Advance search

บ้านแม่ใจปงสนุก

ชุมชนบ้านแม่ใจและชุมชนบริเวณใกล้เคียงรวมถึงวัดศรีสุพรรณ ร่วมกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของชุมชนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติของชุมชนด้านศาสนา โดยตั้งอยู่ที่วัดศรีสุพรรณและใช้ชื่อว่าพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุพรรณ

หมู่ที่ 1
บ้านแม่ใจปง
แม่ใจ
แม่ใจ
พะเยา
ธำรงค์ บริเวธานันท์
28 ก.พ. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
28 ก.พ. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
28 ก.พ. 2024
บ้านแม่ใจปง
บ้านแม่ใจปงสนุก

ช่วง ปี พ.ศ. 2346 ในพื้นที่มีการอพยพของครอบครัวจากลำปางเข้าไปตั้งถิ่นฐาน เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ น้ำไหลตลอดปีจึงตั้งถิ่นฐานริมฝั่งแม่น้ำเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรม ต่อมาหมู่บ้านขยายตัวใหญ่ขึ้นเนื่องจากมีผู้ย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานกระทั่งเป็นหมู่บ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านและลำน้ำที่ไหลผ่านว่า “แม่ใจ” และสาเหตุที่ชื่อ “แม่ใจ” เพราะผู้คนที่นี่มีจิตใจดี รักเอ็นดูเหมือนแม่ดูแลลูก

นอกจากนี้ชื่อหมู่บ้านยังมีความสัมพันธ์กับการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวลำปาง ที่แต่เดิมมาจากบ้าน ปงสนุก จังหวัดลำปาง เมื่ออพยพมาตั้งหลักแหล่งยังที่ใหม่จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “แม่ใจปงสนุก”


ชุมชนบ้านแม่ใจและชุมชนบริเวณใกล้เคียงรวมถึงวัดศรีสุพรรณ ร่วมกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของชุมชนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติของชุมชนด้านศาสนา โดยตั้งอยู่ที่วัดศรีสุพรรณและใช้ชื่อว่าพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุพรรณ

บ้านแม่ใจปง
หมู่ที่ 1
แม่ใจ
แม่ใจ
พะเยา
56130
19.34532497
99.81472984
เทศบาลตำบลแม่ใจ

“แม่ใจ” ชื่อของสายน้ำเล็ก ๆ ต้นกำเนิดจากแม่น้ำอิง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของจังหวัดพะเยา มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาผีปันน้ำด้านทิศตะวันตก “น้ำแม่ใจ” ไหลผ่านหมู่บ้านในอำเภอแม่ใจ ลงสู่หนองเล็งทรายจากนั้นไหลลงกว๊านพะเยา ซึ่งหลังจากการตั้งถิ่นฐานชาวชุมชนพบพระเจ้าทองทิพย์ที่มีองค์สีทอง ซุกในกอไผ่ที่ไม่ติดไฟจากการแผ้วถางปรับสภาพพื้นที่ เปรียบเหมือนเทวดาเทพยดาปกป้อง จึงมีการตั้งวัดในบริเวณที่พบพระเจ้าทองทิพย์

ปัจจุบันคือ วัดศรีสุพรรณ ทว่าแรกเริ่มตั้งชื่อวัดว่า “วัดแม่ใจปงสนุก” เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้านเดิมของตนที่อพยพมาจากบ้านปงสนุก จังหวัดลำปาง ต่อมามีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้น โดยมาจากลำพูน เชียงใหม่ แพร่ น่าน เชียงราย

การศึกษาเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของชาวชุมชนแม่ใจโดย กฤษฎา ตัสมา พบว่า สมัยก่อนผู้ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานมักจับจองพื้นที่บริเวณใกล้แหล่งน้ำเพราะส่วนใหญ่อาชีพทำนา ส่วนบ้านเรือนตั้งติดกันใครที่อพยพมาจากละแวกเดียวกันจะตั้งบ้านเรือนใกล้กัน ฉะนั้นความสัมพันธ์ของสมาชิกในชุมชนจึงมีรูปแบบใกล้ชิดดั่งญาติมิตรหรือระบบเครือญาติเพื่อการพึ่งพาอาศัยกัน

เหตุการณ์ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้านแม่ใจ ประกอบด้วย

ราว ปี พ.ศ. 2506 การสร้างระบบชลประทานเพื่อส่งน้ำให้แก่ชุมชนรอบ ๆ หนองเล็งทราย โดยมีการแบ่งพื้นที่รับน้ำเป็น 3 ส่วน คือ ชุมชนฝั่งตะวันออกของหนองเล็งทราย ชุมชนฝั่งตะวันตกของหนองเล็งทราย ชุมชนด้านทิศใต้ของหนองเล็งทราย

ราว ปี พ.ศ. 2542 นักวิชาการจากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สำรวจพันธุ์สัตว์น้ำในหนองเล็งทราย พบว่ามีพันธุ์สัตว์น้ำ 31 ชนิด เป็นสายพันธุ์ปลา 27 ชนิด สัตว์น้ำ 8 ชนิด

ราว ปี พ.ศ. 2545 เทศบาลตำบลแม่ใจ ร่วมกับบริษัทซีพี ออลล์ จำกัด นำพันธุ์ปลานิลและปลาทับทิม มาส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงปลาในกระชัง ก่อให้เกิดกลุ่มเลี้ยงปลาในกระชัง

ช่วงราว ปี พ.ศ. 2554 – 2556 ภาครัฐดำเนินโครงการขุดลอกหนองเล็งทราย ซึ่งเต็มไปด้วยต้นพง ต้นไมยราบ ทำให้หนองเล็งทรายมีความลึกมากขึ้น สามารถเก็บกักน้ำในช่วงหน้าแล้ง สามารถใช้น้ำได้ตลอดปีและสามารถป้องกันน้ำท่วม นอกจากนี้ยังสามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง ช่วงพักนาสามารถเพาะปลูกแตงโม แคนตาลูป รวมถึงพืชผักอื่น ๆ สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ทว่าในทางกลับกันการขุดลอกหนองเล็งทรายก็ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเช่นกันกล่าวคือ การทำนาได้ถี่ขึ้นทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณสารเคมีในการทำการเกษตร ซึ่งสารเคมีได้ไหลลงและตกค้างในหนองน้ำ ส่งผลต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งน้ำด้วยเช่นกัน

ช่วง ปี พ.ศ. 2554 ร้านสะดวกซื้อเข้ามาเปิดกิจการในชุมชน ส่งผลให้การค้าในชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านของชำมีลูกค้าน้องลง อย่างไรก็ดีสมาชิกชุมชนที่เป็นผู้สูงอายุยังคงจับจ่ายซื้อของยังร้านชำ

ช่วงปี พ.ศ. 2550 ร้านอินเตอร์เน็ต เริ่มเปิดบริการในชุมชน และกลายเป็นสถานที่ที่เยาวชนในชุมชนเข้าไปใช้บริการกันมาก ทำให้วัดศรีสุพรรณไม่มีเยาวชนเข้ามาวิ่งเล่นเหมือนเดิม ซึ่งเดิมนั้นลานวัดเป็นพื้นที่ที่มีการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของเยาวชนในชุมชน

การคมนาคม

เขตเทศบาลตำบลแม่ใจ ใช้เส้นทางคมนาคมทางบกเป็นหลักเท่านั้น การคมนาคมทางอากาศและทางเรือยังไม่มี โดยมีเส้นทางคมนาคมทางหลวงแผ่นดิน สายถนนพหลโยธิน (หมายเลข 1) และถนนพหลโยธิน (สายใน) ผ่านหน้าหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอแม่ใจ และเส้นทางสายต่าง ๆ เข้าหมู่บ้าน โดยถนนแต่ละเส้นเชื่อมต่อกันทุกสายทำให้การสัญจรภายในเขตเทศบาลสะดวกและรวดเร็ว

ที่ตั้งและอาณาเขตตำบลแม่ใจ

  • ทิศเหนือ อยู่ติดกับอาณาเขต เทศบาลตำบลศรีถ้อย ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ริมน้ำแม่ใจ ฝั่งตะวันตก ตรงปากเหมืองสาธารณะฝั่งตะวันตก เส้นเขตเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออก ถึงปากทางเหมืองชลประทานฝั่งตะวันออก
  • ทิศตะวันออก อยู่ติดกับอาณาเขต เทศบาลตำบลบ้านเหล่า และเทศบาลตำบลรวมใจพัฒนา จากหลักเขตที่ 2 เรียบตามริมเหมืองซอยชลประทานฝั่งตะวันออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งอยู่ริมหนองเล็งทราย ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ 3 เลียบตามริมหนองเล็งทรายด้านตะวันตกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ริมน้ำแม่อิงฝั่งตะวันออก จากหลักเขตที่ 4 เลียบตามริมน้ำแม่อิงฝั่งตะวันออกไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ริมน้ำแม่อิงฝั่งใต้ห่างจากหลักเขตที่ 4 ระยะทาง 900 เมตร
  • ทิศใต้ อยู่ติดกับอาณาเขต เทศบาลตำบลรวมใจพัฒนา จากหลักเขตที่ 5 เลียบตามริมน้ำแม่อิงฝั่งใต้ไปทางทิศตะวันตก ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ริมเหมืองสาธารณะทิศตะวันตก
  • ทิศตะวันตก อยู่ติดกับอาณาเขต เทศบาลตำบลรวมใจพัฒนา จากหลักเขตที่ 6 เลียบตามริมเหมืองสาธารณะไปทางทิศตะวันตก ไปทางทิศเหนือบรรจบหลักเขตที่ 1

จำนวนประชากรบ้านแม่ใจปง หมู่ที่ 1 อำเภอแม่ใจ ตำบลแม่ใจ ข้อมูลเดือนมกราคม 2567 พบว่า

  • จำนวนประชากร เพศชาย 84 คน
  • จำนวนประชากร เพศหญิง 78 คน
  • รวมจำนวนประชากร 162 คน
  • จำนวนหลังคาเรือน 173 หลังคาเรือน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ปฏิทินชุมชนด้านประเพณีของบ้านแม่ใจ คล้ายคลึงกับประเพณีของภาคเหนือตอนบน เช่น ประเพณีสงกรานต์ สรงน้ำพระ สืบชะตา ตานข้าวใหม่ สรงน้ำพระธาตุ เทศน์มหาชาติ บายศรีสู่ขวัญ ทานทอด ทานเปรตพี ประเพณีดังกล่าวชาวชุมชนแม่ใจปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง ปฏิทินประเพณีของชุมชนแม่ใจ ประกอบด้วย

ประเพณีสงกรานต์ ภาคเหนือเรียก ปีใหม่เมือง ประกอบด้วย

  • วันสังขารล่อง ตรงกับวันที่ 13 เมษายน วันนี้เปรียบเหมือนวันสิ้นปีทั่วไป ชาวบ้านจะหยุดงาน ตื่นเช้ายิงพลุ เพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีและทำความสะอาดบ้าน
  • วันเนา ตรงกับวันที่ 14 เมษายน ซึ่งน่าจะมาจากวันเน่า ชาวบ้านถือว่าเป็นวันไม่มงคล วันนี้ห้ามพูดด่าหรือว่าร้ายกัน
  • วันพญาวัน ตรงกับวันที่ 15 เมษายน เป็นวันสำคัญที่สุดเปรียบเหมือนวันขึ้นปีใหม่
  • วันปากปี ตรงกับวันที่ 16 เมษายน ชาวบ้านนำเครื่องบูชาพระเคราะห์ เสื้อผ้าของตนเองและคนในครอบครัวนำมาบูชานพเคราะห์ทั้ง 9 หรือเรียกว่า ข้าวเก้าพุ่น

ประเพณียี่เป็ง เทศกาลปล่อยโคมลอยเดือนยี่เป็ง ภาคกลางคือเดือน 12 วันลอยกระทง

ประเพณีสืบชะตา เป็นพิธีสืบชะตาต่ออายุ ให้มีชีวิตที่สุขสบาย ปราศจากโรคภัย พิธีสืบชะตาของบ้านแม่ใจ ประกอบด้วย พิธีสืบชะตาคน พิธีสืบชะตาบ้าน พิธีสืบชะตาหนองเล็งทราย

ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ชาวบ้านแม่ใจมีการสรงน้ำพระธาตุกลางทุ่ง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เหนือ (6 เป็ง)

ประเพณีทานทอด ชุมชนจัดเพื่อชาวบ้านในชุมชนที่ยากจน จะได้รับการบริจาคสิ่งของ อาทิ เครื่องครัว หมอน ที่นอน โดยลงความเห็นว่าบ้านใดยากจนจะนำสิ่งของไปให้ ช่วงเวลาที่นำไปให้ราว 2 - 3 ทุ่ม เมื่อไปถึงจะไม่เรียก แต่วางของไว้หน้าบ้านและจุดพลุให้คนในบ้านออกมาดู

ประเพณีทานเปรตพี การให้ทานญาติพี่น้อง หรือผีเร่ร่อนทั่วไป เสมือนการถวายสังฆทาน ส่งส่วนผลบุญให้ผู้ตาย ทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เหนือ ราวช่วงกลางออกพรรษา เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน

ประเพณีสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ พระเจ้าทองทิพย์เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอแม่ใจ ประดิษฐาน ณ วัดศรีสุวรรณ บ้านแม่ใจปง เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน 3 (สิงห์ 3) ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ พิธีจัดในช่วงวันที่ 15 -17 เมษายน

การสู่ขวัญ กระทำเมื่อบุคคลหายป่วย หรือรับขวัญผู้ที่ย้ายเข้ามาอยู่ใหม่ หรือวันเกิด เพื่อเรียกขวัญให้อยู่กับตัว โดยจัดพานบายศรีสู่ขวัญ

ประเพณีไหว้พระ 9 ศรี ถวายเทียน 9 วัด จัดช่วงก่อนเข้าพรรษา 2 อาทิตย์ ประเพณีนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2552 หลังจากอดีตเจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณ ร่วมประเพณีไหว้พระ 9 จอม ของจังหวัดเชียงราย ซึ่งเชียงราย เลือกวัดที่มีคำว่า “จอม” อดีตเจ้าอาวาสจึงนำมาปรับใช้กับวัดในอำเภอแม่ใจ จึงจัดโครงการ “ไหว้พระ 9 ศรี ถวายเทียน 9 วัด” วัด 9 ศรี ประกอบด้วย วัดศรีสุพรรณ วัดศรีดอนแก้ว วัดศรีบังวัน วัดศรีดอนตัน วัดศรีดอนมูล วัดศรีเกิด วัดศรีบุญชุม วัดศรีบุญเรือง และวัดศรีถ้อย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ภาษาไทยถิ่นเหนือ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กฤษฎา ตัสมา. (2556). การจัดการพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุพรรณ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. นครปฐม. มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก https://sure.su.ac.th/