Advance search

โรงเรียนพาณิชย์สำโรง

คลองสำโรงพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และชุมชนขนาดใหญ่กับพัฒนาการทางสังคม จากการขยายตัวของชุมชนเมือง

พาณิชย์สำโรง
บ่อยาง
เมืองสงขลา
สงขลา
เทศบาลนครสงขลา โทร. 0-7431-1015
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
12 มี.ค. 2024
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
12 มี.ค. 2024
พาณิชย์สำโรง
โรงเรียนพาณิชย์สำโรง


คลองสำโรงพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และชุมชนขนาดใหญ่กับพัฒนาการทางสังคม จากการขยายตัวของชุมชนเมือง

พาณิชย์สำโรง
บ่อยาง
เมืองสงขลา
สงขลา
90000
7.174794521592164
100.60844303465035
เทศบาลนครสงขลา

ชุมชนพาณิชย์สำโรง หรือชุมชนโรงเรียนพาณิชย์สำโรง เดิมเป็นชุมชนเดียวกันกับชุมชนกุโบร์ เป็นพื้นที่ที่มีผู้คนจากรอบนอกย้ายเข้ามาอยู่อาศัยเพื่อแสวงหาพื้นที่ทำกินในเมืองสงขลาที่กำลังมีพัฒนาการทางสังคมที่ดี มีความเจริญก้าวหน้า ผู้คนจึงเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยจนขยายตัวเป็นชุมชนขนาดใหญ่ รวมไปถึงในพื้นที่ของการรถไฟที่หลังจากหยุดให้บริการแล้วชาวบ้านก็ไปจับจองพื้นที่สร้างที่อยู่อาศัย จนชุมชนกุโบร์มีพื้นที่บริเวณกว้างและมีความหนาแน่นของประชากรเป็นอย่างมาก จึงมีการแบ่งแยกพื้นที่ชุมชนกุโบร์ออกเป็นชุมชนใหม่ เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการพื้นที่ชุมชน การดูแลสมาชิกของชุมชนและระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้มีความสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงครอบคลุมในทุกพื้นที่ โดยจัดตั้งเป็นชุมชนพาณิชย์สำโรง เมื่อปี พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา

ชุมชนพาณิชย์สำโรง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นชุมชนสังคมเมืองขนาดใหญ่ที่มีการอยู่อาศัยของสมาชิกในชุมชนอย่างหนาแน่น ชุมชนตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มติดกับคลองสำโรงทางด้านทิศใต้ มีพื้นที่ของชุมชนทั้งหมด 249,364.50 ตารางเมตร และมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ทางรถไฟ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ คลองสำโรง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ลำรางน้ำสาธารณะ (คลองสำโรง)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ถนนเลียบทางรถไฟ

ชุมชนพาณิชย์สำโรง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา มีประชากรอยู่อาศัยในชุมชนจำนวนมาก การตั้งบ้านเรือนค่อนข้างมีความหนาแน่น โดยมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 554 ครัวเรือน มีประชากรชาย จำนวน 614 คน มีประชากรหญิง จำนวน 688 คน และมีประชากรภายในชุมชนรวมทั้งสิ้น จำนวน 1,302 คน

ชุมชนพาณิชย์สำโรง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ของเทศบาลนครสงขลา มีประธานชุมชนเป็นผู้นำในการจัดการดูแลพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมการชุมชนและหน่วยงานต่างๆ โดยประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนพาณิชย์สำโรงประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปเป็นอาชีพหลัก เพื่อหารายได้ในการดูแลครอบครัว โดยชุมชนพาณิชย์สำโรงมีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 252,059 บาท/ปี และมีรายได้บุคคลเฉลี่ยอยู่ที่ 92,326 บาท/ปี และมีการรวมกลุ่มของประชากรในชุมชนเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันของกลุ่มสมาชิกเพื่อช่วยสร้างรายได้เสริม สร้างอาชีพ และเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ของกลุ่มองค์กรในชุมชน ได้แก่ กลุ่มจัดขันหมาก และกลุ่มดอกไม้จันทน์ ฯลฯ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

1.นายสงวน อินทร์ชัย ปราชญ์ชุมชนด้านงานช่างฝีมือ

2.นายพร ศรีบุญคุณ ปราชญ์ชุมชนด้านงานช่างฝีมือ

3.นางอารยา ฤทธิเดช ปราชญ์ชุมชนด้านการจัดทำอาหาร/อาหารพื้นบ้าน

4.ด.ต.ธีรพงศ์ พูลสวัสดิ์ ปราชญ์ชุมชนด้านพิธีกรรมทางศาสนา/ขนบธรรมเนียมประเพณี

แหล่งทุนทางเศรษฐกิจสนับสนุนชุมชน

  • กองทุนหมู่บ้านชุมชนเมือง มีงบประมาณ 2,500,000 บาท 

สถานที่สำคัญในบริเวณชุมชน

  • โรงเรียนเทคโนโลยีพณิชย์การสงขลา
  • ศูนย์สุขภาพพาณิชย์สร้างสุขเครือข่ายโรงพยาบาล สงขลา
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชุมชนพาณิชย์สำโรง

ชุมชนพาณิชย์สำโรงเป็นชุมชนหนึ่งของจังหวัดสงขลาที่ประชากรในชุมชนมีการเข้าไปจับจองพื้นที่ของทางการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งทางการรถไฟมีการจัดพื้นที่ให้ประชาชนสำหรับเป็นพื้นที่เช่าอยู่อาศัย สมาชิกบางส่วนต้องจัดการกับปัญหาการจ่ายค่าเช่าพื้นที่เพื่อพักอาศัย และมีประชากรบางส่วนมีการชักชวนกันในการไม่ยินยอมจ่ายค่าเช่าพื้นที่ และทำให้เกิดการเลียนแบบกันในชุมชน ด้วยสาเหตุจากความไม่พร้อมของประชาชนเอง และการไม่ยอมให้ความร่วมมือ การเป็นการใช้พื้นที่อยู่อาศัยในลักษณะของการต่างคนต่างอยู่ ทั้งยังมีการจับจองพื้นที่ของนายทุนบางคนบางกลุ่มเพื่อหารายได้ ทำให้เป็นปัญหาสำคัญของสมาชิกในชุมชนที่มีมาอย่างยาวนานและยืดเยื้อจนถึงปัจจุบัน


คลองสำโรง

คลองสำโรง เป็นคลองธรรมชาติ ชื่อคลองมีที่มาจากต้นสำโรง ไม้ยืนต้นที่คาดว่าพบได้มากในอดีตบริเวณริมคลองแห่งนี้ ผู้คนในท้องถิ่นจึงเรียกชื่อคลองตามชื่อต้นไม้ดังกล่าว

คลองสำโรงมีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตรเศษ เชื่อมต่อระหว่างทะเลสาบสงขลากับทะเลอ่าวไทยบริเวณชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน ในอดีตเป็นร่องน้ำขนาดใหญ่ มีความกว้างประมาณ 50 เมตร เรือสินค้าหรือเรือสำเภาชนิดต่าง ๆ สามารถแล่นจากทะเลอ่าวไทยผ่านคลองสำโรงสู่ทะเลสาบสงขลาไปยังเมืองต่าง ๆ โดยรอบ เพื่อค้าขายกับเมืองท่าของทะเลสาบสงขลาได้ ซึ่งเป็นอีกเส้นทางหนึ่งนอกเหนือจากทางสายหลักที่ปากทะเลสาบสงขลา บริเวณ "หัวเขาแดง" ที่ห่างออกไปประมาณ 20 กิโลเมตร ในปัจจุปันเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกสงขลา

คลองสำโรงในอดีตนอกจากจะมีความสำคัญในการเป็นเส้นทางการเดินเรือเชื่อมระหว่างทะเลอ่าวไทยและทะเลสาบสงขลา ที่ไม่ต้องอ้อมไปยังปากทะเลสาบที่ห่างออกไปกว่า 20 กิโลเมตร คลองสำโรงยังเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำหลากหลายชนิด เป็นพื้นที่อนุบาลสัตว์น้ำตามธรรมชาติ และที่อยู่อาศัยของกุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของผู้คนที่อาศัยอยู่ริมคลอง ทั้งยังเป็นที่หลบภัยจากมรสุมสำหรับเรือประมงให้กับชาวบ้านอีกด้วย

ปัจจุบันสภาพพื้นที่คลองสำโรง มีภาพน้ำที่เน่าเสียจากขยะมลพิษต่าง ๆ ประกอบกับความเจริญของสังคมที่ละเลยการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ และพื้นที่บริเวณในคลองมีสภาพตื้นเขินมากกว่าในอดีต และมีดินทรายทับถมปิดกั้นบริเวณปากคลอง ทำให้น้ำจากลำคลองไม่สามารถไหลออกสู่ทะเลได้อย่างเต็มที่ และน้ำจากทะเลไม่สามารถเข้ามาในคลองได้ น้ำในลำคลองจึงไม่เกิดการเปลี่ยนถ่ายหมุนเวียน ส่งผลให้น้ำเน่าเสีย ระบบนิเวศก็เปลี่ยนแปลงและเสื่อมสภาพลงไปเรื่อย ๆ ปัจจุบันผู้คนในชุมชนและองค์กรต่าง ๆ พยายามสร้างความร่วมมือ และสร้างเครือข่ายชุมชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสำคัญของภูมิศาสตร์ชุมชนให้กลับมามีสภาพที่ดีขึ้น ฟื้นคืนความงดงามและสภาพแวดล้อมในอดีตให้หวนมาอีกครั้ง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เทศบาลนครสงขลา. แผนพัฒนาชุมชน ชุมชนพาณิชย์สำโรง. เขตเทศบาลนครสงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 จาก https://www.songkhlacity.go.th/ 

มูลนิธิชุมชนสงขลา. ชุมชนพาณิชย์สำโรง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 จาก https://www.scf.or.th/paper/268 

Thecitizen.plus. 'คลองสำโรง จ.สงขลา' จากคลองเน่าเหม็น-ชุมชนแออัด ก้าวย่างสู่การฟื้นฟู "คลองสวย-น้ำใส-ไร้ขยะ-ชุมชนมีสุข" (1). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 จาก https://thecitizen.plus/node/65100

เทศบาลนครสงขลา โทร. 0-7431-1015