Advance search

ชุมชนปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง บ้านแม่สาน จากคำบอกเล่านายรังแก้ว ค้างคีรี ว่าก่อนปี 2516 มีโจรปล้น ฆ่า ชาวบ้านแม่สาน จึงพากันหอบลูกจูงหลานอพยพหนีภัยไปอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน กระทั้งนายอำเภอลี้ได้สอบถามเรื่องราวและประสานกับนายอำเภอศรีสัชนาลัยสมัยนั้นเพื่อนำชาวบ้านกลับมายังบ้านแม่สาน ราษฎรกะเหรี่ยงที่บ้านแม่สานนั้น นามสกุลเหมือนกันทั้งหมู่บ้าน คือ นามสกุล “ ค้างคีรี ” สอบถามแล้วได้ความว่านายอำเภอผู้หนึ่งตั้งให้ทุกคนในคราวเดียวกัน 

ผลิตภัณฑ์ชุมชนกะเหรี่ยง

- สินค้าชุมชน Organic Riceberry ข้าวไรซ์เบอร์รี่ หอม นุ่ม ปลูกเองธรรมชาติปลอดสารพิษ 100%

- กล้วยตาก กล้วยเบรกแตก "เก่อญอ"

- เครื่องจักรสานผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระติ๊บข้าวเหนียว กระด้ง ชะลอม เป็นต้น

- ผ้าทอกี่เอวของชาติพันธ์ปกาเกอะญอ บ้านแม่สาน หมู่ที่ 6 ต.แม่สำ  อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ซึ่งมีลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น กว่า 30 ลาย ผ้าทอกะเหรี่ยงมีลักษณะเป็นลวดลายที่ได้จากการย้อมจากสีธรรมชาติซึ่งชาวกะเหรี่ยงได้มีกลวิธีและการสร้างลวดลายผ้าทอที่ผู้ทอจะยึดให้เป็นรูปแบบลวดลายดั้งเดิมที่เคยทอไว้ในอดีตลวดลายผ้าทอกะเหรี่ยงแบบดั้งเดิมได้ถูกถ่ายทอด มาจากรุ่นบรรพบุรุษ จากการสนทนากลุ่มปราชญ์ชาวบ้านด้านผ้าทอกะเหรี่ยง

-สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ 

การแสดงพื้นบ้าน เช่น การฟ้อนเจิง (รำดาบ) , รำกระด้ง, กาซอ

       ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี ความเชื่อ ของชาวปกาเกอะญอ             ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนกะเหรี่ยงในชุมชน ได้แก่ พิธีการเกิด พิธีงานศพ พิธีแต่งงาน ประเพณีซอเจดีย์ทราย ประเพณีหลังเกี่ยวข้าวและพิธีเกี่ยวกับผี 

การแต่งกาย

         การแต่งกายของปกาเกอะญอบ้านแม่สาน เสื้อเด็กและหญิงสาวจะเป็นชุดทรงกระสอบ ผ้าฝ้ายพื้นขาว ทอหรือปักประดับลวดลายให้งดงาม ส่วนหญิงที่มีครอบครัวแล้วจะสวมเสื้อสีดำ น้ำเงิน และผ้านุ่งสีแดงคนละท่อน ตกแต่งด้วยลูกเดือย หรือทอยกดอก ยกลาย สำหรับผู้ชายกะเหรี่ยงนั้นส่วนมากจะสวมเสื้อตัวยาวถึงสะโพก ตัวเสื้อจะมีการตกแต่งด้วยแถบสีไม่มีการปักประดับเหมือนเสื้อผู้หญิง การแต่งกายของปกาเกอะญอบ้านแม่สาน แบ่งออกไปตามเพศ อายุและสถานะทางสังคมได้แก่ เพศชาย เพศหญิง วัยเด็ก วัยรุ่น-วัยชรา และหญิงที่มีสถานะแต่งงานแล้ว

6
บ้านแม่สาน
แม่สำ
ศรีสัชนาลัย
สุโขทัย
ปัญญา ค้างคีรี
3 ส.ค. 2023
จีรภัทร นาจรัส
11 ส.ค. 2023
สุดารัตน์ ศรีอุบล
7 เม.ย. 2024
บ้านแม่สาน

บ้านแม่สาน หมู่ที่ 6 ตำบลแม่สำ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย อยู่ห่างจากตัวอำเภอศรีสัชนาลัย ราว 50 กิโลเมตร ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากระเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) อาศัยอยู่มาเป็นเวลานานนับร้อยปี ดังจะเห็นได้จากต้นมะขามยักษ์   ต้นมะม่วงยักษ์   และต้นขนุนยักษ์


ชุมชนปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง บ้านแม่สาน จากคำบอกเล่านายรังแก้ว ค้างคีรี ว่าก่อนปี 2516 มีโจรปล้น ฆ่า ชาวบ้านแม่สาน จึงพากันหอบลูกจูงหลานอพยพหนีภัยไปอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน กระทั้งนายอำเภอลี้ได้สอบถามเรื่องราวและประสานกับนายอำเภอศรีสัชนาลัยสมัยนั้นเพื่อนำชาวบ้านกลับมายังบ้านแม่สาน ราษฎรกะเหรี่ยงที่บ้านแม่สานนั้น นามสกุลเหมือนกันทั้งหมู่บ้าน คือ นามสกุล “ ค้างคีรี ” สอบถามแล้วได้ความว่านายอำเภอผู้หนึ่งตั้งให้ทุกคนในคราวเดียวกัน 

ผลิตภัณฑ์ชุมชนกะเหรี่ยง

- สินค้าชุมชน Organic Riceberry ข้าวไรซ์เบอร์รี่ หอม นุ่ม ปลูกเองธรรมชาติปลอดสารพิษ 100%

- กล้วยตาก กล้วยเบรกแตก "เก่อญอ"

- เครื่องจักรสานผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระติ๊บข้าวเหนียว กระด้ง ชะลอม เป็นต้น

- ผ้าทอกี่เอวของชาติพันธ์ปกาเกอะญอ บ้านแม่สาน หมู่ที่ 6 ต.แม่สำ  อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ซึ่งมีลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น กว่า 30 ลาย ผ้าทอกะเหรี่ยงมีลักษณะเป็นลวดลายที่ได้จากการย้อมจากสีธรรมชาติซึ่งชาวกะเหรี่ยงได้มีกลวิธีและการสร้างลวดลายผ้าทอที่ผู้ทอจะยึดให้เป็นรูปแบบลวดลายดั้งเดิมที่เคยทอไว้ในอดีตลวดลายผ้าทอกะเหรี่ยงแบบดั้งเดิมได้ถูกถ่ายทอด มาจากรุ่นบรรพบุรุษ จากการสนทนากลุ่มปราชญ์ชาวบ้านด้านผ้าทอกะเหรี่ยง

-สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ 

การแสดงพื้นบ้าน เช่น การฟ้อนเจิง (รำดาบ) , รำกระด้ง, กาซอ

       ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี ความเชื่อ ของชาวปกาเกอะญอ             ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนกะเหรี่ยงในชุมชน ได้แก่ พิธีการเกิด พิธีงานศพ พิธีแต่งงาน ประเพณีซอเจดีย์ทราย ประเพณีหลังเกี่ยวข้าวและพิธีเกี่ยวกับผี 

การแต่งกาย

         การแต่งกายของปกาเกอะญอบ้านแม่สาน เสื้อเด็กและหญิงสาวจะเป็นชุดทรงกระสอบ ผ้าฝ้ายพื้นขาว ทอหรือปักประดับลวดลายให้งดงาม ส่วนหญิงที่มีครอบครัวแล้วจะสวมเสื้อสีดำ น้ำเงิน และผ้านุ่งสีแดงคนละท่อน ตกแต่งด้วยลูกเดือย หรือทอยกดอก ยกลาย สำหรับผู้ชายกะเหรี่ยงนั้นส่วนมากจะสวมเสื้อตัวยาวถึงสะโพก ตัวเสื้อจะมีการตกแต่งด้วยแถบสีไม่มีการปักประดับเหมือนเสื้อผู้หญิง การแต่งกายของปกาเกอะญอบ้านแม่สาน แบ่งออกไปตามเพศ อายุและสถานะทางสังคมได้แก่ เพศชาย เพศหญิง วัยเด็ก วัยรุ่น-วัยชรา และหญิงที่มีสถานะแต่งงานแล้ว

บ้านแม่สาน
6
แม่สำ
ศรีสัชนาลัย
สุโขทัย
64130
17.644498924352302
99.49334083140452
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สำ

บ้านแม่สาน หมู่ที่ 6 ตำบลแม่สำ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย อยู่ห่างจากตัวอำเภอศรีสัชนาลัย          ราว 50  กิโลเมตร ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากระเหรี่ยง (ปะกาเกอญอ)  ที่อาศัยอยู่มาเป็นเวลานานนับร้อยปี   ดังจะเห็นได้จากต้นมะขามยักษ์   ต้นมะม่วงยักษ์   และต้นขนุนยักษ์ 

ก่อนปี พ.ศ.2516 มีโจรปล้น ฆ่า ชาวบ้านแม่สาน ทำให้ต้องหนีกระเจิดกระเจิงไปคนละทิศละทาง บ้างก็หนีไปอยู่ห้วยหยวก บ้างก็หนีไปลำพูน จนกระทั่งได้มีหน่วยงานราชการกราบฑูลในหลวงรัชการที่ 9 ให้ทรงทราบ

ในปี พ.ศ. 2516 ในหลวงรัฐกาลที่ 9 จึงทรงให้พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ซึ่งเป็นนางสนองพระโอษฐ์ เข้ามาให้ความช่วยเหลือชาวบ้านแม่สาน ทั้งการปราบโจรผู้ร้าย การมอบถุงยังชีพของใช้จำเป็นแก่ชาวบ้าน การให้การรักษาพยาบาล การสร้างโรงเรียนบ้านแม่สาน โดยมีนายกลม ทรดล ครูใหญ่โรงเรียนบ้านดอยไก่เขี่ย อาสารับตำแหน่งครูใหญ่พร้อมด้วยครูอีกคนหนึ่ง คือนายสมชาย ดวงเกิด เป็นครูผู้สอน ขณะนั้นมีนักเรียน 28 คน

ต่อมา วันที่ 1 ก.พ.  2519  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ประสงค์ทรงเสด็จเยี่ยมเยือนราษฎร ทรงเปิดอาคารเรียนโรงเรียนบ้านแม่สาน และทรงพระราชทานสิ่งของแก่คณะครู นักเรียน และราษฎรชาวหมู่บ้านแม่สาน อีกทั้งยังทรงดำริให้สร้างฝายชะลอน้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้อุปโภค บริโภค รวมถึงทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี นำความปลาบปลื้มและความเป็นสิริมงคลมาสู่ชาวบ้านแม่สานเป็นอย่างยิ่ง

ชาวบ้านแม่สาน นับถือศาสนาพุทธ มีอาชีพทำไร่ ทำนา เก็บของป่า ล่าสัตว์ เลี้ยงวัว ควาย ปัจจุบันมีการพัฒนาไปปลูกผลไม้ ปัจจุบันบ้านแม่สานตั้งอยู่ที่ หมู่ 6 ตำบลแม่สำ อำเภอศรีสัขนาลัย ห่างจากอำเภอศรีสัชนาลัย 51 กิโลเมตรห่างจากจังหวัดสุโขทัย 115 กิโลเมตร สภาพภูมิประเทศบ้านแม่สานมีพื้นที่ติดต่อ

  • ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอศรีสัชนาลัย 
  • ทิศตะวันตก ติดกับ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง 
  • ทิศเหนือ ติดกับ อำเภอวังชิ้นจังหวัดแพร่ 
  • ทิศใต้ ติดกับบ้านห้วยหยวก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 

สถานที่ท่องเที่ยว

1) น้ำตกผาช่อ ห่างจากหมู่บ้านไปประมาณ 3 กิโลเมตร

2) เขาผาช่อห่างจากหมู่บ้านไปประมาณ 25 กิโลเมตร

3) หมู่บ้านแม่สานอยู่ห่างจากอำเภอศรีสัชนาลัย 51 กิโลเมตร

4) โรงเรียนบ้านแม่สาน

5) ศาลพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต

6) ถ้ำลมลอด

7) รอยพระพุทธบาทห้วยแห้ง

8) ปางควาย

9) น้ำออกรู (น้ำผุด)

สถานที่สำคัญในหมู่บ้านปกาเกอะญอ บ้านแม่สาน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

1. โรงเรียนบ้านแม่สาน เมื่อวันที่ 12 พ.ค.2516 หม่อมเจ้าวิภาวดีรังสิตฯ เสด็จเยี่ยมราษฎรพร้อมด้วยคณะแพทย์หลวงตามพระราชประสงค์ พระราชทานสิ่งของแก่ราษฎร  ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นและจัดหาครู มาจัดการเรียนการสอน โดยในขณะนั้น แม่ทัพภาคที่ 3 เป็นหัวหน้าคณะจัดสรรเงิน อปค. ให้แก่ทางอำเภอเพื่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว และได้เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2516 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย โดยมี นายกลม ทรดล ครูใหญ่โรงเรียนบ้านดอนไก่เขี่ย อาสารับตำแหน่งครูใหญ่พร้อมด้วยครูอีกคนหนึ่ง คือ นายสมชาย ดวงเกิด โดยขณะนั้นมีนักเรียน จำนวน 28 คน หลังจากเปิดทำการเรียนการสอน ได้เพียง 2 ปีเศษ หลังจากทำการเรียนการสอนได้ไม่กี่ปี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประสงค์ทรงเสด็จเยี่ยมเยือนราษฎร ทรงพระราชทานสิ่งของแก่คณะครู นักเรียน และราษฎรชาวหมู่บ้านแม่สาน นำความปลาบปลื้มและความเป็นสิริมงคลมาสู่ชาวบ้านแม่สาน ครั้งหนึ่ง ปัจจุบันโรงเรียนบ้านแม่สาน ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลแม่สำ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย ประมาณ 55 กิโลเมตร เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสุโขทัย เขต ๒ จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีเนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน 95 ตารางวา มีนักเรียน 54 คน ครู 4 คน     บ้านแม่สาน หมู่ที่ 6 ตั้งอยู่ในถิ่นธุรกันดารการคมนาคมไม่สะดวก ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากระเหรี่ยง ปกาเกอะญอนับถือศาสนาพุทธ มีอาชีพทำไร่ ทำนา เก็บของป่า ล่าสัตว์ ปัจจุบันมีการพัฒนาไปปลูกผลไม้และสวนยาง บ้างมีประชากรทั้งหมด 505 คน บ้านแม่สาน ชาวบ้านดั้งเดิมที่นี่จะใช้นามสกุลเดียวกันทั้งหมู่บ้าน คือ นามสกุล "ค้างคีรี" 

2. ศาลพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต หม่อมเจ้าวิภาวดีรังสิตและคณะแพทย์หลวงตามพระราชประสงค์ทรงเยี่ยมราษฎร และทรงพระราชทานสิ่งของแก่คณะครูนักเรียนและราษฎรชาวบ้านแม่สาน นำความปราบปลื้มและความเป็นศิริมงคลมาสู่ชาวบ้านแม่สาน “ครั้งหนึ่งท่านหญิงเสด็จพระดำเนินยังหมู่บ้านกะเหรี่ยงในเขตอำเภอศรีสัชนาลัยนั้น ที่นับว่าอยู่ไกลและทุรกันดาร มีอยู่ 2-3 หมู่บ้าน ต้องเดินทางกันด้วยรถแลนด์โรเวอร์ไปบนทางที่ยังเรียกว่าถนนไม่ได้ เพราะเต็มไปด้วยหลุมและบ่อขนาดต่างๆ ครั้งหนึ่งรถแล่นตกลงไปติดหล่ม ร้อนถึงชาวบ้านต้องเอาช้างไปช่วยฉุดรถขึ้นจากหล่มหมู่บ้านแม่สานอันเป็นที่หมายสุดท้ายในการเสด็จ ในคราวนั้น จะไปโดยทางเฮลิคอปเตอร์ก็คงจะได้แต่ด้วยเหตุผลใดไม่แน่ใจนัก ท่านหญิงวิภาฯ ได้ทรงตัดสินพระทัยเลือกเสด็จโดยทางเท้า เป็นระยะทางไกลถึงประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นการเดินทางที่ยากลำบากมากที่สุดครั้งหนึ่ง การเสด็จของท่านหญิงซึ่งเป็นผู้แทนพระองค์ นอกจากจะนำความอบอุ่นไปสู่ราษฎร ชาวกะเหรี่ยงเหล่านั้นแล้ว ยังนำไปสู่ความร่วมมือกันการได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่ราชการฝ่ายต่าง ๆ ด้วย ก่อนเสด็จกลับจากหมู่บ้านแม่สาน หม่อมเจ้าวิภาวดีรังสิตเกลี้ยกล่อมราษฎรผู้มีความรู้และเคยเป็นครูคนหนึ่งให้รับตำแหน่งเป็นครูสอนหนังสือให้เด็ก อยู่ที่บ้านแม่สานโดยทรงสัญญาที่จะประทานเงินรายได้ประจำปีห้าจำนวนหนึ่ง นอกเหนือจากเงินเดือนที่เขาจะได้รับทางราชการด้วย3. อาศรมพระธรรมจารึกบ้านแม่สาน เริ่มก่อสร้างอาศรมพระธรรมจาริก เมื่อ พ.ศ 2527 จากนั้นก็มีพระธรรมจาริกมาปฏิบัติศาสนกิจอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในการทำกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาควบคู่กับมีความเชื่อนับถือผี 4. หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำแม่สาน ได้จัดตั้งสำนักงานบริเวณตอนบนของหมู่บ้าน ตั้งอยู่บนยอดเขา เป็นพื้นที่อนุรักษ์ต้นน้ำที่สำคัญในหมู่บ้าน และเป็นพื้นที่สำหรับเพาะชำกล้าไม้ที่สำคัญ ของสำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันพืช และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวในหมู่บ้านอีกด้วย 5. พระธาตสุวรรณรัตนคีรี ในอาศรมพระธรรมจารึกบ้านแม่สาน สร้างขึ้นเมื่อปี 2558 ลักษณะเป็นทรงแบบล้านนา ที่พระสงฆ์และชาวบ้านแม่สานช่วยกันสร้าง  6. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สำ ตามหลักฐานของแม่หม่อมจันทร์กล่าวว่า บรรพบุรุษของชาวบ้าน  แม่สำใต้ได้อพยพมาจากนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว อพยพเข้ามาทางจังหวัดเลย อำเภอเชียงคาน ตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านตอสักในปัจจุบัน ครั้งนั้น พบว่าสถานทที่บริเวณนี้ปลอดภัยที่สุด ทำเลหรือท้องถิ่นแห่งตำบลนี้ยังไม่มีหมู่บ้านใดๆ ตั้งอยู่ หรือเกิดขึ้น ท้องถิ่นนี้เป็นดงทึบ มีไม้เสลียมเก่าแก่และใหญ่โตมากเป็นดงแห่งไม้สักใหญ่        ต้นเสลียมหรือต้นผึ้งใหญ่ ปรากฏให้เห็นทั้งมีรังผึ้งทำรังอยู่มากมา กาลต่อมาจึงเรียกหมู่บ้านชาวเวียงจันทน์อาศัยอยู่นี้ว่า “บ้านต้นผึ้ง”และมีการเรียกชื่อใหม่ว่า“บ้านตอสัก” เพราะเป็นดงแห่งไม้สักใหญ่ และตามสภาพพื้นที่ที่อาศัยอยู่นั้นมีความชุ่มฉ่ำหรือชุ่มเย็นว่า“บ้านแม่สำ (คงเพี้ยนมาจากคำว่า “ฉ่ำ” เพราะอยู่ใกล้แม่น้ำใกล้ภูเขา) ตำบลแม่สำ ยกฐานะจากสภาตำบลแม่สำ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สำ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนพิเศษ  52 ง หน้า 297 ลำดับที่ 2960 ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2539
  • โดยปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สำ ตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของอำเภอศรีสัชนาลัย ห่างจากจังหวัดสุโขทัย เป็นระยะทางประมาณ 69 กิโลเมตร ตามทางหลวง องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สำ มีขนาดพื้นที่ 204.13 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 127,581.25 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
    • ทิศเหนือ อาณาเขตติดต่อกับตำบลแม่สิน
    • ทิศใต้  อาณาเขตติดต่อกับตำบลป่างิ้วและตำบลบ้านแก่ง
    • ทิศตะวันออก อาณาเขตติดต่อกับตำบลบ้านตึกและตำบลป่างิ้ว
    • ทิศตะวันตก อาณาเขตติดต่อกับอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

สถานที่ตั้งของหมู่บ้านแม่สาน หมู่ที่ 6 ตำบลแม่สำ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

บ้านแม่สานตั้งอยู่ที่ หมู่ 6 ตำบลแม่สำ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากที่ว่าการอำเภอ  ศรีสัชนาลัย จำนวน 51 กิโลเมตรห่างจากจังหวัดสุโขทัย จำนวน 104 กิโลเมตร โดยมีที่ตั้ง และอาณาเขตที่ติดต่อกับพื้นที่อื่นๆ ดังนี้

  • ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ติดกับอำเภอศรีสัชนาลัย
  • ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ติดกับอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง 
  • ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ติดกับอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ 
  • ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ติดกับบ้านห้วยหยวก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง  กระทรวงมหาดไทย ปี 2565 ระบุจำนวนครัวเรือนและประชากรชุมชนบ้านคงคาเหนือ จำนวน 108 หลังคาเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 520 คน  แบ่งเป็นประชากรชาย 292 คน หญิง 228 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ปกาเกอะญอ จำนวน 468 คน คิดเป็นร้อยละ 90 รองลงมาเป็นคนไทยพื้นราบ จำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 10 คนในชุมชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวขยายที่มีผู้คนหลากหลายช่วงวัย มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่อาศัยเป็นครอบครัวเดี่ยว จากรากฐานความสัมพันธ์เชิงเครือญาติทำให้ผู้คนในสังคมมีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน

ปกาเกอะญอ

ผู้คนในชุมชนบ้านแม่สาน ตำบลแม่สำ อำเภอศรีสัชานาลัย มีการรวมกลุ่มทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ 

กลุ่มอาชีพสตรีทอผ้ากี่เอวบ้านแม่สาน เป็นกลุ่มที่มีเป้าหมายให้สมาชิกในกลุ่มเรียนรู้การทอผ้ากี่เอว มีลวดลาย การทอที่แฝงคติความเชื่อ เรื่องเล่า คำสอนพิธีกรรม และวิถีชีวิต เพื่อใส่เอง จำหน่าย และเป็นอาชีพ ในปัจจุบันมีสมาชิกกว่า ๓๒ คน

กลุ่มข้าวไรซ์เบอรี่ U2T  เป็นกลุ่มที่มีเป้าหมายให้สมาชิกในกลุ่มได้มีอาชีพเสริมหลังจากหมดฤดูกาลทำนา ในพื้นที่บ้านแม่สานนี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบเชิงเขา โดยปลูกทานเองในครัวเรือน และจำหน่าย มีสมาชิก  ๓๕ ครัวเรือน

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านแม่สาน เป็นกลุ่มที่มีเป้าหมายให่สมาชิกมีรายได้เสริมจากการให้บริการด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ เช่น จำหน่ายสินค้าพื้นถิ่น ไกด์ โฮมสเตย์ สมาชิก 18 คน

กลุ่มไม่เป็นทางการ

กลุ่มศรัทธาวัด ในชุมชนมี อาศรมพระธรรมจาริกบ้านแม่สาน ปัจจุบันชาวปกาเกอะญอ ใช้เป็นสถานที่ ศูนย์รวมจิตใจ และเป็น วัดที่ชาวบ้านแม่สานในอดีตจนถึงปัจจุบันได้ทุ่มเทกำลังกายและทรัพย์สินเงินทองและภูมิปัญญาที่ช่วยการสร้างเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเป็นสถานที่ประกอบกิจธุระสงฆ์

กลุ่มอาชีพ คนในชุมชนส่วนใหญ่ทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ การทำการเกษตรส่วนใหญ่ ไถนา ดำนาปลูกข้าว ปลูกถั่ว เหลือง หรือปลูกข้าวโพด ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกกล้วยน้ำหว้า จะมีการลงแขกช่วยเหลือกัน ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการ ผลิต การไถหว่าน การดำนา จนถึงขั้นตอน สุดท้ายของการเก็บเกี่ยว เมื่อเก็บเกี่ยว ผลผลิตก็จะแบ่งปันพี่น้องส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือ เก็บไว้ใน ยุ้งฉาง เพื่อกินและเป็นเมล็ดพันธุ์สำหรับเพาะปลูกในปีถัดไป ส่วนมันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วเหลือง ก็จะนำไปจำหน่าย เพื่อเป็นรายได้ในครอบครัว ของแต่ละครัวเรือน ในปัจจุบันคนในชุมชนได้ออกไปทำงานในเมืองมากขึ้นเช่น รับจ้างทั่วไป ทำงานโรงงาน 

ในรอบปีของผู้คนบ้านแม่สานมีวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น ดังต่อไปนี้ วิถีชีวิตทางวัฒนธรรมจารีต ประเพณี ความเชื่อ ของชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนกะเหรี่ยงในชุมชน ได้แก่ พิธีการเกิด พิธีงานศพ พิธีแต่งงาน ประเพณีซอเจดีย์ทราย ประเพณีหลังเกี่ยวข้าว ประเพณีจุดบั้งไฟในวันสงกราณ์ และพิธีเกี่ยวกับผี ดังนี้

พิธีการเกิด 

ชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สานมีชีวิตที่ผูกพันกับตันไม้และธรรมชาติมาตั้งแต่เกิด เพราะเมื่อมีเด็กเกิดใหม่  ผู้เฒ่าผู้แก่ จะทำการผู้มือเรียกขวัญ และมีข้อกำหนดว่า ผู้หญิงชาวปกาเกอะญอที่คลอดลูกต้องทำการเลี้ยงผีประจำบ้านเพื่อบอกกล่าวให้ท่านทราบและคุ้มครองเด็ก 

พิธีงานศพ

พิธีงานศพชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน ได้มีพิธีกรรมเมื่อมีผู้เสียชีวิต ยังคงประกอบพิธีฌาปณกิจศพบนเชิงตะกอน ณ ฌาปณสถานที่ห่างไกลจากบ้านเรือน ผู้วายชนแต่งตัวตามสถานะ  และคลุมด้วยผ้าห่มปวาเก่อญอ (หยะ) ก่อนห่อเสื่อทับไปอีกชั้นหนึ่ง

พิธีแต่งงาน

 พิธีแต่งงานของชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน การประกอบพิธีการสมรสหรือการแต่งงานในการประกอบพิธีแต่งงานในสมัยก่อนนั้นผู้หญิงใส่เชวา คลุมหัวด้วยหยะ(ผ้าห่มเก่อญอ) ผู้ชายใส่เสื้อเชโปละ คลุมหัวด้วยผ้าห่มในการเลี้ยงภายในงานทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายจะเอาหมูหรือสัตว์ต่างๆ มาช่วยกันประกอบอาหารในการเลี้ยงแขก     แต่ในปัจจุบันนั้นประเพณีนี้ได้ลดหายลงไป เนื่องจากในปัจจุบันมีการทำพิธีสู่ขอหรือการแต่งโดยการใช้วิธีสมัยใหม่มีการแห่ขันหมาก ใช้พิธีในการประกอบการสมรสโดยการรดน้ำสังข์ มัดข้อมือ ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย

การซอเจดีย์ทราย

การซอเจดีย์ทรายชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน จะจัดประเพณีเวียนเจดีย์ก่อทรายขึ้นในช่วงงานประเพณี ในวันสงกรานต์ วันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกปี (วันปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยง) โดยประเพณีเวียนเจดีย์ก่อทรายนั้นจะมีความคล้ายคลึงกับประเพณีขนทรายเข้าวัดก่อพระเจดีย์ทรายคนไทยนั่นเองประชาชนจะแต่งตัวประจำท้องถิ่นไปเข้าร่วมกิจกรรม 

ในตอนเช้าก็มีการทำบุญตักบาตร มีการก่อเจดีย์ทรายจะตกแต่งพระเจดีย์ทรายด้วยดอกไม้หลากสีให้เกิดความสวยงาม ส่วนในตอนเย็นจะมีการร้องเพลง(ซอ)รอบเจดีย์ โดยเป็นการร้องปากเปล่า ผู้สูงอายุในหมู่บ้านจะมีการเดินวนโดยรอบ  และมีกลองยาวร่วมประกอบจังหวะ หรือที่เรียกอีกชื่อว่า “ซอมงคล การซอเจดีย์ทรายในสมัยก่อนนั้นจะเป็นการก่อกองทรายในการประกอบพิธี ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นชั้น ๆ ใช้หยวกกล้วย(สะตวง) เพื่อเสียบดอกไม้ประดับรอบเจดีย์ทราย ในปัจจุบันจะเป็นการขนทรายเข้ามาภายในบริเวณวัด

ประเพณีหลังเกี่ยวข้าว

ชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน หลังจากได้มีการเก็บเกี่ยวข้าวหลังจาก การทำนา จะมีประเพณีในการนำข้าวจ้าวหรือข้าวเหนียว ที่ได้จากการทำนามาหุงกินกันเป็นมื้อแรกภายในครอบครัว นำข้าวมากินกับปูผาที่สามารถหาได้ภายในหมู่บ้าน

ชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน ยังมีความเชื่อในเรื่องผี วิญญาณ มาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เนื่องจากได้ดำรงชีวิตเกี่ยวพันกับทรัพยากรธรรมชาติ จึงทำให้มีความสัมพันธ์ และเกิดเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับผีต่างๆ    ในชีวิตโดยมีการประกอบพิธีกรรมที่เรียกว่า “เลี้ยงผี” โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อเรื่องผีในด้านการเกษตร ซึ่งชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน ดำรงชีพด้วยการเกษตรเป็นหลัก จึงทำให้ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับผีในด้าน การเกษตรจะเริ่มตั้งแต่เริ่มเพาะปลูกไปจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือน 6 การประกอบพิธีกรรมนั้นโดยแต่ละบ้านเมื่อมีการทำไร่-นาหรือทำเกษตรกรรม เมื่อทำการเกษตรและได้ผลผลิตก็จะมีการเซ่นไหว้ผี  โดยการนำสัตว์มาฆ่าหรือเชือดต่อหน้าพิธีกรรม ซึ่งคนในหมู่บ้านยังต้องยึดถือปฏิบัติตามภายในหมู่บ้านในการประกอบพิธีในการเลี้ยงผี ผู้ทำพิธีจะต้องเป็นผู้อาวุโสในหมู่บ้าน โดยจะใช้เครื่องในการประกอบพิธีกรรม ดังนี้ ไก่ตัวผู้และตัวเมีย ๑ คู่ (ฉอ) เหล้าขาว ๑ กระบอก น้ำเปล่า ๑ กระบอก ยาเส้น ๑ มวน พริก เกลือ หมากพลู จากนั้นสร้างบ้านจำลองจากไม้ไผ่วางเครื่องประกอบพิธีกรรมบนบ้านจำลอง จากนั้นนำไก่ตัวผู้และตัวเมียมาเชือดคอและให้เลือดหยดบริเวณรอบพิธี ดึงขนปีกมาเสียบรอบบ้านจำลอง จากนั้นนำไก่ไปต้มและนำมาวางให้เจ้าที่กิน   และพูดเชิญให้ผีมากินของเส้นไหว้ การประกอบพิธีนั้นมักจะทำในช่วงเช้า

ชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน  จะมีบ้านเลี้ยงผีประจำบ้าน หรือประจำตระกูล โดยบ้านผีนั้นจะเป็นสถานที่ประกอบพิธี โดยห้ามบุคคลภายนอก หรือเป็นคนนอกตระกูลห้ามสัมผัสบ้าน หรือสิ่งของในพิธีนั้น ยกเว้นลูกหลานในตระกูล หากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกหลานในตระกูลเข้ามาเกี่ยวข้องหรือสัมผัสสิ่งของ ในการประกอบพิธีจะถือว่าเป็นการ“ผิดผี” ผิดประเพณี ผู้ใดที่มีการผิดผีจะต้องมีการเสียผีตามประเพณี โดยใช้เงิน  จำนวน 2 บาท หรือแล้วแต่บ้านที่เลี้ยงผีจะกำหนด และนำน้ำส้มป่อยมาใช้ในการประกอบพิธี

ชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน จะมีเตาเลี้ยงผีไว้ในห้อง หรือในบ้าน เมื่อถึงวันที่มีการประกอบพิธีกรรมการเลี้ยงผี ลูกหลานของตระกูลนั้นก็จะมาเข้าร่วมพิธี โดยจะต้องประกอบอาหารกินอาหาร และทำพิธีภายในบ้านหรือภายในห้องเท่านั้น

วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ 

การประกอบอาชีพของชาวบ้านยังคงทำการเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนาปี ทำไร่ ทำสวน ปลูกถั่วเขียว มีบางกลุ่มที่ออกไปทำงานในเมืองหลวง  ปัจจุบันหันมาทำการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 อีกทั้งยังผลักดันได้เกิดการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และวิชีวิต ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เข้ามาหลากหลายช่องทาง

1) นายสีคำ ค้างคีรี  ชาวปกาเกอะญอ ผู้สืบทอดการเป็นพรานป่า  และสมุนไพรที่มีในท้องถิ่น หากมีคนเจ็บป่วยในหมู่บ้านมักมาหาลุมสีคำ เพื่อขอรับยาสมันไพรไปรักษา 

2) นายรังแก้ว ค้างคีรี ผู้นำจิตวิญญาณ ผู้นำการประกอบพิธีกรรมต่างๆในหมู่บ้าน อีกทั้งเป็นผู้มีความรู้ ความสามรถในการอ่าน เขียน พูดภาษาปกาเกอะญอ และร้องเพลงซอในโอกาสต่างๆ

3) นายไก่ ค้างคีรี  ผู้มีความรู้เรื่องการจักสานภาชนะต่างๆ รูปสัตว์ และทำไม้กวาดดอกหญ้า

4) นางสาวเรณู ค้างคีรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้ากี่เอว 

5) นายสิริเวส  ค้างคีรี  เยาวชนผู้สืบสานการใช้เครื่องดนตรีของชาวปกาเกอะญอ ( เตหน่า ) 

ทุนวัฒนธรรม

ค่านิยม ชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน ใช้ผ้าห่ม “หยะ” ที่ทอเป็นผืนใหญ่ลวดลายธรรมชาติ เอาไว้ให้ในทุกช่วงชีวิตของตน ตั้งแต่ เกิด จนกระทั้งทสิ้นอายุไขเรียกได้ว่าเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น ห่มนอน ปูนอน ผูกแปล เป็นผ้าม่าน ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ แต่งงาน งานบวช งานศพ เป้นต้น  

                                                     

อาหารท้องถิ่น 

ชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน นำเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติมาสร้างสรรค์เป็นอาหาร ปรุงรสน้อยที่สุด ทำให้รสชาติออกไปในทางธรรมชาติ เป็นเอกลักษณ์ และนับเป็นภูมิปัญญาด้านอาหารที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังนี้ 

อาหารคาว 

ชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน มีการคิดสร้างสรรค์วัตถุดิบการปรุงอาหารที่ ได้จากธรรมชาติท้องถิ่น โดยอาหารที่โดดเด่น มีจำนวน 4 ชนิด ประกอบด้วย หลามบอน ข้าวเบอะ ยำผักงอ น้ำพริกตะไคร้ ดังนี้ 

หลามบอน เป็นแกงที่ชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน นิยมแกงกินในครัวเรือน และเมื่อต้องเดินป่า และในงานบุญต่าง ๆ ของชุมชน เช่น งานแต่ง งานบวช งานรื่นเริง เป็นต้น เนื่องจากเป็น วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในชุมชน    ซึ่งมีส่วนผสมประกอบด้วย ต้นบอน ใบ  บอน มะเขือ พริก ผักไผ่ ใบเลื่อย เนื้อหมูหรือหมูป่า มะขามเปียก ชะอม ข่าอ่อน ตะไคร้ กระเทียม ชูรส ปลาร้า ใบชะพลู 

ขั้นตอนการทำหลามบอนนั้น เริ่มจากนำต้นบอนหั่นท่อนและใบบอนใส่ลงไปในกระบอกไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ จากนั้นเริ่มจากการโขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียดใส่เข้าไปในกระบอกไม้ไผ่ ตามด้วยผักต่างๆ เนื้อหมูหรือ    เนื้อไก่ ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก ชูรส ปลาร้า การหลามบอนจะต้องค่อยๆใช้ไม้แหย่จนกว่าวัตถุดิบจะละเอียด จนกว่าจะสุก 

ข้าวเบอะ เป็นอาหารที่มีลักษณะคล้ายข้าวต้ม เป็นเมนูของภูมิปัญญาของชาวบ้าน ที่กินแล้วอิ่มท้องทั้งยังมีรสชาติที่อร่อย และอุดมไปด้วยประโยชน์มากมายจากสมุนไพร

ยำผักงอ ผักงอเป็นพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ในลำห้วย นิยมนพมาทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัด ลวกจิ้มน้ำพริก แกง และยำ 

น้ำพริกตะไคร้ ชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สานสามารถรังสรรค์เมนูน้ำพริกได้หลากหลายตามวัตถุดิบที่หาได้ เช่น น้ำพริกป่นปลา น้ำพริกข่า น้ำพริกตะไคร้

ศิลปหัตถกรรม/งานฝีมือ

ชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน มีความเชี่ยวชาญ ในด้านศิลปหัตถกรรมและงานฝีมือ นับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่คิดสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อตอบสนองการดำเนินชีวิตตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษการจำแนกศิลปหัตถกรรมและงานฝีมือออกเป็น 2 ประเภท คือ ผ้าทอกี่เอว และการจักสาน ดังนี้ 

ผ้าทอกี่เอว

ผ้าทอกี่เอามีลักษณะเป็นลวดลายที่ได้จากการย้อมจากสีธรรมชาติซึ่งชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน ได้มีกลวิธีและการสร้างลวดลายผ้าทอที่ผู้ทอจะยึดให้เป็นรูปแบบลวดลายดั้งเดิมที่เคยทอไว้ในอดีตลวดลายผ้าทอแบบดั้งเดิมได้ถูกถ่ายทอด มาจากรุ่นบรรพบุรุษ จากการสนทนากลุ่มปราชญ์ชาวบ้านด้านผ้าทอ

การแต่งกายกะเหรี่ยง

 การแต่งกายของชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน ถ้าเป็นเวลาในงานบุญที่สำคัญ ผู้ชายจะใส่เสื้อ ที่ทอขึ้นเอง เสื้อตัวตรงเย็บติดด้วยกันเป็นทางยาว เว้นช่องสำหรับใส่ศีรษะและแขนทั้งสองข้าง การแต่งกายของผู้หญิง หากเป็นผู้หญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานทุกคนต้องใส่เสื้อคลุมกระโปรงยาวสีขาวจนถึงข้อเท้า เสื้อเป็นรูปทรงกระบอกแขนสั้นผ่าตรงกลางด้านหน้า ตรงคอเป็นรูปสามเหลี่ยม ลวดลายสวยงาม ถือเป็นเอกลักษณ์ ส่วนผู้หญิงที่แต่งงานแล้วสามารถสวมเสื้อสีอื่นที่ไม่ใช่สีขาวได้ การแต่งกายของชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน ได้แบ่งออกไปตามเพศ อายุ และสถานะทางสังคมได้แก่ เพศชาย เพศหญิง วัยเด็ก วัยรุ่น-วัยชรา และหญิงที่มีสถานะแต่งงานแล้วสามารถอธิบายได้ ดังนี้

การแต่งกายผู้ชายวัยเด็ก 

การแต่งกายชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สานผู้ชายวัยเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 15 ปี จะสวมใส่ชุดกะเหรี่ยงที่เรียกว่า “ไช่ชั่งอั่ว” เป็นชุดที่มีลักษณะเป็นเสื้อสีสันสวยงาม ความยาวถึงระดับเอว คอเสื้อมีลักษณะเป็น คอวี

การแต่งกายชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน วัยหนุ่มจนถึงวัยสูงอายุ การแต่งกายกะเหรี่ยงผู้ชายวัยหนุ่มจนถึงวัยสูงอายุตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป จะสวมใส่เสื้อสีแดง ที่แสดงถึงความกล้าหาญ พละกำลัง

การแต่งกายกะเหรี่ยงจังหวัดสุโขทัยผู้หญิงวัยเด็ก 

การแต่งกายกะเหรี่ยงผู้หญิงวัยเด็ก ตั้งแตกแรกเกิดจนอายุ 15 ปี เด็กผู้หญิงกะเหรี่ยงจังหวัดราชบุรีจะสวมใส่ชุดที่มีลักษณะเป็นชุดสีขาว มีความยาวคลุมหัวเข่า ซึ่งนิยม ทอจากผ้าฝ้าย โดยจะไม่ปักลวดลายลงบนตัวเสื้อ ส่วนคอเสื้อจะมีลักษณะเป็นรูปตัววี (สุ่มร่อง) ปักขอบรอบคอ และรอบแขน ตลอดจนชายขอบเสื้อลงมาด้วยด้ายสีแดงเพื่อความสวยงามซึ่งเหตุที่ใช้ผ้าสีขาวในการ ทอชุดสวมใส่ให้เด็กผู้หญิงนั้นจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ของเด็กผู้หญิง โดยชุดที่ เด็กผู้หญิงสวมใส่นี้จะเรียกว่า “ไช่อั่ว”

การแต่งกายกะเหรี่ยงจังหวัดสุโขทัยผู้หญิงวัยสาวจนถึงวัยสูงอายุ

ผู้หญิงใส่เสื้อสั้นได้ 3 แบบ เชอู่ใส่คู่นิ๊โบเท๊าะ เชซู (เสื้อสีดำลายครึ่งตัวใส่คู่กับนิ๊ดเคะเชเบอะ(เสื้อลูกเดือย)ใส่กับผ้าถุงได้ 2 แบบ 

ภูมิปัญญาและเทคโนโลยี

ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีจากการคิดสร้างสรรค์ของคนกะเหรี่ยงในอดีต ซึ่งสามารถแบ่งภูมิปัญญาได้ดังนี้ ที่อยู่อาศัย ขนบธรรมเนียม/จารีต/ประเพณี/ความเชื่อ อาหารท้องถิ่น สมุนไพรรักษา โรค/สาธารณสุขแบบดั้งเดิม  ศิลปะการดนตรีและการละเล่น ศิลปหัตถกรรม/งานฝีมือ และการทำมา หากิน ดังนี้ 

ที่อยู่อาศัย 

ลักษณะของครอบครัว ระบบของครอบครัวชาวปกาเกอะญอบ้านแม่สาน แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ แบบครอบครัวเดี่ยว ภายในครอบครัวจะมีเพียงสามี ภรรยา และลูก ส่วนใหญ่จะปลูกครัวเรือนไว้ใกล้กับบ้านพ่อแม่ ของฝ่ายหญิง แบบที่ 2  จะมีลักษณะเป็นครอบครัวใหญ่ อาศัยอยู่รวมกับญาติฝ่ายผู้หญิง มีตา ยาย พ่อ แม่ ลูก อาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ในสังคมกะเหรี่ยงบ้านแม่สานเมื่อแต่งงานกันแล้วฝ่ายชายจะต้องเข้ามาอยู่ กับบ้านของพ่อแม่ภรรยาก่อน หลังจากนั้นจึงสามารถย้ายออกไปปลูกเรือนใหม่ใกล้กับบ้านของภรรยา ทั้งนี้ จากการสัมภาษณ์คนกะเหรี่ยงในชุมชนและการสังเกตลักษณะของที่อยู่อาศัยของชาวกะเหรี่ยงในชุมชนบ้านแม่สาน ทำให้ผู้วิจัยได้สรุปข้อมูลด้านที่อยู่อาศัยของชาวกะเหรี่ยงในปัจจุบันสามารถแบ่ง ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ที่อยู่อาศัยแบบดั้งเดิม และที่อยู่อาศัยแบบสมัยใหม่ ซึ่งอธิบายข้อมูล การวิเคราะห์ได้ดังนี้ 

ที่อยู่อาศัยแบบดั้งเดิม

หมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงจังหวัดสุโขทัย ตั้งแต่ดั้งเดิมเป็นบ้านชั้นเดียว ยกพื้นสูงหลังคามุงด้วยหญ้าคาใบจากหรือใบค้อตัวบ้านใช้ไม้ไผ่แล้วมัดด้วยหวายภายในบ้าน มีบริเวณที่โล่งแบ่งเป็นสัดส่วนคือนอกชานบ้านหมายถึงบริเวณตรงด้านหน้าเมื่อขึ้นบันไดบ้านไป ถัดเข้าไปคือห้องครัวห้องนอนและบริเวณที่สำหรับแขกคือบริเวณที่ยกพื้นขึ้นอีกระดับหนึ่งแต่บ้าน บางหลังมีการสร้างห้องครัวไว้บริเวณข้าง ๆ ตัวบ้านนอกจากนี้บริเวณด้านล่างจะมีคอกสำหรับเลี้ยง สัตว์ห้องน้ำทั้งนี้การแบ่งสัดส่วนขึ้นอยู่กับพื้นที่บริเวณบ้านและความพึงพอใจของเจ้าของบ้านด้วย

ที่อยู่อาศัยแบบสมัยใหม่ 

ส่วนลักษณะบ้านเรือนแบบสมัยใหม่ เป็นการสร้างตามยุคสมัย โดยจะใช้ การสร้างแบบบ้าน 1 ชั้น หรือ 2 ชั้น แล้วแต่ความสะดวกของเจ้าของบ้าน โดยปัจจุบันจะมีการสร้าง โดยใช้อิฐ หรือปูนซีเมนต์โดยหลังคาบ้านในปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นกระเบื้อง หรือสังกะสีแทน เหตุผลที่เปลี่ยนเพราะความทันสมัย ปลอดภัยต่อพายุฝนและความคงทนถาวรของบ้านเรือนนั่นเอง จะเห็นได้ว่าภูมิปัญญาในการสร้างที่อยู่อาศัย ของชาวกะเหรี่ยงจังหวัดสุโขทัยนั้น เป็นสิ่งที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งภูมิปัญญาดังกล่าวได้ถูกปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและความเหมาะสมกับบริบทของชุมชน จึงทำให้ที่อยู่อาศัยของชาวกะเหรี่ยงได้ปรับเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยี และความก้าวหน้าในสังคมปัจจุบัน หากแต่ชาวกะเหรี่ยงบ้านห้วยหยวกยังคงอนุรักษ์และสร้างที่อยู่อาศัยแบบดั้งเดิมเพื่อเป็นที่พักอาศัยแบบชั่วคราว ซึ่งไม่สามารถใช้เป็นที่พักแบบถาวรได้ เหมือนในอดีตเนื่องจากสภาพภูมิอากาศและสภาพภูมิประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปทำให้ที่อยู่อาศัยแบบดั้งเดิมไม่สามารถใช้งานได้อย่างยืนนานและไม่สะดวกต่อการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน

ภาษาในกลุ่มมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตัวเองโดยดัดแปลงมาจากภาษาพม่าและภาษาโรมันจะมีการใช้ภาษาในครอบครัวซึ่งเป็นภาษากะเหรี่ยงในการสนทนาในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ทำการอย่างสม่ำเสมอ        ปัจจุบันเมื่อเด็กและเยาวชนในชุมชนได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนและการติดต่อสื่อสารกับสังคมภายนอกที่ต้องใช้ภาษาไทยกลาง ในการสื่อสารมากขึ้นทำให้ภาษาพูดกะเหรี่ยงในชุมชนที่เป็นการพูดระหว่างครอบครัวนั้นลดน้อยลงและภาษาเขียน ที่ยังมีการใช้ภาษานั้นส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่เหลือไม่กี่คนและไม่มีใครสืบทอดต่อ


ปัจจุบันได้มีหน่วยงานทางภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือในการก่อตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ เช่น กลุ่มอาชีพสตรีทอผ้ากะเหรี่ยง กลุ่มปลูกข้าวไรซ์เบอรรี่ U2T ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านแม่สาน และมีกองทุนหมู่บ้าน กองทุนเงินล้านที่ทางภาครัฐให้ผู้คนในชุมชนเข้าถึงกองทุนในการส่งเสริมอาชีพ 


ในอดีตคนในสังคมมีการอาศัยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวขยายทำให้เกิดการเรียนรู้พิธีกรรมต่างๆ          ให้ สมาชิกรุ่นใหม่ได้เรียนรู้จากการถ่ายทอดของคนในครัวเรือน ต่อมาเมื่อสังคมพัฒนาไปสู่ความทันสมัย เกิดการเคลื่อนย้ายการใช้ชีวิต ในการไปศึกษาต่อ และไปอยู่นอกชุมชน ทำให้การประกอบอาชีพและการแต่งงานข้ามวัฒนธรรม จึงทำให้มีการส่งต่อโดยตรงของระบบวัฒนธรรม จากเดิมที่นับถือผีบรรพบุรุษที่เสื่อมคลายลงเนื่องจากลูกหลานที่ไปทำงานต่างพื้นที่ ไม่เข้าร่วมพิธีกรรมในการเลี้ยงผีบรรพบุรุษแต่ให้ญาติที่อยู่ในชุมชนดำเนินการแทน ทำให้เห็นว่า การเลี้ยงผีบรรพบุรุษนั้นห่างหายไปเรื่อยๆ


การเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่ความทันสมัย ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ของผู้คนในชุมชน คนในชุมชนมีการสร้างบ้านแบบสมัยใหม่ที่ไม่เอื้อต่อการ แบ่งแยกพื้นที่ระหว่างผีกับคน หรือระบบความคิดของคนรุ่นใหม่ในสังคมส่งผลให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง ตามไปด้วย เนื่องจากอิทธิพลของระบบสื่อ ในมิติต่างๆ ที่มีความรวดเร็วเชื่อมโยง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อของทั้งคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหมู่บ้านกะเหรี่ยงบ้านแม่สาน 

1. เขาผาช่อ สถานที่ท่องเที่ยวในหมู่บ้านแม่สาน เริ่มต้นจากการเดินชมธรรมชาติไปตามลำห้วย จะได้พบ “ผาช่อ” ที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ไว้อย่างงดงาม ต่อจากนั้นจะเป็นถ้ำค้างคาว ในเวลาพลบค่ำบรรดาค้างคาวเหล่านี้จะพากันออกมาจากถ้ำเพื่อไปหาอาหารนับพันตัว ซึ่งเป็นภาพที่น่าประทับใจสำหรับผู้พบเห็น นอกจากนี้ยังมีน้ำไหลออกมาจากโพรงเข่าเรียกว่า น้ำตกผาช่อ มีหลายชั้นสลับซับซ้อนกัน

2. น้ำตกผาช่อ บ้านแม่สาน หมู่ที่ 6 ตำบลแม่สำ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลางนับได้หลายสิบชั้น ลดหลั่นกันเป็นธารน้ำ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี

3. ถ้ำลมลอด บ้านแม่สาน ม.6 เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่บนยอดเขา อยู่ห่างจากรอยพระพุทธบาทไม่มากนัก ภายในกว้าง โอ่โถง มีหลายห้อง สลับซับซ้อน สามารถจุคนได้นับร้อยๆคน มีหินงอก หินย้อย ลักษณะเด่นของถ้ำนี้ คือ ทะลุไปอีกฝั่งของภูเขาได้ มีลมแรงพัดทะลุ มีค้างคาวอาศัยอยู่จำนวนมากว่ากันว่าเป็นถ้ำลึกลับ ในสมัยเชียงแสน พระเจ้าพังคราชแห่งโยนกนคร ได้ใช้ถ้ำนี้ ซ่องสุมกำลังพลกู้ชาติจากขอม ตำนานยังกล่าวถึงทรัพย์สมบัติที่เคยเก็บไว้ที่นี่ รวมถึงพระพุทธรูป ที่ซ่อนอยู่ด้านใน และงูยักษ์ที่เฝ้าอยู่ ( ยังอันตรายสำหรับนักท่องเที่ยว เพราะยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงมาสำรวจ ) 

4. รอยพระพุทธบาทห้วยแห้ง บ้านแม่สาน หมู่ 6 เป็นรอยพระพุทธบาทด้านขวาหันไปทางทิศเหนือจากบันทึกของพระเล็ก สุธัมมปัญโญ เชื่อว่าเป็น 1 ใน 5 รอยพระพุทธบาทภาคเหนือ เป็นที่รู้จักในหมู่พระสงฆ์ที่ธุดงค์มาสักการะเท่านั้น แม้แต่ชาวบ้านเองก็ยังไม่มีใครทราบ

5. น้ำออกรู (น้ำผุด) บ้านแม่สาน หมู่ 6 เป็นโพรงน้ำที่ไหลออกมาจากภูเขา เชื่อว่าเป็นแห่งอาศัยของช้างน้ำ ในตำนานโบราณ มีน้ำไหลออกมาตลอดทั้งปี สิ่งที่น่าแปลกใจคือ เมื่อเราสัมผัสน้ำ ถ้าต้นน้ำอุ่น ปลายน้ำจะเย็น แต่ถ้าต้นน้ำเย็น ปลายน้ำจะอุ่นเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่น่าสนใจ มีตำนานเล่าขานถึงสถานที่แห่งนี้ว่าเป็นแหล่งที่อยู่ของช้างน้ำ เครื่องรางของขลังในสมันก่อน อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่าหากใครมีบุญจะได้เห็นพระธาตุเป็นเม็ดหินสีสวยสดอยู่ปากปล่องที่น้ำไหลออกมา

6.ฝายในพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ปลัดจำเจน จิตรธร เฝ้าถวายรายงาน การทดลองทดน้ำจากฝายเพื่อทำนาปรัง ที่บ้านแม่สาน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จุดสร้างฝายเดิม ครูกลม ทรดล (ชิเด) เป็นผู้ดูแลซ่อมแซมทุกปี ชาวบ้านจึงเรียก ฝายครูกลม ตำแหน่งที่สร้างฝายเดิมคือคุ้งน้ำข้าง ต้นลั่นทมขาวยักษ์ ในดงมะพร้าว เดิม มีศาลเพียงตาไม้สัก(ศาลท่านหญิง วิภาวดี) บัดนี้ ถูกน้ำป่าพัดพังไปนานแล้ว ชาวบ้านสร้างฝายใหม่ขึ้นทดแทน เหนือขึ้นไป ราว ๕๐๐ เมตร ให้ชื่อ ฝายผู้ใหญ่ดอก (ดอกเขียด ค้างคีรี) ปัจจุบันชาวบ้านยังคงใช้ฝายนี้ในการผันน้ำจากลำห้วยเข้าลำเหมืองเพื่อทำการเกษตร

  • โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์. (2562). วิถีชุมชนเครื่องมือ 7 ชิ้น ที่ทำให้งานชุมชนง่าย ได้ผลและสนุก. พิมพ์ครั้งที่ 13. กทมฯ: สำนักพิมพ์สุขศาลา. 
  • สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย. (2564). ท่องเที่ยวชุมชนกะเหรื่ยงสุโขทัย.
  • นายสีมา  ค้างคีรี และนางสิริกร  ค้างคีรี. (2566). สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 5, 9, 18 มิถุนายน 2566