Advance search

ชุมชนปกาเกอะญอริมลำน้ำสาละวินกับการดำรงวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม มีการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยดำรงชีพ ตลอดจนการอนุรักษ์สืบสานวิถีวัฒนธรรมการทำเกษตรแบบดั้งเดิมของปกาเกอะญอ 

หมู่ที่ 6
ปู่ทา
แม่สามแลบ
สบเมย
แม่ฮ่องสอน
วิไลวรรณ เดชดอนบม
19 ก.พ. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
20 ก.พ. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
7 มี.ค. 2024
บ้านปู่ทา

ตั้งตามผู้นำหมู่บ้านคนแรกนับตั้งแต่ได้รับการยกระดับหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีชื่อว่า "ทา"


ชุมชนชาติพันธุ์

ชุมชนปกาเกอะญอริมลำน้ำสาละวินกับการดำรงวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม มีการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยดำรงชีพ ตลอดจนการอนุรักษ์สืบสานวิถีวัฒนธรรมการทำเกษตรแบบดั้งเดิมของปกาเกอะญอ 

ปู่ทา
หมู่ที่ 6
แม่สามแลบ
สบเมย
แม่ฮ่องสอน
58110
17.8944532191651
97.7191467583179
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สามแลบ

ความเป็นมาของบ้านปู่ทานั้นไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่าหมู่บ้านนี้เกิดขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้ก่อตั้ง หรืออพยพมาตั้งบ้านเรือน ณ ที่แห่งนี้เป็นกลุ่มแรก แต่คาดว่าบ้านปู่ทาน่าจะก่อตั้งมาแล้วไม่ต่ำกว่า 100 ปี เทียบจากอายุของผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 ที่เกิดในช่วงที่ปู่ทา ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของบ้านปู่ทายังมีชีวิตอยู่ โดยในปีที่ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 เสียชีวิต คือ พ.ศ. 2550 ซึ่งขณะนั้นมีอายุเกือบ 100 ปี แล้ว 

อาณาเขต

บ้านปู่ทาตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 6 ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยแยกออกเป็น 4 หย่อมบ้าน คือ บ้านปู่ทาหย่อมบน (เป็นหย่อมใหญ่ที่สุด) หย่อมเดลอตุเลอ หย่อมห้วยขนุน และหย่อมท่าเรือเก่า มีอาณาเขตติด ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านกลอเชโล ตำบลแม่สามแลบ อำเมือสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านพะละอี บ้านสบเมย ตำบลแม่สามแลบ อำเมือสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านบุญเลอ ตำบลแม่สามแลบ อำเมือสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ แม่น้ำสาละวิน รัฐกะเหรี่ยง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

สภาพภูมิอากาศ

  • ฤดูร้อน จะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงช่วงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศจะร้อนจัด แต่เนื่องจากอยู่ในเขตภูเขาจึงทำให้ในช่วงกลางคืนจนถึงเช้าอากาศค่อนข้างเย็น

  • ฤดูฝน จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม จะมีฝนตกชุกในเดือนสิงหาคมและในบางปีฤดูฝนอาจจะมาช้า คือ เริ่มในเดือนมิถุนายน ทำให้ในบางปีที่ฝนมาช้าชาวบ้านก็เริ่มทำการปลูกข้าวล่าช้าไปด้วย

  • ฤดูหนาว จะเริ่มตั้งเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ จะมีอากาศหนาวจัดในช่วงเดือนมกราคม ในช่วงเช้ามักจะมีหมอกหนาจัดโดยเฉพาะในช่วงเดือนอมกราคมถึงกุมภาพันธ์

สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง รายงานจำนวนประชากรหมู่ที่  บ้านปู่ทา ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 737 คน โดยแยกเป็นประชากรชาย 392 คน ประชากรหญิง 345 คน จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 274 หลังคาเรือน (ข้อมูลเดือนธันวาคม 2566) ชาวบ้านปู่ทาเป็นกลุ่มชาติพันธ์กะเหรี่ยงสะกอ หรือ ปกาเกอะญอ 

ปกาเกอะญอ

การดำรงชีวิตของชาวบ้านปู่ทานั้น จะทำการปลูกข้าวทำนาและทำไร่เพื่อเลี้ยงชีพเป็นหลัก ในการทำนาและทำไร่ ชาวบ้านจะช่วยกันทำตั้งแต่เริ่มต้นฟันไร่ หยอดเมล็ดข้าว ดำนา จนถึงการเก็บเกี่ยว จะช่วยกันสลับไปคนละวัน โดยปกติจะเริ่มฤดูกาลในเดือนกุมภาพันธ์หลังจากที่ทำการมัดมือปีใหม่เสร็จแล้ว โดยชาวบ้านจะเริ่มมองหาที่พื้นที่ในการทำไร่ เมื่อหาได้แลวจะทำการตัดต้นไม้ไว้ประมาณ 2-3 ต้น เพื่อเป็นการบอกว่า พื้นที่นี้มีคนเลือกแล้ว หลังจาหนั้นเจ้าของไร่จะเริ่มฟันไร่และตากไร่ไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อให้ต้นไม้ตายและแห้งสนิทจึงทำการเผ่าไร่

การทำนา ชาวบ้านจะเริ่มทำนาช่วงเวลาเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และเริ่มเก็บเกี่ยวช่วงปลายเดือนตุลาคม เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วจะตากข้าวไว้สักระยะหนึ่งจึงจะถึงเวลาตีข้าว สุดท้ายเมื่อตีข้าวเสร็จเก็บข้าวเข้ายุ้งฉาง เรียบร้อยก็จะเก็บพวกพริกและผักต่าง ๆ ที่ปลูกไว้ในไร่ไปพร้อมด้วย

อย่างไรก็ตาม การทำไร่และทำนาข้าวนั้นไม่สามารถสร้างรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีวิตคนในครอบครัว ปัจจุบัน ชาวบ้านจึงนิยมออกไปทำงานนอกพื้นที่ภายหลังเสร็จสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวแล้ว โดยงานที่ทำส่วนมาก คือ การรับจ้าง ทำงานร้านอาหาร เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พนักงานเติมน้ำมัน เป็นต้น 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรป่าไม้ : มีอยู่ทั่วไปโดยรอบหมู่บ้าน มีทั้งป่าใช้งาน ป่าอนุรักษ์ และป่าช้าที่ใช้ในการเผาและฝังศพ ป่าที่อยู่บริเวณต้นน้ำจะเป็นป่าอนุรักษ์ ชาวบ้านจะไม่เข้าไปตัดไม้หรือทำไร่ เช่นเดียวกันกับป่าช้าที่เอาไว้เผาศพซึ่งจะกลายเป็นป่าต้องห้ามโดยอัตโนมัติ ชาวบ้านจะไม่เข้าไปบุกรุกตัดต้นไม้ในป่านี้ซึ่งจะอยู่บริเวณระหว่างทางเดินไปหย่อมบ้านห้วยขนุนและทางขึ้นมาหมู่บ้านหย่อมบน การใช้ประโยชน์จากป่านั้นส่วนใหญ่จะเป็นการตัดไม้ทำเสาสร้างบ้าน การเข้าไปหาฟืน และหาผัก หาอาหารมารับประทาน

ทรัพยากรน้ำ : แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญของบ้านปู่ทา คือ แม่น้ำสาละวิน ซึ่งถือเป็นแม่นำที่มีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้คนไม่เพียงแต่บ้านปู่ทาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงหมู่บ้านใกล้เคียง และหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ตลอดแนวริมน้ำสาละวินด้วย ลำน้ำสาละวินนี้เป็นทั้งเส้นในการเดินทางเข้าออกหมู่บ้าน เป็นเส้นแบ่งเขตประเทศ และเป็นแหล่งอาหาร 

ในช่วงหน้าแล้งน้ำในแม่น้ำสาละวินจะลดลง ปรากฏให้เห็นหาดโผล่ขึ้นมาตามแนวยาวของแม่น้ำดูสวยงามคล้ายทะล ซึ่งชาวบบ้านจะใช้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ในการเพาะปลูกพืชผัก เพราะแม่น้ำจะพัดพาเอาตะกอนมาทับถมบนหาดทราบทำให้มีปุ๋ยธรรมชาติและเหมาะแก่การเพาะปลูก โดยพืชที่ชาวบ้านนิยมปลูกบริเวณหาดทรายมีหลายชนิด เช่น แตงโม ผัดกาด ฟักทอง และยาสูบ แต่เนื่องจากหาดทรายอยู่ค่อนข้างไกลจากตัวหมู่บ้านทำให้ยากต่อการดูแล บางครั้งจึงมักมีสัตว์ป่าเข้ากัดกิน ทำลายพืชผลของชาวบ้าน ทำให้ได้ผลผลิตไม่เต็มที่

ภาษาพูด : ปกาเกอะญอ ไทยถิ่นเหนือ ภาษากลาง

ภาษาเขียน : อักษรโรมัน อักษรขาว อักษรไทย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

คลังความรู้สร้างสรรค์ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(2563). ปกาเกอะญอ. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://accl.cmu.ac.th

นเรนทร์ฤทธิ์ เฉลียวยิ่ง. (2558). การคืนถิ่นของแรงงานที่ไปทำงานนอกหมู่บ้าน กรณีศึกษาบ้านปู่ทา หมู่ที่ 6 ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยาลัยพัฒนาศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศศช.บ้านปู่ทา สกร.อำเภอสบเมย. (2563). สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.facebook.com/

ศศช.บ้านปู่ทา สกร.อำเภอสบเมย. (2567). สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.facebook.com/

โครงการเติมฝันโลกใบน้อย. (2555). สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.facebook.com/

usobycat. (2554). สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://usobycat.weebly.com/