Advance search

หมู่บ้านในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดร้อยเอ็ด และในระดับประเทศ อีกทั้งเป็นศูนย์รวมและจำหน่ายหัตถกรรมพื้นบ้าน อาทิ กระเป๋า ผ้าฝ้าย เสื้อผ้าสำเร็จรูป

หมู่ที่ 3
บ้านหวายหลึม
มะบ้า
ทุ่งเขาหลวง
ร้อยเอ็ด
อบต.มะบ้า โทร. 0-4365-7633
หนึ่งฤทัย ประเสริฐ
2 เม.ย. 2024
2 เม.ย. 2024
หนึ่งฤทัย ประเสริฐ
2 เม.ย. 2024
บ้านหวายหลึม

บ้านหวายหลึม เป็นชุมชนขนาดใหญ่ เห็นว่าที่แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์จึงพากันมาถางป่าหวายเพื่อสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยข้างหนองน้ำ โดยมีป่าหวายหนาแน่นมากจนมุงเป็นมึดๆ ลึมๆ ตามภาษาอิสานพื้นบ้านจึงได้นำเอามาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า “หวายหลึม” จนมาถึงในปัจจุบัน


หมู่บ้านในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดร้อยเอ็ด และในระดับประเทศ อีกทั้งเป็นศูนย์รวมและจำหน่ายหัตถกรรมพื้นบ้าน อาทิ กระเป๋า ผ้าฝ้าย เสื้อผ้าสำเร็จรูป

บ้านหวายหลึม
หมู่ที่ 3
มะบ้า
ทุ่งเขาหลวง
ร้อยเอ็ด
45210
16.03099234
103.8821805
องค์การบริหารส่วนตำบลมะบ้า

บ้านหวายหลึม เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ได้ก่อตั้งมาประมาณ 200 กว่าปีแล้ว โดยมีบรรพบุรุษอพยพมาจากตำบลเหล่าในอำเภอเดียวกัน 2 ครอบครัว โดยมีช้างคนละเชือก และได้นำช้างมาเลี้ยงที่หนองน้ำและป่าหวายซึ่งมีอยู่เยอะมาก เห็นว่าที่แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์จึงพากันมาถางป่าหวายเพื่อสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยข้างหนองน้ำ โดยมีป่าหวายหนาแน่นมากจนมุงเป็นมึด ๆ ลึม ๆ ตามภาษาอีสานพื้นบ้านจึงได้นำเอามาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า "หวายหลึม" จนมาถึงในปัจจุบัน

ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม บางครั้งถ้าในฤดูฝนจะมีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน เพราะอำเภอทุ่งเขาหลวงเป็นที่รองรับน้ำที่ไหลมาจากอำเภอเมืองและอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย มีความสมบูรณ์ของดินดี มีแม่น้ำ ลำคลองและอ่างเก็บน้ำ เพื่อใช้ในการอุปโภค บริโภค และการทำเกษตรกรรม เช่น แม่น้ำชี อ่างเก็บน้ำหนองซ่าง มีคลองส่งน้ำในระบบชลประทานเพื่อใช้ทำการเกษตร 

ประชากรหมู่บ้านบ้านหวายหลึม มีประชากรชาย 231 คน มีประชากรหญิง 221 รวมทั้งหมด 452 คน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 100 และยึดวัฒนธรรมฮีตสิบสองคองสิบสี่ที่สืบทอดกันมาชั่วลูกหลาน มีวัดเป็นศูนย์รวมด้านจิตใจและใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนามเครือญาติเ

ประชากรส่วนใหญ่ มีอาชีพเกษตรกรรม คิดเป็น ร้อยละ 90 ที่เหลือร้อยละ 10 มีอาชีพรับราชการ รับจ้าง และยังมีอาชีพเสริมอื่น ๆ เช่น การทอผ้าไหมสาเกต การเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป การทำการประมง การเลี้ยงสัตว์ การไปทำงานในต่างประเทศ

หมู่บ้านที่สามารถทำนาได้ทั้งนาปี และนาปรัง เพราะมีระบบคลองส่งน้ำโดยได้ผันน้ำมาจากแม่น้ำชี ประชาชนจึงมีรายได้หลักจากการทำนา และการเกษตรอื่น ๆ เช่น ถั่วลิสง ปลูกผัก เป็นต้น นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถหารายได้จากอาชีพเสริม ได้แก่ รับจ้างทั่วไป ขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพ เป็นหมู่บ้าน 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ คือผ้าไหมสาเกตุ ส่งเข้าประกวดสินค้า OTOP ได้ที่ 1 ของประเทศ จึงเป็นสินค้าระดับ 5 ดาวของจังหวัดร้อยเอ็ด และยังเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเข้าประกวดได้ที่ 3 ของเขต

กลุ่มวิสาหกิจทอผ้าไหมบ้านหวายลึม เป็นอุตสาหกรรมพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงของจังหวัดร้อยเอ็ด ที่รวมกลุ่มกันสร้างรายได้ สร้างอาชีพนอกฤดูทำนา

ชาวบ้านมีประเพณีวัฒนธรรมที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านานหลายชั่วอายุคนแล้ว ปัจจุบันนี้ก็ยังมีการปฏิบัติอยู่อย่างต่อเนื่อง มีหลายประเพณี เช่น ประเพณีที่เกี่ยวกับวันสำคัญทางศาสนา คือ วันธรรมสวนะ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา ในวันสำคัญดังกล่าวนี้จะมีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า มีการฟังเทศน์ ฟังศีลอุโบสถ และเวียนเทียน จัดงานบุญบวช ส่วนในวันเข้าพรรษาจะมีพิธีถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน และเครื่องปัจจัยไทยธรรมต่าง ๆ แด่พระภิกษุสงฆ์ และในวันออกพรรษา ก็จะมีพิธีการทำบุญหลายอย่าง ประเพณีการทำบุญตักบาตรเทโว การฟังเทศน์ การถวายกัณฑ์เทศน์ ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนจะไปร่วมกันทำพิธีเหล่านี้ที่วัด เพราะถือว่าเป็นประเพณีที่สำคัญของหมู่บ้าน มีพิธีการทำบุญตักบาตร การจำศีลอุโบสถในวันพระ และการทำบุญตักบาตรในตอนเช้าทุกวัน

นอกจากนี้ก็ยังมีประเพณีที่เกี่ยวกับเทศกาลวันสำคัญทั่วไป ได้แก่ การทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ การทำบุญถวายข้าวจี่ในเดือนสาม บุญผะเหวดในเดือนสี่ การทำบุญวันสงกรานต์ เดือนหกจัดงานบุญบ้องไฟ การทำบุญวันสารทในเดือนสิบ การทำบุญถวายผ้ากฐินหลังจากออกพรรษา ไหลเรือไฟ แข่งเรือ ซึ่งมีการจัดขึ้นทุกปี เป็นต้น

ประเพณีที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวันและงานมงคล ได้แก่ ประเพณีแรกนาขวัญและสู่ขวัญข้าว งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น ประเพณีที่เกี่ยวกับวันสำคัญ ได้แก่ เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งทั้งสองเทศกาลนี้ ผู้คนที่ไปทำงานต่างถิ่นจะเดินทางกลับมาบ้านเกิดมากที่สุดคือ ประเพณีสงกรานต์ในเดือนเมษายน และประเพณีบุญบั้งไฟในเดือนพฤษภาคม โดยมีการจัดผ้าป่ามาทอดถวายที่วัดบ้าง โรงเรียนบ้าง เป็นประจำทุกปี

ขนบธรรมเนียมประเพณีเหล่านี้ ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนจะถือว่าเป็นประเพณีที่สำคัญของหมู่บ้านและจะให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดกระบวนการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันระหว่างคนในชุมชน จึงได้ร่วมมือกันส่งเสริมอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีตลอดมา ดังนั้นในการประกอบพิธีของงานบุญงานประเพณีต่าง ๆ จึงมีชาวบ้านไปร่วมพิธีกันมากมายอยู่เสมอ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ผ้าไหมลายสาเกตนคร

ผ้าลายเอกลักษณ์เมืองร้อยเอ็ด “ผ้าไหมลายสาเกตนคร” เป็นผ้าไหมที่ประกอบด้วยลายผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ในการทอผ้าไหมของจังหวัดร้อยเอ็ด 5 ลาย ทั้ง 5 ลายนี้ จะมีขนาดใดก็ได้แต่การทอจะต้องให้ลายนาคน้อยอยู่ตรงกลาง และลวดลายเหล่านี้จะคั่นด้วยผ้าพื้นสีดอกอินทนิลบก (สีชมพูอมม่วง) ซึ่งแต่ละลายมีความหมาย บ่งบอกถึงวิถีชาวร้อยเอ็ด ดังนี้

1.ลายโคมเจ็ด บ่งบอกถึงความเพิ่มพูน ผลผลิตทางการเกษตร มีความสดใสในชีวิต เสมือนโคมไฟ ส่องสว่างไสวสู่ความรุ่งเรือง

2.ลายหมากจับ เป็นพืชชนิดหนึ่งในตระกูลดอกหญ้า เป็นดอกเล็ก ๆ ของหญ้าเข้าชู้ ชอบติดตามเสื้อผ้า สื่อความหมายผู้มาเยือนได้ชมผ้าสาเกตุเที่ยวงานบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด ประทับใจมิรู้ลืม

3.ลายนาคน้อย เป็นลายนาคเล่นน้ำในคลอง ให้ความชุ่มชื้น ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ยังความสมบูรณ์ให้กับท้องไร่ ผืนนา

4.ลายค้ำเภา เป็นลายเส้นตรงบ่งบอกถึงความซื่อตรง มุ่งมั่น เข้มแข็งค้ำจุนหนุนขึ้น อันเป็นอุปนิสัยโดดเด่นของคนภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

5.ลายคองเอี้ย มีลักษณะเป็นแม่น้ำ ลำคลอง เสมือนสายน้ำ ลำคลอง ที่เอื้อต่อวิถีความเป็นอยู่ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สามารถทำนาได้ทั้งนาปี และนาปรัง เพราะมีระบบคลองส่งน้ำโดยได้ผันน้ำมาจากแม่น้ำชี ประชาชนจึงมีรายได้หลักจากการทำนา และการเกษตรอื่นๆ เช่น ถั่วลิสง ปลูกผัก เป็นต้น นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถหารายได้จากอาชีพเสริม ได้แก่ รับจ้างทั่วไป ขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพ ตำบลมะบ้า

ขณะเดียวกันบ้านหวายหลึม เป็นหมู่บ้าน 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ คือผ้าไหมสาเกตุ ส่งเข้าประกวดสินค้า OTOP ได้ที่ 1 ของประเทศ จึงเป็นสินค้าระดับ 5 ดาว ของจังหวัดร้อยเอ็ด และยังเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเข้าประกวดได้ที่ 3 ของเขต


ตำบลมะบ้า มีประชากรในความรับผิดชอบ จำนวน 4,774 คน แยกเป็น เพศชาย 2,390 คน คิดเป็น ร้อยละ 50.06 เพศหญิง 2,384 คน คิดเป็น ร้อยละ 49.94 และชาวต่างประเทศที่เข้ามาอาศัยหรือมีความสัมพันธ์กับคนในชุมชน จำนวน 45 คน 45 ครัวเรือน


สถานบริการสาธารณสุข-สถานีอนามัย (ศูนย์สุขภาพชุมชน) 1 แห่ง ให้บริการครอบคลุม จำนวน 10 หมู่บ้าน ในพื้นที่ใกล้เคียง

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ประวัติสถานพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวายหลึม ตำบลมะบ้า. http://gishealth.moph.go.th/healthmap/

วัชรินทร์ เขจรวงศ์. (2555). เบญจสาเกตผ้าไหมบ้านหวายหลึมร้อยเอ็ด. https://www.gotoknow.org/posts/

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). บ้านหวายหลึม. https://thai.tourismthailand.org/

อบต.มะบ้า โทร. 0-4365-7633