Advance search

พัฒนาเกษตรอินทรีย์ ยึดวิถีแบบพอเพียง สร้างศูนย์เรียนรู้เกษตรครบวงจร รักษาวัฒนธรรมพื้นบ้าน

หมู่ที่ 2
บ้านโซ้
แม่นาเรือ
เมืองพะเยา
พะเยา
สุธาสินี ด่านสวัสดิ์
8 มี.ค. 2024
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
8 มี.ค. 2024
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
8 มี.ค. 2024
บ้านโซ้

จากคำเล่าขานของผู้อาวุโสที่อาศัยก่อกำเนิดในพื้นที่ก็ได้กล่าวว่า มีคนส่วนใหญ่ย้ายมาจากบ้านผาแมว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ได้มาอาศัยพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์ วัว ควาย และหาของป่า กาลเวลาเนิ่นนานไปจึงมีการพักค้างแรมและเริ่มปลูกสร้างบ้านตามริมห้วยโซ้ (ปัจจุบันเป็นห้วยร้าง) เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ และถูกเรียกชุมชนนั้นว่า “บ้านโซ้” ซึ่งคำว่า “โซ้” ตามคำบอกเล่าว่าเกิดจากเสียงลมที่พัดผ่านตามแนวเขาลงสู่พื้นในเขตของลำห้วย ซึ่งสองข้างของลำห้วยถูกขนาบด้วยต้นไม้ใหญ่สูงขึ้น จึงเกิดเสียงของลมพัดตามช่องว่างมาเสียงดัง โซ้ๆๆๆๆ หรือ การพัดของลมแนวกระโชกแรงมา ประกอบกับการไหลบ่าของน้ำตามลำห้วยที่พัดน้ำกระทบตามเกาะแก่งไหลเรื่อยลงมา ปัจจุบันสภาพเหตุการณ์นั้นมีน้อยครั้งที่จะพบเจอ


พัฒนาเกษตรอินทรีย์ ยึดวิถีแบบพอเพียง สร้างศูนย์เรียนรู้เกษตรครบวงจร รักษาวัฒนธรรมพื้นบ้าน

บ้านโซ้
หมู่ที่ 2
แม่นาเรือ
เมืองพะเยา
พะเยา
56000
19.07037206
99.88326564
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ

จากคำเล่าขานของผู้อาวุโสที่อาศัยก่อกำเนิดในพื้นที่ก็ได้กล่าวว่า มีคนส่วนใหญ่ย้ายมาจากบ้านผาแมว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ได้มาอาศัยพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์ วัว ควาย และหาของป่า กาลเวลาเนิ่นนานไปจึงมีการพักค้างแรมและเริ่มปลูกสร้างบ้านตามริมห้วยโซ้ (ปัจจุบันเป็นห้วยร้าง) เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ และถูกเรียกชุมชนนั้นว่า “บ้านโซ้” ซึ่งคำว่า “โซ้” ตามคำบอกเล่าว่าเกิดจากเสียงลมที่พัดผ่านตามแนวเขาลงสู่พื้นในเขตของลำห้วย ซึ่งสองข้างของลำห้วยถูกขนาบด้วยต้นไม้ใหญ่สูงขึ้น จึงเกิดเสียงของลมพัดตามช่องว่างมาเสียงดัง โซ้ๆๆๆๆ หรือ การพัดของลมแนวกระโชกแรงมา ประกอบกับการไหลบ่าของน้ำตามลำห้วยที่พัดน้ำกระทบตามเกาะแก่งไหลเรื่อยลงมา ปัจจุบันสภาพเหตุการณ์นั้นมีน้อยครั้งที่จะพบเจอและจะเกิดพายุช่วงฤดูฝนที่พอจะกล่าวเป็นตำนาน “บ้านโซ้” ได้อย่างเข้าใจ บ้านโซ้

เมืองพะเยายุคหลังสมัยรัตนโกสินทร์ หลังจากดินแดนล้านนาทั้งหมดถูกพม่ายึดครองได้ในปี พ.ศ. 2101ทำให้ล้านนาตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าเป็นระยะเวลา 200 ปี ด้วยเหตุนี้ทำให้เมืองพะเยาถูกลดฐานะและความสำคัญของเมืองไป กระทั่งเมืองพะเยาก็เป็นเมืองร้าง เหมือนกับหลายเมืองในล้านนา โดยเฉพาะในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310

ต่อมาภายหลัง ปี พ.ศ. 2317 ล้านนากับสยามสามารถขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนาได้สำเร็จ จึงเกิดการฟื้นฟูเมืองต่าง ๆ ในล้านนาอีกครั้ง สำหรับเมืองพะเยาได้รับการฟื้นฟูเช่นเดียวกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

พ.ศ. 2330 พระเจ้าเมืองอังวะสั่งให้อะแซวุ่นกี้เป็นแม่ทัพยกกองทัพใหญ่มาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ เช่น เมืองฝาง เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน และเมืองพะเยารวมเข้าด้วย เจ้านายและประชาชนตื่นตกใจต่างก็พากันอพยพครอบครัวหลบหนีข้าศึกพม่าไปอยู่เมืองลำปาง ครอบครัวชาวเมืองเชียงราย ไปตั้งอยู่ที่ตรง แยกเมืองลำปาง ได้ร่วมกันสร้างวัดโดยถือเอาตามนามเมืองเดิมที่มาจากเชียงรายว่า "วัดเชียงราย" มาจนบัดนี้ ฝ่ายครอบครัวของชาวเมืองปุมืองสาดที่ถูกกวาดต้อนมาตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านวัดเมืองศาสตร์ ส่วนชาวเมืองพะเยาได้อพยพไปตั้งหลักอยู่บ้านปงสนุกด้านใต้ฝั่งขวาของแม่น้ำวัง คือ บ้านปงสนุก เมืองพะเยาในสมัยนั้นในบริเวณตัวเมืองรกร้างไปเป็นเวลานานถึง 56 ปี

พ.ศ. 2386 พระยานครลำปางน้อยอินทร์กับพระยาอุปราชมหาวงศ์ เมืองเชียงใหม่ ลงไปเฝ้าทูลเกล้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ขอตั้งเมืองเชียงรายเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ และตั้งเมืองงาว เมืองพะเยาเป็นเมืองขึ้นของนครลำปาง ต่อมาพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายพุทธวงศ์น้องคนที่ 1 (เจ้าหลวงวงศ์) ของพระยานครอินทร์ นําชาวเมืองพะเยามาจากเมืองลําปาง กลับมาฟื้นฟูเมืองพะเยาขึ้นมาใหม่ ให้เมืองพะเยาเป็นเมืองขึ้นของเมืองลําปาง จากนั้น เมืองพะเยามีเจ้าผู้ครองเมืองต่อมาอีกหลายองค์ เจ้าผู้ครองเมืององค์สุดท้ายคือ พระยาประเทศอุดรทิศ (เจ้าหนานไชยวงศ์ ศีติสาร) (พระธรรมวิมลโมลี. ประวัติศาสตร์เมืองพะเยายุคหลัง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2531.)

พ.ศ. 2387 เจ้าเมืองพะเยาคนแรก ในสมัยรัตนโกสินทร์คือ เจ้าพุทธวงศ์ เจ้าหลวงวงศ์ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาประเทศอุดรทิศ แต่ประชาชนมักจะเรียกตามนามเดิม เช่นเจ้าหลวงวงศ์ และเป็นตำแหน่งประจำของเจ้าหลวงเมืองพะเยา ในเวลาต่อมา ต่อนั้นก็แบ่งครอบครัวชาวเมืองลำปางให้ไปอยู่เมืองพะเยา ส่วนลูกหลานพวกที่อพยพหนีพม่า จากที่เมืองพะเยาเป็นเมืองร้างไปถึง 56 ปี พากันอพยพกลับสู่เมืองพะเยา

พ.ศ. 2435 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เมื่อทรงปฏิรูปการปกครองประเทศ พ.ศ. 2435 ได้มีการยกเลิกหัวเมืองประเทศราชของสยาม (โดม ไกรปกรณ์. หัวเมืองประเทศราช wiki.kpi.ac.th/โดยที่สยามนำเอาระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลมาใช้ส่งผลให้หัวเมืองประเทศราชบางส่วนคือล้านนาถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยามโดยสมบูรณ์ ในขณะนั้นเมืองพะเยายังอยู่ในการปกครองของนครลำปาง

พ.ศ. 2437 ระบบมณฑลเทศาภิบาลที่ตั้งขึ้นหลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2435 โดยการปกครองแบบ “เทศาภิบาล” หรือ “มณฑลเทศาภิบาล” จัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อมีการประกาศจัดปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ร.ศ. 113 (พ.ศ. 2437) โดยเนื้อหาสำคัญของประกาศฉบับนี้คือให้รวมหัวเมืองทั้งหมดมาไว้ใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย การวางรากฐานการปกครองแบบ “มณฑล” เริ่มขึ้นในปี 2417 เมืองพะเยา เมืองเชียงราย จึงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลลาวเฉียง (มณฑลพายัพ. th.wikipedia.org/มณฑลเทศาภิบาล. th.wikipedia.org/)

พ.ศ. 2438 พระยาราชวรานุกูล กระทรวงมหาดไทย นำเจ้าอุปราชเจ้าราชภาติกวงษ์ เจ้าสุริยวงษ์เมืองนครลำปาง กับพระยาประเทศอุดรทิศ เจ้าเมืองพะเยา เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพื่อรายงานตัวไปรักษาราชการบ้านเมือง (แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เสด็จออกแขกเมืองประเทศราช (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 12 : 493. 5 มีนาคม ร.ศ.114)

พ.ศ. 2444 ด้วยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ เมืองพะเยาซึ่งเป็นเมืองขึ้น เมืองนครลำปาง มีอาณาเขตกว้างขวาง มีผู้คนเป็นจำนวนมากสมควรจัดให้เป็นบริเวณหนึ่ง และจัดให้มีข้าหลวงประจำบริเวณ และให้รวมเมืองพะเยา เมืองงาว รวมเมืองเข้าเป็นบริเวณหนึ่ง เรียกว่า “บริเวณพะเยา” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้หลวงศรีสมัตถการ ซึ่งรับราชการตำแหน่งผู้ช่วยกรมมหาดไทยฝ่ายพลัมภัง เป็นข้าหลวงประจำบริเวณพะเยา (แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งหลวงศรีสมัตถการ เป็นข้าหลวงประจำบริเวณพะเยา " (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 18 : 815. 19 มกราคม รศ.120)

 พ.ศ. 2453 ด้วยมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศทราบทั่วกันว่า แต่เดิมเมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สวย เมืองเชียงคำ เมืองเชียงของ ได้จัดรวมเข้าเป็นจังหวัดเรียกว่าจังหวัดพายัพเหนือ ต่อมาเมืองเหล่านี้มีความเจริญยิ่งขึ้นจนเป็นเหตุให้เห็นว่า การที่จัดให้เป็นเพียงจังหวัดไม่พอแก่ราชการและความเจริญ สมควรจะเลื่อนชั้นการปกครองขึ้นให้สมกับราชการและความเจริญในท้องที่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สวย เมืองเชียงคำ เมืองเชียงของ ตั้งขึ้นเป็นเมืองจัตวา เรียกว่าเมืองเชียงราย อยู่ในมณฑลพายัพ ให้พระภักดีณรงค์ ซึ่งเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดพายัพเหนือ เป็นผู้ว่าราชการเมืองเชียงราย (แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวา รวมอยู่ในมณฑลพายัพ (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 : 427. 12 มิถุนายน รศ.129)

พ.ศ. 2465 บันทึกครูบาศรีวิลาศวชิรปัญญา วัน ๖ฯ๗-๑๒๘๓-๒๔๖๕ วันที่ ๗ เมษายน บันทึกไว้ว่า ตำบลแม่นาเรือ มีพ่อหนานอินทร สารเร็ว เป็นกำนัน มีหมู่บ้านแม่นาเรือ บ้านไร่ บ้านร่องคำหลวง บ้านโซ้ บ้านซ่อน บ้านสันป่าสัก การปกครองบ้านเมืองสมัยนั้นค่อนข้างลำบาก เพราะอาณาเขตของอำเภอพะเยามีเขตกว้างขวาง อำเภอพะเยาในขณะเมื่อเริ่มมีการปกครองแบบกระจายอำนาจเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบลนั้น ได้แบ่งออกเป็น 21 ตำบล (พระธรรมวิมลโมลี. ประวัติศาสตร์เมืองพะเยายุคหลัง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2531.)

พ.ศ. 2481 อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 6, 29 และพราะราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 มาตรา 20 ข้าหลวงประจำจังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงเขตตำบล คือรวมตำบลบ่อแฮ้ว ตำบลแม่นาเรือ และหมู่บ้านที่ 4, 5, 6, 7 ตำบลจำป่าหวาย หมู่บ้านที่ 7 ตำบลแม่ต๋ำ หมู่บ้านที่ 6 ตำบลในเวียง แล้วจัดตั้งเป็นตำบลขึ้นอีกตำบลหนึ่ง ขนานนามว่า ตำบลแม่นาเรือ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 : 3449-3457. 21 มกราคม 2481

และในปีเดียวกัน เปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง เสียใหม่ เพื่อประโยชน์และความสะดวกแก่ประชาชนและราชการ กับเพื่อรักษาไว้ซึ่งประวัติศาสตร์แห่งท้องถิ่น อำเภอเมืองพะเยา เปลี่ยนเป็นอำเภอพะเยา (พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช 2481 (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 : 658 -81. 14 พฤศจิกายน 2481)

พ.ศ. 2483 แยกตำบลแม่นาเรือ อำนาจตามความในพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 6, 29 และพราะราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 มาตรา 20 ข้าหลวงประจำจังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงเขตตำบล คือ แยกหมู่บ้านที่ 1, 2, 3, 4, 5 ตำบลแม่นาเรือ และหมู่บ้านที่ 30, 31, 32, 34 ตำบลดอกคำใต้ แล้วรวมจัดตั้งเป็นตำบลขึ้นอีกตำบลหนึ่ง ตั้งชื่อว่าตำบลจำป่าหวาย จัดเป็น 9 หมู่บ้าน (ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 : 2773 – 8 . 12 พฤศจิกายน 2483

พ.ศ. 2500 มีผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือ นายตั๋น สีธิ เดิมบ้านโซ้อยู่ในตำบลแม่ใส เป็นหมู่ที่ 16 ตำบลแม่ใส อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย เริ่มมีการก่อตั้งโรงเรียนขึ้นมาที่ลานประปาปัจจุบัน

พ.ศ. 2506 นายแสน วงศ์ขัติย์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 และแม่ฟอง วงขัติย์ ได้บริจาคที่ดินให้สร้างโรงเรียนและสำนักสงฆ์กระทั่งปี พ.ศ. 2524 ได้ยกระดับขึ้นเป็นวัดบ้านโซ้แล้วชาวบ้านได้นิมนต์ พระสรัจ จนฺทสาโร (สารเร็ว) จากวัดร่องคำหลวงมาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกและได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ 29 พฤศจิกายน 2540 เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระครูธำนงชิโนวาท (ชินวร ชินวโร สีธิ)

พ.ศ. 2520 อำเภอเมืองพะเยาได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งจังหวัดพะเยา ตามพระราชบัญญัติ เรื่อง ตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2520

ประกอบด้วยอำเภอ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ (พระราชบัญญัติ ตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2520 (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 94 ฉบับพิเศษ ตอนที่ 69 : 1-4. 28 กรกฎาคม 2520) และมีนายสัญญา ปาลวัฒน์วิไชย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาคนแรก เป็นตำบลออกจากแม่ใสและได้แยกบ้านโซ้ ออกมาจากตำบลแม่ใสและขึ้นกับตำบลแม่นาเรือ 

พ.ศ. 2526 ได้มีผู้คนย้ายมาจากภาคอีสาน เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านเพิ่มมากขึ้น และมีการก่อตั้งและแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านร่องคำหลวงกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่นาเรือ 

พ.ศ. 2537 ได้มีโรคระบาดเข้ามาครั้งแรกในหมู่บ้าน คือ โรคเอดส์ (HIV) จากนั้นได้มีการยุบโรงเรียนบ้านโซ้และเริ่มมีนักเรียนไปเรียนที่โรงเรียนอื่นๆในจังหวัดพะเยา ในปี พ.ศ. 2561 นอกจากนี้ปี พ.ศ. 2562 ผู้ใหญ่บ้านได้ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลบ้านโซ้ เอฟซีเพื่อให้เยาวชนในชุมชนได้เล่นกีฬาและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โรคโควิด-19ในปี2563

สภาพโดยทั่วไปบ้านโซ้ หมู่ 2 ตำบลแม่นาเรือ ตั้งอยู่ห่างจากศูนย์ราชการ จังหวัดพะเยา ประมาณ 18กิโลเมตร สภาพเป็นที่ราบสูงหรือภูเขาอยู่ทางทิศใต้เนินเทือกเขาผีปันน้ำ เชื่อมต่อกับจังหวัดลำปางและเป็นแนวเขาสลับซับซ้อน จึงเกิดเป็นป่าต้นน้ำสลับกับที่ราบลุ่ม ดินมีลักษณะดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำให้ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพ ทำไร่ ทำสวน และทำนาและมีลำห้วยสำคัญที่เป็นแหล่งระบายน้ำเส้นหลักลงมาพื้นที่ราบทางทิศเหนือและทิศตะวันตก มีลำห้วยหลายสาย เช่น ห้วยเอี่ยน ห้วยจำตุ้ม ห้วยผึ้ง ห้วยป่ายาง ห้วยแข้ ห้วยทุ่งป่าแขม ห้วยน้ำขาว ห้วยโซ้ ห้วยจำม่วง ในแต่ละลำห้วยมีการพัฒนาเป็นแหล่งเก็บน้ำในรูปแบบต่างๆ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ให้ความชุ่มชื้นกับป่าและพื้นดิน และหล่อเลี้ยงลำห้วยสาขาโดยตลอดจนใช้เป็นแหล่งเพื่อการอุปโภคบริโภค และใช้ในภาคเกษตรกรรม โดยการส่งน้ำระบบท่อน้ำการทำอ่างแก้มลิง ฝ่ายต้นน้ำ การทำบ่อแบบขั้นบันได และการส่งผ่านน้ำในระบบท่อ

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดกับบ้านเกษตรสุข หมู่ที่ 15 ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา
  • ทิศใต้ ติดกับป่าสงวนแห่งชาติ (วนอุทยานร่องคำหลวง) มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ทิศตะวันออก ติดกับบ้านร่องคำหมู่ที่ 12 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมืองพะเยา
  • ทิศตะวันตก ติดกับหมู่ 13, 4 และ หมู่ที่ 17 ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา

ประชากรในบ้านโซ้ หมู่ที่ 2 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ปี พ.ศ. 2565 มีจำนวน 225 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งหมด 585 คน โดยมีเพศชายจำนวน 300 คน เพศหญิง จำนวน 285 คน ประชากรส่วนมากอยู่ในช่วงอายุ 55-59 ปี จำนวน 63 คน รองลงมาเป็นช่วงอายุ 70 ปีขึ้นไปจำนวน 55 คน และพบประชากรน้อยที่สุดในช่วงอายุ 0-4 ปี จำนวน 15 คน ส่วนใหญ่อพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ภาษาอีสานเกินครึ่งของหมู่บ้าน

  • ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2
  • นายณรงค์วิษณุ์ ธรรมชมพูเลิศ
  • สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ หมู่ 2 มีจำนวน 2 คน
  • อาสาสมัครหมู่บ้าน มีจำนวน 4 คน
  • อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อ.ส.ม.) มีจำนวน 24 คน
  • อาสาสมัครการเกษตร มีจำนวน 1 คน
  • ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร มีจำนวน 2 คน
  • ปราชญ์ชาวบ้านด้านหมอพื้นเมือง มีจำนวน 2 คน 
  • ปราชญ์ชาวบ้านด้านศิลปะวัฒนธรรม มีจำนวน 1 คน
  • ปราชญ์ชาวบ้านด้านหัตถกรรม มีจำนวน 2 คน
  • ปราชญ์ชาวบ้านด้านภูมิปัญญาชาวบ้าน มีจำนวน 2 คน     
  • กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านโซ้ มีจำนวน 14 คน

อาชีพหลักชาวบ้านทำการเกษตรและทำนาเนื่องมาจากที่ดินมีสภาพที่ดี อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก และหลังจากการทำนาทำการเกษตรแล้วก็ทำสวนขิงต่อจากการทำนา และนำผลผลิตที่ได่จากการปลูกขิงนั้นแปรรูปเป็นขิงผง ผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านโดย แม่เทียน แดงมะเริง ผู้ริเริ่มและเป็นประธานกลุ่มในการทำขิงผงผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านโซ้ นอกจากนั้นยังมีการแปรรูปจากสมุนไพรหลากหลายชนิด อาทิ อัญชัญและมะตูม รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากกล้วยดิบและกล้วยสุก แปรรูปเป็นกล้วยฉาบ กล้วยปาปิก้า และกล้วยเบรคแตก เป็นต้น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

วนอุทยานร่องคำหลวง

อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ต๊ำ และป่าแม่นาเรือ จัดตั้งให้เป็นวนอุทยานร่องคำหลวง ตามคำสั่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ 456/2549 ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2549 เรื่อง จัดตั้งวนอุทยานเขาอีโต้ วนอุทยานน้ำตกมิโอฉ่อแต๊ะ วนอุทยานริมโขง วนอุทยานชาพันปี วนอุทยานห้วยทรายมาน วนอุทยานน้ำตกตาดสวรรค์ วนอุทยานน้ำตกศรีชมภู วนอุทยานร่องคำหลวง และวนอุทยานน้ำตกดอนศิลา - ผางาม เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์สงวน คุ้มครองทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า และเพื่อประโยชน์ในการศึกษาทางวิชาการ เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป ต่อมาในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ได้มีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดบริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ต๊ำ และป่าแม่นาเรือ ในท้องที่ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ให้เป็นวนอุทยาน พ.ศ. 2563 เนื้อที่ประมาณ 7,715 ไร่ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 290 ง วันที่ 14 ธันวาคม 2563 (สำนักอุทยานแห่งชาติ)

มีลำห้วยสำคัญที่เป็นแหล่งระบายน้ำเส้นหลักลงมาพื้นที่ราบทางทิศเหนือและทิศตะวันตก ดังนี้ ห้วยเอี่ยน ห้วยจำตุ้ม ห้วยผึ้ง ห้วยป่ายาง ห้วยแข้ ห้วยทุ่งป่าแขม ห้วยน้ำขาว ห้วยโซ้ ห้วยจำม่วง แต่ละลำห้วยมีการพัฒนาเป็นแหล่งเก็บน้ำในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ให้ความชุ่มชื้นกับป่าและพื้นดิน และหล่อเลี้ยงลำห้วยสาขาโดยตลอดจนใช้เป็นแหล่งเพื่อการอุปโภคบริโภค และใช้ในภาคเกษตรกรรม โดยการส่งน้ำระบบท่อน้ำการทำอ่างแก้มสิง ฝ่ายต้นน้ำ การทำบ่อแบบขั้นบันได และการส่งผ่านน้ำในระบบท่อ

ภาษาล้านนา ภาษาถิ่นอีสานและภาษาไทยกลาง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเมืองพะเยา. (2561). ผลิตภัณฑ์ชุมชน. https://www.facebook.com/

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ. (ม.ป.ป.). หมู่ 2 บ้านโซ้. https://www.maenarua.com/

สำนักอุทยานแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). วนอุทยานห่งชาติร่องคำหลวง. https://portal.dnp.go.th/

พระธรรมวิมลโมลี. (2531). ประวัติศาสตร์เมืองพะเยายุคหลัง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน

โดม ไกรปกรณ์. (ม.ป.ป.). หัวเมืองประเทศราช. สถาบันพระปกเกล้า http://wiki.kpi.ac.th/

วนอุทยานร่องคำหลวง - Rong Kham Luang Forest Park. https://www.facebook.com/photo/

วิกิพีเดีย. (ม.ป.ป.). มณฑลพายัพ. https://th.wikipedia.org/wiki

วิกิพีเดีย. (ม.ป.ป.). มณฑลเทศาภิบาล. https://th.wikipedia.org/wiki

วัดบ้านโซ้-พระอาจารย์ชินวร. https://www.facebook.com/

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ. (ม.ป.ป.). หมู่ 2 บ้านโซ้. https://www.maenarua.com/

แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งหลวงศรีสมัตถการ เป็นข้าหลวงประจำบริเวณพะเยา (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 18 : 815. 19 มกราคม ร.ศ. 120

แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวา รวมอยู่ในมณฑลพายัพ " (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 : 427. 12 มิถุนายน รศ.129

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 : 3449-3457. 21 มกราคม 2481

พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช 2481  (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 : 658 -81. 14 พฤศจิกายน 2481

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 : 2773-8. 12 พฤศจิกายน 2483

พระราชบัญญัติ ตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2520 (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 94 ฉบับพิเศษ ตอนที่ 69  : 1-4. 28 กรกฎาคม 2520