พระธาตุภูขวางคู่เขต วิทยาลัยเกษตรคู่บ้าน ร่วมสืบสานภูมิปัญญา แหล่งสินค้าเกษตรกรรม วัฒนธรรมหลากหลาย อ่างน้ำฝายชุ่มเย็น สวยสูงเด่นจุดชมวิว
มีการเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านจาก "บ้านศรีชุม" มาเป็น "แม่นาเรือ" เพราะมีนาร้างซึ่งภาษาโบราณจะเรียกว่า "นาเฮีย" สืบเนื่องจากภาษาพูดที่เพี้ยนจาก "นาเฮี้ย" เปลี่ยนแปลงเป็น "นาเฮีย" ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นและมีผู้รู้ภาษาไทย ได้ขนานนามใหม่ให้สอดคล้องกับพื้นที่หมู่บ้าน ที่มีน้ำไหลผ่านประกอบกับการที่ชาวบ้านสันข้างหอนนำไม้มาทำเป็นเรือ จึงเกิดชื่อใหม่ว่า "แม่นาเรือ"
พระธาตุภูขวางคู่เขต วิทยาลัยเกษตรคู่บ้าน ร่วมสืบสานภูมิปัญญา แหล่งสินค้าเกษตรกรรม วัฒนธรรมหลากหลาย อ่างน้ำฝายชุ่มเย็น สวยสูงเด่นจุดชมวิว
เมืองพะเยาเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีตตั้งแต่ยุคสมัยของอาณาจักรภูกามยาว มีกษัตริย์ปกครองสืบสันตติวงศ์ตั้งแต่ราชวงศ์ลวจังกราช ปฐมกษัตริย์แห่งนครเงินยางเชียงแสน ที่มีเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายคือพญางำเมือง จากที่เมืองพะเยาต้องสูญเสียอิสรภาพแก่ข้าศึก ทำให้สูญสิ้นราชวงศ์งำเมืองไปด้วย แว่นแคว้นพะเยาไม่สามารถตั้งตัวได้ ก็ถูกรวมเข้ากับอาณาจักรล้านนา พะเยาก็มีลักษณะเช่นเดียวกับเมืองอื่น ๆในล้านนา คือมีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในหุบเขา ในหุบเขาประกอบด้วยชุมชนใหญ่น้อยหลายแห่ง ชุมชนบางแห่งที่มีความสำคัญจะมีการสร้างคูน้ำ คันดินหรือกำแพงล้อมรอบ ในเมืองพะเยามีชุมชนหรือคูน้ำคันดินล้อมรอบที่เรียกว่า “เวียง” ทั้งหมด 11 แห่ง ความสัมพันธ์ระหว่างเวียงต่าง ๆ ทั้ง 11 แห่ง แบ่งออกได้ถึง 36 พันนา โดยมีชุมชนหลักที่เป็นศูนย์กลางการบริหารขอบเขตของแต่ละพันนา ก็มีลักษณะคล้ายกับตำบลในปัจจุบัน โดยประกอบไปด้วยชุมชนระดับหมู่บ้านหลายแห่งที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน และใช้ระบบชลประทานเหมืองฝายเดียวกัน โดยที่พันนาจัน คือบริเวณตำบลบ้านงิ้ว บ้านสาง บ้านตุ่น บ้านเลิง บ้านสานหลวง และ บ้านสันดอนมูล
ในยุคนั้นหลังจากดินแดนล้านนาทั้งหมดถูกพม่ายึดครองได้ในปี พ.ศ. 2101 ทำให้ล้านนาตกอยู่ภายใต้ การปกครองของพม่าเป็นระยะเวลา 200 ปี ด้วยเหตุนี้ทำให้เมืองพะเยาถูกลดฐานะและความสำคัญของเมืองไป กระทั่งเมืองพะเยาก็เป็นเมืองร้าง เหมือนกับหลายเมืองในล้านนา โดยเฉพาะในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 พญากาวิละปกครองบ้านเมืองโดยมีการกู้ล้านนาจากพม่า เนื่องจากมีการรบกบฏจากพม่าล้านนาตะวันออกจึงมีการขอให้คนลำปางมาช่วยรบและหลังจากนั้นก็มีการไปหาสู่กันของคนลำปางกับคนบ้านตุ่น ประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านตุ่นนั้นเข้าใจว่าได้อพยพจากจังหวัดลำปางและมาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านตุ่นกลาง โดยมีวัดตุ่นกลางเป็นวัดแห่งแรกของตำบลบ้านตุ่น ต่อมาเมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงได้ตั้งบ้านเรือนลงมาข้างล่างของหมู่บ้านและได้แยกจากบ้านตุ่นกลางหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ออกมาเป็นบ้านตุ่นใต้ หมู่ที่ 1 และได้สร้างวัดตุ่นใต้ขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2400-2420
ตำบลแม่นาเรือ มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 900 ปี ปรากฏหลักฐานจากแผ่นศิลาจารึกวัดพระธาตุภูขวางว่า พ.ศ. 1639 พ่อขุนจอมธรรมได้รับแบ่งราชสมบัติจากพ่อขุนเงินผู้เป็นราชบิดากษัตริย์แห่งนครเงินยางเชียงแสนให้มาครอบครองภูกามขาวซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ เมืองภูกามยาวเป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่งมีชื่อเดิมว่าเมือง "สีหราช" เมื่อพ่อขุนจอมธรรมพร้อมด้วยข้าราชบริวารได้สร้างปรับปรุงเมืองใหม่ จึงได้สร้างพระธาตุเจดีย์ไว้เป็นแจ่งเมืองทั้งสี่ทิศวัดพระธาตุภูขวางเป็นทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง พ.ศ. 1985 ในยุคที่เมืองภูกามยาวสิ้นกษัตริย์ปกครองและเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรล้านนา รัชสมัยของพระเจ้าติโลกราชครองเมืองเชียงใหม่ทรงพระปรีชาสามารถในการรบ ได้แผ่ขยายอำนาจลงไปทางใด้ ยกกองทัพปราบเมืองสองแคว เมืองเชลียง เมืองสุโขทัย ตลอดเมืองกำแพงเพชร ให้อยู่ในอำนาจทั้งหมด ได้ทำศึกกับพระบรมไตร โลกนาถแห่งกรุงสุโขทัย ฝ่ายเจ้าเมืองสองแควพระขาอุทิศเจียงได้สวามิภักดิ์ พระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนาจึงได้กวาดต้อนเอาผู้คน ช่างปั้นดินเผาชาวเลียง ช่างขึ้นถ้วยชามเครื่องเคลือบสังคโลก อันเป็นศิลปะของกรุงสุโขทัยขึ้นไปทางเหนือกระจายอยู่ตามหัวเมืองต่างปรากฏหลักฐาน ถ้วยชามเครื่องเคลือบสังคโลกเก่า อันเป็นศิลปะของกรุงสุโขทัย บริเวณทุ่งกู่บ้านโซ้ และเตาเผาโบราณที่ตำบลแม่กา
พ.ศ. 2034 รัชสมัยพระยายอดเชียงราย ครองอาณาจักรล้านนาทรงแต่งตั้งให้พระยาเมืองยี่ครองเมืองพะเยา และแบ่งการปกครองออกเป็น 36 พันนา ซึ่งประวัติศาสตร์ตำบลแม่นาเรือปรากฏหลักฐานชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อได้พบศิลาจารึกของการสร้างวัดนางหมื่น ซึ่งเป็นวัดพระมหากษัตริย์สร้างขึ้นมาเมื่อสร้างเสร็จได้พระราชทานครัวเรือน 10 ครัวเรือน เป็นข้าวัค (คำว่านางหมื่นสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่าเจ้าสี่หมื่น เป็นชื่อยศของเจ้าเมืองพะเยา นางหมื่นนั้นคือกษัตริย์ผู้เป็นสตรีนั่นเอง) ที่ตั้งวัดนางหมื่นอยู่บริเวณวัดโบสถ์ หมู่ 1 ตำบลแม่นาเรือ ปรากฏกู่เก่าเจดีย์ ทั้งสี่ทิศ ตรงกลางสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวิหารใหญ่ปัจจุบันถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถเห็นได้เป็นรูปร่างของวัดเลย
พ.ศ. 2111 พระเจ้าบุเรงนองขึ้นมาเป็นใหญ่ในหงสาวดีได้แผ่ขยายอำนาจทั่วอาณาจักรล้านนา ทำให้ผู้คนที่อยู่เมืองพะเยาและพื้นที่วัดนางหมื่น รกร้างไป
พ.ศ. 2317 ล้านนากับสยามสามารถขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนาได้สำเร็จจึงเกิดการฟื้นฟูเมืองต่าง ๆ ในล้านนาอีกครั้ง สำหรับเมืองพะเยาได้รับการฟื้นฟูเช่นเดียวกัน ในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เมืองพะเยายังขึ้นกับเมืองลำปาง เจ้าเมืองลำปางได้ส่งคนในตระกูลมาปกครอง โดยต่อเนื่องจนถึงรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีได้มีการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองพะเยาจึงได้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลลาวเฉียง ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นมณฑลพายัพ โดยมีที่ว่าการมณฑลอยู่ที่เมืองเชียงใหม่
พ.ศ. 2430 เจ้าเมืองอังวะสั่งให้หวุ่นยี่มหาไชยสุระ ยกทัพมาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ ผ่านฝาง เชียงราย เชียงแสน และพะเยาด้วย ผู้คนกลัวแตกตื่น อพยพไปอยู่ลำปาง ทำให้เมืองพะเยาร้างไปเป็นเวลาถึง 56 ปี จนถึง พ.ศ. 2386 มีบ้านอยู่แถบเชิงเขา 3 หลังคาเรือน เป็นเชื้อสายซาวคนพะเยา มีอาชีพทำไร่ ทำสวน ได้มีเจ้าเมืองฝางเดินทางค้าขาย โดยใช้วัวเป็นพาหนะ โดยไม่กลับภูมิลำเนาเดิม ต่อมาประมาณ 3 ปีจ้าวเมืองณกรณ์(ลำปาง) ชาวเมืองน่าน ชาวเมืองแพร่ อพยพมาอาศัยอยู่รวมกันจึงเกิดเป็นหมู่บ้าน ชาวบ้านให้จ้าวฝางเป็นผู้นำหมู่บ้าน และขนานนามหมู่บ้านว่า"บ้านศรีชุม" และทุกครั้งก่อนหนึ่งคืน ก่อนที่จะเกิดปรากฏการณ์น้ำเจิ่งนอง ชาวบ้านจะได้ยินเสียงคนร้องไห้ จากนั้นจะมีเรื่องผีลอยตามน้ำ ซาวบ้านบางคนก็เห็นบางคนก็ไม่เห็น
พ.ศ. 2387 เจ้าเมืองพะเยาคนแรก เจ้าหลวงวงศ์ ราชโอรสองค์ที่ 5 ในพระยาคำโสม เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 4 เป็นผู้นำชาวเมืองพะเยาที่อพยพไปเมืองลำปางเมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์ พ.ศ. 2330 (รศ.6) เจ้าหลวงวงศ์ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาประเทศอุดรทิศ แต่ประชาชนมักจะเรียกตามนามเดิม เช่น เจ้าหลวงวงศ์ และเป็นตำแหน่งประจำของเจ้าหลวงเมืองพะเยา ในเวลาต่อมา ต่อนั้นก็แบ่งครอบครัวชาวเมืองลำปางให้ไปอยู่เมืองพะเยา ส่วนลูกหลานพวกที่อพยพหนีพม่า จากที่เมืองพะเยาเป็นเมืองร้างไปถึง 56 ปี พาลูกหลาน จากเมืองลำปางกลับมาฟื้นฟูเมืองพะเยาขึ้นใหม่ โดยมาพักเพื่อเตรียมการ เป็นเวลาถึง 1 ปี ณ บ้านสันเวียงใหม่ ที่อยู่ใกล้เคียงกับบ้านตุ่นกลางปัจจุบัน แล้วข้ามฟากเข้าไปบุกเบิกแผ้วถางตัวเมืองพะเยาเก่า ก่อนที่จะอพยพเข้าไปบูรณะฟื้นฟูเป็นเมืองใหม่อีกครั้งหนึ่ง (บันทึกของพ่อเจ้าหนานเลาแก้ว ศีติสาร จากการรวบรวมเรียบเรียงของพระธรรมวิมลโมลี (ปวง ธมมปญโญ) ในขณะที่ดำรงสมณศักดิ์ที่พระเทพวิสุทธิเวที )
พ.ศ. 2386 พระยานครลำปางน้อยอินทร์กับพระยาอุปราชมหาวงศ์ เมืองเชียงใหม่ ลงไปเฝ้าทูลเกล้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ขอตั้งเมืองเชียงรายเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ และตั้งเมืองงาว เมืองพะเยาเป็นเมืองขึ้นของนครลำปาง ต่อมาพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายพุทธวงศ์น้องคนที่ 1 (เจ้าหลวงวงศ์) ของพระยานครอินทร์ นําชาวเมืองพะเยามาจากเมืองลําปาง กลับมาฟื้นฟูเมืองพะเยาขึ้นมาใหม่ ให้เมืองพะเยาเป็นเมืองขึ้นของเมืองลําปาง (พระธรรมวิมลโมลี, 2531)
พ.ศ. 2417 (ร.ศ.93) เมืองพะเยายังอยู่ในการปกครองของนครลำปาง มณฑลลาวเฉียง ที่ยังเป็นเมืองประเทศราชของสยาม มีเมืองในมณฑล ประกอบด้วย นครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูน นครน่าน แพร่ เถิน
พ.ศ. 2435 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เมื่อทรงปฏิรูปการปกครองประเทศ พ.ศ. 2435 ได้มีการยกเลิกหัวเมืองประเทศราชของสยาม (โดม ไกรปกรณ์, หัวเมืองประเทศราช) โดยที่สยามนำเอาระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลมาใช้ส่งผลให้หัวเมืองประเทศราชบางส่วนคือล้านนาถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยามโดยสมบูรณ์ ในขณะนั้นเมืองพะเยายังอยู่ในการปกครองของนครลำปาง
พ.ศ. 2437 ระบบมณฑลเทศาภิบาลที่ตั้งขึ้นหลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2435 โดยการปกครองแบบ “เทศาภิบาล” หรือ “มณฑลเทศาภิบาล” จัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อมีการประกาศจัดปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ร.ศ. 113 (พ.ศ. 2437) โดยเนื้อหาสำคัญของประกาศฉบับนี้คือให้รวมหัวเมืองทั้งหมดมาไว้ใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย การวางรากฐานการปกครองแบบ “มณฑล” เริ่มขึ้นในปี 2417 เมืองพะเยา เมืองเชียงราย จึงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลลาวเฉียง (มณฑลพายัพ, มณฑลเทศาภิบาล)
พ.ศ. 2444 ด้วยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ เมืองพะเยาซึ่งเป็นเมืองขึ้น เมืองนครลำปาง มีอาณาเขตกว้างขวาง มีผู้คนเป็นจำนวนมากสมควรจัดให้เป็นบริเวณหนึ่ง และจัดให้มีข้าหลวงประจำบริเวณ และให้รวมเมืองพะเยา เมืองงาว รวมเมืองเข้าเป็นบริเวณหนึ่ง เรียกว่า “บริเวณพะเยา” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้หลวงศรีสมัตถการ ซึ่งรับราชการตำแหน่งผู้ช่วยกรมมหาดไทยฝ่ายพลัมภัง เป็นข้าหลวงประจำบริเวณพะเยา แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งหลวงศรีสมัตถการ เป็นข้าหลวงประจำบริเวณพะเยา (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 18 : 815. 19 มกราคม ร.ศ.120
พ.ศ. 2447 พระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์ ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ มีโทรเลขมาว่า ได้ปรึกษากับเค้าสนามหลวงนครลำปางเห็นพร้อมกันว่า ควรจะยกเลิกกองบริเวณพะเยา ให้คงมีแต่แขวงพะเยา แขวงดอกคำใต้ แขวงแม่ใจ รวม 3 แขวง ขึ้นตรงต่อบริเวณพายัพเหนือ จะเป็นการสะดวกแก่การบังคับบัญชา (แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเลิกกองบริเวณพะเยา (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 : 754. 26 พฤศจิกายน รศ.124)
พ.ศ. 2453 ด้วยมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศทราบทั่วกันว่า แต่เดิมเมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สวย เมืองเชียงคำ เมืองเชียงของ ได้จัดรวมเข้าเป็นจังหวัดเรียกว่าจังหวัดพายัพเหนือ ต่อมาเมืองเหล่านี้มีความเจริญยิ่งขึ้นจนเป็นเหตุให้เห็นว่า การที่จัดให้เป็นเพียงจังหวัดไม่พอแก่ราชการและความเจริญ สมควรจะเลื่อนชั้นการปกครองขึ้นให้สมกับราชการและความเจริญในท้องที่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สวย เมืองเชียงคำ เมืองเชียงของ ตั้งขึ้นเป็นเมืองจัตวา เรียกว่าเมืองเชียงราย อยู่ในมณฑลพายัพ ให้พระภักดีณรงค์ ซึ่งเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดพายัพเหนือ เป็นผู้ว่าราชการเมืองเชียงราย (แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวา รวมอยู่ในมณฑลพายัพ (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 : 427. 12 มิถุนายน รศ.129)
พ.ศ. 2457 ยุบเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองใช้ตำแหน่งนายอำเภอแทนเสนาบดี ส่วนจังหวัดให้คงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดไว้ตามเดิน แต่ให้กระจายอำนาจการปกครองส่วนย่อย ๆ ออกไปเป็นตำบลหมู่บ้าน ตำแหน่งหัวหน้าตำบลเรียกว่า "เจ้าแคว่น" "แคว่น" (กำนัน) ตำแหน่งหัวหน้าหมู่บ้านเรียกว่า "แก่บ้าน" (ผู้ใหญ่บ้าน) ที่นิยมเรียกกันว่า "พ่อหลวง" เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรงแต่งตั้งนายคลาย บุษยบรรณ เป็นนายอำเภอเมืองพะเยาและได้รับแต่งตั้งฐานันดรศักดิ์เป็นรองอามาตย์โทยุนสิทธิประศาสน์ เป็นนายอำเภอคนแรกมุ่งบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่อาณาประชาราษฎร์จัดการศึกษา การอาชีพและบำรุงพุทธศาสนา (พระธรรมวิมลโมลี, 2531) ขณะนั้นอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดเชียงราย มี 21 ตำบล โดยประกอบไปด้วย ตำบลเวียง ตำบลแม่ต๊ำ ตำบลบ่อแฮ้ว ตำบลแม่นาเรือ ตำบลสันเวียงใหม่ ตำบลบ้านตุ่น ตำบลสาง ตำบลสันป่าม่วง ตำบลต๋อม ตำบลต๊ำ ตำบลสันกกก ตำบลแม่ปืม ตำบลจำป่าหวาย ตำบลใหม่ ตำบลน้ำย้อยหอยโข่ง ตำบลดงเจน ตำบลห้วยลาน ตำบลร่องจว่า ตำบลช้างหิน ตำบลถ้ำ ตำบลปิน (พระธรรมวิมลโมลี, 2531)
พ.ศ. 2459 รัชสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการปกครองแก้ไขวิธีเดิม ให้แก้ไขเพิ่มเติมเป็นลำดับให้รวมมณฑลเข้าเป็นภาค มีอุปราชกำกับราชการให้เปลี่ยนคำว่าเมือง ใช้เรียกว่า จังหวัด ผู้ว่าราชการเมือง ให้เรียกว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด เมืองเชียงราย จึงเป็นจังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองพะเยาขณะนั้น เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย (ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 : 51-53. 28 พฤษภาคม 2459)
พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านจาก "บ้านศรชุม" มาเป็น "แม่นาเรือ" เพราะมีนาร้างซึ่งภาษาโบราณจะเรียกว่า "นาเฮีย" สืบเนื่องจากภาษาพูดที่เพี้ยนจาก "นาเฮี้ย" เปลี่ยนแปลงเป็น "นาเฮีย" ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นและมีผู้รู้ภาษาไทย ได้ขนานนามใหม่ให้สอดคล้องกับพื้นที่หมู่บ้าน ที่มีน้ำไหลผ่านประกอบกับการที่ชาวบ้านสันข้างหอนนำไม้มาทำเป็นเรือ จึงเกิดชื่อใหม่ว่า "แม่นาเรือ" นี่คือความเป็นมาของบ้านแม่นาเรือ
พ.ศ. 2465 บันทึกครูบาศรีวิลาศวชิรปัญญา วัน ๖ฯ๗-๑๒๘๓-๒๔๖๕ วันที่ ๗ เมษายน การปกครองบ้านเมืองสมัยนั้นค่อนข้างลำบาก เพราะอาณาเขตของอำเภอพะเยามีเขตกว้างขวาง อำเภอพะเยาในขณะเมื่อเริ่มมีการปกครองแบบกระจายอำนาจเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบลนั้น ได้แบ่งออกเป็น 21 ตำบล บันทึกไว้ว่า ตำบลแม่นาเรือ มีพ่อหนานอินทร สารเร็ว เป็นกำนัน มีหมู่บ้านแม่นาเรือ บ้านไร่ บ้านร่องคำหลวง บ้านโซ้ บ้านซ่อน บ้านสันป่าสัก (พระธรรมวิมลโมลี, 2531)
พ.ศ. 2479 ได้มีการเปิดการเรียนการสอน ที่วัดแม่นาเรือ โดยเปิดสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีพระอธิการทองอินทร์ อินต๊ะปัญญาเป็นผู้สอน
พ.ศ. 2480 มีการก่อตั้งหมู่บ้านแม่นาเรือหัวดง หมู่ 9 และแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านคนเเรก
พ.ศ. 2481 อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 6, 29 และพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 มาตรา 20 ข้าหลวงประจำจังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงเขตตำบล คือ รวมตำบลบ่อแฮ้ว ตำบลแม่นาเรือ และหมู่บ้านที่ 4, 5, 6, 7 ตำบลจำป่าหวาย หมู่บ้านที่ 7 ตำบลแม่ต๋ำ หมู่บ้านที่ 6 ตำบลในเวียง แล้วจัดตั้งเป็นตำบลขึ้นอีกตำบลหนึ่ง ขนานนามว่า ตำบลแม่นาเรือ (ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 : 3449-3457. 21 มกราคม 2481)
และในปีเดียวกัน เปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง เสียใหม่ เพื่อประโยชน์และความสะดวกแก่ประชาชนและราชการ กับเพื่อรักษาไว้ซึ่งประวัติศาสตร์แห่งท้องถิ่น อำเภอเมืองพะเยา เปลี่ยนเป็นอำเภอพะเยา (พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช 2481 (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 : 658 -81. 14 พฤศจิกายน 2481)
พ.ศ. 2483 แยกหมู่บ้านบางส่วนของตำบลบ้านตุ่น และตำบลบ้านต๊ำ ไปตั้งเป็นตำบลบ้านต๋อม อำนาจตามความในพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 6, 29 และพราะราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 มาตรา 20 ข้าหลวงประจำจังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงเขตตำบล คือ แยกหมู่บ้านจากตำบลแม่นาเรือ คือหมู่บ้านที่ 1, 2, 3, 4, 5 และหมู่บ้านที่ 30, 31, 32, 34 ตำบลดอกคำใต้ แล้วรวมจัดตั้งเป็นตำบลขึ้นอีกตำบลหนึ่ง ตั้งชื่อว่าตำบลจำป่าหวาย จัดเป็น 9 หมู่บ้าน (ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 : 2773-8 . 12 พฤศจิกายน 2483
พ.ศ. 2502-2504 นายศิริ เพชรโรจน์ มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยา มาพัฒนาการหลายอย่าง เช่นปรับปรุงระเบียบการทำงานของหน่วยราชการให้รัดกุมยิ่งขึ้นการพัฒนาท้องที่ตำบลรอบนอกนั้นส่วนใหญ่พัฒนาทำถนนหนทาง เช่น พัฒนาปรับปรุงถนนต่อจากตำบลแม่ต๋ำ-ผ่านตำบลแม่นาเรือ ตำบลตุ่น ต๋อม ต๊ำและตำบลใหม่ 28 ก.ม. ติดต่อกับเขตอำเภอแม่ใจ (พระธรรมวิมลโมลี, 2531)
พ.ศ. 2505 มีการจัดตั้งสำนักงานผดุงครรภ์ตำบลแม่นาเรือ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2505
พ.ศ. 2513 ยกฐานะจากสำนักงานผดุงครรภ์เป็นสถานีอนามัยตำบลแม่นาเรือ ซึ่งเปิดทำการเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2513
พ.ศ. 2514 มีไฟฟ้าเข้ามาในหมู่บ้านครั้งแรก โดยชาวบ้านร่วมกันตัดไม้เพื่อมาทำเสาไฟฟ้า
พ.ศ. 2517 มีการเปลี่ยนจากถนนลูกรังเป็นถนนคอนกรีตเข้ามาในหมู่บ้าน
พ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรตั้งจังหวัดพะเยาขึ้น ให้แยกอำเภอพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ ออกจากการปกครองของจังหวัดเชียงรายรวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา (พระราชบัญญัติ ตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2520 (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 94 ฉบับพิเศษ ตอนที่ 69 : 1-4. 28 กรกฎาคม 2520) และให้เปลี่ยนชื่ออำเภอพะเยา เป็นอำเภอเมืองพะเยา มีนายสัญญา ปาลวัฒน์วิไชย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาคนแรก (สำนักงานจังหวัดพะเยา สืบค้นวันที่ 28 กันยายน 2564)
พ.ศ. 2524 บูรณะวัดแม่นาเรือครั้งที่ 2 เนื่องจากมีสภาพเสื่อมโทรม โดยพระอธิการจันทร์ตรี
พ.ศ. 2530 มีน้ำประปาใช้ครั้งแรกในหมู่บ้าน
พ.ศ. 2534 ประชาชนตำบลแม่นาเรือได้ร่วมกันบริจาคซื้อที่ดินขยายจากที่ดินเดิม ที่มีอยู่จำนวน 3.5 ไร่ เป็น 4 ไร่ และได้รับงบประมาณจากทางราชการก่อสร้างสถานีอนามัยขนาดใหญ่ ทดแทนอาคารหลังเดิม
พ.ศ. 2536 มีการก่อตั้งชมรมผู้สูงอายุและผู้สูงอายุได้เบี้ยยังชีพ
พ.ศ. 2538 มีการจัดอบรม อสม. รุ่นแรก และได้แต่งตั้งนายบุญยก ตุ้ยคำ เป็นประธานอสม.
พ.ศ. 2540 เปิดทำการสถานีอนามัยแม่นาเรือหลังใหม่เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2540
พ.ศ. 2541 เนื่องด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กำหนดเขตตำบลภายในท้องที่ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ดังต่อไปนี้ อำเภอเมืองพะเยา กำหนดเขตตำบลแม่นาเรือ ในท้องที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดยให้มีเขตการปกครองรวม 13 หมู่บ้าน หมู่ที่ 9 คือบ้านสันทราย ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 115 ตอนพิเศษ 93 ง : 214 - 247. 12 ตุลาคม 2541
หลังจากนั้นบ้านแม่นาเรือสันทรายได้แยกออกเป็น 2 หมู่คือหมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 17 โดยใช้ลำน้ำที่ตัดผ่านหมู่บ้านทั้งสองในการแยกหมู่บ้าน ตั้งเป็นอีกหมู่บ้านหนึ่ง
พ.ศ. 2544 ก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์และกองทุนกองทุนหมู่บ้าน
พ.ศ. 2548 มีการแยกหมู่บ้าน แยกเป็นแม่นาเรือเหนือและแม่นาเรือใต้ เนื่องจากมีการเพิ่มของประชากรจำนวนมาก
พ.ศ. 2554 ได้มีการสร้างซุ้มประตูวัด ชื่อซุ้มประตูเรือสุพรรณหงส์ขึ้น และได้ยกฐานะจากสถานีอนามัยตำบลแม่นาเรือ เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่นาเรือ (รพ.สต.) ปัจจุบันเลขที่ 90 หมู่ที่ 17 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
พ.ศ. 2562 เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของโคโรน่าไวรัส ทำให้ชาวบ้านมีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและวิถีชีวิต ชาวบ้านจะอยู่ที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ ไม่ไปในพื้นที่แออัด มีการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์และประกอบอาหารรับประทานเองที่บ้าน
พ.ศ. 2566 ในอดีตประกอบด้วยผู้นำหมู่บ้านจำนวนทั้งสิ้น 7 คนผู้นำหมู่บ้านแม่นาเรือสันทราย คนปัจจุบันคือ นางรุ่งนภา ปัญญาวงศ์ (ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านตำบลแม่นาเรือสันทราย หมู่ที่ 9
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านแม่ใส หมู่ที่ 17 ตำบลแม่ใส อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านแม่กา หมู่ที่ 11 ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านแม่ใส หมู่ที่ 16 ตำบลแม่ใส อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านตุ่น หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองพะเยา 13 กิโลเมตร การคมนาคมไม่ว่าจะเป็นภายในหมู่บ้านหรือติดต่อกับภายนอกหมู่บ้าน เป็นการคมนาคมที่สะดวก เนื่องจากมีถนนตัดผ่านตลอดเส้นทาง มีถนนคอนกรีตสองช่องทางรถ เป็นทางติดต่อระหว่างภายในหมู่บ้าน ส่วนถนนติดต่อระหว่างหมู่บ้านเป็นถนนลาดยางเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก มีจำนวน 95 หลังคาเรือน (ทะเบียนราษฎร์หมู่บ้านแม่นาเรือสันทรายหมู่ 9 ตำบลแม่นาเรือ) ซึ่งครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว บ้านเรือนจะอยู่กันเป็นกลุ่มและมีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติ
จากการสำรวจของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา ปี 2566 มีบ้านเรือนทั้งหมด 95 หลังคาเรือน จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริงทั้งหมด 219 คน เพศชาย 113 คน เพศหญิง 106 คน ประชากรที่อาศัยอยู่ที่บ้านแม่นาเรือสันทรายเป็นคนพื้นเมือง พูดภาษาถิ่นในการติดต่อสื่อสาร ครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว
คณะกรรมการหมู่บ้านแม่นาเรือสันทราย
- นางรุ่งนภา ปัญญาวงศ์ ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน
- นายกิตติพงษ์ บุญสูง ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
- นายนพรัตน์ สมศักดิ์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
- นายปรีชา ปัญญาวงศ์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยรักษาความสงบ (ผรศ.)
- นางสาวมาลี สุขัง ตำแหน่ง เหรัญญิก
- นายสมบัติ ทะปัญญา ตำแหน่ง ประธานโครงการ SML
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 14 คน โดยมีประธาน คือ นายบุญยก ตุ้ยคำ
คณะกรรมการพัฒนาสตรี โดยมีประธาน คือ นางมาลี สุขัง
สมาคมสาขาสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย โดยมีประธาน คือ นายบุญยก ตุ้ยคำ
คณะกรรมการกองทุนประจำหมู่บ้าน โดยมีประธาน คือ นางศรีจันทร์ นาแพร่
การประกอบอาชีพ อาชีพหลัก อาชีพรอง และอาชีพเสริม ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน ประมาณ 15,000 บาท/เดือน
- อาชีพหลัก : เกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา ทำสวนลำไย ปลูกข้าวโพด, เลี้ยงวัว ไก่ สุกร ปลา
- อาชีพรอง : ค้าขาย, รับจ้างทั่วไป, รับราชการ, พนักงานลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ
- อาชีพเสริม : ปลูกกระเทียม ปลูกมันสำปะหลัง
- รายได้ประชาชน : เกษตรกรรม, ค้าขาย, รับจ้างทั่วไป, เงินจากลูกหลาน, เบี้ยยังชีพ, เงินบำนาญ
- รายจ่ายประชาชน : ค่าอาหาร, ค่าสาธารณูปโภค, ค่าการศึกษาให้ลูกหลาน, ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าโทรศัพท์, ค่าน้ำมันรถ, ค่าเมล็ดพันธ์ุ, ค่าปุ๋ย, ค่ารักษาพยาบาล, ค่าจ้างงาน
- หนี้สินประชาชน : หนี้ ธ.ก.ส, หนี้กองทุนเงินล้าน, หนี้กองทุนหมู่บ้าน
- แหล่งเงินทุน : คือกองทุนต่าง ๆ ในหมู่บ้าน และ ธ.ก.ส.
ปฏิทินวัฒนธรรมบ้านแม่นาเรือสันทราย หมู่ที่ 9
เดือน | กิจกรรม |
มกราคม เดือน 4 ล้านนา |
|
กุมภาพันธ์ เดือน 5 ล้านนา |
|
มีนาคม เดือน 6 ล้านนา |
|
เมษายน เดือน 7 ล้านนา |
|
พฤษภาคม เดือน 8 ล้านนา | |
มิถุนายน เดือน 9 ล้านนา |
|
กรกฎาคม เดือน 10 ล้านนา | |
สิงหาคม เดือน 11 ล้านนา |
|
กันยายน เดือน 12 ล้านนา | |
ตุลาคม เดือนเกี๋ยงล้านนาหรือเดือนอ้าย |
|
พฤศจิกายน เดือนยี่ ล้านนา |
|
ธันวาคม เดือน 3 ล้านนา |
|
ที่มา : จากการสำรวจหมู่บ้าน โดยนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 31 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา วันที่ 11 ตุลาคม 2566
1.นางรุ่งนภา ปัญญาวงค์
ปีเกิด : 2513 สัญชาติ : ไทย เชื้อชาติ : ไทย ศาสนา : พุทธ
ที่อยู่ : หมู่ที่ 9 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
อาชีพ : รับราชการและธุรกิจส่วนตัว ตำแหน่ง : ผู้ใหญ่บ้านและเจ้าของธุรกิจ
ประวัติการศึกษา
- ปี พ.ศ. 2526 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ชั้นปีที่ 6 โรงเรียนแม่นาเรือ
- ปี พ.ศ. 2529 จบการศึกษาระดับมัธยมตอนต้นโรงเรียน ฟากกว๊านวิทยาคม
- ปี พ.ศ. 2543 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ประวัติโดยทั่วไป
- ปี พ.ศ. 2513 เกิด 17 กุมภาพันธ์
- ปี พ.ศ. 2526 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ชั้นปีที่ 6 โรงเรียนแม่นาเรือ
- ปี พ.ศ. 2529 จบการศึกษาระดับมัธยมตอนต้นโรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม
- ปี พ.ศ. 2541 เป็นชำนาญการเหรัญญิกหมู่บ้าน
- ปี พ.ศ. 2541 เป็นสมาชิกกองทุนเงินออมทรัพย์
- ปี พ.ศ. 2543 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
- ปี พ.ศ. 2545 เป็นสมาชิกกองทุนเงินล้าน
- ปี พ.ศ. 2547 สมรสกับ นายปรีชา ปัญญาวงค์
- ปี พ.ศ. 2548 มีบุตรคนที่ 1 เพศหญิง
- ปี พ.ศ. 2551 มีบุตรคนที่ 2 เพศหญิง
- ปี พ.ศ. 2555 เป็นเลขานุการพัฒนาสตรี
- ปี พ.ศ. 2565 เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- ปี พ.ศ. 2566 ปัจจุบันอายุ 53 ปี
ประวัติการทำงาน
- ชำนาญการเหรัญญิกหมู่บ้าน พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน
- เลขานุการพัฒนาสตรี พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน
- ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน
หน้าที่รับผิดชอบ
- เหรัญญิกหมู่บ้าน ทำหน้าที่รับผิดชอบช่วยเหลือคณะกรรมการหมู่บ้านในการรับจ่ายและเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของหมู่บ้านและงานอื่นใดตามที่ประธานกรรมการหมู่บ้านมอบหมาย
- เลขานุการพัฒนาสตรี ทำหน้าที่รับผิดชอบช่วยเหลืองานสนับสนุนการสร้างผู้นำ การพัฒนาองค์ความรู้ เสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสังคมให้แก่สตรีและองค์กรของสตรี
- ผู้ใหญ่บ้าน ทำหน้าที่รับผิดชอบช่วยเหลือนายอำเภอในการปฏิบัติหน้าที่และเป็นหัวหน้าราษฎรในหมู่บ้านของตน และมีอำนาจหน้าที่อำนวยความเป็นธรรมและดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยแก่ราษฎรในหมู่บ้าน สร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน รวมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีในท้องถิ่น
2.นายปรีชา ปัญญาวงค์
ปีเกิด : 2500 สัญชาติ : ไทย เชื้อชาติ : ไทย ศาสนา : พุทธ
ที่อยู่ : หมู่ที่ 9 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
อาชีพ : เกษตรกร ตำแหน่ง : ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
ประวัติการศึกษา
- ปี พ.ศ. 2512 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ชั้นปีที่ 6 โรงเรียนแม่นาเรือ
- ปี พ.ศ. 2518 จบการศึกษาระดับมัธยมตอนต้นโรงเรียน ฟากกว๊านวิทยาคม
- ปี พ.ศ. 2553 จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเกษตรเทคโนโลยี พะเยา
ประวัติโดยทั่วไป
- ปี พ.ศ. 2500 เกิด 28 กุมภาพันธ์
- ปี พ.ศ. 2512 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ชั้นปีที่ 6 โรงเรียนแม่นาเรือ
- ปี พ.ศ. 2518 จบการศึกษาระดับมัธยมตอนต้นโรงเรียน ฟากกว๊านวิทยาคม
- ปี พ.ศ. 2545 ป่วยเป็นโรคเก๊าท์
- ปี พ.ศ. 2545 ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้
- ปี พ.ศ. 2547 สมรสกับนางรุ่งนภา ปัญญาวงค์
- ปี พ.ศ. 2548 มีบุตรคนที่ 1 เพศหญิง
- ปี พ.ศ. 2551 มีบุตรคนที่ 2 เพศหญิง
- ปี พ.ศ. 2553 จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเกษตรเทคโนโลยี พะเยา
- ปี พ.ศ. 2555 สารวัตรกำนัน อาสาสมัครตำรวจบ้าน ถึงปัจจุบัน
- ปี พ.ศ. 2560 สมาชิกอาสาสัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
- ปี พ.ศ. 2566 ปัจจุบันอายุ 66 ปี
ประวัติการทำงาน
- ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน
- สารวัตรกำนัน พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน
- อาสาสมัครตำรวจบ้าน พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน
- อาสาสัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน
หน้าที่รับผิดชอบ
- ผู้ช่วยใหญ่บ้าน ทำหน้าที่รับผิดชอบช่วยเหลือนายอำเภอในการปฏิบัติหน้าที่และเป็นหัวหน้าราษฎร
- ในหมู่บ้านของตนปฏิบัติกิจการตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านเท่าที่ได้รับมอบหมายจากผู้ใหญ่บ้าน เสนอข้อแนะนำและให้คำปรึกษาต่อผู้ใหญ่บ้าน
- สารวัตรกำนัน ทำหน้าที่รับผิดชอบช่วยเหลืองานกันในตำบลรักษาดูแลความสงบสุขตรวจรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้านร่วมกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านรักษาความสงบในตำบล
- อาสาสมัครตำรวจ ทำหน้าที่รับผิดชอบช่วยเหลือเจ้าพนักงานตำรวจ รักษาความสงบเรียบร้อย การบริการและอำนวยความสะดวกด้านการจราจร แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย ข้อมูลอาชญากรรม เบาะแสคนร้าย คดีอาญาทั่วไป และคดียาเสพติด
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทำหน้าที่รับผิดชอบช่วยเหลือดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน และมีหน้าที่ แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ดำรงตนเป็นตัวอย่างที่ดี
3.นายบุญยก ตุ้ยคำ
ปีเกิด : 2490 สัญชาติ : ไทย เชื้อชาติ : ไทย ศาสนา : พุทธ
ที่อยู่ : หมู่ที่ 9 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
อาชีพ : อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำแหน่ง : ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
ประวัติการศึกษา
- ปี พ.ศ. 2502 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาโรงเรียนบ้านแม่นาเรือ
- ปี พ.ศ. 2505 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบุญนิธิ
- ปี พ.ศ. 2509 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายโรงเรียนพินิตประสาธน์
ประวัติโดยทั่วไป
- ปี พ.ศ. 2490 เกิด 8 ธันวาคม
- ปี พ.ศ. 2502 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาโรงเรียนบ้านแม่นาเรือ
- ปี พ.ศ. 2505 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบุญนิธิ
- ปี พ.ศ. 2509 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายโรงเรียนพินิตประสาธน์
- ปี .พ.ศ. 2528 ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ถึงปัจจุบัน
- ปี พ.ศ. 2556 เป็นประธานสภาผู้สูงอายุ
- ปี พ.ศ. 2566 ปัจจุบันอายุ 75 ปี
ประวัติการทำงาน
- ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2528 - ปัจจุบัน
- ประธานสภาผู้สูงอายุตำบลแม่นาเรือ พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน
หน้าที่รับผิดชอบ
- ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทำหน้าที่รับผิดชอบรับเรื่องจากหัวหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขส่วนตำบลเกี่ยวกับสุขภาพ และทำการแจ้งสมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกคน
- ประธานสภาผู้สูงอายุ ทำหน้าที่รับผิดชอบในอำนาจดำเนินกิจการของสภาผู้สูงอายุ เป็นหัวหน้าชมรม เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจกรรมชมรม ตลอดจนประสานงานกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และแสวงหาแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านต่างๆ ของชมรมรวมถึงดูแลทุกข์สุขของสมาชิกในชมรม
4.นางฟองนวล ปัญญาวงค์
ปีเกิด : 2502 สัญชาติ : ไทย เชื้อชาติ : ไทย ศาสนา : พุทธ
ที่อยู่ : หมู่ที่ 9 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
อาชีพ : เกษตรกร ตำแหน่ง : เลขานุการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
ประวัติการศึกษา
- ปี พ.ศ. 2515 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาโรงเรียนบ้านแม่นาเรือ
- ปี พ.ศ. 2518 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพะเยาพิทยาคม
ประวัติโดยทั่วไป
- ปี พ.ศ. 2502 เกิด 16 เมษายน
- ปี พ.ศ. 2515 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาโรงเรียนบ้านแม่นาเรือ
- ปี พ.ศ. 2518 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพะเยาพิทยาคม
- ปี พ.ศ. 2550 เป็นเลขาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ถึงปัจจุบัน
- ปี พ.ศ. 2557 เป็นเลขากองทุนหมู่บ้าน ถึงปัจจุบัน
- ปี พ.ศ. 2563 รองประธานนุการพัฒนาสตรี
- ปี พ.ศ. 2563 เลขากรรมการกองทุนหมู่บ้าน ถึงปัจจุบัน
- ปี พ.ศ. 2566 ปัจจุบันอายุ 64 ปี
ประวัติการทำงาน
- เลขาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน
- เลขากองทุนหมู่บ้าน พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน
- รองประธานการพัฒนาสตรี พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน
- เลขากรรมการกองทุนหมู่บ้าน พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน
หน้าที่รับผิดชอบ
- เลขาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทำหน้าที่รับผิดชอบบันทึกการประชุมและประสานงานให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
- เลขากองทุนหมู่บ้าน ทำหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและจัดสรรดอกผลรายได้และผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน
- รองประธานการพัฒนาสตรี ทำหน้าที่รับผิดชอบช่วยเหลืองานประธานการพัฒนาสตรีและสนับสนุนการสร้างผู้นำ การพัฒนาองค์ความรู้เสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสังคมให้แก่สตรีและองค์กรของสตรี
- เลขากรรมการกองทุนหมู่บ้าน ทำหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน รวมทั้งตรวจสอบ กำกับ ดูแล และจัดสรรดอกผล รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน ออกประกาศระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารกองทุนหมู่บ้าน
5.นางมยุรี ทะปัญญา
ปีเกิด : 2498 สัญชาติ : ไทย เชื้อชาติ : ไทย ศาสนา : พุทธ
ที่อยู่ : หมู่ที่ 9 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
อาชีพ : เกษตรกร ตำแหน่ง : สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ประวัติการศึกษา
- ปี พ.ศ. 2512 จบการศึกษาระดับประถม โรงเรียนแม่นาเรือ
- ปี พ.ศ. 2518 จบการศึกษามัธยมตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ประวัติโดยทั่วไป
- ปี พ.ศ. 2498 เกิด 24 มีนาคม
- ปี .พ.ศ. 2512 จบการศึกษาระดับประถม โรงเรียนแม่นาเรือ
- ปี พ.ศ. 2518 จบการศึกษามัธยมตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
- ปี พ.ศ. 2520 สมรมกับ นายสมบัติ ทะปัญญา
- ปี พ.ศ. 2522 มีบุตร 1 เพศชาย
- ปี พ.ศ. 2540 เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
- ปี พ.ศ. 2544 เป็นรองประธาน
- ปี พ.ศ. 2550 เป็นประธานการพัฒนาสตรี
- ปี พ.ศ. 2565 เป็นกรรมการหมู่บ้าน
- ปี พ.ศ. 2566 ปัจจุบัน อายุ 68 ปี
ประวัติการทำงาน
- สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน
- รองประธานกองทุน พ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน
- คณะกรรมการหมู่บ้าน พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน
หน้าที่รับผิดชอบ
- สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ทำหน้าที่รับผิดชอบควบคุมการทำงานของคณะผู้บริหาร และให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับตำบลและบัญญัติเพื่อการบริหารกิจกรรมต่างๆ รวมถึงงบประมาณ
- รองประธานกองทุน ทำหน้าที่รับผิดชอบช่วยเหลืองานประธานกองทุนหมู่บ้าน ควบคุมดูแลโดยทั่วไป และรับผิดชอบการปฏิบัติงานของกองทุนหมู่บ้าน
- คณะกรรมการหมู่บ้าน ทำหน้าที่รับผิดชอบช่วยเหลือแนะนำให้คำปรึกษาแก่ผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านและปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการหรือที่นายอำเภอมอบหมายหรือผู้ใหญ่บ้านร้องขอ รวมทั้งเป็นองค์กรหลักที่รับผิดชอบในการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านและบริหารจัดการกิจกรรม
6.นายสมบัติ ทะปัญญา
ปีเกิด : 2498 สัญชาติ : ไทย เชื้อชาติ : ไทย ศาสนา : พุทธ
ที่อยู่ : หมู่ที่ 9 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
อาชีพ : เกษตรกร ตำแหน่ง : หมอดินอาสา
ประวัติการศึกษา
- ปี พ.ศ. 2510 จบการศึกษาระดับประถม โรงเรียนแม่นาเรือ
ประวัติโดยทั่วไป
- ปี พ.ศ. 2498 เกิด 12 ธันวาคม
- ปี พ.ศ.2510 จบการศึกษาระดับประถม โรงเรียนแม่นาเรือ
- ปี พ.ศ. 2520 สมรมกับ นางมยุรี ทะปัญญา
- ปี พ.ศ. 2522 มีบุตร 1 เพศชาย
- ปี พ.ศ. 2549 เป็นหมอดินอาสา ถึงปัจจุบัน
- ปี พ.ศ. 2555 ประธานฌาปนกิจชุมชน ประธานประชาคมหมู่บ้าน ถึงปัจจุบัน
- ปี พ.ศ. 2566 ปัจจุบันอายุ 67 ปี
ประวัติการทำงาน
- หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน
- ประธานฌาปนกิจชุมชน พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน
- คณะกรรมการหมู่บ้าน พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน
- ประธานประชาคมหมู่บ้าน พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน
หน้าที่รับผิดชอบ
- หมอดินอาสา ทำหน้าที่รับผิดชอบเป็นจิตอาสาที่ทำงานช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ ทำงานเกี่ยวกับการทำปุ๋ยชีวภาพปุ๋ยหมัก จัดการเกี่ยวกับการเกษตรพัฒนาที่ดินประจำหมู่บ้าน
- ประธานฌาปนกิจชุมชน ทำหน้าที่รับผิดชอบจัดการเงินสงเคราะห์ที่สมาชิกช่วยกันออกเป็นค่าจัดการศพ และสงเคราะห์ครอบครัวของสมาชิกที่ถึงแก่กรรมและดำเนินกิจการของการฌาปนกิจสงเคราะห์ของกรมการพัฒนาชุมชน
- คณะกรรมการหมู่บ้าน ทำหน้าที่รับผิดชอบช่วยเหลือแนะนำให้คำปรึกษาแก่ผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านและปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการหรือที่นายอำเภอมอบหมายหรือผู้ใหญ่บ้านร้องขอ รวมทั้งเป็นองค์กรหลักที่รับผิดชอบในการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านและบริหารจัดการกิจกรรม
- ประธานประชาคมหมู่บ้าน ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลเรื่องของการรจัดสถานที่ การประชุมประชาชนในหมู่บ้าน
แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
- มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 8 แห่ง คือ ห้วยแม่นาเรือ ห้วยม่วง ห้วยฮ่องแล้ง ห้วยเตาปูน ห้วยโช้ ห้วยน้ำขาว ห้วยดินแดง ห้วยร่องคำ
- อ่างเก็บน้ำแม่นาเรือ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ได้เริ่มเปิดทำการเมื่อวันที่ 10 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2505 โดยอาศัยเปิดทำการที่บ้านนายขาว วงศ์ราษฎร์ บ้านแม่ใสเหล่า หมู่ 4 ตำบลแม่ใส อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา (ปัจจุบัน) โดยขณะนั้นยังมีฐานะเป็นสำนักงานผดุงครรภ์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2512 ประชาชนตำบลแม่นาเรือได้ร่วมกันบริจาคซื้อที่ดิน ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลแม่นาเรือ จำนวน 3.5 ไร่ และได้รับงบประมาณสนับสนุนจากทางราชการก่อสร้างอาคารและยกฐานะจากสำนักงานผดุงครรภ์เป็นสถานีอนามัย โดยเริ่มเปิดทำการวันที่ 13 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2513
ภาษาล้านนา และภาษาไทยกลาง
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ. (ม.ป.ป.). บ้านแม่นาเรือสันทราย. https://maenarua.com/index.php/
บันทึกของพ่อเจ้าหนานเลาแก้ว ศีติสาร จากการรวบรวมเรียบเรียงของพระธรรมวิมลโมลี (ปวง ธมมปญโญ) ในขณะที่ดำรงสมณศักดิ์ที่พระเทพวิสุทธิเวที
พระธรรมวิมลโมลี. (2531). ประวัติศาสตร์เมืองพะเยายุคหลัง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน
โดม ไกรปกรณ์. (ม.ป.ป.). หัวเมืองประเทศราช. สถาบันพระปกเกล้า http://wiki.kpi.ac.th/