Advance search

ชุมชนชาวประมงริมทะเลอ่าวไทย กับทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่แหล่งรายได้สร้างอาชีพอย่างยั่งยืน

บาลาเซาะห์เก้าแสน
บ่อยาง
เมืองสงขลา
สงขลา
เทศบาลนครสงขลา
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
27 ก.พ. 2024
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
27 ก.พ. 2024
บาลาเซาะห์เก้าแสน

เดิมเป็นชุมชนเดียวกันกับชุมชนเก้าเส้ง (เก้าแสน) เมื่อชุมชนมีการขยายตัวกลายเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงได้จัดตั้งเป็นชุมชนใหม่และใช้ชื่อว่า "บาลาเซาะห์เก้าแสน"


ชุมชนชาวประมงริมทะเลอ่าวไทย กับทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่แหล่งรายได้สร้างอาชีพอย่างยั่งยืน

บาลาเซาะห์เก้าแสน
บ่อยาง
เมืองสงขลา
สงขลา
90000
7.181692788335779
100.61828803502466
เทศบาลนครสงขลา

ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน เดิมเป็นชุมชนเดียวกันกับชุมชนเก้าแสน (เก้าเส้ง) ซึ่งเป็นสมาชิกของชุมชนที่ในอดีตเคยอาศัยอยู่ที่บริเวณแหลมสนอ่อน ก่อนที่จะมีคำสั่งให้อพยพโยกย้ายออกจากพื้นที่เพื่อจัดระบบการท่องเที่ยวให้มีระเบียบและเหมาะแก่การท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น โดยกลุ่มคนที่ย้ายมา มีอยู่ 4 กลุ่มจาก 4 ชุมชน ได้แก่ เก้าเส้ง วชิรา เตาอิฐ และบ่อสวน โดยชาวบ้านได้ขนย้ายข้าวของผ่านทางเรือมายังที่ตั้งชุมชนใหม่ เมื่อมีการเข้ามาของผู้คนที่มากขึ้นและระยะเวลาผ่านไปชุมชนก็ขยายกลายเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ ทำให้แบ่งเขตพื้นที่การปกครองของชุมชนออกมาอีกหนึ่งชุมชน กลายเป็นชุมชน "บาลาเซาะห์เก้าแสน"

ตามคำบอกเล่ามีข้อมูลว่า เมื่อก่อนชาวชุมชนเก้าเส้งเดิมอาศัยอยู่ที่บริเวณหาดแหลมสนอ่อน ต่อมามีภรรยาจอมพลท่านหนึ่งได้ออกกำลังกายตอนเช้าและผ่านมาที่ริมชายทะเล และมีความเห็นว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พักผ่อน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ไม่ควรที่จะมีสภาพเป็นเช่นนี้ที่มีชุมชนอาศัยอยู่โดยไม่เป็นระเบียบ ท่านจอมพลจึงสั่งการให้โยกย้ายคนที่อยู่ในบริเวณนั้น (แหลมสนอ่อน) ให้มาอยู่ที่บริเวณเก้าเส้ง ในปี พ.ศ. 2502 โดยบุคคลกลุ่มเก้าเส้ง วชิรา เตาอิฐ และบ่อสวน ได้พากันย้ายข้าวของผ่านทางเรือมาตั้งชุมชนใหม่ตามคำสั่งของจอมพลดังกล่าว และกลายเป็นชุมชนในพื้นที่เก้าแสนปัจจุบัน

ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ของชุมชนทั้งหมด 87,474 ตารางเมตร เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ติดพื้นที่ริมชายฝั่งทะเลอ่าวไทย มีคลองน้ำไหลผ่านด้านทิศใต้ มีพื้นที่ป่าและเนินเขาเก้าแสน ซึ่งไม่ได้มีพื้นที่ขนาดใหญ่มากนัก ในช่วงฤดูมรสุมชาวเรือประมงจำนำเรือจากชายฝั่งเขามายังคลอง และชาวเรือบางสวนต้องเอาเรือเข้าไปไว้ที่ด้านหัวของเนินเขา เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากลมพายุฝนฟ้าคะนอง โดยชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ถนนเก้าแสน
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ คลองสำโรง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ถนนทะเลอ่าวไทย
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ถนนเก้าแสน

ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นชุมชนที่แยกตัวออกมาจากชุมชนเก้าเส้งที่มีการขยายตัวเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสนเป็นชุมชนที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่มากนัก โดยในชุมชนมีจำนวนครัวเรือนอยู่อาศัยร่วมกันทั้งหมด 156 ครัวเรือน มีประชากรชาย จำนวน 425 คน ประชากรหญิง จำนวน 417 คน และมีจำนวนประชากรรวมทั้งหมด จำนวน 842 คน

ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เนื่องจากบริเวณที่ตั้งชุมชนอยู่ติดกับพื้นที่ทะเลอ่าวไทย ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง ออกเรือหาปลาเป็นหลัก ซึ่งเป็นอาชีพเก่าแก่และสืบทอดมากบรรพบุรุษถึงปัจจุบัน ทั้งยังเป็นชุมชนที่มีพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่สำคัญที่อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก ประชากรส่วนหนึ่งจึงประกอบอาชีพเกี่ยวกับการค้าขาย และนอกจากนี้ประชากรบางส่วนของชุมชนก็มีอาชีพรับจ้างทั่วไปตามหน้างานต่าง ๆ ในแต่ละช่วงของรอบปี เพื่อหารายได้มาเลี้ยงดูครอบครัว โดยชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสนมีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 277,639 บาท/ปี และมีรายได้บุคคลเฉลี่ย 104,513 บาท/ปี

สหกรณ์ประมงพื้นบ้านชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน

เนื่องจากชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นชุมชนชาวประมงพื้นบ้านที่มีวิถีชีวิต เกี่ยวโยงและผูกพันธ์กับทะเล จึงทำให้มีความรู้ความสามารถและภูมิปัญญาของวิถีประมงพื้นบ้านเป็นทุนเดิม ทั้งยังเป็นชุมชนที่เห็นคุณค่าและให้ความสำคัญกับการดูแล จัดการ และการอนุรักษ์พื้นที่ทรัพยากรที่เป็นแหล่งทำมาหากินของชุมชน และคงสภาพความสมบูรณ์ของพื้นที่ทางทะเลให้คงอยู่ โดยชุมชนมีการรวมกลุ่มก่อตั้งเป็น "สหกรณ์ประมงพื้นบ้านชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน" เพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลบริเวณชุมชน และรวมกลุ่มทำกิจกรรมตางๆ ร่วมกันของสมาชิกในชุมชน และหน่วยงานอื่นๆ ที่เข้ามาสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ ในการจัดกิจกรรมของกลุ่ม เช่น

"การวางซั้งกอสร้างบ้านให้ปลาภายในเขตอนุรักษ์ฯหน้าบ้าน" เป็นการสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำในทะเล เพื่อให้ระบบนิเวศคงความสมบูรณ์ และช่วยส่งเสริมอาชีพการทำประมงของชุมชน โดยในทุกๆ ปีทางกลุ่มและสมาชิกชาวประมงจะร่วมมือกันเสริมเพิ่มและซ่อมแซมซั้งกอให้คงอยู่ เพราะได้ผลลัพธ์เห็นเป็นรูปธรรมให้แก่ชาวประมงในชุมชน

"ธนาคารปูเก้าเส้ง" เป็นการร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรปูของพื้นที่ โดยทางกลุ่มร่วมกับชาวประมงพื้นบ้านในการอนุรักษ์ ด้วยการนำปูที่ชาวประมงจับได้ และเป็นปูที่มีไข่นอกกระดองที่ยังมีชีวิตอยู่นำมาฝากไว้กับกลุ่ม เพื่อให้ปูสลัดไข่ออกไปก่อน และนำลูกปูไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ แล้วจึงนำปูที่หามาได้นั้นไปรับประทาน เป็นการช่วยเพิ่มประชากรปูในธรรมชาติและใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็ชุมชนประมงพื้นบ้านริมทะเลอ่าวไทย ดังนั้นวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนส่วนใหญ่จึงเกี่ยวเนื่องกับวิถีชาวประมง และผูกพันธ์กับธรรมชาติทางทะเล ทั้งการหาปลา การดูแลจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึงฤดูกาลต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับการประมง สภาพอากาศ มรสุม ลมพายุ และภูมิศาสตร์ท้องถิ่นอื่น ๆ นอกจากนี้ประชากรบางส่วนในชุมชนยังนับถือศาสนาอิสลาม โดยมีมัสยิดดารุลอามาน เป็นศูนย์รวมศรัทธาชุมชนที่สำคัญ ซึ่งจะมีวันสำคัญทางศาสนาที่ยึดปฏิบัติในช่วงเวลาต่าง ๆ ตามปฏิทินในรอบปี ตัวอย่างเช่น

  • วันฮารีรายอ
  • วันเข้าสุนัต
  • วันถือศีลอด
  • วันอาชูรอ
  • วันเมาลิด

1.นายเลาะทีม หัสดี ปราชญ์ชุมชนด้านแพทย์แผนไทย/การใช้สมุนไพร (หมอพื้นบ้าน)

2.นายดอเลาะห์ ปอโต๊ะ ปราชญ์ชุมชนด้านงานฝีมือ (งานช่างฝีมือ)

ทุนกายภาพ

  • เขาเก้าแสน (ทรัพยากรธรรมชาติ)
  • ทะเลอ่าวไทย (ทรัพยากรธรรมชาติ)
  • คลองสำโรง (ทรัพยากรธรรมชาติ)
  • มัสยิดดารุลอามาน (สถานที่สำคัญ)

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

คลองสำโรง

คลองสำโรง เป็นคลองธรรมชาติ ชื่อคลองมีที่มาจากต้นสำโรง ไม้ยืนต้นที่คาดว่าพบได้มากในอดีตบริเวณริมคลองแห่งนี้ ผู้คนในท้องถิ่นจึงเรียกชื่อคลองตามชื่อต้นไม้ดังกล่าว

คลองสำโรงมีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตรเศษ เชื่อมต่อระหว่างทะเลสาบสงขลากับทะเลอ่าวไทยบริเวณชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน ในอดีตเป็นร่องน้ำขนาดใหญ่ มีความกว้างประมาณ 50 เมตร เรือสินค้าหรือเรือสำเภาชนิดต่าง ๆ สามารถแล่นจากทะเลอ่าวไทยผ่านคลองสำโรงสู่ทะเลสาบสงขลาไปยังเมืองต่าง ๆ โดยรอบ เพื่อค้าขายกับเมืองท่าของทะเลสาบสงขลาได้ ซึ่งเป็นอีกเส้นทางหนึ่งนอกเหนือจากทางสายหลักที่ปากทะเลสาบสงขลา บริเวณ "หัวเขาแดง" ที่ห่างออกไปประมาณ 20 กิโลเมตร ในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกสงขลา

คลองสำโรงในอดีตนอกจากจะมีความสำคัญในการเป็นเส้นทางการเดินเรือเชื่อมระหว่างทะเลอ่าวไทยและทะเลสาบสงขลา ที่ไม่ต้องอ้อมไปยังปากทะเลสาบที่ห่างออกไปกว่า 20 กิโลเมตร คลองสำโรงยังเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำหลากหลายชนิด เป็นพื้นที่อนุบาลสัตว์น้ำตามธรรมชาติ และที่อยู่อาศัยของกุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของผู้คนที่อาศัยอยู่ริมคลอง ทั้งยังเป็นที่หลบภัยจากมรสุมสำหรับเรือประมงให้กับชาวบ้านอีกด้วย

ปัจจุบันสภาพพื้นที่คลองสำโรง มีภาพน้ำที่เน่าเสียจากขยะมลพิษต่าง ๆ ประกอบกับความเจริญของสังคมที่ละเลยการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ และพื้นที่บริเวณในคลองมีสภาพตื้นเขินมากกว่าในอดีต และมีดินทรายทับถมปิดกั้นบริเวณปากคลอง ทำให้น้ำจากลำคลองไม่สามารถไหลออกสู่ทะเลได้อย่างเต็มที่ และน้ำจากทะเลไม่สามารถเข้ามาในคลองได้ น้ำในลำคลองจึงไม่เกิดการเปลี่ยนถ่ายหมุนเวียน ส่งผลให้น้ำเน่าเสีย ระบบนิเวศก็เปลี่ยนแปลงและเสื่อมสภาพลงไปเรื่อย ๆ ปัจจุบันผู้คนในชุมชนและองค์กรต่าง ๆ พยายามสร้างความร่วมมือ และสร้างเครือข่ายชุมชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสำคัญของภูมิศาสตร์ชุมชนให้กลับมามีสภาพที่ดีขึ้น ฟื้นคืนความงดงามและสภาพแวดล้อมในอดีตให้หวนมาอีกครั้ง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เทศบาลเมืองสงขลา. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาชุมชน ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน เทศบาลนครสงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. เทศบาลเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.songkhlacity.go.th/

สหกรณ์ประมงพื้นบ้านชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.facebook.com/

Thecitizen.plus. (2565). 'คลองสำโรง จ.สงขลา' จากคลองเน่าเหม็น-ชุมชนแออัด ก้าวย่างสู่การฟื้นฟู "คลองสวย-น้ำใส-ไร้ขยะ-ชุมชนมีสุข" (1). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://thecitizen.plus/

เทศบาลนครสงขลา