Advance search

จากพื้นที่ชุมชนเมืองขนาดใหญ่ใจกลางเมืองสงขลา ที่มีความหนาแน่นและแออัด สู่การจัดตั้งชุมชนใหม่เพื่อการดูแลและพัฒนาศักยภาพชุมชน

บ่อหว้าสามัคคี
บ่อยาง
เมืองสงขลา
สงขลา
เทศบาลนครสงขลา โทร. 0-7431-1015
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
7 มี.ค. 2024
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
7 มี.ค. 2024
บ่อหว้าสามัคคี

บริเวณพื้นที่ตั้งชุมชนมีบ่อน้ำโบราณและมีต้นหว้าเกิดขึ้นในบริเวณใกล้กับบ่อน้ำนั้น และมีอีกหนึ่งชุมชนที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน และใช้ชื่อชุมชนว่า "ชุมชนบ่อหว้า" ซึ่งประกาศจัดตั้งชุมชนไปก่อนหน้า ชุมชนที่ประกาศจัดตั้งภายหลังจึงใช้ชื่อชุมชนว่า "ชุมชนบ่อหว้าสามัคคี"


จากพื้นที่ชุมชนเมืองขนาดใหญ่ใจกลางเมืองสงขลา ที่มีความหนาแน่นและแออัด สู่การจัดตั้งชุมชนใหม่เพื่อการดูแลและพัฒนาศักยภาพชุมชน

บ่อหว้าสามัคคี
บ่อยาง
เมืองสงขลา
สงขลา
90000
7.18086385919316
100.60210830806781
เทศบาลนครสงขลา

เดิมพื้นที่บริเวณชุมชนรวมอยู่กับชุมชนกุโบร์ ซึ่งตั้งชุมชนชนในพื้นที่ที่เป็นป่าเสม็ดก่อนที่ผู้คนจะเริ่มเข้ามาแผ่วถางและสร้างที่อยู่อาศัย แรกเริ่มมีเพียงไม่กี่ครอบครัวที่ตั้งบ้านเรือนในบริเวณนี้ รวมถึงบริเวณใกล้ริมทางรถไฟที่หยุดให้บริการการเดินรถไปแล้ว ระยะต่อมาเมืองสงขลามีความเจริญมากยิ่งขึ้น ผู้คนจากต่างถิ่น จากพื้นที่รอบนอกจึงอพยพโยกย้ายเข้ามาสร้างบ้านเรือนเพื่อแสวงหาที่ทำกิน จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ ในพื้นที่โดยรอบชุมชน ครอบคลุมพื้นที่ชุมชนบ่อหว้าเดิมและชุมชนอื่น ๆ พื้นที่ชุมชนจึงมีขอบเขตที่กว้างขวางและยากต่อการจัดการดูแลได้อย่างทั่วถึง และไม่สามารถพัฒนาระบบสาธาณูปโภคและสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ จึงได้แยกชุมชนออกเป็นอีกหลายชุมชน และชุมชนบ่อหว้าสามัคคีแยกออกจากชุมชนกุโบร์เมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยชื่อชุมชนได้มาจากบริเวณพื้นที่ตั้งชุมชนมีบ่อน้ำโบราณและมีต้นหว้าเกิดขึ้นในบริเวณใกล้กับบ่อน้ำนั้น และมีอีกหนึ่งชุมชนที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน และใช้ชื่อชุมชนว่า "ชุมชนบ่อหว้า" ซึ่งประกาศจัดตั้งชุมชนไปก่อนหน้า ชุมชนที่ประกาศจัดตั้งภายหลังจึงใช้ชื่อชุมชนว่า "ชุมชนบ่อหว้าสามัคคี"

ชุมชนบ่อหว้าสามัคคี ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบใจกลางเมืองสงขลา มีประชากรอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น มีเส้นทางคมนาคมใช้สัญจรในชุมชนสะดวก อยู่ใกล้กับหน่วยงานราชการ และองค์กรสำคัญทางสังคม โดยชุมชนมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ถนนไทรบุรี ซอย 11
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ถนนราษฎร์อุทิศ 1 ซอย 2
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ถนนริมทางรถไฟ (4)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ถนนราษฎร์อุทิศ 1

ชุมชนบ่อหว้าสามัคคี ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา มีประชากรจำนวนมาก ผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นและแออัด มีจำนวนครัวเรือนในชุมชนทั้งหมด 450 ครัวเรือน ประชากรชาย จำนวน 561 คน ประชากรหญิง จำนวน 604 คน และมีจำนวนประชากรในชุมชนทั้งหมดจำนวน 1,165 คน 

ชุมชนบ่อหว้าสามัคคี ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการเป็นอาชีพหลัก อาชีพเกี่ยวกับการค้าขายเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ผู้คนชุมชนบ่อหว้าสามัคคียึดเป็นอาชีพหลัก นอกจากนี้ประชากรบางส่วนยังประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปเพื่อสร้างรายได้ในครัวเรือน โดยชุมชนบ่อหว้าสามัคคีมีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 152,720 บาท/ปี และมีรายได้บุคคลเฉลี่ย 84,089 บาท/ปี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

1.นายพลศรุต ดำศรี ปราชญ์ชุมชนด้านสื่อสร้างสรรค์/นวัตกรรม

2.นายสมพงศ์ บุญเวช ปราชญ์ชุมชนด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น (ทำรูปหนังตลุง)

3.นายมนูญ สุวรรณโณ ปราชญ์ชุมชนด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

4.นางเชือน กาญจนะ ปราชญ์ชุมชนด้านการเกษตร/เพาะปลูก

5.นางศิริกร สุวรรณจินดา ปราชญ์ชุมชนด้านการเกษตร/ขยายพันธุ์พืช

6.นางโฉมตรู สุขมี ปราชญ์ชุมชนด้านการประกอบอาหาร/ทำขนม

7.นางธนพร ศิรินุพงศ์ ปราชญ์ชุมชนด้านการจัดทำอาหาร

8.นางเพลิน ปานดำรง ปราชญ์ชุมชนด้านการจัดทำอาหาร

9.นายประวิทย์ รัตนวิจิตร ปราชญ์ชุมชนด้านศาสนพิธี

แหล่งทุนเศรษฐกิจสนับสนุนชุมชน

  • กลุ่มออมทรัพย์ชุมชน มีงบประมาณ 253,115 บาท

สถานที่สำคัญบริเวณชุมชน

  • โรงเรียนเทศบาล 3
  • ตลาดเคหะชุมชน
  • PCU กุโบร์รวมใจ
  • วัดศาลาหัวยาง
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

วัดศาลาหัวยาง

วัดศาลาหัวยาง สร้างขึ้นเมื่อประมาณช่วงปี พ.ศ. 2300 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา โดยความร่วมมือรวมใจของชาวบ้านในการก่อสร้างวัดจนแล้วเสร็จ ชาวบ้านเรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดหลาหัวยาง" ในด้านการศึกษา ทางวัดให้หน่วยงานราชการใช้พื้นที่บริเวณวัดส่วนหนึ่งจัดสร้างเป็นโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2435 โดยในระยะแรกใช้ศาลาการเปรียญเป็นอาคารเรียน

เทศบาลนครสงขลา. แผนพัฒนาชุมชน ชุมชนบ่อหว้าสามัคคี เขตเทศบาลนครสงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2567 จาก https://www.songkhlacity.go.th/ 

สำนักงานนโยบายและแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). วัดศาลาหัวยาง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2567 จาก https://culturalenvi.onep.go.th/

เทศบาลนครสงขลา โทร. 0-7431-1015