ชุมชนมีห้วยน้ำโรคี่ไหลผ่าน มีภูเขาล้อมรอบ เต็มไปด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ ในหมู่บ้านมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชผักทุกชนิด และมีแหล่งน้ำสะอาดใช้อุกโภคบริโภค และเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาได้หลากหลายชนิด
บ้านเกาะสะเดิ่ง เป็นหมู่บ้านที่ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ตั้งบ้านเรือนมากกว่า 160 ปี รวม พ.ศ. 2383 เป็นระยะใกล้เคียงกับหมู่บ้านอื่น ๆ ในตำบลไล่โว่ หมู่บ้านนี้ มีต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อต้นเกาะสะเดิ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ริมห้วย รายยึดเกาะดินได้เป็นอย่างดีจึงตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “ เกาะสะเดิ่ง”
หมู่บ้านแห่งนี้ เป็นชุมชนที่มีขนาดเล็ก ที่ตั้งบริเวณลำห้วยโรคี่ ที่ไหลลัดเลาะตามซอกเขาที่สูงชันชาวบ้านใช้ชีวิตอยู่คู่กับป่ามานานแต่ไม่ทำลาย จนส่งผลให้ป่าไม้บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านได้รับประกาศเป็นมรดกโลก
ชุมชนมีห้วยน้ำโรคี่ไหลผ่าน มีภูเขาล้อมรอบ เต็มไปด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ ในหมู่บ้านมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชผักทุกชนิด และมีแหล่งน้ำสะอาดใช้อุกโภคบริโภค และเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาได้หลากหลายชนิด
บ้านเกาะสะเดิ่ง เป็นหมู่บ้านที่ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ตั้งบ้านเรือนมากกว่า 160 ปี รวม พ.ศ. 2383 เป็นระยะใกล้เคียงกับหมู่บ้านอื่น ๆ ในตำบลไล่โว่ หมู่บ้านนี้ มีต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อต้นเกาะสะเดิ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ริมห้วย รายยึดเกาะดินได้เป็นอย่างดีจึงตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “เกาะสะเดิ่ง”
หมู่บ้านแห่งนี้ เป็นชุมชนที่มีขนาดเล็ก ที่ตั้งบริเวณลำห้วยโรคี่ ที่ไหลลัดเลาะตามซอกเขาที่สูงชันชาวบ้านใช้ชีวิตอยู่คู่กับป่ามานานแต่ไม่ทำลาย จนส่งผลให้ป่าไม้บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านได้รับประกาศเป็นมรดกโลก
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านทิไร่ป้า ตำบลไล่โว่
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านกองม่องทะและบ้านเสน่ห์พ่อง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านเสน่ห์พ่อง ตำบลไล่โว่
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ทุ่งใหญ่นเรศวร
สภาพแวดล้อมชุมชนบ้านเกาะสะเดิ่ง
หมู่บ้านเกาะสะเดิ่ง ตั้งอยู่ในเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร โดยตั้งอยู่บริเวณลำห้วยโรคี่ ซึ่งเป็นสายเหลือหล่อเลี้ยงชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงในย่านนี้มาช้านาน สภาพภูมอากาศ มีสภาพอากาศเช่นเดียวกับจังหวัดในภาคกลางทั่วไป คือ 3 ฤดูคือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงปลายเดือนพฤษภาคมของทุกปี
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนตุลาคมของทุกปี
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนมกราคมของทุกปี
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จากการสำรวจข้อมูล กชช.2 ค ปี 2550 ในหมู่บ้านมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชผักทุกชนิดและมีแหล่งน้ำสะอาดใช้อุปโภคบริโภคและเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาได้หลากหลายชนิด
ขนาดพื้นที่ของหมู่บ้านอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลไล่โว่มีพื้นที่ทั้งหมด 1,500 ไร่ พื้นที่อาศัยและทำการเกษตร จำนวน 800 ไร่ พื้นที่ป่าไม้ 700 ไร่
แหล่งน้ำ (ข้อมูล กชช.2 ค.) มีน้ำประปาใช้ในหมู่บ้าน คุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน ดี ครัวเรือนที่มีน้ำสะอาดดื่มและบริโภคเพียงพอตลอดปีจำนวน 52 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100 ครัวเรือนที่มีน้ำใช้เพียงพอตลอดทั้งปี จำนวน 42 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100 น้ำเพื่อการเกษตร ไม่เพียงพอ
ข้อมูลทางสังคม การเมือง การปกครอง
- สภาพความเป็นอยู่ มีวิถีการดำเนินชีวิต ชุมชนบ้านเกาะสะเดิ่งดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย โดยยึดถือวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ศาสนา ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ชาวบ้านส่วนใหญ่ร้อยละ 99.99 นับถือศาสนาพุทธ
- ศาสนาและความเชื่อ ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีความเชื่อโบราณที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มีพิธีกรรมทางศาสนา เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานศพ ตามประเพณีของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง และในหมู่บ้านยังมีสถานที่สำคัญทางศาสนา คือ วัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ 1 แห่ง
- วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น ชาวบ้านในหมู่บ้านจะเข้าร่วมพิธีต่าง ๆ ทั้งวันสำคัญทางศาสนาและวันสำคัญทางประเพณี เช่น แห่เทียนพรรษา ประเพณีลอยกระทง ประเพณีวันสงกรานต์ โดยชาวบ้าน จะมารวมตัวกันซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน
ประชากรส่วนใหญ่เป็นเครือญาติทั้งหมู่บ้าน เนื่องจากอยู่ห่างใกลความเจริญ ไม่ออกไปทำงานนอกสถานที่ จึงทำให้ตำบลไล่โว่ ส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกันทั้งตำบล
บ้านเกาะสะเดิ่ง มี 95 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 369 คน แบ่งเป็นชาย 192 คน หญิง 177 คน
โพล่งหมู่บ้านเกาะสะเดิ่ง ประกอบอาชีพหลังทำการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน ในไร่ข้าวปลูกพืชผักหลากหลายชนิด สามาถเก็บกินได้ตลอดทั้งปี ปลูกพืชผักผสมผสานสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี และเก็บผลผลิตจากการเกษตรได้ตามฤดูกาล มีกลุ่มทอผ้า กลุ่มจักสาน และตีมีดสร้างรายได้ให้ครอบครัวได้
หมู่บ้านเกาะสะเดิ่งจะมีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย ประกอบอาชีพเกษตรกร ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน จัดงานสงกรานต์ตามประเพณี หลังจากนั้นจะเตรียมพื้นที่เพาะปลูก และดูแลจนถึงฤดูเก็บเกี่ยวจะประกอบพิธีฟาดข้าว บุญข้าวใหม่ บุญเดือนสาม
นายส่วยลงเข่ง แกล้วกล้าพนา เป็นชาวกะเหรี่ยงโผล่ว (โปว์) มีความรู้ด้านสมุนไพร และเป็นผู้นำชุมชนด้านศาสนา เป็นผู้สืบทอดกิจกรรมตามประเพณีต่างๆตลอดทั้งปี
หมู่บ้านเกาะสะเดิ่ง มีทรัพยากรที่สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากมาย มีแม่น้ำไหลผ่าน มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์สามารถปลูกพืชผักได้ทุกชนิด สภาพแวดล้อมของชุมชนน่าอยู่ร่มรื่น
หมู่บ้านเกาะสะเดิ่ง เป็นหมู่บ้านที่ยังเป็นชุมชนดั้งเดิมที่ยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากนัก ส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงเต็มร้อย ภาษาในการสื่อสารในชีวิตประจำวันเป็นภาษาพื้นบ้าน คือภาษากะเหรี่ยงเป็นหลัก ส่วนวัยรุ่นและเด็กที่ออกไปเรียนตามสถานศึกษากลับมาใช้ภาษาไทยบ้าง แต่ก็ยังสามารถสื่อสารภาษาแม่ได้เกือบทุกครัวเรือน และยังมีภาษาเขียน อ่าน เป็นภาษากะเหรี่ยงที่ใช้กันได้อย่างแพร่หลายอีกด้วย
หมู่บ้านเกาะสะเดิ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมจากการพัฒนาของหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาพัฒนาส่งเสริมกิจกรรมร่วมสมัย ทำให้มีการเปลี่ยนทัศนคติไปบ้างไม่มากก็น้อย แต่ก็ยังมีการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอยู่ จะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างในเรื่องของการแต่งตัว ภาษาพูด และพัฒนาอาชีพให้ทันยุคสมัย
หมู่บ้านเกาะสะเดิ่ง เป็นหมู่บ้านที่น่าสนใจในเรื่องการดำรงชีพของราษฎร ซึ่งเป็นการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิมตามบรรพบุรุษที่เคยปฏิบัติมา ตามคำกล่าวที่ว่า “เมื่อมีภัยมา ลูกหลานจงเกาะตอข้าวให้แน่นไว้” มีใจความว่า ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ขอให้ลูกหลานอย่าลืมทำไร่ข้าว เมื่อมีข้าวกินจะทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้ ถ้าหากเราไม่ทำไร่ปลูกข้าว เราต้องไปซื้อเขากินก็จะทำให้เราจะลำบากและเป็นเครื่องมือของนักวิชาการที่เป็นนายทุน ส่งเสริมให้เราปลูกอย่างอื่นแล้วให้ซื้อข้าวกิน โดยยกเหตุผลว่าไม่ให้เผาป่า และจะบอกว่ากะเหรี่ยงทำลายป่า ทั้งๆ ที่กะเหรี่ยงอยู่กับป่ามาตั้งแต่กฎหมายยังไม่ประกาศใช้ คนกะเหรี่ยงอยู่มาก่อนหลายชั่วอายุคน ป่ายังอุดมสมบูรณ์เนื่องจากกะเหรี่ยงมีความสำนึกต่อพระแม่ธรณี พระแม่คงคา และพระแม่โพสพ จะเห็นได้จากการประกอบพิธีกรรมตามปฏิทินชุมชน จะบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ปกปักรักษาดลบันดาลให้อยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งกะเหรี่ยงให้ความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันดีงามเหล่านั้นจะถึงปัจจุบันและอนาคต
- คำบอกเล่ามุขปาฐะของผู้อาวุโสที่เล่าต่อกันมารุ่นสู่รุ่นมาถึงลูกหลานปัจจุบัน
- แนวคิดการวิจัยชุมชนตำบลไล่โว่
- มหาวิทยาลัยราชภัฎจังหวัดกาญจนบุรี