Advance search

หมู่บ้านที่มีลำน้ำแม่ขนาดไหลผ่าน และมีวิถีชุมชนกับการเกษตรที่สามารถสร้างรายได้ ไม่ละทิ้งการเกษตรแบบดั้งเดิม

หมู่ที่ 15
บ้านแม่สะแงะ
ทากาศ
แม่ทา
ลำพูน
ดวงใจ จันตา
10 มิ.ย. 2023
จิรัชยา สีนวล
28 ก.พ. 2024
บ้านแม่สะแงะ

คำว่า "แม่สะแงะ" มีความเป็นมาว่า สถานที่ตั้งของหมู่บ้านแม่สะแงะซึ่งเป็นสถานที่มีลำห้วยสองลำห้วยซึ่งมาบรรจบกันระหว่างลำห้วยแม่สะแงะกับลำห้วยแม่ขนาด แต่เดิมนั้นหมู่บ้านแม่สะแงะมีชื่อเรียกกันว่า หมู่บ้านแม่สองแง่ แต่เนื่องจากคนในชุมชนเรียกชื่อ หมู่บ้านแม่สองแง่ ผิดเพี้ยนไปกลับมาเรียกเป็น หมู่บ้านแม่สะแงะ ต่อจากนั้น คำว่า แม่สะแงะ ก็พูดกันจนติดปาก เลยกลับมาเรียกชื่อหมู่บ้านแม่สะแงะ จนถึงปัจจุบัน


หมู่บ้านที่มีลำน้ำแม่ขนาดไหลผ่าน และมีวิถีชุมชนกับการเกษตรที่สามารถสร้างรายได้ ไม่ละทิ้งการเกษตรแบบดั้งเดิม

บ้านแม่สะแงะ
หมู่ที่ 15
ทากาศ
แม่ทา
ลำพูน
51170
18.325915740858992
99.05202826664942
เทศบาลตำบลทากาศเหนือ

ในอดีตชุมชนบ้านแม่สะแงะ ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ซึ่งอพยพมาจากสิบสองปันนาประเทศจีนเนื่องจากเกิดเรื่องในการทำสงครามระหว่างประเทศผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่าก่อนหน้านั้นมีการตั้งถิ่นฐานไม่เป็นที่เป็นทางสักเท่าไหร่จัดตั้งอยู่ประมาณ 2-3 ปี ก็ย้ายไปเพราะว่าตอนนั้นบางหมู่บ้านมี 5-6 หลังคาเรือน มากที่สุดก็ประมาณ 10 หลังคาเรือน เท่านั้น จะเห็นได้ว่าในอดีตนั้นผู้คนจะไม่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ส่วนสาเหตุที่มีการย้ายที่อยู่อาศัยเป็นประจำก็มีหลายประการคือ

  1. เนื่องจากสมัยนั้นมีขโมยได้เข้ามาปล้นเอาสิ่งของชาวบ้าน 
  2. กรณีเกิดการผิดผีและมีคนตายในหมู่บ้านที่นั้นตามความเชื่อของผู้เฒ่าผู้แก่ก็เลยพากันย้ายที่อยู่
  3. การทำมาหากินเพราะเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตเพราะในอดีตนั้นไม่มีการทำนามีแต่การทำไร่จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการมุมเวียงกันไปเรื่อย ๆ
  4. เมื่อผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านได้ล้มหายตายจากไปบุคคลที่เหลืออยู่นั้นไม่มีที่พึ่งพิงทางจิตใจก็จะหาที่อยู่ใหม่ไปเรื่อย ๆ ต่อมาผู้เฒ่าผู้แก่เห็นว่าจำเป็นแล้วที่จะต้องตั้งที่อยู่เป็นที่เป็นทางสักที จึงมีการเริ่มตั้งถิ่นฐานถาวร ซึ่งนำโดยลุงแปง สูงพนาดอน เป็นบุคคลแรกที่เข้ามาปลูกบ้านในชุมชนบ้านแม่สะแงะในปัจจุบัน ต่อมาก็มีผู้เฒ่าผู้แก่และบุคคลอื่น ๆ ก็ได้ทยอยมาปลูกบ้าน ณ สถานที่บ้านแม่สะแงะในปัจจุบันนี้

ชุมชนบ้านแม่สะแงะมีอายุประมาณ 50 กว่าปี จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ดั้งเดิม ชุมชนบ้านแม่สะแงะตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ เมื่อก่อนชุมชนบ้านแม่สะแงะมีความอุดมสมบูรณ์มีแม่น้ำไหลผ่านระหว่างแม่น้ำขนาดกับแม่น้ำแม่สะแงะซึ่งเป็นที่อาศัยของปลาทั้งขนาดใหญ่และปลาเล็กเป็นจำนวนมาก ส่วนบริเวณอื่น ๆ ป่าทึบมีต้นไม้ขนาดใหญ่และขนาดเล็กอาศัยเป็นจำนวนมากในเวลานั้น ไม่ว่าจะเป็น ต้นไม้สัก ต้นไม้ประดู่ ต้นไม้แดง ต้นไม้เปา ต้นไม้เดื่อ ต้นไม้จามจุรี ต้นไม้งู้น และต้นไม้อื่น ๆ อีกจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในชุมชน นอกจากนี้ชุมชนบ้านแม่สะแงะยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่านานาชนิดไม่ว่าจะเป็น ช้างป่า เสือ กระทิง เก้ง กวาง หมี หมูป่า นกยูง นกเงือก

หมู่บ้านแม่สะแงะ เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กที่ตั้งอยู่บนที่ราบสูง และเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผากะเหรี่ยง พวกกะเหรี่ยงขาว หรือเรียกขานพวกตนเองว่า "ปากะญอ" ภาษาพูด จะใช้ ภาษากะเหรี่ยง ลักษณะการแต่งกาย จะมีการแต่งกายในชุดกะเหรี่ยงปนกันชุดคนพื้นราบ อาณาเขตติดต่อทางตะวันออกพื้นที่ติดกับ จังหวัดลำปาง ตะวันตกติดกัน บ้านห้วยฮ่อมใน ทางทิศเหนือ ติดกับอำเภอแม่ทา ทางทิศใต้ติดกับ อำเภอเถิง จังหวัดลำปาง และหมู่บ้านที่ติดต่อกันอีก 6 หมู่บ้าน ได้แก่

  • บ้านดอยคำ 
  • บ้านแม่ขนาด 
  • บ้านป่าเลา
  • บ้านผาด่าน
  • บ้านปงผาง
  • บ้านดอยยาว

เป็นพี่น้องชาว "ปากะญอ" และ "โพร่ง หรือ โปว์" ด้วยกัน และอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ วิถีชีวิตและความเห็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่สะแงะซึ่งมีการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติเป็นแหล่งอาหาร ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยการหาของป่ามาบริโภค เช่น หน่อไม้ เห็ดต่าง ๆ ผักหวาน และพืชผัก ผลไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการทำการเกษตรปลูกข้าวไร่ ปลูกยาสูบ ปลูกผักกาด ปลูกถั่ว ปลูกมะเขือ ปลูกพริก ปลูกมัน ปลูกเผือก รวมไปถึงการปลูกฝ้ายเพื่อเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทอผ้า ลักษณะนิสัยของกะเหรี่ยงถ้าหากอยู่ที่ไหนหรือตั้งหลักปักฐานที่แล้วก็จะอยู่อย่างถาวร ไม่มีการเคลื่อนย้ายหากไม่จำเป็น และกะเหรี่ยงเป็นนักอนุรักษ์ สังเกตได้จากการทำไร่หมุนเวียน เพื่อรักษาสภาพของลักษณะและวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงจะเกี่ยวข้องกับป่า ปัจจุบันวิถีชีวิตประจำวันของคนในหมู่บ้านแม่สะแงะยังคงดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายเหมือนเดิมอยู่โดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ได้มีการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นหน่อไม้ เห็ด ผักพ่อค้า ดอกก้าน ดอกนาเลา รวมไปถึงพืชผักอื่น ๆ อีกมากมาย 

ส่วนเยาวชนก็ได้ออกไปเรียนหนังสือต่อในระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาข้างนอกชุมชนแล้วอีกส่วนหนึ่งคนหนุ่มสาวหรือเด็กเยาวชนจะทำไร่ทำนาหาของป่ารวมไปถึงการออกไปรับจ้างเป็นแรงงานทั้งในและนอกอำเภอ ต่างอำเภอและต่างจังหวัดรวมไปถึงการเข้าสู่แรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้านแม่สะแงะเป็นพื้นที่สูงพื้นที่ราบน้อยมากส่วนใหญ่จะให้เป็นที่ทำไร่ ทำนาการปลูกบ้านและพืชผลทางการเกษตร ส่วนพื้นที่ดอนแต่ละที่จะมีการปลูกบ้านเรือนอาศัย ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนหินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ เป็นเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง ซึ่งปัจจุบันชุมชนบ้านแม่สะแงะมีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 90 หลังคาเรือน แบ่งเป็นชาย 161 คน และหญิง 133 คน บ้านแม่สะแงะตั้งถิ่นฐานอยู่ที่หมู่ที่ 15 ตำบลทากาศ ห่างออกจะตัวอำเภอแม่ทาประมาณ 25 กิโลเมตร เส้นทางหรือถนนเข้าสู่หมู่บ้านเป็นเส้นทางทุรกันดารเนื่องจากอยู่บนพื้นที่สูง และรัฐไม่ให้ความสนใจด้วย มีระดับน้ำทะเลประมาณ 750 เมตร รถยนต์ไม่สามารถเข้าถึงได้นอกจากรถมอเตอร์ไซค์ คนในชุมชนบ้านแม่สะแงะนับถือศาสนาพุทธ และนับถือผี ซึ่งมีความเชื่อในเรื่องวีรบุรุษ และสถานที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ชาวบ้านเชื่อว่าเห็นควรที่จะกราบไหว้ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่เทวดาสิงสถิตอยู่จึงมีความเชื่อทางวัฒนธรรมในการประกอบพิธีการและสถานที่อนุรักษ์และเขตหวงห้าม

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศและความเหมาะสมในการประกอบอาชีพ ลักษณะภูมิอากาศบ้านดอยยาว สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู โดยแบ่งเป็น

  • ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุด 40 องศาเซลเซียส ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน น้ำในลําน้ำแม่ขนาดจะแห้งขอด 
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ลําน้ำแม่ขนาดจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร ทางธรรมชาติ ยังคงมีแหล่งอาหารตามธรรมชาติพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าบางชนิด ที่สามารถนํามาทําอาหารหรือ ใช้ประโยชน์ได้ เมื่อฝนมาในช่วงเดือนมิถุนายนชาวบ้านจะเริ่มทําเกษตรกรรม ปลูกข้าว ปลูกผักสวนครัว ในขณะที่ข้าวจะเริ่มหว่านข้าวในช่วงเดือนมิถุนายน เนื่องจากมีข้อจํากัดเรื่องปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอ จึงสามารถทํานาได้แค่ปีละครั้ง และจะเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม หลังจากนั้นจะพักดิน โดยเริ่ม ปลูกผักไว้รับประทาน เช่น มะเขือ ผักกาด หอมแดง กระเทียม เมื่อหมดฤดูเก็บเกี่ยว ผู้หญิงก็จะทอผ้าโดยนิยม ทอถุงย่าม และเสื้อเพื่อเตรียมขาย ในเทศกาลประจําปี เช่น เทศกาลปีใหม่ งานฤดูหนาวจังหวัดลําพูน และงานปีใหม่เมือง ส่วนผู้ชายก็จะรับจ้างทั่วไปนอกหมู่บ้าน
  • ฤดูหนาว เริ่มต้นตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุด 14 องศาเซลเซียส

ลักษณะครอบครัวและเครือญาติ ครอบครัวชาวกะเหรี่ยงโพล่งเป็นครอบครัวเดี่ยว เมื่อสามีหรือภรรยาเสียชีวิต การแต่งงานใหม่จะไม่ค่อยปรากฏ ในการเลือกคู่ครองฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายเลือกฝ่ายชายก่อน เมื่อแต่งงานจะแยกครอบครัวไปปลูกบ้านใหม่ แต่งงานแล้วฝ่ายชายต้องมาอยู่บ้านพ่อแม่ของภรรยา หนึ่งฤดูเก็บเกี่ยว หลังจากนั้น ปลูกบ้านใหม่ใกล้บ้านพ่อแม่ฝ่ายภรรยา หากเป็นลูกสาวคนเล็กจะต้องอยู่ดูแลพ่อกับแม่ การตั้งบ้านเรือน ของญาติพี่น้องจึงอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ส่วนใหญ่คนในชุมชนนามสกุลเดียวกัน เนื่องจากในอดีตการออกไปแต่งงาน กับคนนอกหมู่บ้านไม่เป็นที่นิยมนัก ในบ้านแม่สะแงะ มักจะมีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วยคําว่า "ปง" เช่น ปงผางวงค์ ปงวนาดอน ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่มีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น

ประเพณี หรืองานบุญหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน พบว่ามีความเกื้อกูลกันและมีส่วนร่วมในกิจกรรม การไปเยี่ยมเยือนผู้ป่วยที่ป่วยหนักและนอนค้างคืนเพื่อให้กําลังใจแก่ญาติผู้ป่วยเป็นเรื่องปกติที่พบเห็นได้ ยังมีการลงแขกในฤดูเก็บเกี่ยวนาที่เรียกว่า "เอามื้อ" ส่วนการจ้างแรงงานจากภายนอกเข้ามาในหมู่บ้านมีน้อยมาก คนส่วนมากในหมู่บ้านยังทํางาน ที่บ้านหรือเลือกที่จะทํางานใกล้บ้านเพื่อได้กลับมานอนที่บ้าน 

ปกาเกอะญอ, โพล่ง

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร หาของป่า การทอผ้า และออกไปรับจ้างในพื้นที่ลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นแรงงานด้านการเกษตร เช่น การปลูกกาแฟ ปลูกตะไคร้ เยาวชนคนรุ่นใหม่บางส่วนเข้าไปทำงานในนิคมอุตสาหกรรมลำพูน

พื้นที่บ้านแม่สะแงะ มี กศน. โดยเป็นครูดอยประจำบ้าน คือ มีศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง สังกัด กศน. รวมกลุ่มส่งเสริมอาชีพต่าง ๆ ให้กับชาวบ้านผาด่าน เพื่อให้ชาวบ้านเกิดทักษะอาชีพอื่นๆเป็นอาชีพทางเลือกนอกจากการทอผ้า หาของป่า เช่น 

  • กิจกรรมให้ความรู้การปลูกและขยายพันธุ์ไม้ผลสู่ความพอเพียง ศศช.บ้านแม่สะแงะ หมู่ 15 ต.ทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน 
  • กิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพหลักสูตรช่างก่อสร้าง (ทางคอนกรีต) ณ ศศช.บ้านแม่สะแง๊ะ ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
  • ปราชญ์ชาวบ้านด้านปัดเป่าอาการบาดเจ็บ รวมถึงการจักสาน (ไม่ประสงค์บอกชื่อ) เกิด (ไม่ทราบวันเกิด) มกราคม พ.ศ. 2492 

ทุนของชุมชนบ้านแม่ขนาด ตามที่ได้จากการประชุมเพื่อวิเคราะห์ทุนชุมชน สามารถสรุปและจัดกลุ่มประเภทของทุนชุมชน เป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้ดังนี้ 

ทุนกายภาพ 

  • แม่น้ำแม่ขนาด
  • ป่าชุมชนบ้านแม่สะแงะ
  • ศศช.แม่สะแงะ
  • โรงเรียนบ้านป่าเลาสาขาแม่สะแงะ

ทุนมนุษย์

  • ผู้อาวุโสในชุมชนบ้านแม่สะแงะ

ทุนความรู้ 

  • การเกษตร
  • ภูมิปัญญาการทอผ้าที่เอว
  • การปักผ้า
  • การจักสาน

ทุนเศรษฐกิจ

  • เกษตรอาชีพ
  • ผ้าทอที่เอวที่พัฒนาต่อยอด
  • ศูนย์การเรียนรู้
  • การทอผ้ากี่เอว 

ทุนการเมือง 

  • กฎหมายหรือนโยบายรัฐบาลคุ้มครองสิทธิและวิถีชีวิตของชาวไทย กลุ่มชาติพันธุ์ คือ มติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง กฎหมายรัฐธรรมนูญ และ (ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์

บ้านผาด่าน เป็นหมู่บ้านของชาวกะเหรี่ยงสะกอ มีภาษาพูด ภาษาเขียน เป็นของตนเอง


ความท้าทายของชุมชน

  • ในชุมชนไม่มีงานรองรับ ผู้คนวัยหนุ่มสาวมักไปทํางานในนิคมอุตสาหกรรมลําพูน
  • ไม่มีตลาดรองรับ ผ้าทอกี่เอว งานจักสาน และงานแกะสลัก
  • ชุมชนเคยเป็นแหล่งท่องเที่ยว ปัจจุบันการท่องเที่ยวในชุมชนหายไป
  • อาชีพค้าขาย มีการลงทุนสูง

ความท้าทายของชุมชน

  • คนในชุมชนเริ่มใช้ชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่ ไม่ค่อยช่วยเหลือกันและกัน ส่งผลให้เยาวชนติดยาเสพติด และติดโทรศัพท์
  • ผู้สูงอายุไม่สามารถใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการสื่อสารได้ดีเท่าคนรุ่นใหม่

ความท้าทายของชุมชน

  • ในชุมชนร้านขายสุรามีจํานวนมาก ส่งผลให้ชาวบ้านบางส่วนติดสุรา จนถึงขั้นเป็นโรคภาวะทางจิตไม่ปกติ

ในขณะเดียวกัน ชุมชมบ้านผาด่าน ยังอุดมไปด้วยทรัพยากรทางวัฒนธรรม หรือมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม ถือเป็นศักยภาพที่สําคัญของชุมชน ที่สามารถนํามาพัฒนาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชน ได้ดังนี้ 

  • สืบสานภูมิปัญญาเพื่อการธํารงความเป็นวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะหรี่ยง แสดงถึงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ เช่น การกําหนดแนวทางการพัฒนาห้องเรียนภูมิปัญญาเพื่อสืบทอด เอกลักษณ์ชาวกะเหรี่ยงเครือข่ายชุมชน ด้วยรูปแบบศูนย์การเรียนรู้หรือพิพิธภัณฑ์ และขยายผลสู่ กลุ่มเครือข่ายชาวกะเหรี่ยงในระดับประเทศ
  • สืบสานภูมิปัญญาเพื่อความเข้าใจภูมิปัญญาวัฒนธรรมในชุมชนและท้องถิ่น สําหรับการดําเนิน ชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง โดยเลือกกิจกรรมการทอผ้าที่เอว สร้างหลักสูตรจากภูมิปัญญาชาวบ้าน และสร้างชุดความรู้การทอผ้าที่เอวที่มีความร่วมสมัย ให้อยู่ในกระบวนการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบรวมทั้งเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาเรียนรู้พร้อมกับสามารถนําไปประกอบอาชีพได้
  • การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและอาหารชุมชน นับเป็นเครื่องมือสําคัญในการสร้างประสบการณ์ การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่และสร้างเศรษฐกิจฐานราก เนื่องจากการท่องเที่ยวในหมู่บ้านชนบท ที่มีลักษณะ วิถีชีวิต มีผลงานสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น สร้างความเพลิดเพลินและได้รับความรู้ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน อีกทั้งมีความเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่น บนพื้นฐานความรับผิดชอบและมีจิตสํานึก ต่อการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและคุณค่าของสภาพแวดล้อม นําเสนอวัตถุดิบจากทุกท้องถิ่นมาเป็นองค์ประกอบในการปรุงอาหาร ทําให้เกิดการกระจายรายได้อย่างชัดเจนตรงไปยังท้องถิ่น เพราะเป้าหมาย สําคัญคือ การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสําคัญที่จะสร้างรายได้ กระจายรายได้ และลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะใช้ “การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารเป็นการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” โดยกําหนดให้ภายในปี พ.ศ. 2568 รัฐบาลจะใช้อาหารเป็นตัวนําการท่องเที่ยว ทําให้เป็นการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารของไทยตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) สร้างชุมชนเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นหมู่บ้านต้นแบบด้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไทยของชุมชน (Gastronomy village tourism) ด้วยคุณลักษณะ ดังนี้
    • ความมีเอกลักษณ์ของอาหารท้องถิ่น 
    • ความอุดมสมบูรณ์ของวัตถุดิบภายในท้องถิ่น
    • ความพร้อมและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 
    • กิจกรรมสําหรับนักท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย
    • ความต้องการของชุมชนในการขอรับการสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยว 
    • ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในท้องถิ่น และอื่น ๆ

ความท้าทายของชุมชน

  • การทอผ้ากี่เอว งานจักสาน และงานแกะสลัก คนรุ่นใหม่ไม่มีความรู้ และไม่ได้มีการสืบทอดวิธีทำ
  • ผู้คนในชุมชนนิยมแต่งกายโดยใช้ผ้าของใหม่ (ใช้เครื่องจักรผลิต) ที่ราคาถูกกว่างานผ้าแบบดั้งเดิม (ใช้การทอผ้ากี่เอว)

ความท้าทายของชุมชน

  • ไม่มีที่ดินทําการเกษตร ขาดแคลนน้า แหล่งน้าน้อย
  • ไม่มีเอกสารสิทธิในพื้นที่ทํากิน และไม่กําหนดแนวทางที่ชัดเจนในการใช้พื้นที่
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานภายใต้โครงการ การขับเคลื่อนแนวนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).