เป็นหมู่บ้านที่มีลำน้ำแม่ขนาดไหลผ่าน มีจุดที่ตั้งของโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวของเทศบาลตำบลทากาศเหนือ ปงผางเอสเคป
เดิมที่บ้านปงผางชาวบ้านได้ย้ายมาจากห้วยแม่ผึ้ง อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง ต่อมาได้อพยพมาตั้งอยู่ใหม่ 4 จุด คือ ห้วยยงกา ห้วยโป่ง ห้วยหมู และบ้านปงผาง ไม่นานชาวบ้านทั้ง 4 จุด ได้รวมกันมาอยู่ที่บ้านปงผาง มี 5 หลังคาเรือนเท่านั้น
สาเหตุที่ตั้งชื่อหมู่บ้านปงผาง เพราะมีที่ดินบริเวณนี้มีมีการเพาะปลูกยาสูบเป็นจำนวนมาก เมื่อมียาสูบมากต้องมีการตากยาสูบเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ผาง” และบริเวณนี้เป็น ปง เลยตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “ปงผาง” จนถึงทุกวันนี้
เป็นหมู่บ้านที่มีลำน้ำแม่ขนาดไหลผ่าน มีจุดที่ตั้งของโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวของเทศบาลตำบลทากาศเหนือ ปงผางเอสเคป
กะเหรี่ยงเป็นชาวเขาในกลุ่มจีน-ทิเบต เชื่อกันว่าถิ่นเดิมกำหนดอยู่ในบริเวณมองโกเลีย ต่อมาได้หนีภัยสงครามไปอยู่ที่ทิเบตและเมื่อถูกกองทัพจีนรุกรานก็ถอยลงมาทางใต้ ตั้งแต่บริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงจนกระทั้งถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวีนในประเทศพม่าก่อนที่จะโยกย้ายมาตั้งถิ่นฐานทางภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทยนับร้อยๆปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยอยุธยา กะเหรี่ยงเป็นชาวเขาที่มีมากสุดในจำนวนชาวเขาทั้งหมดของประเทศไทย จัดแบ่งเป็นกลุ่มภาพูดออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1. กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด
2. กะเหรี่ยงโปที่เรียกตัวเองว่า โพล่ง ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน
3. กะเหรี่ยงตองสู
4. กะเหรี่ยงบะเว ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
บ้านปงผาง เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กที่ตั้งอยู่บนที่สูง เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงพวก “กะเหรี่ยงขาว” หรือ “กะเหรี่ยงโป” หรือ เรียกขานพวกตนเองว่า “โพล่” หรือ “ปากะญอ (อ่านว่า ปา-กะ-ยอ) ” ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกันอีก 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านดอยคำ บ้านหลวง บ้านป่าเลา บ้านผาด่าน บ้านปงผาง และบ้านแม่สะแงะ เป็นพี่น้องปกากะญอด้วยกัน และอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงบ้านปงผางมีการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติเป็นแหล่งอาหาร ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยการหาของป่ามาบริโภค เช่น หน่อไม้ เห็ดต่าง ๆ ผักหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการทำการเกษตรปลูกข้าวไร่ และปลูกฝ้ายเพื่อเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทอผ้า ลักษณะนิสัยของกะเหรี่ยงถ้าหากอยู่ที่ไหน หรือตั้งหลักปักฐานที่ไหนแล้วก็จะอยู่อย่างถาวร ไม่มีการเคลื่อนย้าย และเป็นนักอนุรักษ์ สังเกตได้จากการทำไร่หมุนเวียน เพื่อรักษาสภาพของดิน ลักษณะและวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงจะเกี่ยวข้องกับป่า
สมัยก่อนก่อนมีผู้คนมาทำสวนแล้วก็ไม่มีที่นอน ต้องนอนกลางดินกินกลางทรายเลยชวนกันทำผาม(กระท่อม)เพื่อที่จะทำการตากสิ่งของหรือสิ่งเพาะปลูกบ้านสมัยก่อนทำการปลูกยาสูบการทำผามเพื่อการตากยาสูบและที่อยู่อาศัยจึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน “ปงผาง”ปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้มีอายุประมาณ 67 ปี เมื่อสมัยก่อนมีบ้านอยู่เพียง 3 หลังคา มีประชากรจำนวน 22 คน และต่อจากนั้นก็มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีพี่น้องหลายฝ่ายกลับมาอยู่ด้วยกันและรวมตัวกันเป็นหมู่บ้านใหญ่ผู้คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าปายะญอ(ส่อกอ) บ้านที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่จะใช้ไม้เป็นส่วนประกอบหลักหลังครจะเป็นใบตองตึง อาหารส่วนใหญ่ที่กินกันก็คือ เผือก มัน กลอย เพราะไม่มีเมล็ดพันธุ์ข้าวที่จะปลูก ส่วนมากก็จะจับสัตว์ป่ามากินกัน เช่น ช้างป่า หมี และหมูป่า พอไม่นานสัตว์ป่าก็เริ่มหมดหายไป เลยหันมาทำอาชีพเพาะปลูกแทน และทำมาจนถึงทุกวันนี้
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านแม่สะแง๊ะทิศใต้ ติดกับ อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปางทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปางทิศตะวันตก ติดกับ บ้านห้วยเหี๊ยะ ตำบลทาแม่ลอบ
ข้อมูลด้านคมนาคมสามารถเดินทางได้ด้วยรถจักรยานยนต์และการเดินเท้า มีถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ และถนนลูกรัง จำนวน 1 สาย มีระยะทางอยู่ห่างจากอำเภอแม่ทา ประมาณ 36 กิโลเมตร- ช่วงฤดูร้อน ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน น้ำในลําน้ำแม่ขนาดจะแห้งขอด
- ช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ลําน้ำแม่ขนาดจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร ทางธรรมชาติ ยังคงมีแหล่งอาหารตามธรรมชาติพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าบางชนิด ที่สามารถนํามาทําอาหารหรือ ใช้ประโยชน์ได้ เมื่อฝนมาในช่วงเดือนมิถุนายนชาวบ้านจะเริ่มทําเกษตรกรรม ปลูกข้าว ปลูกผักสวนครัว
- ฤดูหนาวเริ่มต้นตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุด 14 องศาเซลเซียส
- ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุด 40 องศาเซลเซียส
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม
ชาวกะเหรี่ยงบ้านโปงผาง มีจำนวน 91 ครัวเรือน แยกเป็นประชากร ชาย 162 คน หญิง 144 คน (ข้อมูลจากที่ว่าการอำเภอแม่ทา, 2565)
ลักษณะครอบครัวและเครือญาติ ครอบครัวชาวกะเหรี่ยงโพล่งเป็นครอบครัวเดี่ยว เมื่อสามี หรือภรรยาเสียชีวิต การแต่งงานใหม่จะไม่ค่อยปรากฏ ในการเลือกคู่ครองฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายเลือกฝ่ายชายก่อน เมื่อแต่งงานจะแยกครอบครัวไปปลูกบ้านใหม่ แต่งงานแล้วฝ่ายชายต้องมาอยู่บ้านพ่อแม่ของภรรยา หนึ่งฤดูเก็บเกี่ยว หลังจากนั้น ปลูกบ้านใหม่ใกล้บ้านพ่อแม่ฝ่ายภรรยา หากเป็นลูกสาวคนเล็กจะต้องอยู่ดูแลพ่อกับแม่ การตั้งบ้านเรือน ของญาติพี่น้องจึงอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ส่วนใหญ่คนในชุมชนนามสกุลเดียวกัน เนื่องจากในอดีตการออกไปแต่งงาน กับคนนอกหมู่บ้านไม่เป็นที่นิยมนัก ในบ้านแม่สะแงะ มักจะมีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วยคําว่า “ปง” เช่น ปงผางวงค์ ปงวนาดอน ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่มีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น ประเพณีหรือ งานบุญหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน พบว่ามีความเกื้อกูลกันและมีส่วนร่วมในกิจกรรม การไปเยี่ยมเยือนผู้ป่วย ที่ป่วยหนักและนอนค้างคืนเพื่อให้กําลังใจแก่ญาติผู้ป่วยเป็นเรื่องปกติที่พบเห็นได้ ยังมีการลงแขกในฤดูเก็บเกี่ยวนา ที่เรียกว่า “เอามื้อ” ส่วนการจ้างแรงงานจากภายนอกเข้ามาในหมู่บ้านมีน้อยมาก คนส่วนมากในหมู่บ้านยังทํางาน ที่บ้านหรือเลือกที่จะทํางานใกล้บ้านเพื่อได้กลับมานอนที่บ้าน ปกาเกอะญอประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร หาของป่า การทอผ้า และออกไปรับจ้างในพื้นที่ลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นแรงงานด้านการเกษตรในไร่เพื่อไว้กิน เยาวชนคนรุ่นใหม่บางส่วนเข้าไปทำงานในนิคมอุตสาหกรรมลำพูน
พื้นที่บ้านปงผาง มี กศน. โดยเป็นครูดอยประจำบ้าน คือ มีศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง สังกัด กศน. รวมกลุ่มส่งเสริมอาชีพต่างๆให้กับชาวบ้านปงผาง เพื่อให้ชาวบ้านเกิดทักษะอาชีพอื่นๆเป็นอาชีพทางเลือกนอกจากการทอผ้า หาของป่า เช่น กิจกรรมการพัฒนาแกนนำภูมิปัญญาท้องถิ่น สืบสานผ้าทอกะเหรี่ยงด้วยกี่เอว ศศช.บ้านปงผาง หมู่ที่ ๑๔ ต.ทากาศ อ.แม่ทา จ.ลำพูน
โครงการอบรมให้ความรู้เรื่อง การปลูกพืชผักสวนครัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศศช.บ้านปงผาง หมู่ที่ 14 ต.ทากาศ อ.แม่ทา จ.ลำพูน
นางเขียว สูงพนา อยู่บ้านเลขที่ 109 หมู่ที่ 14 ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
ภูมิปัญญาด้านการทอผ้ากี่เอวกะเหรี่ยงที่สามารถถ่ายทอด และเป็นผู้สืบทอดการทอผ้าของบ้านปงผาง
ทุนของชุมชนบ้านปงผาง ตามที่ได้จากการประชุมเพื่อวิเคราะห์ทุนชุมชน สามารถสรุปและจัดกลุ่ม ประเภทของทุนชุมชน เป็นหัวข้อต่างๆ ได้ดังนี้
1. ทุนกายภาพ ได้แก่ แม่น้ำแม่ขนาด ป่าชุมชนบ้านปงผาง ศศช.บ้านปงผาง และโรงเรียนบ้านป่าเลาสาขาปงผาง
2. ทุนเครือญาติ ได้แก่ ผู้อาวุโสในชุมชนบ้านดอยยาว
3. ทุนความรู้ ได้แก่ด่นการเกษตร ภูมิปัญญาการทอผ้าที่เอว การปักผ้า และการจักสาน
4. ทุนเศรษฐกิจ ได้แก่ เกษตรอาชีพ ผ้าทอที่เอวที่พัฒนาต่อยอด ศูนย์การเรียนรู้ การทอผ้ากี่เอว
5. ทุนการเมือง ได้แก่ กฎหมายหรือนโยบายรัฐบาลคุ้มครองสิทธิและวิถีชีวิตของชาวไทย กลุ่มชาติพันธุ์ คือ มติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง กฎหมายรัฐธรรมนูญ และ (ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
บ้านปงผาง เป็นหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงสะกอ เป็นชาวเขาที่มีภาษาพูดที่ใช้เป็นของตนเอง มีอักษร พยัญชนะ สระ เนื้อภาษาเขียนเป็นของตนเองเป็นจุดเด่น ขาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงจะมีลักษณะการแต่งกายเป็นของตนเองไม่เหมือนเผ่าอื่นๆ เช่น หญิงวัยสาวที่ยังไม่แต่งงานจะสวมใส่เสื้อสีขาว คาดสีต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ประจำเผ่า และที่เห็นได้ชัดคือ เอกลักษณ์ในการใช้การสื่อสารภาษาของตนเองซึ่งเป็นที่น่าศึกษาอย่างมาก
- ในชุมชนไม่มีงานรองรับ ผู้คนวัยหนุ่มสาวมักไปทำงานในนิคมอุตสาหกรรมลําพูน
- ไม่มีตลาดรองรับ ผ้าทอกี่เอว งานจักสาน และงานแกะสลัก
- ชุมชนเคยเป็นแหล่งท่องเที่ยว ปัจจุบันการท่องเที่ยวในชุมชนหายไป
- อาชีพค้าขาย มีการลงทุนสูง
- คนในชุมชนเริ่มใช้ชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่ และไม่ค่อยช่วยเหลือกันเยาวชนติดยาเสพติด และติดโทรศัพท์
- ผู้สูงอายุไม่สามารถใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการสื่อสารได้ เท่าคนรุ่นใหม่
ในชุมชนร้านขายสุรามีจำนวนมาก ส่งผลให้ชาวบ้านบางส่วนติดสุรา จนถึงขั้นเป็นโรคภาวะทางจิตไม่ปกติ
1. ศักยภาพชุมชน
ศักยภาพของชุมชนบ้านปงผาง ตามที่ได้จากการประชุมเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพ คือตัวองค์ความรู้ ทางด้านวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงชุมชนบ้านดอยยาว ที่มีอยู่ตามหมู่บ้านหรือชุมชน และยังสามารถรักษาและ สืบทอดไว้ได้ และตัวผู้นําชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นําทางจิตวิญญาณ ที่เข้มแข็ง และแม้ว่าวัฒนธรรม กะเหรี่ยงแบบดั้งเดิมบางอย่างจะหายไป เลิกไป หรือถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น ทางชุมชมก็ยังมีศักยภาพ ที่จะสามารถดำเนินการตามวิธีการที่จะทำให้ไม่ให้สูญหายและอนุรักษ์ไว้ได้ ดังนี้
1. การประยุกต์ คือ การปรับความรู้เก่าร่วมกับความรู้ใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสังคมที่เปลี่ยนไป เช่น การประยุกต์การบวชมาเป็นการบวชต้นไม้เพื่อให้เกิดสํานึกการอนุรักษ์ป่าไม้และธรรมชาติ การรักษาป่า
และเก็บกักน้ำด้วยการทำฝายกั้นน้ำให้มากขึ้น การประยุกต์การออกแบบลายผ้าแบบดั้งเดิมกับลายผ้าสมัยใหม่
2. การสร้างใหม่ คือ การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่สัมพันธ์กับความรู้ดั้งเดิม เช่น การประดิษฐ์เครื่องมือ หรืออุปกรณ์การทอผ้าที่เอวที่อํานวยความสะดวกและมีความรวดเร็ว การคิดโครงการแก้ไขปัญหาชุมชนโดย อาศัยคุณค่าความอาทรที่ชาวบ้านเคยมีต่อกันมาหารูปแบบใหม่ เช่น การสร้างกลุ่มสหกรณ์ชุมชน การรวมกลุ่ม
แม่บ้าน
3. การอนุรักษ์ คือ การรักษาความดีงาม เช่น ประเพณีต่างๆ การแต่งกายชุดกะเหรี่ยงในวันสำคัญ การใช้ภาษากะเหรี่ยงในครอบครัว สนับสนุนให้ประกอบอาชีพงานหัตถกรรมเป็นอาชีพเสริม และส่งเสริมการสร้างคุณค่าในตนเองหรือการปฏิบัติตนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม
4. การฟื้นฟู คือ การนําความรู้ที่ดีงามและสิ่งที่เคยปฏิบัติ เช่น วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ การนับถือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่สูญหายไป เลิกไปหรือเปลี่ยนไป ให้นํากลับมาปฏิบัติกันในชุมชน
ในขณะเดียวกัน ชุมชมบ้านผาด่าน ยังอุดมไปด้วยทรัพยากรทางวัฒนธรรม หรือมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม ถือเป็นศักยภาพที่สำคัญของชุมชน ที่สามารถนำมาพัฒนาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชน ได้ดังนี้
1. สืบสานภูมิปัญญาเพื่อการธํารงความเป็นวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะหรี่ยง แสดงถึงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ เช่น การกำหนดแนวทางการพัฒนาห้องเรียนภูมิปัญญาเพื่อสืบทอด เอกลักษณ์ชาวกะเหรี่ยงเครือข่ายชุมชน ด้วยรูปแบบศูนย์การเรียนรู้หรือพิพิธภัณฑ์ และขยายผลสู่ กลุ่มเครือข่ายชาวกะเหรี่ยงในระดับประเทศ
2. สืบสานภูมิปัญญาเพื่อความเข้าใจภูมิปัญญาวัฒนธรรมในชุมชนและท้องถิ่น สำหรับการดำเนิน ชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง โดยเลือกกิจกรรมการทอผ้าที่เอว สร้างหลักสูตรจากภูมิปัญญาชาวบ้าน และสร้างชุดความรู้การทอผ้าที่เอวที่มีความร่วมสมัย ให้อยู่ในกระบวนการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบรวมทั้งเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาเรียนรู้พร้อมกับสามารถนําไปประกอบอาชีพได้
3. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและอาหารชุมชน นับเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างประสบการณ์ การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่และสร้างเศรษฐกิจฐานราก เนื่องจากการท่องเที่ยวในหมู่บ้านชนบท ที่มีลักษณะ วิถีชีวิต มีผลงานสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น สร้างความเพลิดเพลินและได้รับความรู้ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน อีกทั้งมีความเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่น บนพื้นฐานความรับผิดชอบและมีจิตสำนึก ต่อการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและคุณค่าของสภาพแวดล้อม นำเสนอวัตถุดิบจากทุกท้องถิ่นมาเป็นองค์ประกอบในการปรุงอาหาร ทำให้เกิดการกระจายรายได้อย่างชัดเจนตรงไปยังท้องถิ่น เพราะเป้าหมาย สำคัญคือ การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะสร้างรายได้ กระจายรายได้ และลดความเหลื่อมล้ำของ ประชาชนในประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะใช้ “การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารเป็นการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” โดยกำหนดให้ภายในปี พ.ศ. 2568 รัฐบาลจะใช้อาหารเป็นตัวนำการท่องเที่ยว ทำให้เป็นการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารของไทยตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) สร้างชุมชนเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นหมู่บ้านต้นแบบด้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไทยของชุมชน (Gastronomy village tourism) ด้วยคุณลักษณะ ดังนี้
(1) ความมีเอกลักษณ์ของอาหารท้องถิ่น
(2) ความอุดมสมบูรณ์ของวัตถุดิบภายในท้องถิ่น
(3) ความพร้อมและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
(4) กิจกรรมสําหรับนักท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย
(5) ความต้องการของชุมชนในการขอรับการสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยว
(6) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในท้องถิ่น และอื่น ๆ
ความท้าทาย- การทอผ้ากี่เอว งานจักสาน และงานแกะสลัก คนรุ่นใหม่ไม่มีความรู้ ทําไม่เป็น ขาดการถ่ายทอด
- ผู้คนในชุมชนนิยมแต่งกายโดยใช้ผ้าของใหม่ (ใช้เครื่องจักรผลิต) ที่ราคาถูกกว่างานผ้าแบบดั้งเดิม(ใช้การทอผ้ากี่เอว)
- ไม่มีที่ดินทำการเกษตร ขาดแคลนน้ำ แหล่งน้ำน้อย
- ไม่มีเอกสารสิทธิในพื้นที่ทำกิน และไม่กำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการใช้พื้นที่
- ที่ว่าการอำเภอแม่ทา
- กศน.อำเภอแม่ทา
- กลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยงดอยยาว
- แผนบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยง ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านแม่ขนาด ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570)
- สถาบันวิจัยหริภุญชัย
- เทศบาลตำบลทากาศเหนือ
- ปงผาง ESCAPE