม่าโดยได้บุกไปฆ่าผู้นำทัพของพม่านั่นคือ “ท้าวมหายศ” ตายที่วัดพระธาตุลำปางหลวง จากนั้นบ้านป่าดงตันจึงได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “บ้านป่าตันตุ้มเมือง” ซึ่งตุ้ม หมายถึง การพยุงไว้ช่วงขณะหนึ่ง และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “บ้านป่าตันกุมเมือง” ซึ่งคำว่า “กุม” หมายถึง คุ้มครองหรือป้องกัน และได้จัดตั้งเป็นชุมชนบ้านป่าตันกุมเมืองเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2545
ลักษณะถูมิประเทศ
สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 268.60 เมตร มีสภาพทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำอยู่ในเขตชุมชนเมืองกึ่งชนบท
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านหนองห้าตะวันตก หมู่ที่ 10 ตำบลปงแสนทอง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านป่ากล้วย หมู่ที่ 4 ตำบลปงแสนทอง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านหลวง หมู่ที่ 5 ตำบลปงแสนทอง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านกาดใต้ หมู่ที่ 7 ตำบลปงแสนทองและชุมชนบ้านช้าง หมู่ที่ 7 ตำบลปงแสนทอง
สถานที่สำคัญ
วัดป่าตันกุมเมือง
วัดป่าตันกุมเมือง เป็นวัดที่มีความสำคัญอย่างสมบูรณ์ทั้งทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของจังหวัดลำปาง กรมศิลปากรได้สำรวจเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุแห่งชาติเพื่อรับปีการเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2530
วัดป่าตันกุมเมือง ตั้งอยู่เลขที่ 211 บ้านป่าตันกุมเมือง หมู่ที่ 5 ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1727 ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาประมาณ พ.ศ. 2486 มีอาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิ พระธาตุเจดีย์ และปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือพระพุทธรูปปางสมาธิ 2 องค์
วัดป่าตันกุมเมืองปรากฏชื่อในประวัติศาสตร์ มีมาก่อนสมัยทิพยจักราธิวงศ์ เป็นวัดในตระกูลอรัญญาวาสีอยู่ขอบป่าพุทรา หรือป่าตันหน้าสนามลำปาง
ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2272-2275 วัดป่าตันกุมเมืองได้เป็นจุดรวมพลของคณะสงฆ์ เพื่อช่วยรักษาบ้านเมือง ได้รวมพลอาสาเป็นค่าด่านหน้าเมืองนครลำปาง รับศึกกองทัพท้าวมหายศลำพูน วัดป่าตันกุมเมือง มีพระมหาเถรสุริยะอรัญวาสี เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก สมัยนครลำปางเป็นประเทศราช มีระบบการปกครอง ชั้นราชาคณะปกครองฝ่ายสงฆ์ วัดป่าตันกุมเมืองเป็นวัดจำพรรษาของครูบามหาป่ามาแต่โบราณ ต่อมาสมัยเจ้าหลวงนรนันชัย ชวลิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง ได้เห็นสภาพทรุดโทรมและตระหนักถึงความสำคัญของวัดป่าตันกุมเมือง อันเป็นวัดรักษาบ้านเมืองและมีความสำคัญในประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยกู้บ้านกู้เมืองจึงมีการบูรณะก่อสร้างให้คงอยู่สวยงามตลอดไป
ประชากรชุมชนป่าตันกุมเมืองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป รองลงมาประกอบอาชีพ ค้าขาย รับราชการ และเกษตรกร ตามลำดับ
จำนวนประชากรในพื้นที่บ้านป่าต้นกุมเมือง ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
- จำนวนประชากร รวมทั้งสิ้น 321 คน แยกเป็น ชาย 294 คน หญิง 327 คน
- จำนวนครัวเรือน 258 ครัวเรือน
โครงสร้างองค์กรชุมชนบ้านป่าต้นกุมเมือง
- กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านป่าตันกุมเมือง จำนวนสมาชิก 150 คน ประธานกลุ่ม : นางพรรณี แก้วบุญเรือง
- กลุ่มสตรีชุมชนบ้านป่าตันกุมเมือง จำนวนสมาชิก 80 คน ประธานกลุ่ม : นางอุดม การะกัน
- กลุ่ม อสม. ชุมชนบ้านป่าตันกุมเมือง จำนวนสมาชิก 15 คน ประธานกลุ่ม : นางณัฐสุพัต โกษาวัง
- กลุ่มตัดเย็บชุมชนบ้านป่าตันกุมเมือง จำนวนสมาชิก 7 คน ประธานกลุ่ม : นางแสงดี เครือนวล
กองทุนในหมู่บ้าน มีจำนวน 1 กองทุน ดังนี้
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้านฯ ชุมชนบ้านป่าตันกุมเมือง มีงบประมาณ 1,000,000 บาท ประธานกลุ่ม : นายสมบูรณ์ มะโนปัญญา
ทำเนียบผู้นำชุมชนบ้านป่าตันกุมเมือง
ชื่อ | สกุล | ตำแหน่ง | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
1.นายวีรวัฒน์ | กิ่งก้ำ | ผู้ใหญ่บ้าน | ปี 2547 - 7 มี.ค. 2548 |
2.นายสวัสดิ์ | เครือนวล | ประธานชุมชน | 23 เม.ย. 2545 - 21 เม.ย. 2547 |
3.นายสมพงษ์ | การะกัน | ประธานชุมชน | 28 พ.ค. 2548 - 27 พ.ค. 2550 |
4.นายสมพงษ์ | การะกัน | ประธานชุมชน | 12 ส.ค. 2550 - 3 มิ.ย. 2552 |
5.นางดวงศิลป์ | ธรรมธิกูล | ประธานชุมชน | 25 ก.ค. 2552 - 24 ก.ค. 2554 |
6.นายสมบูรณ์ | มโนปัญญา | ประธานชุมชน | 21 ส.ค. 2554 - 20 ส.ค. 2558 |
7.นายสมบูรณ์ | มโนปัญญา | ประธานชุมชน | 20 ก.ย. 2558 - 19 ก.ย. 2562 |
8.นายดำรงค์ | แก้วบุญเรือง | ประธานชุมชน | 24 พ.ย. 2562 - 23 พ.ย. 2566 |
ด้าน/ปัจจัย | ทุน | ท้าทาย |
ด้านเศรษฐกิจ |
|
|
ด้านสังคม |
|
|
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
|
|
ด้านความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย |
|
|
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน |
|
|
ปัจจัยภายนอก/สภาพแวดล้อมภายนอก |
|
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือหรือภาษาล้านนา
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2560). ชุมชนบ้านป่าต้นกุมเมือง ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. เทศบาลเมืองเขลางค์นคร https://www.kelangnakorn.go.th/
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2560). วัดป่าตันกุมเมือง. เทศบาลเมืองเขลางค์นคร https://www.kelangnakorn.go.th/