Advance search

สระเกษ

ชุมชนและวัดสำคัญคู่เมืองสงขลา ศูนย์รวมศรัทธา พื้นที่แห่งการเผยแพร่ สืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

วัดสระเกษ
บ่อยาง
เมืองสงขลา
สงขลา
เทศบาลนครสงขลา โทร. 0-7431-1015
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
1 มี.ค. 2024
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
1 มี.ค. 2024
วัดสระเกษ
สระเกษ

ตั้งชื่อชุมชนตามวัดสำคัญที่ตั้งอยู่ในบริเวณชุมชนคือ "วัดสระเกษ"


ชุมชนและวัดสำคัญคู่เมืองสงขลา ศูนย์รวมศรัทธา พื้นที่แห่งการเผยแพร่ สืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

วัดสระเกษ
บ่อยาง
เมืองสงขลา
สงขลา
90000
7.203290535173174
100.59631003579469
เทศบาลนครสงขลา

ชุมชนวัดสระเกษเดิมเป็นชุมชนเดียวกันกับชุมชนวัดชัยมงคล เมื่อชุมชนวัดชัยมงคลขยายตัวกินอาณาเขตพื้นที่กว้างมากขึ้น ทั้งขนาดประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างหนาแน่น ทำให้ยากต่อการจัดการดูแล และคณะกรรมการชุมชนไม่สามารถบริหารงานได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุมพื้นที่โดยรอบชุมชน ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาในชุมชนและสังคมตามมาในภายหลังได้ พื้นที่บริเวณชุมชนวัดสระเกษจึงได้แยกตัวออกจากชุมชนวัดชัยมงคลเพื่อให้เกิดความสะดวกในการจัดการดูแล และพัฒนาชุมชนได้อย่างเป็นระบบโดยทั่วถึง พร้อมทั้งประกาศจัดตั้งชุมชนเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2538 โดยใช้ชื่อว่า "ชุมชนวัดสระเกษ" มาจนถึงปัจจุบัน

ชุมชนวัดสระเกษ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ชุมชนทั้งหมด 146,185.60 ตารางเมตร สภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ชุมชนตั้งอยู่บนพื้นที่ราบกลางเมืองสงขลา มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ถนนปละท่า
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ถนนชัยมงคล ซอย 2
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ถนนราชดำเนินนอก
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ถนนสระเกษ

ชุมชนวัดสระเกษ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่มีครัวเรือนอยู่อาศัยร่วมกันในชุมชนจำนวนทั้งหมด 552 ครัวเรือน มีประชากรชาย จำนวน 515 คน ประชากรหญิง จำนวน 603 คน และมีประชากรในชุมชนรวมทั้งหมด จำนวน 1,118 คน

ชุมชนวัดสระเกษ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายเป็นอาชีพหลัก และประชากรบางส่วนมีรายได้หลักจากการประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ชุมชนวัดสระเกษเป็นชุมชนที่มีความรักสามัคคีกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสมาชิกภายในชุมชน มีการรวมกลุ่มประชากรภายในชุมชนเป็นกลุ่มองค์กรต่างๆ เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิก ช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้คนในชุมชน และลดปัญหาการว่างงานของสมาชิก โดยมีกลุ่มองค์กรชุมชนดังนี้

  • กลุ่มดอกไม้จัน
  • กลุ่มดอกไม้ญี่ปุ่น
  • กลุ่มทำผ้าคอสติค
  • กลุ่มปลูกผักไฮโดรโปนิค
  • กลุ่มสมาชิกกลุ่มนวดแผนโบราณคนตาบอด
  • กลุ่มเครื่องหนังชุมชนสระเกษ
  • กลุ่มสตรีชุมชนสระเกษ
  • กลุ่มเยาวชนชุมชนสระเกษ

ชุมชนวัดสระเกษ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ชุมชนและวัดมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันในการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติ วัดสระเกษเป็นศูนย์รวมศรัทธาชุมชน และสถานที่จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีความเชื่อท้องถิ่น ซึ่งวัดและชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบสานงานประเพณีเทศกาลต่างๆ ตามวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และความเชื่อท้องถิ่น เช่น

  • วันมาฆบูชา
  • สวดมนต์ข้ามปี
  • ประเพณีสารทเดือนสิบ
  • ประเพณีสงกรานต์
  • ประเพณีทอดผ้าป่า-บุญกฐิน

1.นายปรีชา ไพรสุวรรณ ปราชญ์ชุมชนด้านศิลปวัฒนธรรม/ประเพณีท้องถิ่น

2.นายฉิ่นท้อง คงสุจริต ปราชญ์ชุมชนด้านศาสนพิธี

วัดสระเกษ

วัดสระเกษ เมืองสงขลา เป็นวัดสำคัญอีกวัดหนึ่งของจังหวัดที่พุทธศาสนิกชนให้ความศรัทธา และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ภายในวัดมีพระอุโบสถเก่าแก่ สันนิษฐานสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2468 ทั้งยังมีพระบรมธาตุรัตนเจดีย์ศร โดยเกิดจากเจตนารมณ์ของพระครูประภัศรธรรมวิธาน เจ้าอาวาสวัดสระเกษ ท่านได้มีโอกาสเดินทางไปกราบสักการะสังเวชนียสถานที่ประเทศอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2549 แล้วจึงได้ชักชวนคณะพุทธบริษัทร่วมใจกันสร้างเจดีย์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เวลา 21.39 น. ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 9 ปี แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 รอบพระบรมธาตุมีองค์พระพุทธรูปตั้งเรียงราย มีความสวยงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เรือพระวัดสระเกษ

ในงานประเพณีลากพระและตักบาตรเทโว ถือเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของพุทธศาสนิกชนในแถบภาคใต้ของประเทศไทย ที่นอกจากจะเป็นการแสดงออกถึงวิถีความเชื่อ ความศรัทธาที่มีต่อพุทธศาสนา ยังแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ภูมิปัญญา และความรักความสามัคคีของชุมชนและสังคม วัดสระเกษเป็นอีกหนึ่งวัดที่มีการจัดทำเรือพระ เพื่อร่วมประเพณีลากพระและตักบาตรเทโว จังหวัดสงขลา เป็นประจำทุกปี เรือพระวัดสระเกษมีความงดงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ วิจิตรตระการตาเป็นที่ชื่นชมแก่ผู้ที่พบเห็น และเป็นที่ยอมรับของผู้คนและนักท่องเที่ยว ทั้งยังมีรางวัลการันตีอีกจำนวนมาก โดยเรือพระวัดสระเกษเกิดจากความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกันระหว่างหลายองค์กร ทั้งวัด ชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานอื่นๆ ที่ร่วมด้วยช่วยกันผ่านกำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์ ที่ช่วยกันรักษา สืบสาน และสร้างสรรค์ผลงานเรือพระออกมาได้อย่างน่าประทับใจ นอกจากเรือพระวัดสระเกษจะทำให้เห็นถึงวิถีชีวิต ภูมิปัญญา ความรู้ ความสามารถที่บรรจงลงไปในผลงาน ยังสะท้อนให้เห็นถึงความรัก ความสามัคคี ของผู้คนในชุมชนและสังคมได้เป็นอย่างดี เรือพระวัดสระเกษจึงนับว่าเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าอย่างแท้จริง

เทศบาลนครสงขลา. แผนพัฒนาชุมชน ชุมชนวัดสระเกษ เขตเทศบาลนครสงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 จาก https://www.songkhlacity.go.th/ 

เรือพระวัดสระเกษ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 จาก https://www.facebook.com/

วัดสระเกษ สงขลา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 จาก https://www.facebook.com/

Wongnai. วัดสระเกษ สงขลา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 จาก https://www.wongnai.com/

เทศบาลนครสงขลา โทร. 0-7431-1015