
ชุมชนมีเขาหินผาตั้งอยู่สง่า มีวัด โรงเรียน ทุ่งนา ป่าไผ่หนาม การทำเหมืองแร่ มีการเลี้ยงสัตว์โค กระบือ และประกอบอาชีพเกษตรกรรม
หมู่บ้านทิไล่ป้าเป็นหมู่บ้านชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งเป็นมรดกโลก ตั้งบ้านเรือนมากกว่า ๑๖๐ ปี รวม พ.ศ. ๒๓๘๓ โดยตั้งชื่อหมู่บ้านว่า” ทิไล่ป้า” มีความหมายถึงห้วยแผ่นหิน ซึ่งหากนับเป็นจำนวนครัวเรือนจัดได้ว่าเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก อยู่ในความรับผิดชอบของตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นชุมชนที่ดำรงอยู่กันมานานแล้ว สภาพโดยทั่วไปเป็นผู้คนในชุมชนมีลักษณะเป็นสังคมเครือญาติ สมาชิกในหมู่บ้านต่างรู้จักกันเป็นอย่างดีมีการพึ่งกาอาศัยกัน มีสภาพความเป็นอยู่อย่างสงบสุข ก่อนที่จะมีการประกาศพื้นที่ของเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ชุมชนกะเหรี่ยงนั้นอยู่กับป่ามานานแต่ไม่ทำลายป่าไม้ และมีการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจพอเพียงทำกินให้พอในแต่ละวัน
ชุมชนมีเขาหินผาตั้งอยู่สง่า มีวัด โรงเรียน ทุ่งนา ป่าไผ่หนาม การทำเหมืองแร่ มีการเลี้ยงสัตว์โค กระบือ และประกอบอาชีพเกษตรกรรม
บ้านทิไล่ป้า ตั้งอยู่จากตัวอำเภอประมาณ 55 กิโลเมตร โดยมีถนนลาดยางจากตัวอำเภอสังขละบุรีถึงแยกเข้าหมีบ้านเสน่ห์พ่อง ประมาณ 6 กิโลเมตร จากนั้นจะเป็นถนนดิน ในฤดูฝนยานพานะไม่สามารถเดินทางได้ต้องใช้การเดินเท้าประมาณ 2 วัน จากถนนลาดยางถึงหมู่บ้านเสน่ห์พ่อง ประมาร 9 กิโลเมตร ต่อไปถึงหมู่บ้านเกาะสะเดิ่ง ประมาณ 20 กิโลเมตร และจากหมู่บ้านเกาะสะเดิ่งถึงหมู่บ้านทิไล่ป้าได้ โดยใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 4-5 ชั่วโมง
หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มีลำน้ำแม่กษัตริย์เป็นสายเลือกหล่อเลี้ยงชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงที่ไหลลดคดเคี้ยวมาตามหุบเขา ในบรรยากาศที่เย็นชื่นใจท่ามกลางป่าไม่นานพันธุ์ที่สมบูรณ์ และสายหมอกในยามเช้า
สภาพแวดล้อมชุมชนบ้านทิไล่ป้า
เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ที่ตั้งอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ติดแนวชายแดนไทย- พม่า เส้นทางคมนาคมไม่สามารถสัญจร โดยรถยนต์ได้ตลอดทุกฤดูกาล และต้องใช้รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงปลายเดือนพฤษภาคม ของทุกปี
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงปลายเดือน ตุลาคม ของทุกปี
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนมกราคมของทุกปี
อาณาเขตเขตของหมู่บ้าน
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศเมียนมาร์
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านเกาะสะเดิ่ง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศเมียนมาร์/เขตทุ่งใหญ่ฯ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านจะแก
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จากการสำรวจข้อมูล กชช.2 ค ปี 2550 ในหมู่บ้านมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชผักทุกชนิด และมีแหล่งน้ำสะอาดใช้อุกโภคบริโภค และเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาได้หลากหลายชนิด
ขนาดพื้นที่ของหมู่บ้านอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลไล่โว่มีพื้นที่ทั้งหมด 20,200.ไร่ พื้นที่อาศัยและทำการเกษตร จำนวน 1,200 ไร่ พื้นที่สาธารณะ 2,000 ไร่ พื้นที่ป่าไม้ 50,000 ไร่
ข้อมูลทางสังคม การเมือง การปกครอง
- สภาพความเป็นอยู่ มีวิถีการดำเนินชีวิต ชุมชนบ้านจะแกดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย โดยยึดถือวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ศาสนา ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ชาวบ้านส่วนใหญ่ร้อยละ 70.99 นับถือศาสนาพุทธ ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์
- ศาสนาและความเชื่อ ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีความเชื่อโบราณที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มีพิธีกรรมทางศาสนา เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานศพ ตามประเพณีของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง และในหมู่บ้านยังมีสถานที่สำคัญทางศาสนา คือ วัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ 1 แห่ง
- วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น ชาวบ้านในหมู่บ้านจะเข้าร่วมพิธีต่าง ๆ ทั้งวันสำคัญทางศาสนาและวันสำคัญทางประเพณี เช่น แห่เทียนพรรษา ประเพณีลอยกระทง ประเพณีวันสงกรานต์ โดยชาวบ้านจะมารวมตัวกันซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน
ประชากรในหมู่บ้านจะแก จะเป็นเครือญาติบางจุดและผสมผสานชาติพันธุ์ระหว่างชายแดน เนื่องจากพื้นที่ใกล้เคียงกัน ถ้านับเครือญาติระดับตำบล ส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน
บ้านทิไล่ป้า มี 162 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 842 คน เเบ่งเป็นเพศชาย 429 คน เพศหญิง 413 คน
โพล่งชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีความเชื่อโบราณที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มีพิธีกรรมทางศาสนา เช่น งานแต่ง งานศพ และหมู่บ้านยังมีสถานที่สำคัญทางศาสนา คือสำนักสงฆ์ และโบสถ์คริสต์
ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่หมุนเวียนเป็นอาชีพหลัก เสร็จจากงการเกษตรกลุ่มแม่บ้านจะทอผ้า จักรสาน และปลูกผักสวนครัว
วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น ชาวบ้านในหมู่บ้านจะเข้าร่วมพิธีต่าง ๆ ทั้งวันสำคัญทางศาสนาและวันสำคัญทางประเพณี เช่น แห่เทียนเข้าพรรษา ประเพณีลอยกระทง ประเพณีวันสงกรานต์ ประเพณีผูกข้อมือเดือนเก้า ประเพณีฟาดข้าว ประเพณีทำบุญข้าวใหม่ โดยชาวบ้านจะมารวมตัวกันซึ่งกันเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านวัด และโบสถ์
นาย ผิ่วปองเต่ง ขจรสันติพงศ์ เป็นชาวกะเหรี่ยงโผล่ว (โปว์) มีความรู้ด้านสมุนไพรและเป็นผู้นำชุมชนด้านประวัติศาสตร์ เป็นผู้สืบทอดกิจกรรมตามประเพณีต่างๆ
หมู่บ้านทิไล่ป้า มีทรัพยากรที่สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากมาย มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ สภาพแวดล้อมของชุมชนร่มรื่น มีห้วยน้ำไหลผ่าน มีโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เป็นโรงเรียนขยายโอกาสถึงมัธยมตอนต้น
หมู่บ้านทิไล่ป้า เป็นหมู่บ้านที่ยังเป็นชุมชนดั้งเดิม ส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง ภาษาในการสื่อสารในชีวิตประจำวันเป็นภาษาพื้นบ้าน คือภาษากะเหรี่ยงเป็นหลัก เด็กยังสามารถสื่อสารภาษาแม่ได้ทุกครัวเรือน และยังมีภาษาเขียน อ่าน เป็นภาษากะเหรี่ยงที่ใช้กันได้อย่างแพร่หลาย
* สถานการณ์ชายแดน
* การเดินทางเข้า – ออก หมู่บ้านยากลำบาก อยู่ไกลจากตัวเมือง
หมู่บ้านทิไล่ป้า ยังมีการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอยู่ จะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างในเรื่องของการแต่งตัว ภาษาพูด และพัฒนาอาชีพให้ทันยุคสมัย ในขณะเดียวกันมีเพื่อนบ้านที่อยู่แนวชายแดนเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น เนื่องจากต้องพึ่งพิงต่อกันและกันเมื่อยามเกิดสงคราม อาจทำให้ผู้ที่ลี้ภัยเข้ามาก่อปัญหาได้
- พันธุ์ปลาเริ่มกายไปจากแม่น้ำ
- การบุกรุกแผ้วถางป่าบางแห่ง และทำไร่เลื่อนลอย เป็นเหตุให้เกิดไฟป่า
- ดินบางที่เสื่อมสภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช
หมู่บ้านทิไล่ป้า เป็นหมู่บ้านที่น่าสนใจในเรื่องการดำรงชีพของราษฎร ซึ่งเป็นการประกอบอาชีพแบบหลากหลาย เพราะเป็นหมู่บ้านอยู่ติดชายแดน ประกอบอาชีพทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เหมาะแก่การทำการค้าระหว่างชายแดน ในอนาคต
- คำบอกเล่ามุขปาฐะของผู้อาวุโส
- จากแนวคิดการวิจัยชุมชนตำบลไล่โว่
- มหาวิทยาลัยราชภัฎจังหวัดกาญจนบุรี