เป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขา มีประชากรประมาณ 1,633 คน มีหลังคาเรือน 324 หลังคาเรือน มีโรงเรียน 1 แห่ง เปิดสอนตั้งแต่อนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง สถานีอนามัย 1 แห่ง วัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ 2 แห่ง
บ้านกองม่องทะเป็นภาษากะเหรี่ยง มาจากคำศัพท์ 2 ศัพท์คือ "กองม่อง" และ"ทะ" กองม่องเป็นชื่อลำห้วย ทะ แปลว่า บรรจบ ดั้งนั้นกองม่องทะ หมายถึง ห้วยน้ำที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำรันตี ในบริเวณหมู่บ้านพอดี จึงได้ตั้งชื่อว่า หมู่บ้านกองม่องทะ เป็นชุมชนที่ไม่มีประวัติ ที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุ และผู้นำท้องถิ่นว่า หมู่บ้านนี้ได้ก่อตั้งราวปี พ.ศ. 2383 หรือประมาณ 180 ปีมาแล้ว เป็นหมู่ที่ 2 ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
คนกลุ่มแรกที่มาตั้งหมู่บ้านได้อพยพมาจากบ้านเสน่ห์พ่อง บ้านจะแก บ้านทิไล่ป้า หมู่บ้านปรองดี่ และหมู่บ้านไลโว่ เหตุที่แต่ละกลุ่มอพยพมา เนื่องจากการย้ายถิ่นฐานมาหาที่ทำกิน เพราะอาชีพหลักของคนกลุ่มนี้ คือการทำไร่หมุนเวียน จะย้ายไปในที่ต่างๆจนเหมาะแก่การตั้งหลักปักฐานบริเวณแม่น้ำรันตี ก่อนที่จะตั้งหมู่บ้าน ชุมชนแห่งนี้มีสภาพเป็นป่า เป็นทุ่งหญ้า และมีหนองน้ำไหลผ่านหมู่บ้านปัจจุบันป่า หรือหนองน้ำ หรือห้วยที่เคยมีในอดีต ยังคงมีสภาพเหมือนเดิม แต่ในบางส่วนจะมีสภาพเปลี่ยนไปบ้าง หมู่บ้านแห่งนี้ มีความสมานฉันท์ สามัคคี กลมเกลียว และสงบสุข หมู่บ้านที่อยู่หลังภูเขาขนาดใหญ่ อยู่ห่างจากอำเภอสังขละบุรี ประมาณ 20 กิโลเมตร ด้วยสภาพถนนลูกรังและคดเคี้ยว หมู่บ้านที่มีสภาพอากาศหนาวตลอดทั้งปี ยังมีความอุดมสมบูรณ์
เป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขา มีประชากรประมาณ 1,633 คน มีหลังคาเรือน 324 หลังคาเรือน มีโรงเรียน 1 แห่ง เปิดสอนตั้งแต่อนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง สถานีอนามัย 1 แห่ง วัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ 2 แห่ง
หมู่บ้านกองม่องทะ ก่อตั้งหมู่บ้านครั้งแรก ปี 2413 มีชื่อว่า ทิ่งไลง อาศัยอยู่เป็นเวลา 5 ปี แล้วกลับมา ทิ่งวากรีกะปาวีว่อง กะถะไหล่ สุดท้ายตั้งหมู่บ้านหใหญ่มีชื่อว่า ปล่องผะเล เป็นเวลาถึงปี 2450 -37 ปี ย้ายไปหมิ่งเซิ่ง ย้ายกลับมารอบที่ 2 ปี 2468 ที่ตั้งคือไคว้พูกล่า โดยได้ข้อมูลจากแม่ชีไปลุพู่ย่องเอ อยู่ระหว่างสงครามครั้งที่ 2 ถึงปี 2478 แล้วย้ายกลัมมาจั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านกองม่องทะปี 2484 ผู้ก่อตั้งหมู่บ้านคือพุ่งวี-พุ่งวา-หม่องวือ-หม่องเนจุ่ง-หม่องบื่อเจ่ยะ-หม่องเซเย้-หม่องโทหย่อง-หม่องทุงละ-นองมือฮา-ทะเหน่ง-เหย่งเท-ย่องหลุ่ง-พิ่งตะคี-หม่องเนโช่ยไล-พุ่งเซหล่า รวมครอบครัว 31 ครอบครัว อาศัยอยู่เป็นหมู่บ้านกองม่องทะ ต่อมามีผู้อพยพเข้ามาอยู่รวมกันมากขึ้นกลายเป็นหมู่บ้านใหญ่จนถึงปัจจุบันมีครอบครัวประมาณ 242 ครัวเรือน
ส่วนใหญ่เป็นภูเขา สูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 800 – 1,200 เมตรมีสภาพอากาศ เช่นเดียวกับจังหวัดในภาคกลางทั่วไป คือ 3 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงปลายเดือนพฤษภาคมของทุกปี
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงปลายเดือน ตุลาคมของทุกปี
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนมกราคมของทุกปี
จำนวนประชากร / ครัวเรือน หมู่ที่ 2 บ้านกองม่องทะ ส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง และเป็นเครือญาติกัน มีการแต่งงานในหมู่บ้านและสร้างบ้านเรือนเพิ่มขึ้น มีจำนวน 342 ครัวเรือน จำนวนประชากรรวม 1662 คน ชาย 888 คน หญิง 774 คน
โพล่งอาชีพหลัก ทำการเกษตรปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ทุกเรียน ส้มโอ เงาะ ขนุน หมาก และอื่นๆ
การซื้อขายแลกเปลี่ยนภายในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร เครื่องปรุง ผ่านร้านของชำในชุมชนที่มีเจ้าของเป็นคนในชุมชน
การซื้อขายแลกเปลี่ยนกับคนภายนอก ส่วนใหญ่เป็นพืชเศรษฐกิจที่ได้จากการทำเกษตรกรรม เช่น ทุเรียน เงาะ เป็นต้น
การออกไปทำงานนอกชุมชน ส่วนใหญ่เป็นคนที่เรียนจบและออกไปหางานทำข้างนอก
ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกชุมชน สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่อยู่กันเป็นกลุ่มครอบครัว
โครงสร้างชุมชน ตามโครงสร้างการปกครอง มีผู้ใหญ่บ้านเป็นแกนนำ มีผู้ช่วยและ อบต. ทำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นและติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอก
การรวมกลุ่มส่วนใหญ่เป็นการรวมกลุ่มเพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน การช่วยงานส่วนรวมนอกจากนี้ยังมีการรวมกลุ่มเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ เช่น ทุเรียน เงาะ หมาก เป็นต้น
หมู่บ้านกองม่องทะ เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ติดลำห้วยน้ำรันตีไหลผ่านหมู่บ้าน มีกิจกรรมตามปฏิทินชุมชน โดยยึดกิจกรรมตามประเพณี 12 เดือน 12 บุญ ได้แก่
1. มกราคม ทำบุญข้าวใหม่
2. กุมภาพันธ์ ทำบุญข้าวทิพย์
3. มีนาคม ทำบุญพระธาตุเจดีย์
4. เมษายน ทำบุญสงกรานต์
5. พฤษภาคม ทำบุญลิเกราะ (บั้งไฟ)
6. มิถุนายน ทำบุญผ้าไตรจีวร (งานบวช)
7. กรกฎาคม ทำบุญเข้าพรรษา
8. สิงหาคม ทำบุญผู้ข้อมือเดือนเก้า
9. กันยายน ทำบุญมหาทาน
10. ตุลาคม ทำบุญออกพรรษา
11. พฤศจิกายน ทำบุญกฐิน
12. ธันวาคม ทำบุญประเพณีฟาดข้าว
นายกิตติศักดิ์ ธาราวนารักษ์ (ลุงเนเส่ง) เป็นผู้รู้ขนบธรรมเนียมประเพณีตามความเชื่อของบรรพบุรุษ และเป็นภูมิปัญญาด้านการจักรสานทุกชนิด มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ชีวิตที่เป็นแบบอย่าง ให้ลูกหลานได้ปฏิบัติตาม เป็นผู้สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ชาวบ้านให้การนับถือทั้งตำบลไล่โว่
หมู่บ้านกองม่องทะ มีสายน้ำไหลผ่าน มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์สามารถประกอบอาชีพทำสวน มีปราชญ์ชุมชนด้านสมุนไพร ด้านศิลปวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้าน มีครูสอนดนตรี สอนร้องรำละคร
หมู่บ้านกองม่องทะเป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ไม่ไกลจากชุมชนเมือง การเข้าออกพื้นที่ได้สะดวกกว่าหมู่บ้านอื่น ภาษาในการสื่อสารในชีวิตประจำวันเป็นภาษาพื้นบ้าน คือภาษากะเหรี่ยงเป็นหลัก ส่วนวัยรุ่นและเด็กที่ออก ไปเรียนตามสถานศึกษากลับมาใช้ภาษาไทยบ้าง แต่ก็ยังสามารถสื่อสารภาษาแม่ได้เกือบทุกครัวเรือน และยังมีภาษาเขียน อ่าน เป็นภาษากะเหรี่ยงที่ใช้ในการสื่อสารมาโดยตลอด
หมู่บ้านกองม่องทะ เดิมประกอบอาชีพทำไร่หมุนเวียนและสวน เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นจึงได้เปลี่ยนอาชีพทำเกษตรเชิงเดี่ยว เช่นสวนส้มโอ ทุเรียน ขนุน เงาะ สะตอ หมาก และอื่นๆ สามารถสร้างรายได้ให้ครอบครัวและชุมชนให้พอมีพอกินได้ในระดับหนึ่ง
หมู่บ้านกองม่องทะ เป็นหมู่บ้านที่น่าเป็นแบบอย่าง เนื่องจากใช้พื้นที่น้อยแต่มีรายได้มาก เพียงพอ เพราะปลูกพืชเศรษฐกิจและสามารถขนออกขายได้ตามฤดูกาล ทำให้มีรายได้ พึ่งตนเองได้
- คำบอกเล่ามุขปาฐะของผู้อาวุโสที่เล่าต่อกันมารุ่นสู่รุ่นมาถึงลูกหลานปัจจุบัน
- จากแนวคิดการวิจัยชุมชนตำบลไล่โว่
- มหาวิทยาลัยราชภัฎจังหวัดกาญจนบุรี