Advance search

จะแก

ชุมชนมีเขาหินผาตั้งอยู่สง่า มีวัด โรงเรียน ทุ่งนา ป่าไผ่หนาม การทำเหมืองแร่ มีการเลี้ยงสัตว์โค กระบือ และประกอบอาชีพเกษตรกรรม

6
จะเเก
ไล่โว่
สังขละบุรี
กาญจนบุรี
สิทธิพล กนกกรสกุล
18 มี.ค. 2023
สิทธิพล กนกกรสกุล
22 มี.ค. 2023
สุดารัตน์ ศรีอุบล
6 เม.ย. 2024
บ้านจะแก
จะแก

จะแก เป็นชื่อหมู่บ้านชายแดนตะวันตกติดต่อประเทศพม่า จัดตั้งขึ้นตามโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย-พม่า เมื่อปี 2524 แต่ในความเป็นจริงชาวบ้านอยู่อาศัยกันที่นี่มาแต่นานนม ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านการต่อสู้ ทั้งด้วยกำลังอาวุธ ทั้งทางความคิด กันมายาวนาน ที่ว่าก่อตั้งปี 2524 ก็เป็นเพียงแค่ทางการเพิ่งจะสามารถยื่นมือเข้าไปสัมผัสได้อย่างบางเบาในช่วงนั้นเท่านั้นเอง


ชุมชนชาติพันธุ์

ชุมชนมีเขาหินผาตั้งอยู่สง่า มีวัด โรงเรียน ทุ่งนา ป่าไผ่หนาม การทำเหมืองแร่ มีการเลี้ยงสัตว์โค กระบือ และประกอบอาชีพเกษตรกรรม

จะเเก
6
ไล่โว่
สังขละบุรี
กาญจนบุรี
71240
15.462627
98.655548
องค์การบริหารส่วนตำบลไล่โว่

บ้านจะแก อยู่ในตำบล ไล่โว่  อำเภอสังขละบุรี เป็นหนึ่งองคาพยพในทุ่งใหญ่นเรศวร การเดินทางด้วยเส้นทางที่รถเข้าถึงได้มี 2 เส้นทาง เส้นทางแรกผ่านเข้าทางเส้นทางเข้าทุ่งใหญ่ฯ ข้ามแม่ขมิ้น แล้วไป ทินวย ทิคอง ซ่งไถ้ เซซาโว่ กะสะ แล้วจึงเข้าจะแก ส่วนอีกทางเข้าทางด้าน ด่านสะเนพ่อง ไปเกาะสะเดิ่ง ทิไล่ป้า เรื่อยไปเข้าจะแก ชาวบ้านส่วนใหญ่จะใช้เส้นทางหลังนี้ ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร  และการเข้าถึงหมู่บ้านนี้ยังสามารถใช้ได้อีกเส้นทางหนึ่งแต่ไม่มีเส้นทางรถ คือเข้าจาก บ้านแม่จัน จังหวัดตาก ตัดข้ามภูเขา  ก่งก๊อง       บ้านจะแกมี 8 กลุ่มบ้าน แบ่งเป็น จะแกเหนือ และจะแกใต้  ถ้าเข้าทางด่านสะเนพ่องจะถึงจะแกใต้ก่อน ถ้าเข้าทางแม่กะสะจะถึงจะแกเหนือ ทางเข้าด่านสะเนพ่องจะอยู่บนเส้นทางทองผาภูมิ-สังขละบุรี (323) เป็นแยกขวามือก่อนถึงแยกด่านเจดีย์สามองค์ประมาณร้อยเมตร เป็นเส้นทางลาดยางในช่วงเริ่มต้น ต่อจากนั้นเป็นทางดินขึ้นเขาลงห้วยซึ่งไม่ต่ำกว่าสามสิบห้วยไปจนถึงจะแก 

อาณาเขตเขตของหมู่บ้าน

ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดตาก

ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดอุทัยธานี

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศเมียนมาร์

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดตาก

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จากการสำรวจข้อมูล กชช.2ค ปี 2550  ในหมู่บ้านมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชผักทุกชนิด และมีแหล่งน้ำสะอาดใช้อุกโภคบริโภค และเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาได้หลากหลายชนิด

ขนาดพื้นที่ของหมู่บ้านอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลไล่โว่มีพื้นที่ทั้งหมด 1,070,000 ไร่ พื้นที่อาศัยและทำการเกษตร จำนวน 1200 ไร่ พื้นที่สาธารณะ 6,000 ไร่ พื้นที่ป่าไม้ 50,000 ไร่

ข้อมูลทางสังคม การเมือง การปกครอง

  • สภาพความเป็นอยู่ มีวิถีการดำเนินชีวิต ชุมชนบ้านจะแกดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย โดยยึดถือวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ศาสนา ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ชาวบ้านส่วนใหญ่ร้อยละ 70.99 นับถือศาสนาพุทธ ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ และฤาษี
  • ศาสนาและความเชื่อ ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีความเชื่อโบราณที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มีพิธีกรรมทางศาสนา  เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานศพ ตามประเพณีของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง และในหมู่บ้านยังมีสถานที่สำคัญทางศาสนา  คือ   วัด 2 แห่ง สำนักสงฆ์ 1 แห่ง
  • วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น ชาวบ้านในหมู่บ้านจะเข้าร่วมพิธีต่าง ๆ ทั้งวันสำคัญทางศาสนาและวันสำคัญทางประเพณี เช่น แห่เทียนพรรษา ประเพณีลอยกระทง ประเพณีวันสงกรานต์ โดยชาวบ้านจะมารวมตัวกันซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน

สภาพแวดล้อมชุมชนบ้านจะแก

หมู่บ้านจะแก ตั้งอยู่ในเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร โดยตั้งอยู่ใกล้ตะเขบชายแดน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลตัวอำเภอสังขละบุรี  สภาพภูมอากาศ มีสภาพอากาศเช่นเดียวกับจังหวัดในภาคกลางทั่วไป คือ 3 ฤดูคือ

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงปลายเดือนพฤษภาคมของทุกปี
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนตุลาคมของทุกปี
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนมกราคมของทุกปี

ประชากรในหมู่บ้านจะแก จะเป็นเครือญาติบางจุดและผสมผสานชาติพันธุ์ระหว่างชายแดน เนื่องจากพื้นที่ใกล้เคียงกัน ถ้านับเครือญาติระดับตำบล ส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน  มีจำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 389 ครัวเรือน ประชากร 1540 คน แบ่งเป็นชาย 813 คน หญิง 727 คน 

โพล่ง

หมู่บ้านจะแก ประกอบอาชีพหลักทำการเกษตรแบบผสมผสาน มีที่นา ไร่หมุนเวียน ปลูกพืชผักหลากหลายชนิด เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย และเก็บผลผลิตจากการเกษตรได้ตามฤดูกาล มีกลุ่มทอผ้า กลุ่มเลี้ยงสัตว์  

หมู่บ้านจะแก จะมีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย ประกอบอาชีพเกษตรกร ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน จัดงานสงกรานต์ตามประเพณี หลังจากนั้นจะเตรียมพื้นที่เพาะปลูก      และดูแลจนถึงฤดูเก็บเกี่ยวจะประกอบพิธีฟาดข้าว บุญข้าวใหม่  บุญเจดีย์ทุ่งใหญ่ ฯลฯ

นายโท่โรงซ่า  พนาสุขสันต์   เป็นชาวกะเหรี่ยงโผล่ว (โปว์) มีความรู้ด้านสมุนไพร  และเป็นผู้นำชุมชนด้านศาสนา เป็นผู้สืบทอดกิจกรรมตามประเพณีต่างๆตลอดทั้งปี 

หมู่บ้านจะแก มีทรัพยากรที่สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากมาย มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์สภาพแวดล้อมของชุมชนร่มรื่น

หมู่บ้านจะแก เป็นหมู่บ้านที่ยังเป็นชุมชนดั้งเดิม ส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง ภาษาในการสื่อสารในชีวิตประจำวันเป็นภาษาพื้นบ้าน คือภาษากะเหรี่ยงเป็นหลัก  เด็กยังสามารถสื่อสารภาษาแม่ได้ทุกครัวเรือน และยังมีภาษาเขียน อ่าน เป็นภาษากะเหรี่ยงที่ใช้กันได้อย่างแพร่หลาย 


  • สถานการณ์ความมั่นคงตามแนวชายแดน


หมู่บ้านจะแกได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมจากการพัฒนาของหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาพัฒนาส่งเสริมกิจกรรมร่วมสมัย ทำให้มีการเปลี่ยนทัศนคติไปบ้างไม่มากก็น้อย แต่ก็ยังมีการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอยู่ จะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างในเรื่องของการแต่งตัว ภาษาพูด และพัฒนาอาชีพให้ทันยุคสมัย ในขณะเดียวกันมีเพื่อนบ้านที่อยู่แนวชายแดนเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น เนื่องจากต้องพึ่งพิงต่อกันและกันเมื่อยามเกิดสงคราม อาจทำให้ผู้ที่ลี้ภัยเข้ามาก่อปัญหาได้


  • การเดินทางเข้า – ออก หมู่บ้านยากลำบาก อยู่ไกลจากตัวเมือง

  • การบุกรุกแผ้วถางป่าบางแห่ง และทำไร่เลื่อนลอย เป็นเหตุให้เกิดไฟป่า
  • ดินบางที่เสื่อมสภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช
  • พันธุ์ปลาเริ่มกายไปจากแม่น้ำ

หมู่บ้านจะแก เป็นหมู่บ้านที่น่าสนใจในเรื่องการดำรงชีพของราษฎร ซึ่งเป็นการประกอบอาชีพแบบหลากหลาย เพราะเป็นหมู่บ้านอยู่ติดชายแดน ผู้ที่มีนาก็ทำนา บางส่วนทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ มีการค้าขายระหว่างชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกัน จึงเหมาะแก่การทำการค้าระหว่างชายแดน ในอนาคตถ้ามีเส้นทางไปมาที่สะดวกทำให้ชาวบ้านสร้างอาชีพสร้างรายได้มากขึ้น

  • คำบอกเล่ามุขปาฐะของผู้อาวุโส 
  • แนวคิดการวิจัยชุมชนตำบลไล่โว่
  • มหาวิทยาลัยราชภัฎจังหวัดกาญจนบุรี