Advance search

เง็งผะดู

เป็นหมู่บ้านใหญ่และเป็นหมู่บ้านแรก ๆ ของชุมชนชาติพันธ์ุกะเหรี่ยง ซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโพล่งอาศัยอยู่จำนวนมาก ที่ยังคงสืบทอดประเพณี วิถีปฏิบัติดั้งเดิม เช่น การเลี้ยงผี

หมู่ที่ 8
แม่ขนาด
ทากาศ
แม่ทา
ลำพูน
ดวงใจ จันตา
20 มิ.ย. 2023
จิรัชยา สีนวล
29 ก.พ. 2024
บ้านแม่ขนาด
เง็งผะดู

เป็นชุมชนขนาดใหญ่และเป็นชุมชนแรกที่ขยายออกไปเป็นหมู่บ้านอื่น ๆ เช่น บ้านป่าเลา บ้านดอยคำ มีเเม่น้ำแม่ขนาดเป็นสายน้ำสำคัญที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชน


ชุมชนชาติพันธุ์

เป็นหมู่บ้านใหญ่และเป็นหมู่บ้านแรก ๆ ของชุมชนชาติพันธ์ุกะเหรี่ยง ซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโพล่งอาศัยอยู่จำนวนมาก ที่ยังคงสืบทอดประเพณี วิถีปฏิบัติดั้งเดิม เช่น การเลี้ยงผี

แม่ขนาด
หมู่ที่ 8
ทากาศ
แม่ทา
ลำพูน
51170
18.3950193
98.9976302
เทศบาลตำบลทากาศ

"บ้านแม่ขนาด" ตั้งตามชื่อของลําน้ำแม่ขนาด ที่ไหลผ่านบริเวณทิศตะวันออกและทิศใต้ของหมู่บ้าน ผู้ตั้งชื่อคือ คุณไพโรจน์ เสริมงาม ในปี พ.ศ. 2518 เป็นชื่อที่ใช้อย่างเป็นทางการ เดิมใช้ชื่อว่า "บ้านหลวง" และ "เง็งผะดู" เป็นภาษากะเหรี่ยงโพล่งมีความหมายว่า "หมู่บ้านใหญ่" ความเป็นมาของชาวกะเหรี่ยงโพล่ง ที่อาศัยอยู่ในบ้านแม่ขนาด อาศัยมาตั้งแต่เมื่อใดไม่สามารถบอกได้ชัด จากคําบอกเล่าของชาวบ้าน หมู่บ้านแม่ขนาดมีอายุมากกว่า 224 ปี ตามอายุวัดทาหมื่นข้าว เนื่องจากรายชื่อนายหมื่นเถ้า ซึ่งเป็นชาวบ้าน ในบ้านแม่ขนาด มีหลักฐานว่าเป็นผู้สร้างและมอบที่ดินให้กับวัดทาหมื่นข้าวเป็นบริเวณใกล้เคียงกับบ้านแม่ขนาด (ข้อมูลสัมภาษณ์ พระเจษฎา ประภัสโร) ส่วนข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการอพยพมาตั้งถิ่นฐานนั้น มี 2 ข้อ

  • ข้อที่ 1 สันนิษฐานว่าเป็นชาวกะเหรี่ยงโพล่งที่อพยพมาจากเมืองลัวะ และเมืองพยู ฝั่งพม่า ผู้มาตั้ง ถิ่นฐานคนแรกนั้นคือ ขุนแสนแก้ว โดยเริ่มแรกมี 27 ครัวเรือน
  • ข้อที่ 2 สันนิษฐานว่าอพยพตามเจ้ากาวิละ ครั้งที่กวาดต้อนผู้คนมาสร้างเมืองใหม่หลังจากที่ เมืองลําพูนถูกทิ้งเป็นเมืองร้าง หลักฐานที่หลงเหลือคือ "พิณเปี๊ยะ" เป็นเครื่องดนตรีล้านนาที่สามารถเล่นได้ เพียงคนในวังเท่านั้น ซึ่งชาวกะเหรี่ยงที่ติดตามเจ้าเมืองลําพูนเป็นผู้ใกล้ชิด จึงจะสามารถเล่นได้

พื้นที่เดิมก่อนชาวกะเหรี่ยงโพล่งจะมาตั้งถิ่นฐาน เชื่อว่าเป็นที่พักช้าง สําหรับเส้นทางไปสู่เมือง ลําปางของพระนางจามเทวี เป็นจุดที่มีความอุดมสมบูรณ์ติดแม่น้ำเหมาะสําหรับตั้งถิ่นฐาน สอดคล้องกับตํานาน เล่าขาน ว่าในเขตตําบลทากาศ เคยเป็นเส้นทางเดินทางของพระนางจามเทวี เมื่อคราวเดินทางจากนครหริภุญชัย จะไปพํานักอยู่กับอนันตยศกุมารที่ตั้งเมืองเขลางค์นคร ตั้งอยู่ลุ่มน้ำวังทางทิศตะวันออก คาดว่าผ่านขึ้นไปตาม แม่น้าแม่ขนาด ขึ้นห้วยหมู ข้ามเขาไปเป็นเขตอําเภอห้างฉัตร จังหวัดลําปาง

บ้านแม่ขนาดอยู่ห่างจากที่ว่าการอําเภอแม่ทา ไปทางทิศตะวันตกระยะทาง 16 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 2,187 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตําบลทากาศ อําเภอแม่ทา จังหวัดลําพูน อยู่ในความปกครองของเทศบาล ตําบลทากาศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับหมู่บ้านอื่น ๆ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านปง ตําบลทาขุมเงิน
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านเกาะทราย
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านดอยยาว เป็นหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโพล่ง 
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านดอยคํา เป็นหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโพล่ง

ลักษณะการตั้งบ้านเรือนการใช้ประโยชน์ที่ดิน

บ้านแม่ขนาดในอดีตนิยมสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น หญ้าคา ใบตองตึง และไม้ไผ่ ซึ่งมีอายุการใช้งานไม่นาน ไม่ทนต่อสภาพอากาศ เมื่อความเจริญเข้าสู่หมู่บ้าน รูปแบบการสร้างบ้านก็เปลี่ยนไป เพื่อความแข็งแรงและมั่นคงมากขึ้น จึงนิยมสร้างบ้านไม้สองชั้น ชั้นล่างเทปูนเพื่อใช้สําหรับรับแขกและทํากิจกรรมต่าง ๆ ส่วนชั้นบน เป็นห้องนอน 1 ห้อง สําหรับเจ้าของบ้าน ยังคงมีเตาสามเส้าเพื่อใช้สําหรับประกอบพิธีกรรมในบ้าน

ลักษณะการตั้งบ้านเรือนส่วนมากจะตั้งอยู่ตามซอย บ้านแม่ขนาดเป็นหมู่บ้านใหญ่สามารถแบ่งได้ เป็น 3 กลุ่มย่อย เรียกว่า กลุ่มบ้านแพะ กลุ่มบ้านลุ่ม และกลุ่มบ้านเหนือ การตั้งบ้านเรือนกลุ่มบ้านลุ่มและกลุ่มบ้านเหนือ ที่อยู่อาศัยมีลักษณะชิดติดกันสามารถเดินทะลุบ้าน ส่วนกลุ่มบ้านแพะจะตั้งบ้านเรือนห่างกัน และนิยมสร้างรั้วกั้นบริเวณบ้าน หมู่บ้านแม่ขนาดนิยมปลูกไม้ยืนต้นไว้บริเวณพื้นที่ว่างของบ้าน เช่น ลําไย มะม่วงมะพร้าว มะขาม เป็นต้น

พื้นที่ในหมู่บ้านมีทั้งหมด 2,187 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัย 700 ไร่ พื้นที่ทําการเกษตร 500 ไร่ พื้นที่ทํานา 300 ไร่ ส่วนที่เหลือเป็น พื้นที่ว่างเปล่า ป่าชุมชน ศูนย์เด็กเล็กบ้านแม่ขนาด แหล่งน้ำสาธารณะ ศาลาอเนกประสงค์ และโรงเก็บของชุมชน

บ้านแม่ขนาด มีการจัดกิจกรรมบ่อยครั้ง พื้นที่ที่ใช้จัดกิจกรรมจะอยู่ที่ศูนย์วิสาหกิจผ้าทอกะเหรี่ยงแม่ขนาด ซึ่งจะมีความพร้อมด้านสถานที่ห้องน้ำและที่จอดรถ ส่วนการประชุมหมู่บ้านจะเลือกใช้ที่บริเวณ ศูนย์เด็กเล็กบ้านแม่ขนาด พื้นที่บริเวณกลางหมู่บ้าน เป็นที่ตั้งของต้นประดู่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ 

ลักษณะทางกายภาพ

ลักษณะกายภาพทั่วไปของบ้านแม่ขนาดตั้งอยู่บนพื้นที่ราบ พื้นที่โดยรอบของหมู่บ้านโอบล้อม ไปด้วยดอยพระ ดอยเป๊ก และดอยตรง มีลําน้ำแม่ขนาด เป็นลําน้ำสายสําคัญหลักที่ไหลมาจากน้ำแม่สะอูน ไหลบรรจบกับน้ำแม่ขนาด ผ่านหมู่บ้านปงผาง แม่สะแงะ ผาด่าน ป่าเลา ดอยยาว และบ้านแม่ขนาด แม่น้ำแม่ขนาดจะวางตัวในทางทิศใต้และทิศตะวันตกของหมู่บ้าน 

ลักษณะภูมิอากาศและความเหมาะสมในการประกอบอาชีพ 

สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู โดยแบ่งเป็น

  • ฤดูร้อน ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน น้ำในลําน้ำแม่ขนาดจะแห้งขอด
  • ฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ลําน้ำแม่ขนาดจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ยังคงมีแหล่งอาหารตามธรรมชาติพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าบางชนิดที่สามารถนํามาทําอาหารหรือใช้ประโยชน์ได้ เมื่อฝนมาในช่วงเดือนมิถุนายนชาวบ้านจะเริ่มทําเกษตรกรรม ปลูกข้าว ปลูกผักสวนครัว 

การประกอบอาชีพ

อาชีพคนส่วนใหญ่ในชุมชนที่สอดคล้องกับภูมิอากาศ คือ ปลูกข้าว และทําสวนลําไย เป็นผลไม้ ที่สามารถผลิตได้ทั้งในฤดูและนอกฤดู ลําไยในฤดูจะออกดอกในช่วงฤดูหนาว คือ เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงฤดูฝน คือ เดือนกรกฎาคม ส่วนการผลิตนอกฤดูต้องใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นให้ลําไยออก ดอกและจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน

ในขณะที่ข้าวจะเริ่มหว่านข้าวในช่วงเดือนมิถุนายน เนื่องจากมีข้อจํากัดเรื่องปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอ จึงสามารถทํานาได้เพียงปีละครั้ง และจะเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม หลังจากนั้นจะพักดิน โดยเริ่มปลูกผักไว้รับประทาน เช่น มะเขือ ผักกาด หอมแดง กระเทียม เมื่อหมดฤดูเก็บเกี่ยว ผู้หญิงก็จะทอผ้า โดยนิยมทอถุงย่ามและเสื้อเพื่อเตรียมขาย ในเทศกาลประจําปี เช่น เทศกาลปีใหม่ งานฤดูหนาวจังหวัดลําพูน และงานปีใหม่เมือง ส่วนผู้ชายก็จะรับจ้างทั่วไปนอกหมู่บ้าน

การคมนาคม

การคมนาคมในหมู่บ้านส่วนมากเป็นถนนคอนกรีต คนในชุมชนนิยมใช้รถมอเตอร์ไซค์ในการเดินทางเข้า-ออกหมู่บ้าน บางส่วนที่ไปทํางานที่นิคมอุตสาหกรรม และไปโรงเรียนในจังหวัดลําพูน จะใช้บริการรถรับ-ส่ง และส่วนน้อยใช้รถยนต์ส่วนตัว ถนนในหมู่บ้านประกอบด้วย ถนนลาดยาง 1 เส้น ถนนคอนกรีต 14 เส้น และถนนลูกรัง 2 เส้น ระยะทางจากบ้านแม่ขนาดไปยังอําเภอแม่ทา ประมาณ 16 กิโลเมตร โดยเดินทางจาก หมู่บ้านแม่ขนาด ผ่านตําบลทากาศ 6 กิโลเมตร และเดินทางอีก 10 กิโลเมตร ถึงตัวอําเภอแม่ทา การเดินทางไป จังหวัดลําพูน ใช้ระยะทาง 27 กิโลเมตร มีเส้นทางสะดวกสามารถขึ้นรถโดยสารประจําทาง สายแม่ทา-ลําพูน โดยไปรอขึ้นรถบริเวณหน้าวัดทากาศ การเดินทางเข้าตัวเมืองนิยมใช้รถส่วนตัวเป็นหลัก

ลักษณะครอบครัวและเครือญาติ ครอบครัวชาวกะเหรี่ยงโพล่งเป็นครอบครัวเดี่ยว เมื่อสามีหรือภรรยาเสียชีวิต การแต่งงานใหม่จะไม่ค่อยปรากฏ ในการเลือกคู่ครองฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายเลือกฝ่ายชายก่อน เมื่อแต่งงานจะแยกครอบครัวไปปลูกบ้านใหม่ แต่งงานแล้วฝ่ายชายต้องมาอยู่บ้านพ่อแม่ของภรรยาหนึ่งฤดูเก็บเกี่ยว หลังจากนั้นปลูกบ้านใหม่ใกล้บ้านพ่อแม่ฝ่ายภรรยา หากเป็นลูกสาวคนเล็กจะต้องอยู่ดูแลพ่อกับแม่ การตั้งบ้านเรือนของญาติพี่น้องจึงอยู่ในพื้นที่เดียวกัน

ส่วนใหญ่คนในชุมชนนามสกุลเดียวกัน เนื่องจากในอดีตการออกไปแต่งงาน กับคนนอกหมู่บ้านไม่เป็นที่นิยมนัก ในบ้านแม่ขนาดมักจะมีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วยคําว่า "ขนาด" เช่น ขนาดกนก ขนาดจิตกร ขนาดฉายา ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่มีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น ประเพณีหรืองานบุญหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน พบว่ามีความเกื้อกูลกันและมีส่วนร่วมในกิจกรรม การไปเยี่ยมเยือนผู้ป่วยที่ป่วยหนักและนอนค้างคืนเพื่อให้กําลังใจแก่ญาติผู้ป่วยเป็นเรื่องปกติที่พบเห็นได้ ยังมีการลงแขกในฤดูเก็บเกี่ยวนา ที่เรียกว่า "เอามื้อ" ส่วนการจ้างแรงงานจากภายนอกเข้ามาในหมู่บ้านมีน้อยมาก คนส่วนมากในหมู่บ้านยังทํางานที่บ้านหรือเลือกที่จะทํางานใกล้บ้านเพื่อได้กลับมานอนที่บ้าน โดยชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณคุ้มบ้านลุ่ม และคุ้มบ้านเหนือจะเป็นชาวบ้านแม่ขนาดดั้งเดิม ในส่วนชาวบ้านที่อพยพมาภายหลัง และไม่ใช่ชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโพล่ง จะอาศัยบริเวณคุ้มบ้านแพะที่ตั้งอยู่ริมถนนหลัก ที่เชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านดอยยาวและหมู่บ้านดอยคำ

โพล่ง

ชาวบ้านแม่ขนาด เป็นกะเหรี่ยงโพล่ง ตั้งอยู่บนที่ราบ ตําบลทากาศ อําเภอแม่ทา จังหวัดลําพูน มีชื่อเสียงในเรื่องการทอผ้าที่เอว ได้รับการ ยอมรับเป็น “หมู่บ้านผ้าทอกะเหรี่ยง” มีลักษณะเด่นด้านลวดลายผ้าที่มีความละเอียดประณีต มีความ หลากหลายของลายผ้าทอที่สอดคล้องกับยุคสมัย เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงที่เดียว ที่สามารถทอผ้าหน้ากว้าง ได้ถึง 30 นิ้ว เป็นงานศิลปะผืนผ้าที่มีความวิจิตรงดงามสะท้อนค่านิยมวัฒนธรรมและสังคมของชุมชน ผู้ทอผ้าที่เอว ซึ่งนับวันองค์ความรู้เหล่านี้ได้เริ่มสูญหายไป เนื่องจากไม่มีเด็กและเยาวชน คนรุ่นใหม่ในชุมชน มาสนใจที่จะรักษาและสืบทอดให้คงอยู่ต่อไปคู่ชุมชน

ในชุมชนบ้านแม่ขนาดเป็นการทอผ้าที่ชาวกะเหรี่ยงผลิตเพื่อใช้สอยในครัวเรือน ยังไม่เป็นที่รู้จัก แพร่หลายเหมือนปัจจุบัน ผ้าแต่ละผืนมีกรรมวิธีที่ละเอียดและซับซ้อน มีความพิถีพิถัน มีความผูกพันกับวิถีชีวิต โดยเริ่มกระบวนการปลูกฝ้ายในไร่หมุนเวียนไปพร้อมกับการปลูกข้าว การย้อมสีผ้าจากสีธรรมชาติ ม้วนและปั่นด้ายก่อนเข้าสู่กรรมวิธีการทอผ้าแบบที่เอวที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยผ่านการถ่ายทอด ความรู้การทอผ้าที่เอวจากแม่หรือยาย สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงถึงองค์ความรู้และประสบการณ์ ที่มีความสัมพันธ์ ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม และความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน

การทอผ้ากี่เอวมีความสัมพันธ์ในทุกช่วงชีวิตของชาวกะเหรี่ยงโพล่ง เริ่มตั้งแต่เกิดจนถึงเสียชีวิต วิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่ขนาด มีความสัมพันธ์กับการทอผ้าที่เอวแทบทุกหลังคาเรือน และสวมใส่ผ้าทอของตนเอง ในการดําเนินชีวิตประจําวัน จุดเริ่มต้นของการมีชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์ คือ การก่อตั้งเป็นกลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยง แม่ขนาด เมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ร่วมกันก่อตั้งขึ้นเอง โดยมีการดําเนินงานของกลุ่มอาชีพจดทะเบียน เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในปี พ.ศ. 2547 และเข้าร่วมโครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จนได้รับเลือก เป็นสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว ในปี พ.ศ. 2553

การทอผ้าชาวกะเหรี่ยง เรียกว่า "ถะทา" หมายถึง การทอผ้าด้วยเอว มีลวดลายสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของชาวกะเหรี่ยง กี่เอวเป็นเอกลักษณ์ที่บรรพบุรุษชาวไทยภูเขาเผ่าปกากะญอ (กะเหรี่ยงขาว) ได้ถ่ายทอดให้ลูกหลานบ้านแม่ขนาด การออกแบบลวดลายการทอผ้ายังเป็นแบบดั้งเดิม คือ ทอลายดั้งเดิม บนผ้าสีดํา แดง ม่วง ขาว เขียว ยกตัวอย่าง ชื่อ ลายผีเสื้อ ภาษากะเหรี่อง เรียก "ชักเปิงได้” ลายดอกเล็ก ๆ ภาษาถิ่น ชื่อ "ทะเมขว้าง" ลายเม็ดเกสรเรียกว่า "เมสะคร" ลายฟันเลื่อย เรียกว่า “ทะกายกอง" และลวดลาย ผ้าแม่ขนาดที่มีเกสรเล็ก ๆ อยู่ในสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดเรียกว่า "เมขว้างพะดู" กับลายรูปดาวในกรอบสี่เหลี่ยม ข้าวหลามตัด เรียกว่า “เมขว้าง" และประดับตกแต่งด้วยลูกเดือยอย่างสวยงาม

กลุ่มชุมชน กลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน มีการรวมตัวและจัดตั้งขึ้นในรูปแบบที่เป็นทางการและ ไม่เป็นทางการ กลุ่มที่เป็นทางการจะมีประธานกลุ่ม กฎกติกา ตลอดจนจํานวนสมาชิกที่แน่นอน ในขณะกลุ่ม ไม่เป็นทางการจะจัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะกิจ ยกตัวอย่าง

กลุ่มวิสาหกิจผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านแม่ขนาด เป็นกลุ่มที่มีการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 โดย นางพรทิพา ดอกแก้วนาค ได้ชักชวนชาวบ้านในหมู่บ้านรวมกลุ่มกัน ในตอนเริ่มต้นมีสมาชิกเพียง 15 คน ซึ่งมีการประชุมและแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน และได้จดทะเบียนเป็น วิสาหกิจชุมชน เมื่อปี พ.ศ. 2544 ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม 65 คน รายละเอียดดังนี้

วัตถุประสงค์การก่อตั้งกลุ่ม 

  • เพื่อส่งเสริมอาชีพสตรีให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 
  • เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • เพื่อกระจายงานให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการพัฒนา
  • เพื่อให้สมาชิกมีความสามัคคีร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ 
  • เพื่อคงไว้ซึ่งวิถีชนเผ่า อาชีพ ประเพณีวัฒนธรรม สืบไป

โครงสร้างกลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยงแม่ขนาด

  • นางพรทิพา ดอกแก้วนาค ประธานกลุ่มผ้าทอ
  • นางกริยา เกษมศรีมาลัยรองประธานกลุ่มผ้าทอ
  • นางขันแก้ว น้อยก้อนที่ปรึกษา
  • นางจันทร์ เขาทองพันธุ์ที่ปรึกษา
  • นางโสภา ขนาดกนกเลขานุการกลุ่มผ้าทอ
  • นางมณฑา น้อยก้อนเหรัญญิก
  • นางเกศรินทร์ คําฤทธิ์ประชาสัมพันธ์
  • นางคําดา ขนาดไพศาลสกุล ปฏิคม

การบริหารจัดการการเงินของกลุ่มจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

ส่วนแรก คือ เมื่อมีรายได้ให้หักต้นทุน ประกอบด้วย วัตถุดิบ ค่าแรง และการซื้อฝ้ายมาในใช้ เป็นวัตถุดิบส่วนรวมของกลุ่ม เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่มีทุนได้มีส่วนร่วมและโอกาสในการพัฒนา โดยใช้ ภูมิปัญญาของตนเองที่มีอยู่ โดยสมาชิกจะซื้อฝ้ายในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด 5 บาท

ส่วนที่สอง คือ การจัดสรรการเงิน 

  • ปันผลแก่สมาชิก ร้อยละ 30
  • ค่าดําเนินงาน ร้อยละ 30
  • สมทบกลุ่มศึกษาดูงาน ร้อยละ 10
  • สาธารณประโยชน์ สวัสดิการสมาชิก ร้อยละ 30
  • ทุนการศึกษาปีละ 10 ทุน ทุนละ 200 บาท
  • การเสียชีวิต คณะกรรมการได้ 1,000 บาท สมาชิกได้ 500 บาท และญาติ คณะกรรมการได้ 300 บาท
  • การคลอดบุตร 500 บาทการเจ็บป่วยนอนโรงพยาบาล วันละ 300 บาท
  • เงินที่เหลือ ใช้จัดกิจกรรมสิ้นปี จับฉลากรางวัลและเลี้ยงอาหารให้แก่สมาชิก

ผลสําเร็จที่ได้รับของการสร้างกลุ่ม

  • ได้ผ้าทอเก็บเป็นสินค้าสํารองไว้ขายในเทศกาลและตลาดต่าง ๆ - สามารถได้สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน 
  • เกิดการอนุรักษ์ผ้าทอกะเหรี่ยงที่เอวบ้านแม่ขนาด - สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับคนในชุมชน 

การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก

หน่วยงานภาครัฐ การจัดตั้งกลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยงแม่ขนาด ทําให้มีชื่อเสียงได้รับการยอมรับ ช่วงแรกของการสร้างกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากสํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลําพูน และการสนับสนุน จากโครงการพัฒนาทักษะของการสร้างงานบนฐานของนิเวศน์ลุ่มน้ำแม่ทาของกองทุนเพื่อความเสมอภาค ทางการศึกษา ช่วยให้ผู้ที่ไม่มีรายได้หรือขาดโอกาสในชุมชนเข้าถึงความรู้และการพัฒนาผ้าทอ การสนับสนุน จากศูนย์ 72 พรรษา ในโครงการทอผ้ากะเหรี่ยง ในการทอผ้าลายเก่าดั้งเดิมของบ้านแม่ขนาด และได้รับการสนับสนุนในโครงการจัดทําสื่อออนไลน์ผ้าทอกะเหรี่ยงโปว์บ้านแม่ขนาดจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 

หน่วยงานภาคเอกชน จากการออกขายผ้าที่ตลาดเลิฟพูนพูน ในปี 2561 ซึ่งเป็นพื้นที่ รวมภูมิปัญญาในจังหวัดลําพูน ทําให้รู้จักกับเครือข่ายนิเวศน์ลุ่มน้ำทาในการนําสินค้าออกไปกระจาย ร้านแม่ทา SE ออกบูธในงานธุรกิจเพื่อสังคมที่จัดตั้งโดยคนรุ่นใหม่ ทําให้ได้เครือข่ายในการพัฒนาผ้าทอโดยอยู่ ในแนวความคิดการพึ่งตนเองบนฐานเศรษฐกิจชุมชน

ระบบสวัสดิการที่ชุมชน บ้านแม่ขนาดอยู่ในเขตพื้นที่การปกครองส่วนท้องถิ่นของเทศบาล ตําบลทากาศเหนือ บ้านแม่ขนาดมีระบบสวัสดิการชุมชนที่ได้รับจากเทศบาลตําบลทากาศเหนือและข้อตกลง ในชุมชน เช่น สวัสดิการชุมชนที่ได้รับจากเทศบาลตําบลทากาศเหนือ คือ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการ โดยผู้สูงอายุ ที่รับเบี้ยยังชีพจะต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินช่วยเหลือ เป็นรายเดือนต่อเนื่องจนกว่าจะเสียชีวิต ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ ช่วงอายุ 60-69 ปี ได้รับเงิน 500 บาทต่อเดือน ช่วงอายุ 70-79 ปี ได้รับเงิน 700 บาทต่อเดือน ช่วงอายุ 80-89 ปี ได้รับเงิน 800 บาทต่อเดือน และอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเงิน 1,000 บาทต่อเดือน ส่วนผู้พิการได้รับเงิน 400 บาทต่อเดือน

ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ

ด้านศาสนา ในอดีตชุมชนชาวกะเหรี่ยงโพล่ง มีความเชื่อเรื่องผีและบรรพบุรุษ มีพิธีกรรม ที่สอดคล้องกับการนับถือผีโดยมี เช่น การเลี้ยงผี ครอบครัวมีเตาหินสามเส้าอยู่ในบ้าน คือ สัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่า ครอบครัวนั้นมีความเชื่อและพิธีกรรมที่เชื่อมโยงกับการนับถือผีบรรพบุรุษดั้งเดิม โดยใช้เตาหินสามเส้าประกอบ พิธีกรรมของบ้าน สําหรับผีหมู่บ้านมีความเชื่อว่าไม่มีใครทําผิดโดยไม่ได้รับโทษ ใครที่รู้ตัวว่าทําผิดต้องขอขมา ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเหล่านี้เป็นกฎระเบียบที่ควบคุมให้คนประพฤติดีมาโดยตลอด

ความเชื่อด้านศาสนาพุทธเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในสมัยครูบาเจ้าศรีวิชัย ชาวบ้านเกิด ความศรัทธาทําให้ทุกคนในชุมชนแม่ขนาดนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน แม้ว่าปัจจุบันจะมีการนับถือ ศาสนาพุทธแล้วก็ตาม แต่ความเชื่อความศรัทธาเกี่ยวกับผีและบรรพบุรุษยังคงมี และสอดคล้องกับหลักศาสนา พุทธมาตลอด ในหมู่บ้านไม่มีวัดเป็นของตัวเอง ชาวบ้านนิยมไปทําบุญในวันสําคัญที่วัดดอยคํา ซึ่งเป็นวัดใกล้เคียง มีความสัมพันธ์กับชาวบ้านบ้านแม่ขนาดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ประเพณีบ้านแม่ขนาดยังคงมีประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อที่สืบทอดมาจากอดีต และปฏิบัติ สืบมาจนถึงปัจจุบัน ประเพณีที่ยังคงสอดคล้องกับหลักความเชื่อ ผสมผสานกับความทันสมัยที่เข้าสู่ชุมชน เช่น การแต่งงาน การเลี้ยงผี การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น

(1) การแต่งงาน ชาวกะเหรี่ยงโพล่งในอดีต จะเริ่มการสู่ขอเมื่อฝ่ายหญิงและชายชอบพอกัน พ่อและแม่ของฝ่ายหญิงก็จะส่งคนไปพบฝ่ายชาย เพื่อสอบถามให้แน่ใจว่าชอบฝ่ายหญิงจริง จากนั้นจะนัดทําพิธี แต่งงาน ฝ่ายหญิงจะต้องต้มเหล้าเพื่อใช้ในการประกอบพิธี อาหารที่ใช้ประกอบพิธีแต่งงานต้องทําจากหมูและ ไก่ที่เจ้าสาวเป็นคนเลี้ยง โดยเป็นพิธีแต่งงานที่เรียบง่าย สินสอดที่ใช้ขอเจ้าสาวไม่ได้เป็นเงินทองมากมาย ใช้เพียง อุปกรณ์ประกอบการทํามาหากิน เช่น จอบ เสียม และผ้าทอที่ใช้การประกอบพิธีการเปลี่ยนชุด โดยมีการผูกแขน ร่วมขวัญของคู่บ่าวสาว และเลี้ยงแขกที่มาร่วมงานด้วยอาหารพื้นเมือง เป็นอันเสร็จพิธี ปัจจุบันรูปแบบการแต่งงาน ได้ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยทั้งการแต่งงานกับคนภายนอกหมู่บ้านทําให้รับวัฒนธรรมการแต่งงานที่เปลี่ยนไปบางคู่ยังใส่ชุดกะเหรี่ยงในพิธีแต่งงานแต่บางคู่ก็เลือกที่จะใส่ชุดไทยหรือชุดราตรี

(2) การเลี้ยงผีเสื้อบ้านหรือเลี้ยงผีประจําหมู่บ้าน ประเพณีการเลี้ยงผีเสื้อบ้าน ที่เรียกว่า “หลือขาง” จัด 2 ครั้งต่อปี โดยจะเลือกวันขึ้น 9 ค่า เดือน 3 และวันขึ้น 9 ค่า เดือน 7 จัดขึ้นเพื่อขอขมาลาโทษในสิ่งที่ได้ล่วงเกิน และเพื่อขอให้ผีหมู่บ้านสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยปกป้องดูแลรักษาให้ชาวบ้านอยู่อย่างมีความสุข พิธีนี้ เริ่มต้นจากการรวมข้าวสารทุกครัวเรือนในวันก่อนทําพิธีมาเพื่อใช้ต้มเหล้า ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้หญิง ส่วนพิธีกรรม ในวัดที่ประกอบพิธีกําหนดให้ผู้เข้าร่วมได้เพียงแค่ผู้ชายเท่านั้น ทุกครัวเรือนต้องนําไก่ไป 1 ตัว เข้าไปในพื้นที่ ศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน เรียกว่า “ถลึงขลัง” และทําพิธีกรรมพร้อมฆ่าไก่ ผู้ที่เป็นผู้นําประกอบพิธีกรรม เรียกว่า “วันครู” ต้องสวมใส่ชุดประจําเผ่าในการประกอบพิธีกรรม กฎของประเพณีการเลี้ยงผีเสื้อบ้าน คือ ห้ามคนภายนอก เข้ามาในหมู่บ้านขณะประกอบพิธีเด็ดขาด หากฝ่าฝืนจะถูกปรับเงินและนําเงินที่ได้มาซื้อเกลือแจกให้ทุกบ้าน เพราะในอดีตถือได้ว่าเกลือเป็นของหายาก การเลี้ยงผีเสื้อบ้านไว้ ปัจจุบันกฎกติกานี้ไม่ได้เคร่งครัดเหมือนในอดีตแต่ยังคงรักษาประเพณี

(3) การเลี้ยงผีบรรพบุรุษ เมื่อในบ้านมีคนไม่สบายติดต่อกันเป็นเวลานาน ต้องทําการเลี้ยงผี บรรพบุรุษ เพื่อให้ผีบรรพบุรุษช่วยปกปักษ์รักษา ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมถูกจํากัดให้เฉพาะสมาชิกในครอบครัว ที่สืบทอดทางสายเลือดเดียวกันเท่านั้น สมาชิกในครอบครัวต้องกลับมาประกอบพิธีกรรมร่วมกันไม่ว่าจะอยู่ที่ใดแม้ว่าออกไปทํางานนอกหมู่บ้านหรือไปเรียนหนังสือต้องกลับมา โดยจะจัดขึ้นตามวันและเวลาที่เหมาะสม พิธีจะถูกจัดขึ้นบริเวณเตาสามเส้าใช้ประกอบอาหาร โดยใช้หมูหรือไก่ เมื่อประกอบอาหารเสร็จ ผู้ที่อาวุโสจะทําการ มัดมือให้กับสมาชิกในครอบครัวและร่วมรับประทานอาหาร ภายในช่วงการเลี้ยงผีบรรพบุรุษ สมาชิกทุกคน ไม่สามารถไปรับประทานหมูหรือไก่จากที่อื่นได้ นอกจากหมูหรือไก่ที่นําประกอบพิธีกรรม และห้ามให้ผู้อื่น ทักท้วงพิธีกรรมมิเช่นนั้นพิธีกรรมที่ทํามาจะไม่สมบูรณ์และต้องทําการประกอบพิธีกรรมใหม่ ดังนั้นก่อนประกอบ พิธีกรรมเลี้ยงผีบรรพบุรุษ จะมีการบอกกล่าวเพื่อนบ้านเพื่อให้ทําพิธีกรรมได้อย่างสมบูรณ์ "ป้าไม่สบายนอน ที่บ้านหลายวันพอไปหาหมอที่โรงพยาบาล หมอก็บอกว่าไม่ได้เป็นอะไร ตรวจหาอาการไม่เจอ ป้าเลยกลับมา เลี้ยงผีบรรพบุรุษที่บ้าน ได้กินข้าวแล้วอาการป้าก็หายนะ" จากการสัมภาษณ์ คุณลัดดา เตชะกาศ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (เมธาวี มานะจิตร์, 2563) พิธีเลี้ยงผีเป็นพิธีกรรมให้คนในครอบครัวกลับมาดูแล ให้กําลังใจคนป่วย การที่ทุกคนในครอบครัวรับประทานอาหารอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา ทําให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าได้รับ ความสําคัญและกําลังใจจากญาติ

(4) งานศพ เมื่อมีเสียงประกาศตามสายของผู้ใหญ่บ้านแจ้งว่ามีผู้เสียชีวิต เป็นที่รับรู้แต่โบราณ ว่าทุกคนต้องหยุดทํางาน การช่วยงานศพจะเริ่มต้นจากการจัดเตรียมสถานที่ โลงศพจะถูกตั้งไว้บนบ้านใช้ไม้ไผ่ ซึ่งโลงที่ขอไว้สําหรับแขวนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายไว้เหนือโลงศพ เนื่องจากมีความเชื่อว่าผ้าจะเป็นสิ่งที่คอยปกปักษ์ รักษา ป้องกันความร้อนระหว่างที่ผู้เสียชีวิตเดินทางไปสู่ภพภูมิที่ดี ค่ำคืนภายในงานศพ จะประกอบไปด้วยการซอ คือการขับร้องบททา พร้อมเดินวนรอบโลงศพตั้งแต่หัวค่ำจนถึงรุ่งเช้าอีกวัน เพื่อเป็นการอวยพรให้ผู้ตายไปสู่สุคติ เนื้อหาในบทซอจะกล่าวถึงวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต ชาวกะเหรี่ยงโพล่งเชื่อว่า หากศพใดไม่มีการซอชีวิต หลังความตายของศพนั้น จะไม่สงบสุข ในอดีตการซื้อเป็นหน้าที่ของหญิงสาวบริสุทธิ์ แต่รูปแบบการใช้ชีวิตปัจจุบัน ไม่สอดคล้องกับการประกอบพิธีกรรม เด็กสาวไม่สามารถอดนอนได้ เนื่องจากต้องไปเรียนในตอนเช้า จึงมีการปรับเปลี่ยน ให้หญิงหรือชายที่มีความสามารถขึ้นซอแทน ในส่วนของศาสนาพุทธที่เข้ามาเกี่ยวกับพิธีศพจะอยู่ช่วงวันสุดท้าย ในการเคลื่อนย้ายศพไปยังป่าช้าหมู่บ้านเพื่อทําการเผา ขบวนจะนําด้วยพระสงฆ์ตามด้วยคนในหมู่บ้านช่วยกัน ลากโลงศพ การเคลื่อนย้ายศพจะมีการหยุดเป็นระยะ เพื่อสวดบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะชาวบ้านเชื่อว่าระหว่างทางที่ผ่านแม่น้ำแม่ขนาดและป่าช้า เป็นสถานที่ที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง จะต้องทําการบอกกล่าวเพื่อให้เป็นที่รับรู้แก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์พาวิญญาณไปสู่สุคติความเชื่อในการเดินทางออกจากป่าช้าหลังจากที่เผาศพแล้วห้ามหันหลังกลับไปมองที่บริเวณเผาศพอีก เพราะเชื่อกันว่าการกระทําเช่นนี้จะทําให้วิญญาณไม่สงบสุข

วัฒนธรรม เป็นสิ่งดีงามที่ปฏิบัติ

อาหาร วัฒนธรรมการกินของชาวกะเหรี่ยงโพล่ง กินอยู่อย่างเรียบง่าย โดยจะหาวัตถุดิบ จากป่าและบริเวณบ้านมาประกอบอาหาร เช่น กบ ปลา เทา บอน เผือก หน่อไม้ มะเขือ ซึ่งจะผ่านการปรุงอาหาร แบบเรียบง่าย นิยมต้มลวกจิ้ม น้ำพริก แกงใส่กะปิและปลาร้า มีข้าวเหนียวและน้ำพริกตาแดงเป็นอาหารหลัก ที่ทุกบ้านต้องมีติดบ้าน คนในชุมชนยังคงคุ้นชินกับอาหารพื้นเมือง แต่เนื่องด้วยความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร ในหมู่บ้านไม่เพียงพอต่อประชากร จึงทําให้ชาวบ้านต้องเลือกซื้อวัตถุดิบหรืออาหารสําเร็จรูปจากตลาดและร้านค้า มากยิ่งขึ้น ทําให้วิถีการกินเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ในการจัดงานเลี้ยงหรือสังสรรค์ก็จะมีทั้งอาหารพื้นเมืองและอาหารจากภายนอก

การแต่งกาย ในชุมชนบ้านแม่ขนาดมีทั้งแบบแต่งกายดั้งเดิมและแต่งกายตามสมัยนิยม หญิงที่อายุ ๔๐ ปีขึ้นไป จะแต่งกายด้วยชุดกะเหรี่ยง เพราะคุ้นเคยกับการแต่งกายเช่นนี้มาตั้งแต่เล็กจนโตและ มีความผูกพันกับผ้าทอ ซึ่งมีคุณค่าทั้งในด้านจิตใจและด้านเศรษฐกิจ โดยการแต่งกายของกะเหรี่ยงนั้นแยกตามเพศ และสถานะการแต่งงาน การแต่งกายที่แบ่งสถานภาพมีเพียงเพศหญิง ชุดสีขาวยาว คือ การแต่งกายของหญิงโสด เมื่อผ่านการแต่งงานแล้วต้องเปลี่ยนเป็นสวมใส่เสื้อและซิ่นยาว ส่วนผู้ชายในอดีตจะสวมใส่ชุดยาวขาวแดง เหมือนชุดผู้หญิงโสด แต่ปัจจุบันเหลือเพียงแค่เสื้อขาวแดงที่มีลักษณะสั้นลง สวมใส่คู่กับกางเกงตามยุคสมัย ผ้าทอ กะเหรี่ยงเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของหมู่บ้านแม่ขนาด การทอผ้าที่เอวเป็นอาชีพหลักของผู้หญิงในชุมชน ส่งผลให้เกิด ความผูกพันกับผ้าทอของตน แม้เวลาจะเปลี่ยนไปแต่คุณค่าที่ผู้หญิงในชุมชนให้กับผ้าทอ ยังคงเห็นการสวมใส่ผ้าทอ กะเหรี่ยงในทุกบ้าน เพียงแต่มีรูปแบบสีสันที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ความเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอบ้านแม่ขนาด ที่มีโทนสีดําคาดสีแดงยังคงมีให้เห็นแม้ว่าจะไม่ถูกนํามาสวมใส่ ทุกบ้านรู้ดีว่าการแต่งกายดั้งเดิมประจําหมู่บ้านเป็นรูปแบบใด ส่วนการแต่งกายของผู้ชายจะเลือกสวมใส่ผ้าทอกะเหรี่ยงในงานสําคัญของหมู่บ้านเท่านั้นอย่างไรก็ตามการแต่งกายตามสมัยนิยมเข้ามามีบทบาทในชุมชน จากการออกไปทํางานนอกหมู่บ้าน ต้องใส่เสื้อผ้า ตามบริษัทหรือสถานที่นั้นกําหนด ทําให้ความนิยมของการแต่งกายชุดกะเหรี่ยงของคนรุ่นใหม่ลดลง แต่ด้วยผู้นํา ชุมชนเห็นความสําคัญในด้านการแต่งกาย จึงขอความร่วมมือให้เยาวชนสวมใส่ชุดกะเหรี่ยงทุกวันศุกร์ เมื่อไปโรงเรียนบ้านดอยคํา ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่บ้านแม่ขนาด เพื่อให้เยาวชนมีความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ความเป็นกะเหรี่ยง

ศิลปะฟ้อนเจิง การฟ้อนเจิง คือ การร่ายรําประกอบเสียงกลองจูดยงค์ เดิมไม่ใช่ศิลปะ พื้นบ้านของหมู่บ้านแม่ขนาด แต่ได้รับอิทธิพลมาจากอําเภอลี้ จังหวัดลําพูน ครั้งพระเจษฎา ประภัสโร เดินทางไป แสวงบุญและได้นําศิลปะการฟ้อนเจิงมาปรับใช้กับเยาวชนชายบ้านแม่ขนาด มักใช้แสดงประกอบพิธีการรื่นเริง และงานสําคัญ ท่วงทํานองและลีลาการฟ้อนเพิ่งประกอบด้วย 32 ท่า เนื้อหาบ่งบอกถึงศิลปะป้องกันตัว ประกอบด้วยชายผู้ฟ้อนหน้าขบวน 2 คน และขบวนกลองแห่ภายในประกอบด้วย กลอง แอว ฉาบ ต้อง ส่วนอุปกรณ์ประกอบ การฟ้อนมีทั้งดาบยาวและหางนกยูง ผู้แสดงเป็นชายทั้งหมด สวมใส่ชุดกะเหรี่ยงประจํา หมู่บ้านแม่ขนาดปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย โดยทุกคนจะสวมใส่เสื้อทอสีแดง-ขาว ครึ่งท่อนกับกางเกงสะดอขายาว เป็นศิลปะที่ได้รับการฝึกฝนเพื่อให้ผู้แสดงเกิดความชํานาญการร่ายรําให้ตรงจังหวะ และการใช้อุปกรณ์ประกอบอย่างระมัดระวัง

รอยสัก สัญลักษณ์การเปลี่ยนผ่านสถานภาพของผู้หญิงกะเหรี่ยง นอกจากการแต่งกาย ยังมีสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกได้นั่นคือ รอยสักของผู้หญิงชาวกะเหรี่ยงโพล่งจะต้องสักรอบขาเมื่อแต่งงานแล้ว เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการยอมรับความเจ็บปวดที่จะเกิดขึ้นในชีวิต หากเพียงแค่สักยังทนไม่ได้ก็ยังไม่สมควรที่จะออกเรือน ผู้หญิงสาวที่สักแล้วในอดีตจะถูกยอมรับแสดงถึงการมีวุฒิภาวะ ปัจจุบันไม่มีการสักรอบขาแล้ว เนื่องจากผู้ที่ทําการสัก ได้เสียชีวิตไปขาดการสืบต่อ ผู้ที่มีรอยสักอายุน้อยสุดในหมู่บ้านอายุ ๕๐ ปี ทําให้ความเชื่อการสักหายไป

สุขภาพอนามัยและการได้รับบริการสาธารณสุข บ้านแม่ขนาดไม่มีแหล่งให้บริการสาธารณสุข หากมีอาการเจ็บป่วย คนในชุมชนเลือกรับการรักษาตามความเชื่อ จากหมอตําแยเก่า มีความสามารถในการรักษา อาการเจ็บป่วยของชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นโรคผิวหนัง โรคอัมพาธ ใช้วิธีการเป่ามนต์คาถาตามความเชื่อโบราณ ผู้มารักษาต้องมาเป่าคาถาทั้งเช้าและเย็นในทุกวัน พร้อมกับนําขวดน้าที่นํามาเป่าคาถากลับไปดื่มระหว่างวัน โดยจะตอบแทนผู้รักษาด้วยอาหารหรือเงิน ตามความศรัทธาของผู้มารักษา ในขณะเดียวกันก็เลือกรักษาที่สถานี อนามัยป่าเลาควบคู่ไปด้วย ซึ่งห่างจากหมู่บ้านรวมระยะทาง 3 กิโลเมตร และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แม่ทา รวมระยะประมาณ 20 กิโลเมตร โดยโรคเบาหวาน ความดัน ไขมัน และโรคจิตเวช เป็นโรคที่พบบ่อย กับผู้สูงอายุ ส่วนเด็กจะพบโรคไข้หวัด ในช่วงที่คนในชุมชนเจ็บป่วยบ่อย เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตําบลป่าเลา จะเข้ามาจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพร่วมกับชุมชน โดยกิจกรรมที่ดําเนินร่วมกันมีทั้งการอบรม ให้ความรู้และมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านทําหน้าที่ให้คําแนะนํา ช่วยเหลือและติดตามอาการของผู้ป่วย ในชุมชน บ้านแม่ขนาดมีการแบ่งเขตการปฏิบัติงานของ อสม.ในชุมชนออกเป็น 4 เขต หรือ 9 คุ้ม ซึ่งแต่ละคุ้มมี อสม. 2-3 คน

แรงงาน ปัจจุบันจังหวัดลําพูนมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ในอําเภอเมืองลําพูน ซึ่งรับ พนักงานจํานวนมาก ทําให้คนในหมู่บ้านแม่ขนาดวัยกลางคนที่อ่านออกเขียนได้ นิยมออกไปทํางานในนิคม อุตสาหกรรม และมีสนามกอล์ฟในตําบลทากาศ ซึ่งไม่ไกลจากหมู่บ้าน สามารถเดินทางไปกลับ เช้า-เย็น จึงเป็น ทางเลือกอาชีพที่นิยมกับผู้หญิงในหมู่บ้านออกไปทําอาชีพแคดดี้ เนื่องจากมีรายได้ดีและมั่นคง ส่วนกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไป นิยมทํางานในชุมชน เช่น การรับจ้างทั่วไป การทอผ้า การเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังคงมีชาวบ้านบางส่วนที่เลือกไปทํางานเป็นแม่บ้านที่ประเทศเกาหลี โดยได้รับอิทธิพลมาจากบ้านผาด่าน ปงผาง และแม่สะแงะ ซึ่งเป็นหมู่บ้านใกล้เคียง

เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของชุมชน บ้านแม่ขนาดมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นทางวัฒนธรรม ได้แก่การทอผ้ากี่เอว ที่มีความผูกพันกับวิถีชีวิตธรรมชาติ ผู้หญิงทุกบ้านยังมีการทอผ้าทกี่เอวและสวมใส่ผ้าทอ ของตนเอง ตลอดจนประเพณีและความเชื่อดั้งเดิมยังสะท้อนความเป็นกะเหรี่ยงโพล่งได้ชัดเจน เมื่อเทียบกับพื้นที่ ใกล้เคียงที่ถูกวัฒนธรรมจากภายนอกกลืนไปแล้ว ซึ่งชุมชนมีความเข้มแข็งและมีความสามัคคีกันมาก โดยสังเกต ได้จากอัตลักษณ์ของการรวมกลุ่มการทํากิจกรรมหรือช่วยเหลืองานต่าง ๆ ในชุมชน เช่น งานประเพณีทําบุญ สะพาน งานศพ กิจกรรมพัฒนาหมู่บ้าน งานกะเหรี่ยงลําพูน ที่จัดขึ้นภายในชุมชนและสถานที่ราชการ อีกทั้ง บ้านแม่ขนาดยังมีผู้นําชุมชนที่เป็นที่ยอมรับและเคารพนับถือด้านการทํางานและการพัฒนาชุมชน มีความกระตือ รือร้นในการพัฒนาชุมชนของตน เพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน ซึ่งคนในชุมชน ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จึงทําให้บ้านแม่ขนาดเป็นหมู่บ้านที่เข้มแข็งคนในชุมชนก็มีความสามัคคีกันและเป็นชุมชนที่ยังรักษาขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และประเพณีในพื้นที่ไว้ได้เป็นอย่างดี

เพศสภาพ บทบาทผู้หญิงและผู้ชายในชุมชน เพศหญิงชาวบ้านให้การยอมรับในการปฏิบัติ หน้าที่ของผู้นําชุมชนได้เท่าเทียมเพศชาย ชุมชนเปิดโอกาสให้ทุกเพศได้เข้ามามีบทบาท ไม่ได้จํากัดสิทธิการแสดง ความคิดเห็น สามารถเป็นประธานกลุ่มต่าง ๆ ได้ เพศชายก็มีบทบาทชัดเจนในด้านงานหนัก เช่น งานก่อสร้าง จัดตั้งเวที เห็นว่าบทบาทของเพศให้การยอมรับในการทํางานร่วมกันได้ สําหรับเพศทางเลือก ครอบครัวมีความเข้าใจ และยอมรับเมื่อรู้ว่าลูกของตนเป็นเพศทางเลือก เพราะชุมชนเห็นว่าทุกเพศมีสิทธิเท่าเทียมกัน ยอมรับกันในการทํางานและอยู่ร่วมกันได้

สภาพเศรษฐกิจ

การผลิตและการประกอบอาชีพ การประกอบอาชีพในชุมชนแม่ขนาดนั้นมีอย่างหลากหลาย ซึ่งขึ้นอยู่ในความสัมพันธ์ด้านอายุและการศึกษา โดยผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีอายุมากมีวิถีชีวิตพึ่งพิง กับธรรมชาติเป็นหลัก การผลิตและการประกอบอาชีพในชุมชนบ้านแม่ขนาดสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ มีรายละเอียดดังนี้

การผลิตและการประกอบอาชีพในภาคการเกษตร ชาวบ้านในชุมชนบ้านแม่ขนาดมีวิถีชีวิต ผูกพันกับการเกษตรรรม โดยหลัก ๆ ทุกบ้านจะปลูกพืชไว้บริโภคในครัวเรือนเพื่อยังชีพตลอดทั้งปี ในอดีตมีการทําไร่ หมุนเวียนซึ่งข้าวพันธุ์ดั้งเดิมที่นิยมปลูก คือข้าวไร่ แต่เมื่อมีการสัมปทานเหมืองแร่ พื้นที่ไร่หมุนเวียน และพันธุ์พืชดั้งเดิมหายไป ชาวบ้านเปลี่ยนมาทํานาปี โดยเลือกปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข5 ตามคําแนะนําของ นักวิชาการเกษตร ซึ่งทุกบ้านจะมีนาอย่างน้อย บ้านละ 3 ไร่ ผู้ที่มีที่ดินเหลือจากการทํานาจะปลูกลําไยไว้ เพื่อจําหน่าย ตามการส่งเสริมของนโยบายภาครัฐ

การผลิตและการประกอบอาชีพนอกภาคการเกษตร เมื่อว่างเว้นจากการทํานา จะทอผ้ากี่เอว ขายส่งให้กับกลุ่มผ้าทอมือและขายเอง โดยมีคนในชุมชนเป็นคนนําออกไปขาย ส่วนผู้ที่มีการศึกษา มีการประกอบ อาชีพ รับราชการ รับจ้างทั่วไป จักสาน ค้าขาย ทําสวน หาของป่า พนักงานโรงงาน และแคดดี้ เนื่องจากการพึ่งพา เศรษฐกิจชุมชนอย่างเดียว ไม่สามารถเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายของครอบครัวและฐานะความเป็นอยู่ จึงมีการ ประกอบอาชีพเสริม

วัฒนธรรมการทอผ้าด้วยกี่เอว 

หย่าค่องไท้ (หย่าก่องไม้)

หย่าค่องได้ หรือ หย่าก่องไม้ คือ แผ่นหนังหรือผ้าหนา ๆ ส่วนมากจะใช้หนังสัตว์ เช่น หนังกวาง ตัดเป็น แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง ประมาณ 4-6 นิ้ว ยาวประมาณ 80 เซนติเมตร ปลายสองข้างเจาะรูห้อยเชือกสําหรับ คล้องกับปลายไม่รั้งผ้าที่ทอให้ตึง โดยพันอ้อมกับเอวผู้ทอ

นี่บ่า และ นี่ป่าพู 

นี่บ่า คือ ไม้กระทบผ้า ลักษณะคล้ายมีด ด้านที่เป็นสันจะมีความหนากว่าอีกด้านหนึ่ง มีความยาว ประมาณ 30-60 นิ้ว ใช้สําหรับช่วยแยกด้ายยืนให้มีช่องกว้างขึ้น เพื่อสะดวกในการสอดด้ายขวาง และใช้ กระทบด้ายขวางให้แน่นขึ้น ซึ่งจะทําให้เนื้อผ้าที่ทอมีความหนาแน่น นี่ป่าพู คือ ไม้ที่มีลักษณะคล้ายมีดแต่มีขนาดเล็กกว่านีบ่า ใช้สําหรับการทอเก็บลาย 

บ่าย คือ ไม้กลมเรียว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.75 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-25 นิ้ว หรือยาว ตามขนาดของผ้าที่จะทอ ในการทอผ้าครั้งหนึ่ง ๆ จะใช้บ่ายอย่างน้อย 5 อัน และก่อนใช้งานจะต้องใช้ขี้ผึ้ง ถูให้เรียบ เพื่อไม่ให้เส้นด้ายติดไม้บ่าย ไม้บ่ายใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น 

  • ใช้สําหรับคล้องด้ายตะกรอ เพื่อแบ่งเส้นด้ายยืนเวลาขึ้นเครื่องทอ เมื่อทอจะยกขึ้นสลับกับไม้ช่วยแยกด้าย
  • ใช้สําหรับกําหนดแนวและจัดระเบียบเส้นด้ายยืนก่อนผ่านตะกรอ
  • ใช้กําหนดตะกรอสําหรับการทอผ้าที่มีตะกรอหลายชุด ดังนั้นไม้ป่ายที่ใช้จึงมีจํานวนเท่ากับตะกรอ เซ็งถือ คือ ไม้ยืดเส้นด้ายทั้งหมด มีลักษณะเป็นไม้กระบอกกลม ๆ แต่ไม่กลวง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 นิ้ว ความยาวประมาณ 50-60 นิ้ว
  • ค่องได้ คือ ไม้สําหรับพันผ้าเป็นไม้ท่อนกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 นิ้ว ยาว 30-60 นิ้ว เหลาให้เป็นหลังเต่า ผ่าครึ่งประกบกัน ปลาย 2 ข้าง บากเป็นช่องสําหรับใช้คล้องเชือกจากแผ่นหนัง เป็นไม้อันแรก ที่ใช้พันด้าย เมื่อเริ่มขึ้นเครื่องทอ และยังใช้สําหรับม้วนผ้าที่ทอแล้ว
  • ลู่ทุ๊ย หรือ หมายถึง ไม้เรียวเล็กมีความยาวประมาณ 12 นิ้ว พันด้วยเส้นด้าย ทําหน้าเป็นกระสวย เพื่อสอดด้ายพุ่ง
  • กลู่คู่ คือ ไม้ช่วยแยกด้าย มีลักษณะเป็นไม้กระบอกกลม ๆ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.6 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 30-40 นิ้ว (เท่ากับบ่า) ใช้สําหรับแยกเส้นด้ายยืนออกจากกันตามแนวตะกรอ เพื่อให้เกิด ช่องว่างพอที่จะสอดไม้กระทบเข้าไปทําให้ช่องว่างสําหรับสอดด้ายขวางกว้างขึ้น
  • แหน่ คือ ลักษณะเป็นเส้นไหมไนล่อน ที่มีความเหนียวและลื่น ใช้พันกับไม้เรียวเล็ก เพื่อยกเส้นด้ายขึ้น ในการเก็บลาย
  • ทาเบลิง หมายถึง ไม้ขนาด 3/2 นิ้ว ยาวประมาณ 6 ศอก เจาะเป็นรูเล็กใหญ่ตามขนาดต้องการ สอดอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทอผ้า

1.นายจันทร์ หล้า เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2498 อาศัยอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

นายจันทร์ หล้า ผู้นำทางจิตวิญญาณ เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมหลัก ด้านศาสนา ประเพณีวัฒนธรรมและความเชื่อ โดยการเลี้ยงผีเสื้อบ้านหรือเลี้ยงผีประจําหมู่บ้าน ประเพณีการเลี้ยงผีเสื้อบ้าน ที่เรียกว่า "หลือขาง" การเลี้ยงผีบรรพบุรุษ (หม่าแองถอ) , พิธีการการซอ (อือทา ในงานศพ), เป็นผู้ส่งสารถึงจิตวิญญาณสิ่งชั่วร้าย (ในกรณีที่เกิดเหตุที่ไม่ดีต่อบุคคลในชุมชน จะมาขอให้ ลุงจันทร์  หล้า ช่วยส่งผ่าน อ้อนวอน ขอให้ลดโทษ ขอให้อภัย ขอให้หายจากการเจ็บป่วย โดยการเซ่นสังเวย เช่น การเลี้ยงหัวหมู การเลี้ยงไก่ต้ม รวมถึงสุรา เซ่นไหว้ รวมถึงเป็นผู้ส่งสารถึงเทพเทวดาผู้ปกปักษ์รักษาในการบนบานศาลกล่าวในการประกอบกิจกรรมให้บรรลุสำเร็จ 

 

 

ทุนของชุมชนบ้านแม่ขนาด ตามที่ได้จากการประชุมเพื่อวิเคราะห์ทุนชุมชน สามารถสรุปและจัดกลุ่มประเภทของทุนชุมชน เป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • ทุนกายภาพ ได้แก่ แม่น้ำแม่ขนาด ป่าชุมชนบ้านแม่ขนาด ภูเขา (ดอยพระ ดอกเป๊ก และดอยตรง) และโรงเรียนบ้านดอยคํา
  • ทุนเครือญาติ ได้แก่ ผู้นําจิตวิญญาณ และผู้อาวุโสในชุมชนบ้านแม่ขนาด ที่เรียกว่า "วันครู" ในชุมชนแม่ขนาดมี ขันครู 2 คน ได้แก่ นายจันทร์ หล้า และนายสุข เขาทองพันธุ์
  • ทุนความรู้ ได้แก่ ภูมิปัญญาการทอผ้าที่เอว การปักผ้า และการจักสาน
  • ทุนเศรษฐกิจ ได้แก่ ผ้าทอที่เอวที่พัฒนาต่อยอด โฮมสเตย์ของชุมชน ศูนย์การเรียนรู้ การทอผ้ากี่เอว กองทุนหมู่บ้าน มีเครื่องจักสานที่พัฒนาต่อยอด มีอาหารที่ขึ้นชื่อ เช่น หลามปลา และงานหัตถอุตสาหกรรมแกะสลัก
  • ทุนการเมือง ได้แก่ กฎหมายหรือนโยบายรัฐบาลคุ้มครองสิทธิและวิถีชีวิตของชาวไทย กลุ่มชาติพันธุ์ คือ มติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง กฎหมายรัฐธรรมนูญ และ (ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
  • ทุนศาสนา ได้แก่ วัดทาดอยคํา พิธีกรรมความเชื่อ เช่น การเลี้ยงผีไร่ ผีต้นน้ำ ผีบรรพบุรุษ การไม่กินปลาต้นน้า งานบุญประเพณีท้องถิ่น การแห่ครัวตาน ไปร่วมกับชุมชนกะเหรี่ยงพระบาทห้วยต้ม บ้านโป่งแดง และบ้านห้วยน้าอุ่น และโบราณสถานวัดสบถ (ร้าง)
  • ทุนองค์กร ได้แก่ กลุ่มยุวชนกะเหรี่ยงบ้านแม่ขนาด สภาเด็กและเยาวชนกะเหรี่ยงบ้านแม่ขนาด กลุ่มทอผ้าบ้านแม่ขนาด และคณะกรรมการหมู่บ้านบ้านแม่ขนาด
  • ทุนเครือข่าย ได้แก่ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) สํานักงานวัฒนธรรม จังหวัดลําพูน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ เทศบาลตําบลทากาศเหนือ องค์กรภาคประชาชนและภาคประชาสังคม คือ สภาวัฒนธรรมอําเภอแม่ทา เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมจังหวัดลําพูน เครือข่ายภาคประชาสังคมของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นอกจากนั้น ยังมีเครือข่ายจากต่างประเทศ ที่ได้ประสานเชิญแม่ครูภูมิปัญญาจากบ้านแม่ขนาด ไปถ่ายทอดองค์ความรู้การทอผ้าที่เอวที่ประเทศญี่ปุ่น

ภาษา ชุมชนแม่ขนาดเดิมเป็นชาวกะเหรี่ยงโพล่งทั้งหมด แม้ว่าบางส่วนจะเลือกแต่งงานกับคนภายนอกที่ไม่ใช่คนกะเหรี่ยงโพล่ง แต่เมื่อย้ายเข้ามาอยู่ในชุมชนต้องเรียนรู้และทําความเข้าใจในภาษากะเหรี่ยง

โพล่ง การทักทายในภาษากะเหรี่ยงโพล่งไม่มีคําพูดที่เป็นทางการนัก มักถามไถ่เรื่องราวในชีวิตประจําวัน เช่น "อังหมี่นะหลอ" มีความหมายว่า "กินข้าวกับอะไร" หรือ "ลีข้อหล่อ" มีความหมายว่า "ไปไหน" ภายในครอบครัว และชุมชนยังคงใช้ภาษากะเหรี่ยงโพล่งเป็นหลัก ส่วนการติดต่อสื่อสารกันทั่วไปใช้ภาษาเหนือ เนื่องจากชุมชนบ้านแม่ขนาดมีการติดต่อค้าขายกับคนภายนอกเป็นเวลานาน จึงทําให้ชาวบ้านในชุมชนคุ้นชินกับภาษาเมืองและภาษาไทย สื่อสารกับคนภายนอก


  • ในชุมชนไม่มีงานรองรับ ผู้คนวัยหนุ่มสาวมักไปทํางานในนิคมอุตสาหกรรมลําพูน
  • ไม่มีตลาดรองรับ ผ้าทอกี่เอว งานจักสาน และงานแกะสลัก
  • ชุมชนเคยเป็นแหล่งท่องเที่ยว ปัจจุบันการท่องเที่ยวในชุมชนหายไป
  • อาชีพค้าขาย มีการลงทุนสูง

ชุมชนบ้านแม่ขนาดยังอุดมไปด้วยทรัพยากรทางวัฒนธรรมหรือมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม ถือเป็นศักยภาพที่สําคัญของชุมชน ที่สามารถนํามาพัฒนาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชน ได้ดังนี้

1.สืบสานภูมิปัญญาเพื่อการธํารงความเป็นวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะหรี่ยง แสดงถึงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ เช่น การกําหนดแนวทางการพัฒนาห้องเรียนภูมิปัญญาเพื่อสืบทอด เอกลักษณ์ชาวกะเหรี่ยงเครือข่ายชุมชน ด้วยรูปแบบศูนย์การเรียนรู้หรือพิพิธภัณฑ์ และขยายผลสู่กลุ่มเครือข่ายชาวกะเหรี่ยงในระดับประเทศ

2.สืบสานภูมิปัญญาเพื่อความเข้าใจภูมิปัญญาวัฒนธรรมในชุมชนและท้องถิ่น สําหรับการดําเนินชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง โดยเลือกกิจกรรมการทอผ้าที่เอว สร้างหลักสูตรจากภูมิปัญญาชาวบ้าน และสร้างชุดความรู้การทอผ้าที่เอวที่มีความร่วมสมัยให้อยู่ในกระบวนการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบรวมทั้งเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาเรียนรู้พร้อมกับสามารถนําไปประกอบอาชีพได้

3.การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและอาหารชุมชน นับเป็นเครื่องมือสําคัญในการสร้างประสบการณ์ การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่และสร้างเศรษฐกิจฐานราก เนื่องจากการท่องเที่ยวในหมู่บ้านชนบท ที่มีลักษณะ วิถีชีวิต มีผลงานสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น สร้างความเพลิดเพลินและได้รับความรู้ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน อีกทั้งมีความเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่น บนพื้นฐานความรับผิดชอบและมีจิตสํานึกต่อการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและคุณค่าของสภาพแวดล้อม นําเสนอวัตถุดิบจากทุกท้องถิ่นมาเป็นองค์ประกอบในการปรุงอาหาร ทําให้เกิดการกระจายรายได้อย่างชัดเจนตรงไปยังท้องถิ่น เพราะเป้าหมายสําคัญคือ การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสําคัญที่จะสร้างรายได้ กระจายรายได้ และลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะใช้ "การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารเป็นการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ" โดยกําหนดให้ภายในปี พ.ศ. 2568 รัฐบาลจะใช้อาหารเป็นตัวนําการท่องเที่ยว ทําให้เป็นการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารของไทยตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) สร้างชุมชนเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นหมู่บ้านต้นแบบด้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไทยของชุมชน (Gastronomy village tourism) ด้วยคุณลักษณะ ดังนี้

  • ความมีเอกลักษณ์ของอาหารท้องถิ่น
  • ความอุดมสมบูรณ์ของวัตถุดิบภายในท้องถิ่น
  • ความพร้อมและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
  • กิจกรรมสําหรับนักท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย
  • ความต้องการของชุมชนในการขอรับการสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยว
  • ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในท้องถิ่น และอื่น ๆ

    • คนในชุมชนเริ่มใช้ชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่ และไม่ค่อยช่วยเหลือกันเยาวชนติดยาเสพติด และติดโทรศัพท์
    • ผู้สูงอายุไม่สามารถใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการสื่อสารได้ เท่าคนรุ่นใหม่
     

ในชุมชนร้านขายสุรามีจํานวนมาก ส่งผลให้ชาวบ้านบางส่วนติดสุรา จนถึงขั้นเป็นโรคภาวะทางจิตไม่ปกติ


รูปแบบการศึกษาในชุมชนบ้านแม่ขนาดแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ การศึกษาสายสามัญปกติ การศึกษาสายอาชีพ และการศึกษานอกระบบ โดยผู้ที่มีอายุตั้ง 45 ปีขึ้นไป ส่วนมากไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ ในรูปแบบการศึกษาแบบสายสามัญปกติ โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 2-5 ปี เข้ารับการศึกษาที่ ศูนย์เด็กเล็กบ้านแม่ขนาด ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้าน สังกัดเทศบาลทากาศเหนือ การศึกษาระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนดอยคําอยู่ใกล้หมู่บ้านที่สุด และการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนทาขุมเงินวิทยาคาร อยู่ที่ตําบลทากาศ ส่วนการศึกษาสายอาชีพและการศึกษานอกระบบมีจํานวนน้อย โดยสายอาชีพจะศึกษาที่วิทยาลัยเทคนิคลําพูน และการศึกษานอกระบบจะศึกษาที่เทศบาลทากาศเหนือ หลังจากนั้นจะศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือ

 

ศักยภาพของชุมชนบ้านแม่ขนาด ตามที่ได้จากการประชุมเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพ คือ ตัวองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงชุมชนบ้านแม่ขนาดที่มีอยู่ตามหมู่บ้านหรือชุมชน และยังสามารถรักษาและสืบทอดไว้ได้ และตัวผู้นําชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นําทางจิตวิญญาณที่เข้มแข็ง และแม้ว่าวัฒนธรรมกะเหรี่ยงแบบดั้งเดิมบางอย่างจะหายไป เลิกไป หรือถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น ทางชุมชมก็ยังมีศักยภาพที่จะสามารถดําเนินการตามวิธีการที่จะทําให้ไม่ให้สูญหายและอนุรักษ์ไว้ได้ ดังนี้

1.การประยุกต์ คือ การปรับความรู้เก่าร่วมกับความรู้ใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสังคมที่เปลี่ยนไป เช่น การประยุกต์การบวชมาเป็นการบวชต้นไม้เพื่อให้เกิดสํานึกการอนุรักษ์ป่าไม้และธรรมชาติ การรักษาป่าและเก็บกักน้ำด้วยการทําฝายกั้นน้ำให้มากขึ้น การประยุกต์การออกแบบลายผ้าแบบดั้งเดิมกับลายผ้าสมัยใหม่

2.การสร้างใหม่ คือ การคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ที่สัมพันธ์กับความรู้ดั้งเดิม เช่น การประดิษฐ์เครื่องมือ หรืออุปกรณ์การทอผ้าที่เอวที่อํานวยความสะดวกและมีความรวดเร็ว การคิดโครงการแก้ไขปัญหาชุมชนโดย อาศัยคุณค่าความอาทรที่ชาวบ้านเคยมีต่อกันมาหารูปแบบใหม่ เช่น การสร้างกลุ่มสหกรณ์ชุมชน การรวมกลุ่มแม่บ้าน

3.การอนุรักษ์ คือ การรักษาความดีงาม เช่น ประเพณีต่าง ๆ การแต่งกายชุดกะเหรี่ยงในวันสําคัญ การใช้ภาษากะเหรี่ยงในครอบครัว สนับสนุนให้ประกอบอาชีพงานหัตถกรรมเป็นอาชีพเสริม และส่งเสริมการสร้างคุณค่าในตนเองหรือการปฏิบัติตนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม

4.การฟื้นฟู คือ การนําความรู้ที่ดีงามและสิ่งที่เคยปฏิบัติ เช่น วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ การนับถือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่สูญหายไป เลิกไปหรือเปลี่ยนไป ให้นํากลับมาปฏิบัติกันในชุมชน

ความท้าทาย

1.การทอผ้ากี่เอว งานจักสาน และงานแกะสลัก คนรุ่นใหม่ไม่มีความรู้ ทําไม่เป็น ขาดการถ่ายทอด 

2.ผู้คนในชุมชนนิยมแต่งกายโดยใช้ผ้าของใหม่ (ใช้เครื่องจักรผลิต) ที่ราคาถูกกว่างานผ้าแบบดั้งเดิม (ใช้การทอผ้ากี่เอว)


เนื่องจากพื้นที่หมู่บ้านติดกับบริเวณดอยพระ ดอยตรง และดอยเล็ก ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทางป่าไม้ คนในชุมชนสามารถเข้าไปใช้พื้นที่ได้ แต่ต้องขออนุญาตจากทางราชการก่อน และมีข้อจํากัดในการนํา ทรัพยากรบางชนิดมาใช้ได้ ซึ่งชาวบ้านในชุมชนนิยมเข้าไปหาของป่าเพื่อนํามาประกอบอาหาร และนําไม้มาทํา เป็นเชื้อเพลิง

แหล่งน้ำ แหล่งน้ำสําคัญ คือ แม่น้ำแม่ขนาด ประกอบด้วยแม่น้ำสองสาย คือ ห้วยแม่สะอื้น จากหุบเขาฝั่งลําปาง บรรจบกับห้วยแม่ขนาดบริเวณบ้านป่าเลา ไหลผ่านบริเวณทิศตะวันตกของหมู่บ้าน แม่น้ำแม่ขนาดเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตของชาวบ้าน ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คนในชุมชน สามารถใช้น้ำทําการเกษตร ทําอาหารและเลี้ยงสัตว์ได้

สถานการณ์ปัจจุบันยังประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง เนื่องจากฝนไม่ตกตามฤดูกาล อีกทั้งป่าต้นน้ำได้รับความเสียหาย จากวัวและควายที่กินต้นอ่อนของไผ่และเหยียบฝายชะลอน้ำได้รับความเสียหายและการใช้น้ำที่มากเกินไปในการทําสวนลําไยแปลงเดี่ยว

ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงจากในอดีตมาก เนื่องจากมีการใช้สารเคมี ยาฆ่าหญ้าในการ ทํานาข้าว และการใช้สารเร่งลําไยนอกฤดู วัวและควายที่มีมากในสมัยอดีตลดน้อยลงเนื่องจากได้รับผลกระทบ จากน้ำที่มีอยู่ในห้วยแม่ขนาดไม่เพียงพอในการเลี้ยงวัวและควาย จากที่เคยได้มูลวัวควายที่เป็นปุ๋ยในทุ่งนา ก็ลดลงไปด้วย ส่งผลกระทบต่อดิน ทําให้ปลูกพืชได้ผลผลิตน้อยกว่าอดีต นอกจากนี้ยังพบปัญหา

  • ไม่มีที่ดินทําการเกษตร ขาดแคลนน้ำ แหล่งน้ำน้อย
  • ไม่มีเอกสารสิทธิในพื้นที่ทํากิน และไม่กําหนดแนวทางที่ชัดเจนในการใช้พื้นที่
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สำนักงานวัฒนธรรรมจังหวัดลำพูน. (2565). แผนบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยง ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านแม่ขนาด ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570). https://pubhtml5.com/

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานภายใต้โครงการ การขับเคลื่อนแนวนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).