Advance search

กลุ่มบ้านคลองเคียน

1. ใจกลางชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนมีต้นตะเคียนขนาดใหญ่อายุกว่า 100 ปี ตั้งโดดเด่นสง่าอยู่ใจกลางหมู่บ้าน เป็นเสมือนศูนย์รวมความเชื่อและจิตวิญญาณของผู้คนในชุมชน 

2. ในชุมชนบ้านคลองเคียนแห่งนี้ มีลำห้วยคลองเคียนที่ไหลผ่านชุมชน เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชน เป็นแหล่งรวมอารยธรรมชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียน บริเวณลำห้วยคลองเคียนมีต้นยางน่อง ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ชาวบ้านนำมาทำยาพิษในการล่าสัตว์

 3. มีลำห้วยคอกควายไหลผ่านชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียน ซึ่งเป็นลำห้วยที่มีขนาดใหญ่กว่าลำห้วยคลองเคียน มีปริมาณน้ำที่ไหลเวียนมากกว่าและงดงามกว่าลำห้วยคลองเคียน เป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางการเกษตร เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคหลักของคนในชุมชน

 4. ชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนแห่งนี้ อยู่ลึกและห่างจากถนนสายหลัก สายบ้านไร่ – ลานสัก ระยะทางร่วม 10 กิโลเมตร ชุมชนแห่งนี้จึงรักษาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงโปว์แบบดั้งเดิมเอาไว้ได้ค่อนข้างดี

1
ชุมชนคลองเคียน
ทองหลาง
ห้วยคต
อุทัยธานี
61170
กิตติพัฒน์ อธิวัฒน์ธนาวงศ์
20 ก.ย. 2023
พรทิพย์ กำเหนิดแจ้ง
27 พ.ย. 2023
สุดารัตน์ ศรีอุบล
6 เม.ย. 2024
บ้านคลองแห้ง
กลุ่มบ้านคลองเคียน

นายบรรเทา คลองแห้ง  ผู้อาวุโสชาวกะเหรี่ยงโปว์ที่ชาวบ้านกลุ่มบ้านคลองเคียนให้ความเคารพนับถือ เล่าให้ฟังว่า มีชาวกะเหรี่ยงโปว์หลายกลุ่มได้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาจากชุมชนกะเหรี่ยงหลายแห่งในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี เช่น บ้านภูเหม็น บ้านคลองหวาย บ้านคลองแห้ง บ้านอีซ่า บ้านกุดจะเลิด รวมถึงกะเหรี่ยงแก่นมะกรูด และบางส่วนย้ายมาจากบ้านตะเพินคี่ ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี มาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ โดยแต่ละกลุ่มทยอยย้ายเข้ามาในห้วงเวลาที่แตกต่างกัน ห่างกัน 5 – 10 ปี ย้ายมาอยู่ที่นี่ไม่ต่ำกว่า 200 ปีมาแล้ว พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ราบเชิงเขาและมีภูเขาล้อมรอบชุมชน อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและของป่ามากมาย ในผืนป่าไม้เบญจพรรณและป่าไม้ผลัดใบ บางจุดเป็นป่าดงดิบเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ พื้นที่บริเวณนี้เหมาะสมกับการทำไร่หมุนเวียนแบบวิถีชาวกะเหรี่ยงโปว์ บริเวณนี้มีแม่น้ำคอกควายไหลผ่านชุมชน เป็นแม่น้ำที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชน วิถีคนในชุมชนผูกพันกับสายน้ำสายนี้มาก เพราะเป็นทั้งแหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรมาแต่ครั้งอดีตกาล ในอดีตมีต้นตะเคียนหลายต้นกระจายอยู่ทั่วหมู่บ้าน รวมถึงขึ้นอยู่ตามบริเวณริมลำห้วยสายหลักด้วย ลำห้วยจึงได้ชื่อว่า  “ลำห้วยคลองเคียน” ต่อมาต้นตะเคียนค่อย ๆ หายไปทีละต้น ด้วยเหตุที่กระแสน้ำเปลี่ยนทิศทำให้ต้นตะเคียนบางต้นถูกแช่น้ำจนตาย  บางต้นอยู่ตามไร่ชาวบ้านทำให้ทนแล้งไม่ได้ล้มตายไป บางต้นชาวบ้านตัดไปสร้างบ้านเรือน ปัจจุบันจึงเหลือต้นตะเคียนไว้ดูต่างหน้าเพียงต้นเดียว เป็นต้นตะเคียนที่มีขนาดใหญ่ 5 – 6 คนโอบ อายุกว่า 100 ปี ยืนต้นเด่นสง่าอยู่ใจกลางชุมชน ทำให้ชาวบ้านพากันเรียกชุมชนแห่งนี้ว่า “บ้านคลองเคียน” มาจนถึงปัจจุบัน และปัจจุบันนี้ต้นตะเคียนก็ยังคงอยู่กลางชุมชน มีต้นไทรเลื้อยขึ้นรอบต้นตะเคียนตั้งแต่โคนต้นจนถึงปลายต้น แต่ต้นตะเคียนก็ยังไม่ตาย ยังคงมองเห็นใบของต้นตะเคียนเป็นหย่อม ๆ สลับกับใบของต้นไทร แต่มองโดยรวมเห็นใบของต้นตะเคียนชัดเจนกว่าใบของต้นไทร  


1. ใจกลางชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนมีต้นตะเคียนขนาดใหญ่อายุกว่า 100 ปี ตั้งโดดเด่นสง่าอยู่ใจกลางหมู่บ้าน เป็นเสมือนศูนย์รวมความเชื่อและจิตวิญญาณของผู้คนในชุมชน 

2. ในชุมชนบ้านคลองเคียนแห่งนี้ มีลำห้วยคลองเคียนที่ไหลผ่านชุมชน เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชน เป็นแหล่งรวมอารยธรรมชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียน บริเวณลำห้วยคลองเคียนมีต้นยางน่อง ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ชาวบ้านนำมาทำยาพิษในการล่าสัตว์

 3. มีลำห้วยคอกควายไหลผ่านชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียน ซึ่งเป็นลำห้วยที่มีขนาดใหญ่กว่าลำห้วยคลองเคียน มีปริมาณน้ำที่ไหลเวียนมากกว่าและงดงามกว่าลำห้วยคลองเคียน เป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางการเกษตร เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคหลักของคนในชุมชน

 4. ชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนแห่งนี้ อยู่ลึกและห่างจากถนนสายหลัก สายบ้านไร่ – ลานสัก ระยะทางร่วม 10 กิโลเมตร ชุมชนแห่งนี้จึงรักษาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงโปว์แบบดั้งเดิมเอาไว้ได้ค่อนข้างดี

ชุมชนคลองเคียน
1
ทองหลาง
ห้วยคต
อุทัยธานี
61170
15.30372509
99.47838753
องค์การบริหารส่วนตำบลทองหลาง

นายบรรเทา คลองแห้ง เล่าให้ฟังว่า ในยุคบุกเบิกมีชาวกะเหรี่ยงโปว์หลายกลุ่มได้อพยพโยกย้ายถิ่นฐาน มาจากชุมชนกะเหรี่ยงหลายแห่งทั้งในจังหวัดอุทัยธานีและ ย้ายมาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ โดยที่แต่ละกลุ่มทยอยย้ายเข้ามาในห้วงเวลาที่แตกต่างกัน ห่างกัน 5 – 10 ปี ชุมชนแห่งนี้น่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่า 200 ปี พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ราบเชิงเขาและมีภูเขาล้อมรอบชุมชน อุดมสมบูรณ์ไปด้วยของป่ามากมาย ในผืนป่าไม้เบญจพรรณและป่าไม้ผลัดใบ บางจุดเป็นป่าดงดิบที่เต็มไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ พื้นที่บริเวณนี้เหมาะสมกับการทำไร่หมุนเวียนแบบวิถีชาวกะเหรี่ยงโปว์ บริเวณนี้มีแม่น้ำคอกควายไหลผ่านชุมชน และมีลำห้วยคลองเคียนอีกสายหนึ่งที่ไหลผ่านชุมชน ลำห้วยทั้งสองสายเป็นแม่น้ำที่เปรียบเสมือนกับเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชน ทำให้วิถีชีวิตของคนในชุมชนมีความผูกพันกับสายน้ำ เพราะเป็นทั้งแหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค และเป็นแหล่งน้ำสำหรับการทำการเกษตรมาแต่ครั้งอดีต 

ในอดีตชุมชนแห่งนี้มีต้นตะเคียนขนาดใหญ่จำนวนมากกระจายอยู่เต็มพื้นที่ บางส่วนอาจล้มตายไปเพราะความแห้งแล้ง บางส่วนคนในชุมชนอาจโค่นนำไปใช้สอย บางส่วนอาจตายไปเพราะถูกแช่น้ำเมื่อกระแสน้ำจากลำห้วยทั้งสองสายเปลี่ยนทิศทางไหล แต่ปัจจุบันยังเหลือต้นตะเคียนขนาดใหญ่อยู่จำนวน 1 ต้น ขนาด 5 – 6 คนโอบ มีอายุกว่า 100 ปี มีต้นไทรเลื้อยอยู่รอบต้นตะเคียนตั้งแต่โคนต้นจนถึงยอดต้นตะเคียน ข้างบนยอดต้นไม้ทั้งสองต้นนี้มองเห็นทั้งใบของต้นตะเคียนและใบของต้นไทรแยกกันเป็นหย่อม ๆ แต่เห็นใบของต้นตะเคียนมากกว่า แต่ลำต้นของต้นตะเคียนนั้นถูกต้นไทรห่อจนเกือบมิดชิดจึงเป็นที่มาที่ชาวบ้านเรียกชุมชนแห่งนี้ว่า “บ้านคลองเคียน” มาจนถึงปัจจุบัน

ชุมชนแห่งนี้ตั้งอยู่เขตป่าสงวนแห่งชาติห้วยป่าทับเสลาและห้วยป่าคอกควาย โซน 3 พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา หุบเขา และมีภูเขาขนาดไม่สูงมากนักล้อมรอบชุมชน เหมือนอยู่ในแอ่งกระทะ มีเนินเขาขนาดสูงต่ำสลับซับซ้อนลดหลั่นกันไปเป็นจำนวนมาก ในอดีตชาวบ้านทำไร่หมุนเวียนเพียงอย่างเดียว เป็นการปลูกข้าวไร่ไว้กินในครัวเรือน ไม่ได้ปลูกเพื่อการค้าขาย จะมีรายได้บ้างเพียงเล็กน้อยจากการขายพริกกะเหรี่ยง มะพร้าว ข้าวเปลือกหรือของป่าเท่านั้น เพื่อเอาเงินไปซื้อเกลือไว้บริโภคในครัวเรือน

ในอดีตชุมชนแห่งนี้เคยมีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากกว่า 100 หลังคาเรือน มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับป่า    มีผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์โอบล้อมชุมชน ผู้คนพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ชุมชนแห่งนี้อยู่ลึกเข้าไปห่างจากถนนใหญ่กว่า 10 กิโลเมตร แถมถนนทางเข้าในสมัยก่อนยังเป็นถนนลูกรัง ซึ่งมีความลำบากในการเดินทางในฤดูฝนมาก ถนนลื่น น้ำกัดเซาะ รถยนต์ขึ้นทางชันลำบาก ในฤดูฝนเคยมีน้ำหลากบ้าง    เป็นบางครั้ง น้ำเอ่อท่วมบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาของชาวบ้าง เนื่องจากมีแม่น้ำถึงสองสายที่ไหลผ่านชุมชน ดังนั้น ปีใดที่มีปริมาณน้ำฝนมากน้ำในแม่น้ำก็จะมากเป็นพิเศษ ฤดูแล้งบางปีก็แล้งเป็นพิเศษยาวนาน    ทำการเกษตรไม่ได้ ไฟฟ้าไม่มีใช้ คลื่นโทรศัพท์ไม่มีผู้คนจึงย้ายออกจากชุมชนไปจำนวนมาก ทำให้ในปัจจุบันนี้คงเหลืออยู่เพียง 30 ครัวเรือนเท่านั้น

ในชุมชนบ้านคลองเคียนแห่งนี้ เคยมีเจ้าวัดหรือผู้นำแห่งจิตวิญญาณ จำนวน 2 คน คนที่ 1 ชื่อนายนองก่องเทอเส้ย (โซ้ยล่ะซ๊ะ) และคนที่ 2 ชื่อ นายนองเตาซ๊ะ (ตะเส้ย) สำหรับเจ้าวัดคนที่ 2 ยังมีซากเจดีย์ เป็นเนินดินให้เห็นอยู่ใกล้ ๆ กับต้นกรวยตู (ภาษากะเหรี่ยง) ในอดีตเป็นสถานที่ในการประกอบพิธีไหว้เจดีย์เป็นประจำทุกปี ระยะต่อมาพอเจ้าวัดถึงแก่กรรมแล้วก็ไม่มีเจดีย์และไม่มีการไหว้เจดีย์อีกเลยจนปัจจุบัน สำหรับชาวบ้านคนใดที่จะไปไหว้เจดีย์จะเดินทางไปไหว้เจดีย์ร่วมกับชุมชนไกล้เคียงที่ยังมีเจ้าวัดอยู่ เช่น บ้านภูเหม็น บ้านไซเบอร์ หรือแก่นมะกรูด เป็นต้น เนื่องจากชุมชนบ้านคลองเคียนไม่มีเจ้าวัด จึงให้ผู้อาวุโสที่มีความรู้ในการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของวิถีกะเหรี่ยงโปว์ช่วยประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ 

ชุมชนแห่งนี้ มีที่พักสงฆ์คลองเคียนเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นศาสนสถานที่ใช้ในการประกอบศาสนกิจทางพระพุทธศาสนา และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนในชุมชน ปัจจุบันนี้มี      พระอาจารย์สายัณห์ ปุญฺณคโม เป็นเจ้าอาวาส มีพระสงฆ์จำพรรษา จำนวน 5 รูป ในยุคแรกที่มีพระสงฆ์เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา จะเป็นลักษณะของพระธรรมจาริกก่อน และมีการผลัดเปลี่ยนพระธรรมจาริกต่อ ๆ กันมาหลายรุ่น ภายหลังมีชาวบ้านศรัทธาพระพุทธศาสนาจำนวนมากขึ้น ชาวบ้านจึงช่วยกันสร้างที่พักสงฆ์ขึ้น และนิมนต์พระสงฆ์มาจำวัดถาวร 

ชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนเคยมีโรงเรียนศูนย์เด็กเล็กมาตั้งอยู่ในชุมชนราว ๆ 20 ปีก่อน และเปิดได้เพียง 2 – 3 ปีก็ปิดตัวไป เนื่องจากมีเด็กเรียนน้อยและชุมชนอยู่ห่างไกลความเจริญ อยู่กลางดงกลางป่าทำให้ไม่มีครูอาสาสมัครมาสอนเด็ก ๆ ดังนั้น เด็กที่มีอายุถึงเกณฑ์เรียนหนังสือ จะไปเรียนหนังสือกันที่โรงเรียนชุมชนบ้านคลองแห้ง ตำบลทองหลาง ซึ่งอยู่ห่างจากชุมชนบ้านคลองเคียนราวๆ 10 กิโลเมตร เด็ก ๆ อีกส่วนหนึ่งศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจะพาไปเรียนที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ชัยนาท (โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ชัยนาท 46) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ จนจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 

ในอดีตบรรพบุรุษชาวกะเหรี่ยงโปว์ชุมชนบ้านคลองเคียน ได้ร่วมกันอนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมตามแบบวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงโปว์เอาไว้ได้อย่างยั่งยืน แต่ปัจจุบันถูกกลืนกินหายไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากชุมชนกะเหรี่ยงโปว์แห่งนี้อยู่ใกล้กับชุมชนของคนไทยพื้นเมืองที่อยู่รอบ ๆ ชุมชน จึงทำให้วิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก 

การคมนาคมสัญจร ในอดีตในชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนแห่งนี้ ยังไม่มีถนนหนทางที่สะดวก    ในการเดินทางสัญจร ผู้คนในชุมชนบ้านคลองเคียนต้องเดินเท้าไปตามทางเท้า ข้ามภูเขา ป่าไม้ ลำธาร เพื่อที่จะไปทำธุรกรรมที่อำเภอ ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางอย่างน้อย 1 วัน พักค้าง 1 คืน และเดินทางกลับอีก 1 วัน จึงจะกลับถึงบ้าน หากจะต้องเดินทางไปที่ตัวจังหวัด จะต้องเดินเท้าถึง 4 วัน พักค้าง 3 คืน จึงจะกลับถึง ต่อมาเมื่อทางการเข้ามาพัฒนาถนนหนทาง มีถนนลูกรังเข้ามาถึงชุมชน บ้านคลองเคียนเริ่มมีรถโดยสารประจำทางเป็นรถรางไม้ 6 ล้อ รับ-ส่งผู้คนในชุมชน ไปที่ตลาดทุ่งนา ตำบลเขาบางแกรก อำเภอหนองฉาง 1 จุด และเดินทางไปที่ตัวจังหวัดอุทัยธานี อีก 1  จุด

ปัจจุบันนี้ไม่มีรถโดยสารประจำทางแล้ว หากคนในชุมชนที่จะเดินทางไปทำธุรกรรมในตัวอำเภอหรือจังหวัด    ต้องเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งปัจจุบันในชุมชนมีรถยนต์ของชาวบ้าน จำนวน 8 คัน ส่วนรถจักรยานยนต์    ส่วนบุคคลซึ่งปัจจุบันมีทุกครัวเรือน หรืออาศัยเพื่อนบ้านไป เป็นต้น และปัจจุบันนี้ถนนทางเข้าหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตแล้ว ยังเหลืออีกไม่กี่กิโลเมตรถนนคอนกรีตก็จะเข้าถึงหมู่บ้านคลองเคียน 

การคมนาคม

  • ระยะทางจากอำเภอถึงชุมชนบ้านคลองเคียน 27   กิโลเมตร
  • ระยะทางจากจังหวัดถึงชุมชน  75  กิโลเมตร
  • ระยะทางจากกรุงเทพถึงชุมชน 259 กิโลเมตร
  • เดินทางได้ทางบกทางเดียว คือ การคมนาคมสัญจรโดยรถยนต์และรถจักรยานยนต์

อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ       ติดต่อกับ  บ้านอีซ่า หมู่  3  ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

ทิศใต้        ติดต่อกับ  บ้านกระแหน่ หมู่ 9 ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านภูเหม็น หมู่ 8 ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แหล่งมรดกโลกห้วยขาแข้ง

สภาพพื้นที่ทางกายภาพ /ขนาดพื้นที่ชุมชน/พื้นที่สาธารณะ/การสาธารณูปโภคชุมชน

พื้นที่ชุมชนบ้านคลองเคียน ร้อยละ 90 เป็นพื้นที่ราบเชิงเขา มีเนินเขาจำนวนมากที่มีความสลับซับซ้อนอยู่รายรอบชุมชน พื้นที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 60 เป็นพื้นที่ทำการเกษตร พื้นที่ร้อยละ 20 เป็นที่อยู่อาศัย และพื้นที่ร้อยละ 20 เป็นพื้นที่ป่าชุมชน ภูเขา แม่น้ำคอกควาย ลำห้วยคลองเคียน ปัจจุบันมีผู้คนอาศัยอยู่ในชุมชน จำนวน 30 ครัวเรือน คงเหลือเฉพาะญาติที่สนิทชิดเชื้อที่ยังคงปักหลักอยู่ที่นี่ไม่ไปไหน 

ชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียน มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านชุมชน จำนวน 2 สาย สายที่หนึ่งคือ “แม่น้ำคอกควาย” มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาบริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ในพื้นที่มรดกโลกห้วยขาแข้ง มีระยะทางเฉพาะช่วงที่ไหลผ่านชุมชนกะเหรี่ยงบ้านอีซ่า ประมาณ 500 – 700 เมตร มีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี สายที่ 2 คือ “ลำห้วยคลองเคียน” ไหลมาจากเขตพื้นที่มรดกโลกห้วยขาแข้งซึ่งเป็นป่าต้นน้ำ ในชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียน มีต้นไทรในบริเวณชุมชน เป็นเสมือนพื้นที่จิตวิญญาณซึ่งเป็น วิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงโปว์ เป็นความผูกพันระหว่างคนกับป่าและต้นไม้ โดยชาวกะเหรี่ยงโปว์จะทำพิธีกรรมค้ำต้นไทร ปีละ 1 ครั้งบรรพบุรุษยุคแรกที่ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชนบ้านคลองเคียนแห่งนี้ เห็นว่าผืนดินบริเวณนี้มีความ          อุดมสมบูรณ์ มีเนินเขาและเชิงเขาที่ไม่สูงชันมากนัก เหมาะแก่การทำไร่หมุนเวียนตามแบบวิถีชนเผ่ากะเหรี่ยง  มีแม่น้ำคอกควายและลำห้วยคลองเคียนเป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค สภาพแวดล้อมมีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน จึงตัดสินใจตั้งถิ่นฐานสร้างชุมชนอยู่ในบริเวณนี้จวบจนปัจจุบัน พื้นที่กิจกรรมทางสังคม ปัจจุบันชุมชนบ้านคลองเคียน ไม่มีเจ้าวัดหรือผู้นำทางจิตวิญญาณ ดังนั้นคนในชุมชนจึงเดินทางไปร่วมพิธีไหว้เจดีย์กับชุมชนใกล้เคียงที่มีเจ้าวัด เช่น บ้านภูเหม็น บ้านไซเบอร์ หรือทางตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ ซึ่งเป็นความเชื่อทางจิตวิญญาณของชาวกะเหรี่ยง นอกจากนี้ ประเพณีแบบวิถีชนเผ่ากะเหรี่ยงโปว์ที่เหลืออยู่ เช่น ประเพณีการกินข้าวใหม่ การปักสะเดิ่งไว้ตามบ้านและตามไร่ข้าว เพื่อป้องกันภูตผีหรือสิ่งชั่วร้ายรังควาน พิธีกรรมบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยมและตามสังคมรอบข้าง นอกจากนี้ ชาวกะเหรี่ยงโปว์ในชุมชนนี้ไม่ค่อยได้สวมใส่เสื้อผ้ากะเหรี่ยงในชีวิตประจำวันกันแล้ว นิยมสวมใส่เสื้อผ้าสำเร็จรูปเหมือนคนไทยพื้นเมืองทั่วไป และจะหยิบเสื้อผ้ากะเหรี่ยงโปว์มาใส่ก็ต่อเมื่อมีประเพณีเทศกาลสำคัญที่ต้องรวมตัวกันในฐานะชนเผ่า หรือกรณีที่ต้องไปร่วมกิจกรรมในเมืองในฐานะตัวแทนชนเผ่ากะเหรี่ยงเท่านั้นสถานที่สำคัญทางสังคมและวัฒนธรรม ส่วนใหญ่จะมีการนัดพบพูดคุยหารือเรื่องสำคัญในบ้านของ    ผู้อาวุโสของชุมชน หรือบ้านผู้นำชุมชน นอกจากนี้ ยังมีการจับกลุ่มหารือกันอย่างไม่เป็นทางการตามบ้านต่าง ๆ แต่หากเป็นการประชุมหารืออย่างเป็นทางการแล้ว จะไปประชุมกันที่ศาลาประชาคมหมู่บ้าน หรือที่องค์การบริหารส่วนตำบล หรือที่อำเภอห้วยคต ปัจจุบันนี้ที่อยู่อาศัยของชุมชน รวมทั้งพื้นที่ทำการเกษตรของคนในชุมชน ล้วนเป็นพื้นที่ของป่าสงวนแห่งชาติห้วยป่าทับเสลาและห้วยป่าคอกควาย โซนซี ซึ่งได้มีการประกาศเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2528 ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2528 ซึ่งเป็นการประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติหลังจากที่ชาวบ้านได้อยู่อาศัยและทำมาหากินมาเป็นระยะเวลากว่า 100 ปีภายหลังการประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เจ้าหน้าที่รัฐแจ้งให้คนในชุมชนจับจองพื้นที่เพื่อแสดงสิทธิ์ความเป็นเจ้าของที่ชัดเจน โดยให้ชาวบ้านทำไร่อยู่กับที่ ไม่อนุญาตให้ทำไร่หมุนเวียนดังเช่นในอดีตอีกต่อไป จึงทำให้พื้นที่ทำไร่หมุนเวียนลดลง ฟื้นคืนพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเพิ่มขึ้น ดังนั้น วิถีชีวิตการทำไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงโปว์ จึงเปลี่ยนมาเป็นพื้นที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือพืชเศรษฐกิจในเวลาต่อมา 

ประชากรมีจำนวน  30 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 105  คน ประชากรชาย  53  คน ประชากรหญิง  52    คนประชากรทั้งหมดเป็นเชื้อสายกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์  105 คน  คิดเป็นร้อยละ 100

7.1 กลุ่มที่เป็นทางการ

7.1.1 กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อการผลิต 

ในอดีตชุมชนบ้านคลองเคียน เคยมีการรวมตัวกันเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการออมทรัพย์ และใช้ในการระดมทุนไว้ให้คนในชุมชนได้กู้ยืมไปประกอบอาชีพทางการเกษตรในอัตราดอกเบี้ยต่ำ แต่เมื่อรัฐบาลได้จัดให้มีกองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อการผลิตจึงไปสมัครเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านของรัฐบาลแทน 

7.1.2 กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์

มีการรวมตัวกันในนามกลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ทั้งชุมชน โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพของครอบครัวสมาชิก โดยให้ครอบครัวสมาชิกจ่ายเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ครอบครัวละ 50 บาท ต่อ 1 ศพ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของทายาทผู้เสียชีวิตในการจัดงานศพ 

7.1.3 กลุ่มสินเชื่อ ธ.ก.ส.

มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลุ่มละ 4 – 5 คน ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการเกษตรกับ ธ.ก.ส. โดยหมุนเวียนกันค้ำประกันภายในกลุ่ม ปัจจุบันนี้ชาวบ้านเป็นสมาชิกเกือบทุกครัวเรือน

7.2 กลุ่มที่ไม่เป็นทางการ  

7.2.1 กลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยงโปว์

มีการรวมกลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยงโปว์ หลังจากเสร็จภารกิจจากการทำการเกษตร จะมานั่งรวมกันเป็นกลุ่มตามใต้ถุนบ้านหรือใต้ต้นไม้ นั่งทอผ้ากะเหรี่ยงโปว์ซึ่งเป็นผ้าทอมือที่ใช้กี่เอวในการทอผ้า ส่วนใหญ่จะเป็นการทอผ้าไว้ตัดเย็บเสื้อผ้าไว้ใช้ในครัวเรือน ไม่ได้ทอผ้าเพื่อการจำหน่าย

7.2.2 กลุ่มประเพณีวัฒนธรรมและพิธีกรรม

ทุก ๆ ครั้งที่มีประเพณีวัฒนธรรมและการทำพิธีกรรมในชุมชนบ้านคลองเคียน จะมีการรวมกลุ่มของคนในชุมชนจำนวนมาก มีผู้อาวุโสที่ชาวบ้านนับถือทำหน้าที่เป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์ 

7.2.3 กลุ่มพลังศรัทธา

มีชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนกลุ่มหนึ่งที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา รวมตัวกันไปทำบุญที่ที่พักสงฆ์บ้านคลองเคียนเป็นประจำทุกวันธรรมสวนะ เป็นสถานที่ในการพูดคุยเรื่องการทำมาหากิน เรื่องสัพเพเหระ เรื่องประเพณีวัฒนธรรม และหารือกันเรื่องการทำการเกษตรเป็นต้น 

7.2.4 กลุ่มทำการเกษตร

เป็นการรวมตัวกันเป็นกลุ่มย่อย ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเครือญาติ 4 – 5 หลังคาเรือน ที่เป็นกลุ่มบ้านใกล้เรือนเคียงกัน รวมตัวช่วยเหลือกันทางการเกษตร เช่น มีการรวมตัวกันลงแขกปลูกข้าวไร่ ลงแขกเกี่ยวข้าว ลงแขกขุดมันสำปะหลัง เป็นต้น 

8.1 วิถีชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรม

8.1.1 ประเพณีกินข้าวใหม่

หลังจากที่ชาวบ้านเก็บเกี่ยวข้าวไร่เรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะนำข้าวไร่ขึ้นเก็บในยุ้งฉางทุกบ้านที่ปลูกข้าวไร่ จะมีการประกอบพิธีกรรมกินข้าวใหม่เป็นรายหลังคาเรือน หรือบางกลุ่มอาจจะประกอบพิธีกรรมกินข้าวใหม่เป็นกลุ่มญาติพี่น้อง โดยการจัดเตรียมข้าวปลาอาหาร สำรับอาหารหวาน-คาว ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการประกอบพิธี เมื่อเตรียมอาหารหวาน-คาวเรียบร้อยแล้ว เชิญผู้อาวุโสประกอบพิธี กล่าวขอบคุณและขอขมาเครื่องมือทางการเกษตรต่าง ๆ ที่ทำให้ข้าวไร่ได้ผลผลิตดี 

ความสัมพันธ์และอิทธิพลที่มีต่อวิถีชีวิต ข้าวไร่เป็นอาหารหลักของชาวกะเหรี่ยงโปว์มาตั้งแต่บรรพบุรุษ ปัจจุบันประชากรร้อยละ 50 ยังคงทำข้าวไร่อย่างต่อเนื่อง เพื่อเลี้ยงชีพ ดังนั้น พิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าว จึงยังคงถูกรักษาเอาไว้ได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นตอนปลูกข้าว ตอนที่  ใบข้าวเริ่มโค้งงอลงมาถึงพื้นดิน ตอนข้าวออกรวง และตอนเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งล้วนแต่มีพิธีกรรมในการบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทาง เพื่อขอให้ได้ผลผลิตมากและมีคุณภาพที่ดี

8.1.2 ประเพณีวันสงกรานต์

เมื่อถึงวันสงกรานต์ ผู้คนในชุมชนจะมีการรวมตัวกัน ณ บ้านของปราชญ์ชาวบ้านหรือบ้านผู้อาวุโสหรือบ้านของผู้นำชุมชน โดยเชิญชวนผู้อาวุโสทั้งหญิงและชายในชุมชนเข้าร่วมพิธีรดน้ำขอพร โดยปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้อาวุโสจะให้พรกับลูกหลาน ลูกบ้านจะร่วมกันรดน้ำขอพรผู้อาวุโสจนครบทุกคน ถือเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีการ ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากคนไทยพื้นเมือง 

ความสัมพันธ์และอิทธิพลที่มีต่อวิถีชีวิต ประเพณีสงกรานต์นั้น เดิมทีเป็นของคนไทยพื้นเมือง แต่ปัจจุบันได้แผ่อิทธิพลเข้ามาสู่กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์กลุ่มบ้านคลองเคียน 

8.1.3 ประเพณีลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทงของชาวกะเหรี่ยงโปว์ ได้รับอิทธิพลมาจากประเพณีลอยกระทงของคนไทยพื้นเมือง ซึ่งเป็นความสอดคล้องของผู้นำแห่งจิตวิญญาณที่ต้องการให้มีการขอขมาพระแม่คงคาที่ทำให้คนในชุมชนได้มีน้ำกินน้ำใช้ มีน้ำในการทำการเกษตรตลอดปีไม่เคยแห้งเหือดหายไป และถือเอาวันขึ้น    15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งตรงกับวันลอยกระทงของคนไทย เป็นวันลอยกระทงของชาวกะเหรี่ยงโปว์ด้วย  ซึ่งลักษณะกระทงของชาวกะเหรี่ยงโปว์จะมีความแตกต่างจากกระทงของคนไทย คือ กระทงจะมีขนาดใหญ่เป็นทรงสี่เหลี่ยมทำมาจากต้นกล้วยและกาบกล้วย ในกระทงจะมีอาหารหวาน-คาว มีดอกไม้ธูปเทียน และเครื่องสักการบูชาอื่น ๆ ตามสมควร โดยทั้งหมู่บ้านจะทำเพียงกระทงเดียว ช่วยกันหามไปลอยกระทงใน   แม่น้ำคอกควาย เพื่อขอขมาพระแม่คงคา

8.2 วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ 

8.2.1 การเตรียมดินเพาะปลูก

การเตรียมพื้นที่สำหรับเตรียมการเพาะปลูก ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม จะต้องมีการเตรียมดิน เช่น ถากถางวัชพืชหลังเก็บเกี่ยว เผาซากวัชพืช ไถบุกและไถแปรเพื่อพลิกหน้าดินขึ้นมาตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่สะสมใต้ดิน และฆ่าไข่ของตัวหนอนและเพลี้ยชนิดต่าง ๆ เพื่อให้ดินมีความพร้อมสำหรับการเพาะปลูกรอบใหม่ 

8.2.2 การเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร

หลังเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม หากฝนตกต้องตามฤดูกาลชาวบ้านจะเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร หลังจากนั้นเกษตรกรจะดูแลพืชผลทางการเกษตรต่อไปอีกราว ๆ 4 – 6 เดือน จึงจะได้เวลา    เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรในแต่ละชนิด ในช่วงนี้ จะมีพิธีกรรมที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชาวกะเหรี่ยง       บ้านคลองเคียน คือ การปักสะเดิ่งไหว้ผีป่าหรือไหว้ผีเจ้าที่ เพื่อขอให้การเพาะปลูกได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ แคล้วคลาดจากภัยธรรมชาติ และไม่มีโรคภัยรบกวน ซึ่งพิธีกรรมนี้จะทำในขณะที่ใบข้าวหรือพืชผลในไร่         มีใบชุดแรกที่เติบโตและใบโค้งงอลงมาจรดผิวดิน 

8.2.3 การเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตร

เมื่อพืชผลทางการเกษตรได้เวลาที่จะต้องเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะข้าวไร่ ชาวบ้านจะทำการเกี่ยวข้าวชุดหนึ่งมาทำพิธีกินข้าวใหม่ เสร็จแล้วจึงจะเก็บเกี่ยวข้าวไร่ทั้งหมดที่ยังอยู่ในไร่มาเก็บไว้ในยุ้งฉาง เพื่อเอาไว้บริโภคภายในครัวเรือนตลอดระยะเวลา 1 ปี 

9.1 ชื่อ นายบรรเทา  นามสกุล คลองแห้ง อายุ  65 ปี  เกิด พ.ศ. 2499

ที่อยู่บ้านเลขที่ 165 ชุมชนบ้านคลองเคียน หมู่ 1 บ้านคลองแห้ง ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

บทบาทและความสำคัญในชุมชน ความชำนาญ/ทักษะที่มี

นายบรรเทา คลองแห้ง เป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านสมุนไพรพื้นบ้าน สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นสำหรับโรคภัยที่มีกระบวนการรักษาที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และโรคภัยที่ไม่มีอาการรุนแรง เช่น ปวดหัว ปวดท้อง เป็นไข้หวัด เป็นต้น เป็นปราชญ์ด้านเครื่องจักสาน สอนให้ลูกหลานทำเครื่องมือเครื่องใช้จากไม้ไผ่    ไว้ใช้เองในครัวเรือน นอกจากนี้ยังเป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านพิธีกรรมพื้นฐานและด้านการทำการเกษตรและการทำมาหากินด้วยวิถีกะเหรี่ยงโปว์อีกด้วย

ชีวประวัติ

นายบรรเทา คลองแห้ง ไม่ทราบวันเกิดที่แน่ชัด แต่เกิดเดือนธันวาคม ปีพ.ศ. 2499 เกิดที่บ้านคลองเคียน แต่งานตอนอายุ 18 ปี มีลูกจำนวน 5 คน มีภรรยาชื่อ นางทองคำ คลองเคียน ลูก ๆ โตและแต่งงานครองเรือนกันหมดแล้ว ปัจจุบันลุงบรรเทามีอายุ 65 ปี ในวัยเด็กไม่ได้เรียนหนังสือไทย แต่ได้เรียนภาษากะเหรี่ยงโปว์ทั้ง    ภาษาพูดและภาษาเขียน ลูกหลานลุงบรรเทาส่วนใหญ่ได้ย้ายไปใช้ชีวิตในท้องถิ่นอื่นหลังจากแต่งงาน บุตร   บางคนย้ายไปทำงานในเมืองหลวง บางคนยังอยู่กับลุงบรรเทา บางคนไปรับราชการที่อื่น

นายบรรเทา คลองแห้ง เล่าให้ฟังว่า การใช้ชีวิตในชุมชนบ้านคลองเคียนแห่งนี้ มีความราบเรียบ เรียบง่าย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่มีเหตุการณ์วิกฤติที่จะต้องจดจำเป็นพิเศษที่เกิดขึ้นกับตนหรือเกิดขึ้นในชุมชนแห่งนี้ 

9.2 ชื่อ นางบุญมี นามสกุล คลองแห้ง อายุ  58 ปี  เกิด พ.ศ. 2508

ที่อยู่บ้านเลขที่ 17 ชุมชนคลองเคียน หมู่ 1 บ้านคลองแห้ง ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

บทบาทและความสำคัญในชุมชน ความชำนาญ/ทักษะที่มี

นางบุญมี คลองแห้ง เป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านการทอผ้ากะเหรียงโปว์ สอนลูกหลานทอผ้ากะเหรี่ยงโปว์ตามวิถีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพชน เป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านการแสดงพื้นบ้านและดนตรีพื้นบ้าน เช่น รำตง และการขับร้องบทเพลงพื้นบ้านกะเหรี่ยงโปว์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านภาษาพูดและภาษาเขียนกะเหรี่ยงโปว์ สามารถสอนภาษาพูดและภาษาเขียนได้อย่างคล่องแคล่ว 

ชีวประวัติ

นางบุญมี คลองแห้ง ไม่ทราบวันเกิดที่แน่ชัด แต่ตามบัตรประชาชนเกิดเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2508 เกิดที่บ้านคลองเคียน และเติบโตที่นี่ แต่งงานกับนายอังปาลี ภูเหม็น ตอนอายุ 20ปี อยู่ที่บ้านคลองเคียนและมีลูกด้วยกัน 4 คน ลูก ๆ ส่วนใหญ่แต่งงานแล้ว และแยกครอบครัวไปดำเนินชีวิตของตัวเอง แต่ยังคงอาศัยอยู่ในชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียน มีเพียงบางคนที่ย้ายไปทำงานที่อื่น 

9.3 ชื่อ นางมะวิงติง  นามสกุล คลองแก อายุ  70 ปี  เกิด พ.ศ. 2496

ที่อยู่บ้านเลขที่ 109 ชุมชนคลองเคียน หมู่ 1 บ้านคลองแห้ง ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

บทบาทและความสำคัญในชุมชน ความชำนาญ/ทักษะที่มี

นางมะวิงติง คลองแก เป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านสมุนไพรพื้นบ้าน สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นสำหรับโรคภัยที่มีกระบวนการรักษาที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และโรคภัยที่ไม่มีอาการรุนแรง เช่น ปวดหัว ปวดท้อง เป็นไข้หวัด รวมถึงเป็นหมอตำแยช่วยทำคลอดให้กับสตรีในชุมชนบ้านคลองเคียน เป็นต้น เป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านการแสดงพื้นบ้าน เช่น รำตง และการขับร้องบทเพลงพื้นบ้านกะเหรี่ยงโปว์ เป็นต้น เป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านงานบ้านงานเรือน เช่น การทำอาหารกะเหรี่ยงโปว์ บทบาทของสตรีชาวกะเหรี่ยงโปว์ในการครองเรือน และนอกจากนี้ยังเป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านการทอผ้ากะเหรี่ยงโปว์อีกด้วย 

ชีวประวัติ

นางมะวิงติง คลองแก ไม่ทราบวันเกิดและเดือนเกิดที่แน่ชัด แต่ตามบัตรประชาชนเกิดในปี พ.ศ. 2496 เกิดที่บ้านคลองเคียน แต่งงานกับนายเอ็งใช๊ คลองแก ตอนอายุ 17 ปี และดำเนินวิถีชีวิตอยู่ที่บ้านคลองเคียนมาตลอดชีวิต มีลูกด้วยกันจำนวน  2 คน ลูก ๆ แต่งงานแล้ว และใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนบ้านคลองเคียน 

1. ทุนทางกายภาพ 

1.1 แม่น้ำคอกควาย ประวัติความเป็นมา “แม่น้ำคอกควาย” เป็นแม่น้ำที่มีแหล่งต้นน้ำอยู่ในพื้นที่เขตป่าตะวันตกห้วยขาแข้ง ไหลลงมารวมกับลำห้วยลำธารสายเล็ก ๆ หลายสาย จนเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ ไหลผ่านตำบลคอกควายของอำเภอบ้านไร่ ผ่านป่าสงวนแห่งชาติห้วยป่าคอกควาย และไหลผ่านชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนแห่งนี้ ดังนั้น แม่น้ำคอกควายจึงเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนบ้านคลองเคียนหลายต่อหลายรุ่นมาอย่างยาวนาน 

ช่วงเวลาที่สำคัญ “แม่น้ำคอกควาย” ในฤดูแล้งบางปีน้ำในแม่น้ำคอกควายแทบจะแห้ง     จนแทบไม่มีน้ำไว้บริโภค ไม่มีน้ำทำการเกษตร ส่วนช่วงฤดูฝนในบางปีที่มีปริมาณน้ำฝนมาก น้ำในแม่น้ำไหลเชี่ยวหลากท่วมบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาของชาวบ้าน สร้างความเสียให้กับชาวบ้านพอสมควร 

คุณค่าและความหมายที่มีต่อชุมชน “แม่น้ำคอกควาย” เป็นเสมือนสายเลือดที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นทั้งแหล่งน้ำกินน้ำใช้และน้ำในการทำการเกษตร ผู้คนในชุมชนมีความผูกพันกับแม่น้ำสายนี้มาอย่างยาวนาน 

สถานการณ์ปัจจุบัน “แม่น้ำคอกควาย” เป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ไหลผ่านชุมชนกะเหรี่ยงโปว์ บ้านคลองเคียนและอยู่ใกล้กับชุมชนมาก แม่น้ำมักจะไหลเปลี่ยนทิศ ทำให้กัดเซาะริมตลิ่งกินเนื้อที่ไร่สวนของชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้แม่น้ำกว้างขึ้น แต่ที่ดินในการทำไร่สวนลดลง 

การสืบทอดและความยั่งยืน “แม่น้ำคอกควาย” เป็นแม่น้ำที่มีปริมาณน้ำลดลงไปเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าผืนป่าต้นน้ำและผืนป่าที่อยู่ระหว่างทางค่อย ๆ ลดจำนวนลงไปเรื่อย ๆ จึงไม่สามารถที่จะดูดซับความชุ่มชื้นของสายน้ำเอาไว้ได้ตลอดปี ในฤดูแล้งจึงมีน้ำในแม่น้ำน้อยมากจนเกือบแห้ง จึงสามารถพูดได้ว่าการรักษาทรัพยากรน้ำในชุมชนแห่งนี้ยังมีความยั่งยืนอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ไม่มากดังเช่นแต่ก่อน ควรเร่งให้มีการปลูกป่าทดแทนพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายไปกับการทำการเกษตร

1.2 ลำห้วยคลองเคียน มีประวัติความเป็นมา คือ “ลำห้วยคลองเคียน” เป็นลำห้วยที่มีแหล่งต้นน้ำอยู่ในพื้นที่เขตป่าตะวันตกห้วยขาแข้ง ไหลลงมาผ่านหลายพื้นที่และไหลผ่านชุมชนกะเหรี่ยงโปว์  บ้านคลองเคียน ดังนั้น ลำห้วยคลองเคียนจึงเป็นสายน้ำสายสำคัญอีกสายหนึ่งที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชน ช่วงเวลาที่สำคัญ “ลำห้วยคลองเคียน” ในฤดูแล้งบางปีน้ำในลำห้วยคลองเคียนแทบจะแห้ง จนแทบไม่มีน้ำไว้บริโภค ไม่มีน้ำทำการเกษตร ส่วนช่วงฤดูฝนในบางปีมีปริมาณน้ำฝนมาก น้ำในลำห้วยไหลเชี่ยวหลากท่วมบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาของชาวบ้าน สร้างความเสียให้กับชาวบ้านพอสมควร คุณค่าและความหมายที่มีต่อชุมชน “ลำห้วยคลองเคียน” เป็นเสมือนสายเลือดที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นทั้งแหล่งน้ำกินน้ำใช้และน้ำในการทำการเกษตรผู้คนในชุมชนมีความผูกพันกับลำห้วยสายนี้มาอย่างยาวนาน สถานการณ์ปัจจุบัน “ลำห้วยคลองเคียน” มีขนาดเล็กลงและมีน้ำน้อยลงทุกปี โดยเฉพาะใน   ฤดูแล้งน้ำในลำห้วยเหลือน้อยจนเกือบแห้ง เวลาหน้าฝนน้ำก็หลากและไหลเชี่ยว ควรต้องมีการปรับปรุงป่าต้นน้ำการสืบทอดและความยั่งยืน “ลำห้วยคลองเคียน” สายน้ำนี้มีปริมาณน้ำลดลงไปเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า ผืนป่าต้นน้ำและผืนป่าที่อยู่ระหว่างทางที่ลำห้วยไหลผ่านนั้น ค่อย ๆ ลดจำนวนน้อยลงไป   ไม่สามารถที่จะดูดซับความชุ่มชื้นของสายน้ำเอาไว้ได้ตลอดปี ในฤดูแล้งจึงมีน้ำน้อยมากจนเกือบแห้ง ชาวบ้านยังต้องพึ่งบ่อน้ำบาดาลในการดำรงชีวิต ดังนั้น สิ่งที่ควรเร่งดำเนินการในการบำรุงรักษาแหล่งน้ำ คือ ควรเร่งให้มีการปลูกป่าทดแทนพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายไปกับการทำการเกษตรโดยเร่งด่วน1.3 ป่าสงวนแห่งชาติ  ประวัติความเป็นมา เมื่อปี พ.ศ. 2528 กรมป่าไม้ได้ประกาศเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติห้วยป่าทับเสลาและห้วยป่าคอกควาย ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งทับซ้อนพื้นที่ที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์ในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีหลายชุมชน รวมถึงชุมชนกะเหรี่ยงบ้านคลองเคียนแห่งนี้ด้วย ซึ่งเป็นที่ที่เคยทำมาหากินและเป็นพื้นที่ทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชนเผ่าแห่งกะเหรี่ยงอย่างอิสรเสรี ซึ่งได้มีการสืบสานกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล เป็นที่น่าเสียดายที่ดินของบรรพบุรุษที่ได้สั่งสมไว้ประมาณ 100 ไร่ต่อครัวเรือน ซึ่งรัฐได้จัดสรรให้ชาวบ้านใหม่โดยมี  ที่ทำกินในพื้นที่ของตนเองเพียงครัวเรือนละ 25 – 30 ไร่ และห้ามไม่ให้ทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชนเผ่ากะเหรี่ยง อีกต่อไป ดังนั้นการทำไร่หมุนเวียนตามวิถีบรรพบุรุษแห่งกะเหรี่ยงโปว์จึงสิ้นสุดลง และไม่มีการอนุรักษ์สืบสานการทำไร่หมุนเวียนกันอีกเลยจวบจนปัจจุบันช่วงเวลาที่สำคัญ เมื่อปี พ.ศ. 2528 หลังการประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติห้วยป่าทับเสลาและห้วยป่าคอกควาย ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมโยงกับเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ พื้นที่กะเหรี่ยงในหลายอำเภอในจังหวัดอุทัยธานี เกิดผลกระทบกับกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนพื้นที่ราบสูงหรือในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ และการประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติของรัฐนั้นมีเป้าหมายเพื่อเป็นการอนุรักษ์พื้นที่ป่าสมบูรณ์ไว้เป็นทรัพยากรของชาติ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างปัญหาความขัดแย้งระหว่างกฎหมายรัฐกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในหลายพื้นที่ในจังหวัดอุทัยธานีมาจนถึงปัจจุบันนี้ คุณค่าและความหมายที่มีต่อชุมชน ชาวกะเหรี่ยงโปว์รู้ดีว่าคุณค่าของป่าไม้มีมากมายเพียงใด ดังคำพูดที่ว่า “ที่ไหนมีป่า ที่นั่นมีกะเหรี่ยง” และ “ที่ไหนมีกะเหรี่ยงที่นั่นมีป่า” คำพูดนี้ยังคงเป็นความจริงมาจนถึงทุกวันนี้ แบบที่ไม่มีวันจะเสื่อมสลายไป ดังจะเห็นได้ว่าหมู่บ้านกะเหรี่ยงทุกหมู่บ้านจะมีป่าชุมชนหรือป่า      ตามภูเขาอยู่เสมอซึ่งเป็นการรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของบรรพบุรุษชาวกะเหรี่ยงโปว์เอาไว้ได้เป็นอย่างดีสถานการณ์ปัจจุบัน แม้ปัจจุบันนี้ป่าชุมชนหรือป่าไม้ตามไหล่เขาและบนภูเขารอบ ๆ ชุมชนจะลดลงไปมากหากเมื่อเทียบกับป่าในอดีต แต่ก็ยังเหลือพื้นที่ป่าอยู่ร้อยละ 15 – 20 ของพื้นที่ที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินในปัจจุบัน 2. ทุนมนุษย์  ชุมชนบ้านคลองเคียนทุนที่สำคัญที่สุดคือทุนมนุษย์ เนื่องจากมีปราชญ์ชาวบ้านด้านสมุนไพรพื้นบ้าน ปราชญ์ด้านพิธีกรรม ปราชญ์ด้านศิลปะและดนตรีพื้นบ้าน ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร ปราชญ์ด้านผ้าทอกะเหรี่ยง ปราชญ์ด้านการดำรงวิถีชีวิต ซึ่งทั้งหมดเป็นกำลังสำคัญและเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าในการขับเคลื่อนองคาพยพชุมชนบ้านคลองเคียน ช่วงเวลาที่สำคัญ ปราชญ์ชาวบ้านทุกด้านได้ทำคุณประโยชน์ให้กับชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้าน     คลองเคียนตลอดมาจวบจนถึงปัจจุบัน ร่วมกันอนุรักษ์ สืบสาน วิถีวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของชาวกะเหรี่ยงโปว์เอาไว้ได้เป็นอย่างดี คุณค่าและความหมายที่มีต่อชุมชน  ปราชญ์ชาวบ้านและผู้อาวุโสที่ได้รับการยอมรับนับถือ   ทุกคนเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อชุมชนอย่างอเนกอนันต์ เป็นที่พึ่งทางกายด้วยการเป็นหมอสมุนไพร ได้ช่วยชาวบ้านยามทุกข์ร้อนเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นที่พึ่งทางใจด้วยการเป็นที่ปรึกษาด้านการประกอบพิธีกรรม รวมถึง    ผู้อาวุโสในชุมชนหลายคนที่ช่วยทำให้คนในชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข  สถานการณ์ปัจจุบัน ปราชญ์ชาวบ้านหลายคนอายุมากแล้ว แต่ยังคงแข็งแรงและเดินได้คล่องแคล่ว พูดจาเสียงดังฟังชัด และยังคงช่วยเหลือชาวบ้านอยู่อย่างต่อเนื่องตามความรู้ความสามารถและทักษะวิชาชีพที่ตนมีอยู่ ส่วนศิลปินพื้นบ้านและบทเพลงพื้นบ้านนั้น ไม่ค่อยมีเวทีให้ทำการแสดง จึงไม่ค่อยได้ถ่ายทอดให้ การสืบทอดและความยั่งยืน ไม่ค่อยได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านให้แก่เยาวชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสมุนไพร ประเพณีวัฒนธรรม วิถีการทำไร่หมุนเวียน เครื่องจักสาน รวมถึงไม่ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องศิลปะการแสดงพื้นบ้าน บทเพลงพื้นบ้าน และนิทานพื้นบ้านให้แก่ลูกหลาน หากไม่เร่งดำเนินการถ่ายทอดให้ลูกหลาน เกรงว่าอาจสูญหายไปในสักวันในอนาคตอันใกล้นี้3. ทุนทางวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น 3.1 การทอผ้ากะเหรี่ยงและเครื่องแต่งกายกะเหรี่ยง ประวัติความเป็นมา ชาวกะเหรี่ยงโปว์    บ้านคลองเคียนทุกวันนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้แต่งกายด้วยชุดกะเหรี่ยงโปว์ในการดำรงวิถีชีวิตในปัจจุบัน แต่ทุกคนมีชุดกะเหรี่ยงของตนเอง หากแม้นผู้นำชุมชนต้องการให้สวมใส่ชุดกะเหรี่ยง ทุกคนพร้อมที่จะหยิบขึ้นมาสวมใส่ได้ทันที เพื่อแสดงอัตลักษณ์ความเป็นกะเหรี่ยงโปว์ ช่วงเวลาที่สำคัญ การแต่งกายด้วยผ้าทอกะเหรี่ยงโปว์ ชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนจะแต่งกายด้วยชุดกะเหรี่ยงโปว์เต็มรูปแบบโดยพร้อมเพรียงกัน ในหลายวาระ เช่น เทศกาลขึ้นปีใหม่ชาวกะเหรี่ยงโปว์ งานไหว้เจดีย์ของชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านใกล้เคียง งานสงกรานต์และประเพณีรดน้ำขอพรผู้อาวุโสชาวกะเหรี่ยง พิธีกรรมการกินข้าวใหม่ งานแต่งงาน งานต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่มาเยือนคุณค่าและความหมายที่มีต่อชุมชน  เครื่องแต่งกายและการแต่งกายของชาวกะเหรี่ยงโปว์ เป็นเครื่องแบบที่แสดงถึงอัตลักษณ์ความเป็นกะเหรี่ยงโปว์ที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และมอบไว้ให้ลูกหลานได้สืบทอดและให้มีความภาคภูมิใจในชาติพันธุ์ของตนทุกครั้งที่ได้สวมใส่ การสืบทอดและความยั่งยืน ชาวกะเหรี่ยงโปว์กลุ่มบ้านคลองเคียนทุกคนรักและหวงแหน ในประเพณีวัฒนธรรม อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ศิลปวัฒนธรรมของตนเอง ทุกคนพร้อมใจกันที่จะร่วมกันอนุรักษ์ และสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพชนได้สรรค์สร้างไว้ และพร้อมที่จะสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นต่อไป3.2 อาหารกะเหรี่ยง มีประวัติความเป็นมา คือ ชาวกะเหรี่ยงโปว์ไม่ว่าจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่แห่งหนตำบลใดก็ตาม มักจะนำวัฒนธรรมเรื่องอาหารการกินซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมติดตัวไปด้วย ชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนก็เช่นเดียวกัน ได้ร่วมอนุรักษ์ สืบสาน และสืบทอดเรื่องอาหารการกินของชาวกะเหรี่ยงโปว์ และได้ถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่รุ่นสู่รุ่นอย่างต่อเนื่อง ช่วงเวลาที่สำคัญ การทำอาหารกะเหรี่ยงนั้นทำได้ง่าย ทำได้ทุกวัน และทำได้ในทุกฤดูกาล เป็นรายการอาหารที่สามารถหาวัตถุดิบและเครื่องปรุงได้ง่ายในท้องถิ่น มีขั้นตอนและวิธีการปรุงที่ไม่ยุ่งยาก คุณค่าและความหมายที่มีต่อชุมชน  อาหารพื้นบ้านกะเหรี่ยงโปว์ชุมชนกลุ่มบ้านคลองเคียนมีคุณค่าทางโภชนาการครบ 5 หมู่ และมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชาวกะเหรี่ยงโปว์ สถานการณ์ปัจจุบัน ถึงแม้ว่าชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนจะได้รับอิทธิพลเรื่องอาหาร การกินจากโลกภายนอกในยุคโลกาภิวัตน์อย่างมากมาย แถมสื่อดิจิตอลและสื่อออนไลน์ยังโหมกระหน่ำใส่ลูกหลานชาวกะเหรี่ยงโปว์ชุมชนบ้านคลองเคียนอย่างหนักหน่วง ทำให้ชาวกะเหรี่ยงวัยกลางคนและเยาวชน  คนรุ่นใหม่หันไปทำอาหารไทยและอาหารสากลกันมาก แต่ชาวกะเหรี่ยงโปว์ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมด้านอาหารที่บรรพบุรุษได้สรรสร้างเอาไว้ได้เป็นอย่างดี การสืบทอดและความยั่งยืน ชาวกะเหรี่ยงโปว์รุ่นพ่อรุ่นแม่หรือรุ่นปู่รุ่นย่ายังคงสอนลูกหลาน ให้ดำรงวิถีชีวิตแบบกะเหรี่ยงโปว์ ทำให้มั่นใจได้ว่าการถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านอาหารของกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนจะดำรงคงอยู่อย่างมั่นคงและยั่งยืน3.3 ขนบธรรมเนียมประเพณีกะเหรี่ยงโปว์  ประวัติและความเป็นมา ชุมชนบ้านคลองเคียน    เป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมกะเหรี่ยงโปว์ที่สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะในชุมชนแห่งนี้อยู่ห่างไกลจากชุมชนของคนไทยพื้นเมือง ได้รับอิทธิพลในการใช้ชีวิตจากชุมชนเมืองค่อนข้างน้อย ที่สำคัญคนในชุมชนมีความเชื่อและ ความศรัทธาแห่งวิถีกะเหรี่ยงโปว์ดั้งเดิม ทำให้ชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนยังคงรักษาประเพณีวัฒนธรรม ที่ดีงามตามวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์เอาไว้ได้เป็นอย่างดีช่วงเวลาที่สำคัญ ชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนมีการดำรงชีวิตด้วยวิถีวัฒนธรรมแบบกะเหรี่ยงโปว์ตามแบบอย่างบรรพบุรุษได้สมบูรณ์ ถึงแม้จะมีวัฒนธรรมภายนอกเข้ามาแทรกแซงวิถีชีวิตก็ตาม คุณค่าและความหมายที่มีต่อชุมชน ชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามของชาวกะเหรี่ยงโปว์เอาไว้ได้อย่างมั่นคง สถานการณ์ปัจจุบัน ชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนจะมีการรวมตัวกันเพื่อจัดงานประเพณีวัฒนธรรมหลายครั้งตามปฏิทินประเพณีและพิธีกรรม ดังนั้น ชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนจึงร่วมกันแสดงอัตลักษณ์วัฒนธรรมกันอย่างชัดเจน การสืบทอดและความยั่งยืน ชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนได้ร่วมกันอนุรักษ์สืบสานรากฐานวัฒนธรรมของชนเผ่ากะเหรี่ยงเอาไว้ได้ดี มั่นคงและยั่งยืน4. ทุนทางเศรษฐกิจ พืชเศรษฐกิจ ประวัติความเป็นมา ในอดีตบรรพบุรุษของชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนนิยมปลูกข้าวไร่ในไร่หมุนเวียน เป็นการปลูกข้าวไร่ไว้กินในครัวเรือน ไม่ได้ปลูกเพื่อการจำหน่าย ทั้งนี้ การทำไร่หมุนเวียนจะปลูกพืชผักสวนครัวไว้ในไร่หมุนเวียนด้วย ไว้เพื่อการบริโภคโดยไม่ต้องซื้อหาแต่อย่างใด ช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลง จากยุคการทำไร่หมุนเวียนไปสู่การปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือพืชเศรษฐกิจ คือ ยุคที่ที่ดินทำกินของชุมชนถูกประกาศเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติห้วยป่าทับเสลาและห้วยป่าคอกควาย ชาวบ้านได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินจำนวนจำกัดมาก ไม่เพียงพอกับการทำไร่หมุนเวียน ประกอบกับความเจริญทางวัตถุเริ่มแพร่หลายเข้ามาสู่ชุมชน ทำให้ชาวบ้านจำเป็นต้องใช้เงินเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีพ การปลูกพืชจึงเปลี่ยนมาเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือพืชเศรษฐกิจ คุณค่าและความหมายที่มีต่อชุมชน ไม่ว่าจะเป็นอดีตที่ผู้คนปลูกพืชเพื่อการดำรงชีพ หรือปัจจุบันที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อจำหน่าย ทั้งสองแนวทางล้วนมีคุณค่าและมีความหมายต่อชีวิตของผู้คนในชุมชนสถานการณ์ปัจจุบัน ชาวบ้านนิยมปลูกพืชเศรษฐกิจจำพวก ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปาล์ม อ้อย สับปะรด เป็นต้น ซึ่งเป็นพืชล้มลุกที่โตเร็ว ทนแล้ง และสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้เป็นอย่างดีการสืบทอดและความยั่งยืน การปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือพืชเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะเติบโตอย่างต่อเนื่องและจะยังคงดำรงอยู่เช่นนี้ต่อไปในอนาคตอีกหลายทศวรรษข้างหน้า5. ทุนทางสังคม/การเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง ประวัติความเป็นมา จากอดีตถึงปัจจุบันชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียน ให้ความสำคัญกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก เมื่อภาครัฐได้มีการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ขึ้นมาดูแลความสงบเรียบร้อย ชาวบ้านให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นอย่างดี ด้วยการไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง และปฏิบัติตามธรรมนูญของชุมชนอย่างเข้มแข็ง แสดงให้เห็นถึงการยอมรับและเคารพในระบอบประชาธิปไตยช่วงเวลาที่สำคัญ ชาวบ้านให้ความเคารพและยอมรับในตัวผู้นำชุมชนทุกรุ่น เมื่อภาครัฐกำหนดให้ประชาชนมาลงคะแนนเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านก็ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่ง คุณค่าและความหมายที่มีต่อชุมชน ชุมชนแห่งนี้ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านเหตุการณ์ร้ายและดีมาอย่างยาวนานกว่า 200 ปี ผ่านการปกครองโดยผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีความเข้าใจในวัฒนธรรมประชาธิปไตย มีส่วนร่วมและพร้อมให้ความร่วมมือ สถานการณ์ปัจจุบัน ชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียน เป็นชุมชนขนาดเล็กที่มีประชากรเพียง 30 ครัวเรือน ภาครัฐต้องนำจำนวนประชากรไปรวมกับกลุ่มอื่น ๆ อีกหลายกลุ่ม จึงเป็นหมู่บ้านในนามหมู่ที่ 1 บ้านคลองแห้ง ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี การสืบทอดและความยั่งยืน มีการดำเนินการด้านการเมืองการปกครองด้วยความเรียบร้อยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่เคยมีความขัดแย้ง และไม่เคยเสียเลือดเนื้อกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองในทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา และจะมีการดำรงรักษาไว้ซึ่งประชาธิปไตยและความสงบเรียบร้อยเช่นนี้ตลอดไป
  • ภาษาพูดพื้นถิ่น ได้แก่ ภาษากะเหรี่ยงโปว์ เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในครัวเรือนและใช้ในการพูด ในชุมชนบ้านคลองเคียน และใช้ในการสื่อสารกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์จากท้องถิ่นอื่น ๆ           
  • ภาษาเขียน ได้แก่ ภาษาเขียนกะเหรี่ยงโปว์ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์ทั่วประเทศ และกะเหรี่ยงโปว์จากทั่วโลก ซึ่งใช้สื่อสารกันเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์ 
  • สถานการณ์ปัจจุบัน  ชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนในปัจจุบัน มีผู้ที่สามารถใช้ภาษาเขียนกะเหรี่ยงโปว์ได้จำนวนน้อยมาก ไม่ถึงร้อยละ 5 ของประชากร เนื่องจากเยาวชนกะเหรี่ยงโปว์และประชาชนชาวกะเหรี่ยงโปว์ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก สำหรับภาษาพูดกะเหรี่ยงโปว์ ยังคงมีประชากรชาวกะเหรี่ยงโปว์ร้อยละ 80 ที่สามารถพูดได้ เนื่องจากชาวกะเหรี่ยงโปว์ให้ความสำคัญกับภาษาพูด และพยายามสอนให้ลูกหลานเยาวชนพูด

ชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยในยุคแรกมีการปกครองโดยผู้นำชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ ต่อมามีการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านโดยภาครัฐ และภายหลังเปลี่ยนมาเป็นการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน รวมถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการเลือกตั้งทุกระดับ 

การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและนอกชุมชน เพื่อรับมือกับสถานการณ์หรือแก้ปัญหาต่าง ๆ 

ชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนเป็นชุมชนที่มีความร่วมมือร่วมใจเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันตลอดมา ทุกครั้งที่เกิดสถานการณ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุบ้านการเมือง ภัยธรรมชาติ หรือภัยคุกคามก็ตาม คนในชุมชนจะ ช่วยกันแก้ไขวิกฤติต่าง ๆ ให้ผ่านพ้นไป โดยมุ่งประโยชน์สุขของประชาชนส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

แนวทางแก้ไขปัญหาและรับมือกับความท้าทาย

ผู้นำชุมชนที่ภาครัฐแต่งตั้ง เช่น ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทองหลาง ผู้นำแห่งจิตวิญญาณและความเชื่อ คณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. ผู้นำกองทุนหมู่บ้าน จะเป็นแกนนำ     ในการเชิญสมาชิกลูกบ้านประชุม เพื่อร่วมกันระดมความคิดเห็น กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาและรับมือกับความท้าทายจากวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น 

การรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่าย

ในชุมชนมีเครือข่ายที่เป็นทางการ เช่น เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน เครือข่ายเงินกู้ ธกส. เครือข่ายฌาปนกิจสงเคราะห์ เป็นต้น และส่วนใหญ่จะเป็นเครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ เช่น การรวมตัวกันทอผ้ากะเหรี่ยง เครือข่ายพิธีกรรม เครือข่ายหาของป่า เครือข่ายพิธีกรรมงานอวมงคล สรุปแล้ว ชุมชนยังคงมีการสร้างเครือข่าย   ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งเครือข่ายที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อขับเคลื่อนวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงโปว์   บ้านคลองเคียนให้สงบสุขร่มเย็นสืบไป 

บทบาทของหน่วยงาน/องค์กรภายนอกที่เข้ามามีส่วนร่วม

จากอดีตถึงปัจจุบันมีหน่วยงานภายนอกที่เป็นภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนกะเหรี่ยงบ้านคลองเคียนหลายหน่วยงาน เช่น อำเภอห้วยคต องค์การบริหารส่วนตำบลทองหลาง ศูนย์   พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดอุทัยธานี สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุทัยธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุทัยธานี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุทัยธานี เกษตรอำเภอห้วยคต เป็นต้น สำหรับบุคคลหรือองค์กรเอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วม เช่น  สถาบันธรรมชาติพัฒนา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน 


มีการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากอดีตถึงปัจจุบัน จากอดีตเป็นการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เพื่อการดำรงชีพ ต่อมาชาวบ้านถูกจำกัดที่ดินทำกิน เนื่องจากการประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติทับซ้อนที่ดินทำกิน ผู้คนในชุมชนจึงหันมาปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือพืชเศรษฐกิจ 


ประชากรชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนมีการเปลี่ยนแปลงในหลายช่วงเวลา กล่าวคือ ในระยะแรกที่มีชาวกะเหรี่ยงโปว์เข้ามาบุกเบิกพื้นที่ทำกินในบริเวณบ้านคลองเคียน มีเพียงไม่กี่ครัวเรือน เมื่อครอบครัวเหล่านี้ได้บอกต่อไปยังญาติ ๆ ทำให้มีชาวกะเหรี่ยงย้ายเข้ามาอยู่ที่ชุมชนบ้านคลองเคียนเป็นจำนวนมาก ราว ๆ 100 ครัวเรือน ต่อมาประสบปัญหาภัยแล้งในปีที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้การเกษตรไม่ดาเช่นเดิม กอปรกับภาครัฐได้ประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติทับซ้อนที่ทำกินของชาวบ้าน และรัฐจัดสรรที่ทำกินให้ชาวบ้านใหม่ โดยจำกัดที่ดินทำกินเพียงครอบครัวละ  25 – 30 ไร่ ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถ   ทำไร่หมุนเวียน ส่งผลให้ชาวบ้านทยอยย้ายออกไปจากชุมชนแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันนี้มีประชากรคงเหลือเพียง 30 หลังคาเรือน


ชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนย้ายมาจากหลาย ๆ ชุมชนทั้งในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีและต่างจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่มีสิทธิในสัญชาติอยู่แล้ว ผู้คนในชุมชนจึงไม่มีปัญหาเรื่องสิทธิในสัญชาติ ทุกคนมีบัตรประชาชน มีสิทธิพลเมืองขั้นพื้นฐาน รวมถึงได้รับสวัสดิการแห่งรัฐเทียบเท่าประชาชนคนไทยทุกคน 


เมื่อชุมชนบ้านคลองเคียนมีประชากรมากขึ้น รัฐจึงเข้ามาช่วยเหลือด้วยการทำประปาหมู่บ้าน ทำถนนคอนกรีตเข้าหมู่บ้าน (ถึงแม้จะยังไม่เสร็จสิ้นตลอดสายก็ตาม) เสียดายที่ยังไม่ได้เดินไฟฟ้าเข้าหมู่บ้าน และไม่มีเสาสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งยังต้องพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่อไป


ปัจจุบันชาวบ้านคลองเคียนได้รับสวัสดิการจากภาครัฐเกี่ยวกับการสาธารณสุขเท่าเทียมกับประชาชนคนไทยทุกคน และมีห้องน้ำห้องส้วมที่ถูกสุขอนามัยทุกครัวเรือน


ปัจจุบันนี้เด็กและเยาวชนทุกคนได้รับการศึกษาภาคบังคับ เพราะมีโรงเรียนหลายแห่งที่อยู่ใกล้ ๆ กับชุมชน เด็กและเยาวชนที่มีโอกาสได้เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเรียนจบร้อยละ 80 และมีเยาวชนบางส่วนที่มีโอกาสเรียนต่อระดับปริญญาตรี และเรียนจบร้อยละ 10 


ชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนล้วนยึดมั่นรักษาอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ให้คงอยู่ด้วยการร่วมกันอนุรักษ์สืบสานสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่ต้องยอมรับว่าไม่สามารถ        ทัดทานวัฒนธรรมจากภายนอกได้ ซึ่งมีความทันสมัยและเจริญก้าวหน้าแบบก้าวกระโดด และเข้ามาแทรกซึมวิถีวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงโปว์ในทุกมิติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้วัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงโปว์ค่อย ๆ เลือนหายไปทีละน้อย ปัจจุบันนี้ อัตลักษณ์วัฒนธรรมกะเหรี่ยงโปว์ของชุมชน จะรับรู้กันในกลุ่มคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุเท่านั้น เด็กและเยาวชนแทบจะไม่รู้ความเป็นมา จึงเป็นความท้าทายของภาครัฐและผู้นำชุมชนว่าจะมีแนวทางอนุรักษ์สืบสานอัตลักษณ์วัฒนธรรมที่ดีงามที่บรรพบุรุษได้สรรสร้างเอาไว้ให้คงอยู่ต่อไปได้อย่างไร 


ในยุคบุกเบิกยอมรับว่าที่ดินผืนนี้เป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์มากจริง ๆ ต่อมาเมื่อมีประชากรย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ถูกแปรสภาพเป็นที่อยู่อาศัย ไร่หมุนเวียน สวน และไร่เกษตรเชิงเดี่ยวของคนในชุมชน และจากฝีมือของนายทุนที่มาทำไร่ ทำสวนในบริเวณนี้ ทำให้ผืนป่าตามธรรมชาติและผืนป่าชุมชนเหลือเพียงร้อยละ 20 ของพื้นที่ทั้งหมด 


ป่าสงวนแห่งชาติห้วยป่าทับเสลาและห้วยป่าคอกควาย

ชุมชนบ้านคลองเคียนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ สูญเสียโอกาสในการพัฒนาและสร้างรายได้จากความเจริญของระบบสาธารณูปโภคเหล่านี้ เพราะความเจริญเหล่านี้จะช่วยเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งได้ขึ้นได้

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
61170