เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงที่มีวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม โดยเฉพาะนาขั้นบันไดบ้านผาด่าน และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวจุดชมวิวบนดอย
บ้านผาด่านแต่เดิมที่มีนามเดิมว่า “ พุ่ยถ่า” ซื่งเป็นสภาพป่าไม้กว้างใหญ่ทึบที่เต็มไปด้วยพันธ์ไม้นานชนิด มีชื่อเป็นภาษาของตัวเองหรือภาษาท้องถิ่นของชาวเผ่ากะเหรี่ยงเรียกว่า พอพุ่ยถ่า คำว่า “พอ” แปลว่า ดอกไม้ คำว่าพุ่ย แปลว่าต้นไม้หรือรากไม้และ คำว่า ถ่า แปลว่า สบห้วย ซึ่งแต่ก่อนมีต้นไม้หอมอยู่บนภูเขา ชาวบ้านจึงใช้ชื่อต้นไม้หอมเป็นชื่อหมู่บ้าน และต่อมามีคนเมืองคนหนึ่งเรียกหมู่บ้านนี้ว่า บ้านผาด่าน เพราะจากคำบอกเล่าสืบทอดกันมาเมื่อสมัยก่อนหมู่บ้านนี้เป็นด่านทหารของพระนางจามเทวี ซึ่งบนหน้าผาหินสูงชันซึ่งปัจจุบันคนเมืองจึงเรียกว่า “บ้านผาด่าน” ตามประวัติความเป็นมาของพระนางจามเทวี ที่คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ลูกหลานฟังนั้น เหมือนเป็นมรดกตกทอดมา หรือสืบทอดมาจนถึงลูกหลาน
เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงที่มีวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม โดยเฉพาะนาขั้นบันไดบ้านผาด่าน และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวจุดชมวิวบนดอย
หมู่บ้านผาด่าน แต่เดิมมีนามว่า “พอฮุ่ยถ่า” ซึ่งเป็นสภาพป่าไม้กว้างใหญ่ทึบเต็มไปด้วยนานาชนิด มีบ้านชาวเขาอยู่เพียง๕หลังคาเรือนแต่เดิมมีชื่อเรียกเป็นภาษาของตนเอง หรือภาษาท้องถิ่นของชาว เขาเผ่ากะเหรี่ยงได้เรียกว่า“พอฮุ่ยถ่า” ในการดำรงชีวิตประจำวันของชนเผ่าปากะญอแต่เดิมนั้น มีความสัมพันธ์กับความเชื่อในค่านิยมร่วมทั้ง ประเพณีปฏิบัติ ได้แก่ การนับถือผีและความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสิ่งต่างๆในหมู่บ้าน คือวัดศาลผีประจำหมู่บ้าน(ผีเสื้อบ้าน)เมื่อมีการตั้งถิ่นฐานมาอยู่ในพื้นที่บ้านผาด่านักเป็นติดต่อกันที่มีพี่น้องกะเหรี่ยง ร่วมกันประมาณ หมู่บ้าน หมู่บ้านผาด่านนั้นมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆได้มีการทำพิธีกรรมของชาวปากะญอ เช่น งานศพ งานแต่งงาน งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ มัดมือเรียกขวัญปีใหม่(กี่จือนิ่เท่อซอ) เลี้ยงผีหอเสื้อบ้าน(บัวก่อ สามปีจะเลี้ยงหมู่หนึ่งครั้ง) พิธีกรรมทำบุญขอน้ำฝน เลี้ยงผีต้นน้ำ พิธีกรรมสืบชะตาบ้าน(เซอฮิ่)เลี้ยงผีเหมืองผีฝาย(ลื่อทีโกละ) เลี้ยงผีต้นน้ำ(ลื่อทีโบ) พิธีกรรมทำบุญยุ้งข้าว(แซพอโค่)พิธีไล่ภัยข้าว(บัวคลื)ยังมีการผสมผสานในการนับถือพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาตามความเชื่อศรัทธาในพระพุทธเจ้าที่อารามผาด่าน เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และผีเสื้อบ้านของหมู่บ้าน ยังคงมีพิธีกรรมที่ทำพร้อมๆกัน ทั้งพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาและพิธีกรรมพื้นบ้านก็คือ “การเลี้ยงผี”การนับถือผีผ่านการสืบเชื้อทางมารดาที่ให้ความนับถือและมีผีเสื้อบ้านของหมู่บ้าน”เก๊าผี
ในเขตสภาพทั่วไปของพื้นที่หมู่บ้านผาด่าน ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา ตั้งอยู่ที่อำเภอแม่ทาประมาณ 25 กิโลเมตรและห่างจากตัวเมืองประมาณ 30 กิโลเมตรการเดินทางไปยัง หมู่บ้านผาด่านโดยใช้เส้นทางถนนสายลำพูน-ท่าจักรซึ่งเป็นถนนลาดยาง แล้วเข้าสู้หมู่บ้านทากาศ ตำบลทากาศ จากหมู่บ้านทากาศ - บ้านป่าเลาประมาณ ๕ กิโลเมตรเป็นถนนลาดยางและจากบ้านป่าเลาเข้าสู่บ้านผาด่านประมาณ 5 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศในเขตพื้นที่ของหมู่บ้านผาด่านส่วนใหญ่พื้นที่จะเป็นภูเขาและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด สภาพป่าโดยทั่วไปอยู่ในลักษณะที่ดีมีล้ำน้ำแม่ขนาดที่ไหลมาจากลำปางไหลผ่านหมู่บ้านผาด่านลงไปจนถึงหมู่บ้านป่าเลาและตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา หมู่บ้านผาด่านอยู่ในเขตสงวนแห่งชาติ และสภาพเป็นที่ราบและเป็นพื้นที่ในการเพาะปลูกและที่อยู่อาศัย
ช่วงฤดูร้อน ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน น้ำในลําน้ำแม่ขนาดจะแห้งขอด
ช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ลําน้ำแม่ขนาดจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร ทางธรรมชาติ ยังคงมีแหล่งอาหารตามธรรมชาติพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าบางชนิด ที่สามารถนํามาทําอาหารหรือ ใช้ประโยชน์ได้ เมื่อฝนมาในช่วงเดือนมิถุนายนชาวบ้านจะเริ่มทําเกษตรกรรม ปลูกข้าว ปลูกผักสวนครัว
ลักษณะภูมิอากาศและความเหมาะสมในการประกอบอาชีพ ลักษณะภูมิอากาศบ้านผาด่าน
สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู โดยแบ่งเป็น
ฤดูหนาวเริ่มต้นตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุด 14 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุด 40 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม
อาชีพคนส่วนใหญ่ในชุมชนที่สอดคล้องกับภูมิอากาศ คือ ปลูกข้าว และทําสวนลําไย เป็นผลไม้
ที่สามารถผลิตได้ทั้งในฤดูและนอกฤดู ลําไยในฤดูจะออกดอกในช่วงฤดูหนาว คือ เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงฤดูฝน คือ เดือนกรกฎาคม ส่วนการผลิตนอกฤดูต้องใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นให้ลําไยออก ดอกและจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน
ในขณะที่ข้าวจะเริ่มหว่านข้าวในช่วงเดือนมิถุนายน เนื่องจากมีข้อจํากัดเรื่องปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอ จึงสามารถทํานาได้แค่ปีละครั้ง และจะเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม หลังจากนั้นจะพักดิน โดยเริ่ม ปลูกผักไว้รับประทาน เช่น มะเขือ ผักกาด หอมแดง กระเทียม เมื่อหมดฤดูเก็บเกี่ยว ผู้หญิงก็จะทอผ้าโดยนิยม ทอถุงย่าม และเสื้อเพื่อเตรียมขาย ในเทศกาลประจําปี เช่น เทศกาลปีใหม่ งานฤดูหนาวจังหวัดลําพูน และงานปีใหม่เมือง ส่วนผู้ชายก็จะรับจ้างทั่วไปนอกหมู่บ้านการคมนาคมการคมนาคมในหมู่บ้านส่วนมากเป็นถนนคอนกรีต คนในชุมชนนิยมใช้รถมอเตอร์ไซค์ในการเดินทาง เข้า-ออกหมู่บ้าน บางส่วนที่ไปทํางานที่นิคมอุตสาหกรรม และไปโรงเรียนในจังหวัดลําพูน จะใช้บริการรถรับ-ส่ง และส่วนน้อยใช้รถยนต์ส่วนตัวที่ตั้งอาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่บ้านท้องฝาย ตำบลทากาศ อำเถอแม่ทา จังหวัดลำพูนทิศใต้ ติดต่อกับ เขตป่าสงวน อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปางทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านสะป้วด ตำบลสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านป่าเลา ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูนบ้านผาด่าน มีจำนวน 184 ครัวเรือน แยกเป็น ประชากร ชาย 285 คน หญิง 243 คน (ข้อมูลจากที่ว่าการอำเภอแม่ทา, 2565)
ลักษณะครอบครัวและเครือญาติ ครอบครัวชาวกะเหรี่ยงผาด่าน เป็นครอบครัวเดี่ยว เมื่อสามี หรือภรรยาเสียชีวิต การแต่งงานใหม่จะไม่ค่อยปรากฏ ในการเลือกคู่ครองฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายเลือกฝ่ายชายก่อน เมื่อแต่งงานจะแยกครอบครัวไปปลูกบ้านใหม่ แต่งงานแล้วฝ่ายชายต้องมาอยู่บ้านพ่อแม่ของภรรยา หนึ่งฤดูเก็บเกี่ยว หลังจากนั้น ปลูกบ้านใหม่ใกล้บ้านพ่อแม่ฝ่ายภรรยา หากเป็นลูกสาวคนเล็กจะต้องอยู่ดูแลพ่อกับแม่ การตั้งบ้านเรือน ของญาติพี่น้องจึงอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ส่วนใหญ่คนในชุมชนนามสกุลเดียวกัน เนื่องจากในอดีตการออกไปแต่งงาน กับคนนอกหมู่บ้านไม่เป็นที่นิยมนัก ในบ้านผาด่าน มักจะมีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วยคําว่า “ด่าน” เช่น ด่านวนาศรี ด่านชัยวิสิทธิ์ นามสกุลยอดเขา ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่มีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น ประเพณีหรือ งานบุญหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน พบว่ามีความเกื้อกูลกันและมีส่วนร่วมในกิจกรรม การไปเยี่ยมเยือนผู้ป่วย ที่ป่วยหนักและนอนค้างคืนเพื่อให้กําลังใจแก่ญาติผู้ป่วยเป็นเรื่องปกติที่พบเห็นได้ ยังมีการลงแขกในฤดูเก็บเกี่ยวนา ที่เรียกว่า “เอามื้อ” ส่วนการจ้างแรงงานจากภายนอกเข้ามาในหมู่บ้านมีน้อยมาก คนส่วนมากในหมู่บ้านยังทํางาน ที่บ้านหรือเลือกที่จะทํางานใกล้บ้านเพื่อได้กลับมานอนที่บ้าน
โพล่งประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร หาของป่า และออกไปรับจ้างในพื้นที่ลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นแรงงานด้านการเกษตร เยาวชนคนรุ่นใหม่บางส่วนเข้าไปทำงานในนิคมอุตสาหกรรมลำพูน
พื้นที่บ้านผาด่านมี กศน. โดยเป็นครูดอยประจำบ้าน คือ มีศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง สังกัด กศน. รวมกลุ่มส่งเสริมอาชีพต่างๆให้กับชาวบ้านผาด่าน เพื่อให้ชาวบ้านเกิดทักษะอาชีพอื่นๆเป็นอาชีพทางเลือกนอกจากการทอผ้า หาของป่า เช่น
โครงการส่งเสริมอาชีพระยะสั้น หลักสูตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ศศช.บ้านผาด่าน หมู่ 10 ต.ทากาศ อ.แม่ทา จ.ลำพูน
นางหล้า ผาด่านสิงขร
เกิดวันที่ 20 สิงหาคม 2506
อยู่บ้านเลขที่ 72/3 หมู่ที่ 10 ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
ภูมิปัญญาด้านการทอผ้าด้วยกี่เอวกะเหรี่ยงที่มีลวดลายสวยงามเป็นเอกลักษณ์ เป็นแม่ครูช่างทอที่สืบทอดการทอผ้ามาจากบรรพบุรุษ จากมารดา สามารถทอลายจกได้มากกว่าหนึ่งร้อยรูปแบบลาย
การแต่งกาย
ลักกษณะการแต่งกายของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงมีลักษณะเป็นของตนเองซึ่งจะไม่กับเผ่าอื่นๆลักษณะด้านการแต่งกายของชาวเขาผู้หญิงตั้งแต่เด็กจนถึงวัยสาวจะสวมใส่เสื้อผ้าที่เป็นชุดขาวประดับลวดลายต่างๆของแถบเสื้อด้านข้างเท่านั้นเช่นสีชมพู สีบานเย็น หรือสีแดง จะเป็นเสื้อกลมยาวหรือหน้าแข้ง ส่วนผู้หญิงที่แต่งงานมีครอบครัวแล้วจะสวมเสื้อกระสอบสีแดงตัวยาวสลับดำคลุมสะโพกสีดำปักชายด้วยลูกเดือยและฝ้ายสีต่างๆสวมผ้าถุงลายพันตัวพื้นที่สีแดงสลับเหลืองดำในผู้ชายที่แต่งงานแล้วก็เช่นกันในการแต่งกายปัจจุบันวัฒนธรรมด้านการแต่งกายได้เปลี่ยนแปลงมากทั้งนี้ชาวเขาบ้านผาด่านได้รับวัฒนธรรมข้างนอกมาก และมีการติดต่อประสานซึ่งการและกัน และมีการศึกษาที่รุดหน้า และค่านิยมที่ทันสมัยที่เกิดจากการเรียนรู้ ส่วนมากในหมู่บ้านจะมีการแต่งกายแบบพัฒนาคล้ายคนเมือง มีส่วนน้อยที่มีการอนุรักษ์การแต่งกายชุดประจำเผ่าของตนเอง
วัฒนธรรมภูมิปัญญา
ในการดำรงชีวิตประจำวันของชนเผ่าปากะญอแต่เดิมนั้น มีความสัมพันธ์กับความเชื่อในค่านิยมร่วมทั้งประเพณีปฏิบัติ ได้แก่ การนับถือผีและความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสิ่งต่างๆในหมู่บ้าน คือวัดศาลผีประจำหมู่บ้าน (ผีเสื้อบ้าน) เมื่อมีการตั้งถิ่นฐานมาอยู่ในพื้นที่บ้านผาด่านักเป็นติดต่อกันที่มีพี่น้องกะเหรี่ยง ร่วมกันประมาณ หมู่บ้าน หมู่บ้านผาด่านนั้นมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆได้มีการทำพิธีกรรมของชาวปากะญอ เช่น งานศพ งานแต่งงาน งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ มัดมือเรียกขวัญปีใหม่(กี่จือนิ่เท่อซอ) เลี้ยงผีหอเสื้อบ้าน(บัวก่อ สามปีจะเลี้ยงหมู่หนึ่งครั้ง) พิธีกรรมทำบุญขอน้ำฝน เลี้ยงผีต้นน้ำ พิธีกรรมสืบชะตาบ้าน(เซอฮิ่)เลี้ยงผีเหมืองผีฝาย(ลื่อทีโกละ) เลี้ยงผีต้นน้ำ(ลื่อทีโบ) พิธีกรรมทำบุญยุ้งข้าว(แซพอโค่)พิธีไล่ภัยข้าว(บัวคลื)ยังมีการผสมผสานในการนับถือพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาตามความเชื่อศรัทธาในพระพุทธเจ้าที่อารามผาด่าน เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และผีเสื้อบ้านของหมู่บ้าน ยังคงมีพิธีกรรมที่ทำพร้อมๆกัน ทั้งพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาและพิธีกรรมพื้นบ้านก็คือ “การเลี้ยงผี”การนับถือผีผ่ายการสืบเชื้อทางมารดาที่ให้ความนับถือและมีผีเสื้อบ้านของหมู่บ้าน”เก๊าผี”
บ้านผาด่าน เป็นหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงสะกอ เป็นชาวเขาที่มีภาษาพูดที่ใช้เป็นของตนเอง มีอักษร พยัญชนะ สระ เนื้อภาษาเขียนเป็นของตนเองเป็นจุดเด่น ขาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงจะมีลักษณะการแต่งกายเป็นของตนเองไม่เหมือนเผ่าอื่นๆเช่น หญิงวัยสาวที่ยังไม่แต่งงานจะสวมใส่เสื้อสีขาว คาดสีต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ประจำเผ่า และที่เห็นได้ชัดคือ เอกลักษณ์ในการใช้การสื่อสารภาษาของตนเองซึ่งเป็นที่น่าศึกษาอย่างมาก
- ในชุมชนไม่มีงานรองรับ ผู้คนวัยหนุ่มสาวมักไปทํางานในนิคมอุตสาหกรรมลําพูน
- ไม่มีตลาดรองรับ ผ้าทอกี่เอว งานจักสาน และงานแกะสลัก
- ชุมชนเคยเป็นแหล่งท่องเที่ยว ปัจจุบันการท่องเที่ยวในชุมชนหายไป
- อาชีพค้าขาย มีการลงทุนสูง
- คนในชุมชนเริ่มใช้ชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่ และไม่ค่อยช่วยเหลือกันเยาวชนติดยาเสพติด และติดโทรศัพท์
- ผู้สูงอายุไม่สามารถใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการสื่อสารได้ เท่าคนรุ่นใหม่
ในชุมชนร้านขายสุรามีจํานวนมาก ส่งผลให้ชาวบ้านบางส่วนติดสุรา จนถึงขั้นเป็นโรคภาวะทางจิตไม่ปกติ
ศักยภาพชุมชน
ศักยภาพของชุมชนบ้านผาด่าน ตามที่ได้จากการประชุมเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพ คือตัวองค์ความรู้ ทางด้านวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงชุมชนบ้านดอยยาว ที่มีอยู่ตามหมู่บ้านหรือชุมชน และยังสามารถรักษาและ สืบทอดไว้ได้ และตัวผู้นําชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นําทางจิตวิญญาณ ที่เข้มแข็ง และแม้ว่าวัฒนธรรม กะเหรี่ยงแบบดั้งเดิมบางอย่างจะหายไป เลิกไป หรือถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น ทางชุมชมก็ยังมีศักยภาพ ที่จะสามารถดําเนินการตามวิธีการที่จะทําให้ไม่ให้สูญหายและอนุรักษ์ไว้ได้ ดังนี้
1. การประยุกต์ คือ การปรับความรู้เก่าร่วมกับความรู้ใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสังคมที่เปลี่ยนไป เช่น การประยุกต์การบวชมาเป็นการบวชต้นไม้เพื่อให้เกิดสํานึกการอนุรักษ์ป่าไม้และธรรมชาติ การรักษาป่า
และเก็บกักน้ำด้วยการทําฝายกั้นน้ำให้มากขึ้น การประยุกต์การออกแบบลายผ้าแบบดั้งเดิมกับลายผ้าสมัยใหม่
2. การสร้างใหม่ คือ การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่สัมพันธ์กับความรู้ดั้งเดิม เช่น การประดิษฐ์เครื่องมือ หรืออุปกรณ์การทอผ้าที่เอวที่อํานวยความสะดวกและมีความรวดเร็ว การคิดโครงการแก้ไขปัญหาชุมชนโดย อาศัยคุณค่าความอาทรที่ชาวบ้านเคยมีต่อกันมาหารูปแบบใหม่ เช่น การสร้างกลุ่มสหกรณ์ชุมชน การรวมกลุ่ม
แม่บ้าน
3. การอนุรักษ์ คือ การรักษาความดีงาม เช่น ประเพณีต่างๆ การแต่งกายชุดกะเหรี่ยงในวันสําคัญ การใช้ภาษากะเหรี่ยงในครอบครัว สนับสนุนให้ประกอบอาชีพงานหัตถกรรมเป็นอาชีพเสริม และส่งเสริมการสร้างคุณค่าในตนเองหรือการปฏิบัติตนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม
4. การฟื้นฟู คือ การนําความรู้ที่ดีงามและสิ่งที่เคยปฏิบัติ เช่น วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ การนับถือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่สูญหายไป เลิกไปหรือเปลี่ยนไป ให้นํากลับมาปฏิบัติกันในชุมชน
ในขณะเดียวกัน ชุมชมบ้านผาด่าน ยังอุดมไปด้วยทรัพยากรทางวัฒนธรรม หรือมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม ถือเป็นศักยภาพที่สําคัญของชุมชน ที่สามารถนํามาพัฒนาด้วยกระบวนการจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชน ได้ดังนี้
1. สืบสานภูมิปัญญาเพื่อการธํารงความเป็นวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะหรี่ยง แสดงถึงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ เช่น การกําหนดแนวทางการพัฒนาห้องเรียนภูมิปัญญาเพื่อสืบทอด เอกลักษณ์ชาวกะเหรี่ยงเครือข่ายชุมชน ด้วยรูปแบบศูนย์การเรียนรู้หรือพิพิธภัณฑ์ และขยายผลสู่ กลุ่มเครือข่ายชาวกะเหรี่ยงในระดับประเทศ
2. สืบสานภูมิปัญญาเพื่อความเข้าใจภูมิปัญญาวัฒนธรรมในชุมชนและท้องถิ่น สําหรับการดําเนิน ชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง โดยเลือกกิจกรรมการทอผ้าที่เอว สร้างหลักสูตรจากภูมิปัญญาชาวบ้าน และสร้างชุดความรู้การทอผ้าที่เอวที่มีความร่วมสมัย ให้อยู่ในกระบวนการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบรวมทั้งเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาเรียนรู้พร้อมกับสามารถนําไปประกอบอาชีพได้
3. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและอาหารชุมชน นับเป็นเครื่องมือสําคัญในการสร้างประสบการณ์ การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่และสร้างเศรษฐกิจฐานราก เนื่องจากการท่องเที่ยวในหมู่บ้านชนบท ที่มีลักษณะ วิถีชีวิต มีผลงานสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น สร้างความเพลิดเพลินและได้รับความรู้ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน อีกทั้งมีความเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่น บนพื้นฐานความรับผิดชอบและมีจิตสํานึก ต่อการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและคุณค่าของสภาพแวดล้อม นําเสนอวัตถุดิบจากทุกท้องถิ่นมาเป็นองค์ประกอบในการปรุงอาหาร ทําให้เกิดการกระจายรายได้อย่างชัดเจนตรงไปยังท้องถิ่น เพราะเป้าหมาย สําคัญคือ การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสําคัญที่จะสร้างรายได้ กระจายรายได้ และลดความเหลื่อมล้าของ ประชาชนในประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะใช้ “การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารเป็นการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” โดยกําหนดให้ภายในปี พ.ศ. 2568 รัฐบาลจะใช้อาหารเป็นตัวนําการท่องเที่ยว ทําให้เป็นการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารของไทยตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) สร้างชุมชนเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นหมู่บ้านต้นแบบด้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไทยของชุมชน (Gastronomy village tourism) ด้วยคุณลักษณะ ดังนี้
(1) ความมีเอกลักษณ์ของอาหารท้องถิ่น
(2) ความอุดมสมบูรณ์ของวัตถุดิบภายในท้องถิ่น
(3) ความพร้อมและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
(4) กิจกรรมสําหรับนักท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย
(5) ความต้องการของชุมชนในการขอรับการสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยว
(6) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในท้องถิ่น และอื่น ๆ
ความท้าทาย- การทอผ้ากี่เอว งานจักสาน และงานแกะสลัก คนรุ่นใหม่ไม่มีความรู้ ทําไม่เป็น ขาดการถ่ายทอด
- ผู้คนในชุมชนนิยมแต่งกายโดยใช้ผ้าของใหม่ (ใช้เครื่องจักรผลิต) ที่ราคาถูกกว่างานผ้าแบบดั้งเดิม(ใช้การทอผ้ากี่เอว)
- ไม่มีที่ดินทําการเกษตร ขาดแคลนน้ำ แหล่งน้ำน้อย
- ไม่มีเอกสารสิทธิในพื้นที่ทํากิน และไม่กําหนดแนวทางที่ชัดเจนในการใช้พื้นที่
- ที่ว่าการอำเภอแม่ทา
- กศน.อำเภอแม่ทา
- กลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยงดอยยาว
- แผนบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยง ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านแม่ขนาด ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570
- สถาบันวิจัยหริภุญชัย