เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์อายุราวคราวเดียวกับเมืองเชียงใหม่และลำพูน หรือมีอายุประมาณ 400 - 700 ปี สังเกตจากการพบเห็น ซากโบราณสถาน ซากโบราณวัตถุต่างๆ เช่น ถ้วยชาม เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องปั้นดินเผา หิน อิฐ ซากปรักหักพังที่ทับถมกันมาเป็นเวลาช้านาน ไม่ว่าจะเป็นบริเวณที่อยู่อาศัย ที่นา ที่สวน ที่ไร่ และเป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมและพิธีกรรมความเชื่อ ที่มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
มาจากสภาพพื้นที่ตั้งของหมู่บ้าน สมัยเมื่อก่อนจะมีต้นกล้วยป่าขึ้นอยู่หนาแน่น ทั้งสองฝั่งลำห้วย และชาวบ้านก็จะนำแกนที่อยู่ข้างในสุดของต้นกล้วยป่า หรือที่เรียกว่า “หยวกกล้วย” นั้น มาทำเป็นอาหารที่ทุกคนในชุมชนต้องเคยกินกันเป็นประจำ เนื่องจากหาได้ง่าย สะอาด มีรสชาติดี ซึ่งต่อมา ก็ได้เรียกลำห้วยนั้นว่า “ลำห้วยหยวก” และได้นำเอามาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน “ห้วยหยวก” จนถึงปัจจุบัน
เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์อายุราวคราวเดียวกับเมืองเชียงใหม่และลำพูน หรือมีอายุประมาณ 400 - 700 ปี สังเกตจากการพบเห็น ซากโบราณสถาน ซากโบราณวัตถุต่างๆ เช่น ถ้วยชาม เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องปั้นดินเผา หิน อิฐ ซากปรักหักพังที่ทับถมกันมาเป็นเวลาช้านาน ไม่ว่าจะเป็นบริเวณที่อยู่อาศัย ที่นา ที่สวน ที่ไร่ และเป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมและพิธีกรรมความเชื่อ ที่มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
บ้านห้วยหยวก เป็นหมู่บ้านกระเหรี่ยงเผ่าสะกอ โดยเรียกตนเองว่า “ป่าเก่อยอ” เขตที่ตั้งหมู่บ้านมีแม่น้ำหยวกไหลผ่าน สภาพพื้นที่ทั่วไปสังเกตเห็น และพบว่ามีวัดร้างโบราณวัตถุต่าง ๆ มากมายหลายแห่ง โดยสังเกตเห็นซากวัตถุโบราณ เช่น หิน อิฐ ที่หักพังทับถมกันมาเป็นเวลาช้านาน ไม่ว่าเป็นบริเวณที่นา ที่สวน และที่ไร่ สันนิฐานว่าสิ่งเหล่านี้น่าจะมีอายุราวคราวเดียวกับเมืองเชียงใหม่และลำพูน หรือมีอายุประมาณ 400 - 700 ปี ล่วงเลยมาแล้ว เนื่องจากในอดีตชาว “ป่าเก่อยอ” มีตัวหนังสือการเขียนของตนเอง และยุคพันธ์ที่อ่านออกและเขียนภาษากะเหรี่ยงได้ ก็ไม่ได้มีการบันทึกทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาของตนเอง มีเพียงแค่เรื่องเล่าที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน จึงไม่สามารถรวบรวมได้ชัดเจนว่า บ้านห้วยหยวกและชุมชนแห่งนี้ได้มีการก่อตั้งมาเป็นเวลานานเพียงใด
เริ่มทราบข้อมูลและหลักฐานที่ชัดเจนขึ้นอย่างจริงจัง โดยใช้วิธีการสอบถามจากผู้อาวุโสที่มีอายุมากที่สุดที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันสอบถามตั้งแต่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และทวด หรือประมาณ 4 ช่วงอายุคน ซึ่งมีการเรื่มจากที่ชาวปาเก่อยอ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณแถบนี้ ได้มีการใช้พื้นที่เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ใช้พื้นที่ในการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และได้เชื่อว่าบ้านเป็นปัจจัยที่สำคัญในการอยู่ร่วมกันโดยอาศัยสถาบันครอบครัวที่ประกอบด้วย สมาชิกบ้าน หมู่บ้าน และชุมชน เป็นองค์ประกอบหลักในการก่อตั้งหมู่บ้านหรือการที่จะสร้างบ้านนั้นผู้คนหรือครอบครัวที่จะเข้าไปก่อตั้ง หรือเข้าไปอยู่อาศัยเป็นคนแรกและครอบครัวแรกนั้น จะต้องมีการสำรวจตรวจสอบสภาพพื้นที่ ที่ตั้งทำเล ดูสภาพดิน ป่า น้ำ และอื่น ๆ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญ ก่อนจะมีการตัดสินใจตั้งที่พักอาศัยจะต้องประกอบพิธีกรรมบนบานศาลเจ้าที่ทำพิธีกรรม เพื่อใช้เครื่องมือบวงสรวงต่าง ๆ เพื่อการทำนายและถามเจ้าที่ในพื้นที่ว่าสามารถก่อตั้งบ้านและหมู่บ้านได้หรือไม่ โดยใช้วิธีการมากมายหลายวิธีการ เช่น ใช้ไม่ทำนาย ใช้ข้าวสารทำนาย ใช้ไข่ทำนาย ใช้กระดูกไก่ทำนาย ใช้หัวไก่ทำนาย ตลอดจนการลงเจ้านายหรือผีฟ้า หากทำพิธีกรรมแล้วเห็นว่าสามารถอยู่พักอาศัยและปลูกสร้างหมู่บ้านได้ก็จะตั้งจิตอธิฐาน และให้สัญญากับเจ้าที่เจ้าทาง เพื่ออัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือดวงวิญญาณของเจ้าเมืองในแคว้นหรือในเขตปกป้องปกปักษ์รักษาคุ้มครอง เฉพาะผู้ที่มีศีลธรรมประกอบกรรมดีในการดำรงชีวิตร่วมกันในชุมชนอย่างมีกฎระเบียบ และที่สำคัญคือได้อัญเชิญด้วยวิญญาณของเจ้าเมืองในแถบนี้เข้ามาสิงห์สถิตย์อยู่ ณ ศาลเจ้าที่แห่งนี้ และจะต้องมีการทำบุญเลี้ยงบวงสรวงทุกปี เพื่อสืบทอดประเพณีนี้ต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน
สำหรับบ้านห้วยหยวก ผู้ที่ได้เข้าไปก่อตั้งหมู่บ้านเป็นคนแรก คือ คุณปู่นะโน ซึ่งตรงกับการใช้คำสรรพนามคำนำหน้าผู้นำว่า “ท้าว” ในราวปี พ.ศ. 2330 - 2350 ได้เข้ามาในลักษณะเป็นผู้ก่อตั้ง ซึ่งชาวกะเหรี่ยงถือว่าผู้ที่เข้ามาอยู่อาศัยได้คนแรกนั้นชาวปาเก่อยอ จะเรียกกันว่า “ฮี่โข่” และผู้ที่จะเป็นผู้นำหมู่บ้านคนต่อ ๆ ไป จะต้องเป็นเฉพาะทายาทผู้ชายโดยกำเนิดของผู้นำหมู่บ้านคนแรกเท่านั้น ซึ่งต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2350 - 2450 มีปู่ลึกพอ ซึ่งเป็นบุตรชายของปู่นะโน ได้เป็นหัวหน้าหมู่บ้านซึ่งยุคนี้จะเรียกผู้นำว่า “ขุน” หลังจากนั้นประมาณ พ.ศ. 2450 - 2500 มีนายคะลุ เป็นผู้นำ เป็นยุคการปกครอง โดยใช้กำนันเป็นผู้ปกครองพื้นที่และมีอำนาจสูงสุด และในช่วงดังกล่าว เป็นช่วงที่ครูบาเฮือน ได้เดินทางมาบิณฑบาตรผ่านหมู่บ้านเพื่อเข้าไปสำรวจและปรับปรุงบริเวณวัดหลวง ซึ่งห่างจากหมู่บ้านไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 7 กิโลเมตร และครูบาเฮือน ได้บูรณะซ่อมแซมทำให้ทีศรัทธาอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ครูบาปี๋ และครูบาศรีวิชัย ก็ได้มีส่วนร่วมในการปฎิสังขรณ์พระธาตุและบริเวณวัด จนถึงปี พ.ศ. 2514 ได้ก่อตั้งหมู่บ้านอย่างเป็นทางการโดยมีส่วนราชการโดยเฉพาะนโยบายของรัฐบาลในการเผยแพร่พุทธศาสนาควบคู่กับการสังคมสงเคราะห์ ได้ตั้งนายวะเชอ คีรีไพรภักดี เป็นผู้ใหญ่บ้านและขึ้นต่อกรมการปกครองหมู่ที่ 7 ตำบลแม่วิน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ขณะเดียวกันก็มีนายอุ่น เป็นหัวหน้าหมู่บ้านหรือ “ฮี่โข่” เป็นผู้นำดั้งเดิมเพื่อรักษาสืบทอดขนบธรรมเนียบวัฒนธรรมดั้งเดิมอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเมื่อปี พ.ศ. 2539 ทางราชการโดยกรมการปกครองได้ตั้งหมู่บ้านห้วยหยวกขึ้นตรงต่อ อำเภอแม่วาง และเมื่อปลายปี พ.ศ. 2540 ได้แต่งตั้งกิ่ง อำเภอแม่วาง เป็นอำเภอม่วาง อย่างเป็นทางการโดยมีผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายธงชัย หอมกุหลาบดอย เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก และมี นายสมศรี คีรีไพรภักดี และนายประพันธ์ กิ่งไพรทอง เป็นคณะกรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อร่วมเป็นคณะกรรมหารบริหารส่วนตำบลแม่วิน
หมู่บ้านห้วยหยวกหรือหมื่นวีโก๊ะ เป็นชุมชนชาติพันธุ์ชาวปกาเกอะญอเผ่าสะกอร์ หมู่ที่ 7 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มเขา อยู่เหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 520 เมตร มีแม่น้ำหยวกไหลผ่าน สภาพพื้นที่ทั่วไปสังเกตเห็น และพบว่ามีวัดร้างโบราณวัตถุต่าง ๆ มากมายหลายแห่ง โดยสังเกตเห็นซากวัตถุโบราณ เช่น หิน อิฐ ที่หักพังทับถมกันมาเป็นเวลาช้านาน ไม่ว่าเป็นบริเวณที่นา ที่สวน และที่ไร่ สันนิฐานว่าสิ่งเหล่านี้น่าจะมีอายุราวคราวเดียวกับเมืองเชียงใหม่และลำพูน หรือมีอายุประมาณ 400 - 700 ปี ล่วงเลยมาแล้ว พื้นที่ภายในหมู่บ้านล้อมรอบด้วยภูเขา ชาวบ้านส่วนใหญ่ ใช้ในการประกอบเกษตรกรรม มีการสร้างบ้านเรือนตั้งอยู่บนสันเขาเป็นหย่อม ๆ ตามที่ราบ ระหว่างหุบเขาหรือที่ราบเชิงเขา อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 7 กิโลเมตร โดยมีที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
อาณาเขตติดต่อ
o ทิศเหนือ ติดต่อกับ หย่อมขุนวิน หมู่บ้านหนองมณฑา หมู่ที่ 16 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง
o ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่บ้านสบวิน หมู่ที่ 9 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง
o ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่บ้านดอนเปา หมู่ที่ 4 ตำบลดอนเปา อำเภอแม่วาง
o ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่บ้านแม่มูต หมู่ที่ 6 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง อำเภอแม่วาง
ลักษณะภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูหนาว ช่วงเดือน พฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูร้อน ช่วงเดือน มีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ฤดูฝน ช่วงเดือน มิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ลักษณะที่อยู่อาศัยบ้านห้วยหยวก เป็นชุมชนชนบท ทำให้บ้านมีลักษณะการตั้งที่อยู่อาศัยเป็นบ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน ยกพื้นบ้านสูง มีชานหน้าบ้าน และบ้านส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนที่ราบ และที่สูง โดยจะอยู่กันเป็นเครือญาติซึ่งบ้านจะอยู่ติดกัน ไม่มีรั้วกั้นระหว่างกัน ทุกครัวเรือนจะมีเตาไฟอยู่ภายในบ้านซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าในการใช้เป็นที่ประกอบอาหาร ภายในบ้านขุนป๋วย ใช้การคมนาคมทางบก ซึ่งในอดีตเป็นถนนดินแดงมีการเดินทางที่ลำบาก ภายหลังได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานทางภาครัฐ เข้ามาดูแลได้ทำถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อความสะดวกในการเดินทางให้กับชาวบ้านและได้รับการช่วยเหลือใน ด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ จากหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ เช่น ทุกหลังคาเรือนเข้าถึงระบบไฟฟ้า ระบบน้ำประปา และสัญญาณโทรศัพท์
ประชากรบ้านห้วยหยวก เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอเผ่าสะกอทั้งหมด มีจำนวนทั้งสิ้น 604 คน แบ่งเป็น ชาย 306 คน หญิง 298 คน จำนวนครัวเรือน 183 ครัวเรือน ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว จะนับถือพี่คนโต เชื่อฟังให้ความเคารพคนที่สูงอายุกว่า ความสัมพันธ์ของคนภายในชุมชน ให้ความสำคัญกับระบบเครือญาติ คนสายเลือดเดียวกันจะไม่แต่งงานกัน เพราะเชื่อว่าจะผิดผี ชาวบ้านห้วยหยวกอยู่ร่วมกัน โดยยึดจารีตประเพณี และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เช่น เวลามีงานประเพณีต่างๆ การช่วยก็ทำงาน จึงทำให้สังคมเกิดความสามัคคี พิธีแต่งงาน (ท่อปล่า) กะเหรี่ยงจะเลือกคู่ครอง โดยพิจารณาจากความรักอุปนิสัย เช่น ความขยันการทำงาน การแต่งงานโดยมากมักจะจัดหลังเสร็จงานในไร่ เมื่อ พ่อ แม่ ของทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้แล้ว ก็จะกำหดวันแต่งงาน โดยจะเอกวันที่เป็นมงคล จะไม่แต่งเดือนที่มีคนเสียชีวิต เดือนดับและเดือนที่มีจันทรุปราคา เพราะเชื่อว่าอัปมงคล คู่บ่าวสาวจะเดือดร้อนวันหน้า แต่ถ้าหากหนุ่มสาว ทำผิดประเพณีก่อนแต่งงาน หัวห้าหมอผีหมู่บ้าน หรือ " ฮีโข่ " จะเรียกค่าผิดผี เช่นหมู หรือสัตว์เลี้ยง เพื่อทำพิธีขอขมาต่อเจ้าดิน เจ้าน้ำ การกินผีจะไม่ให้หนุ่มสาวและเด็กกิน เพราะเกรงว่าความผิดจะแพร่ต่อไป การแต่งงาน ยังเป็นเครื่องแสดงถึงความเชื่อเรื่องการนับถือผี และทำให้เกิดความรัก ความกลมเกลียวในเครือญาติ นอกจากนี้ ยังมีความหมายด้านแรงงาน เพราะทำให้ครอบครัว มีคนช่วยงานบ้านเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ปกาเกอะญอมิติทางด้านศาสนา พิธีกรรมความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรม
บ้านห้วยหยวก เป็นกลุ่มขาติพันธุ์ปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) เผ่าสกอร์ ประชากรส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธและนับถือผี ร้อยละ 98 ซึ่งมีพิธีกรรมความเชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ชาวกะเหรี่ยงบ้านห้วยหยวก มีความสัมพันธ์กับความเชื่อ เรื่องของการอนุรักษ์ป่า ทรัพยากรธรรมชาติ ความเชื่อเรื่องของศาสนา หรือความเชื่อที่เกิดขึ้นในชุมชน จะเห็นได้ว่า ชุมชนเชื่อเรื่องของการเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ควบคู่ไปกับความเชื่อตามยุคสมัย ซึ่งความเชื่อนำไปสู่ประเพณีวัฒนธรรม เพื่อให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสิ่งที่มีคุณค่าแฝงไปด้วยความเชื่อเรื่องต่าง ๆ เช่น ความเชื่อเรื่องของการนำสายสะดือของตนเองไปผูกกับต้นไม้ ที่แฝงไปด้วยเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและการหวงแหนป่าชุมชน ซึ่งในขณะเดียวกัน ก็มีความเชื่อเรื่องผีและธรรมชาติอยู่เป็นพื้นฐานดั้งเดิมอยู่แล้ว ดังนั้น จึงทำให้พิธีกรรมความเชื่อต่างๆ ยังคงมีควบคู่อยู่กับชุมชนมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่
ผีต้นน้ำ "เลอข่อคี" มีความเชื่อเรื่องผีที่ดูแลรักษาต้นน้ำของหมู่บ้านอยู่บริเวณต้นน้ำ ที่เรียกว่า "เลอข่อคี" ห่างจากหมู่บ้านไปทางทิศตะวันออกประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นจุดที่ทำให้เกิดลำน้ำที่ไหลผ่านตัวหมู่บ้านอีกทีหนึ่ง ในการทำพิธีไหว้ผีต้นน้ำปัจจุบันไม่มีหมอผีผู้ทำพิธีโดยตรงแล้วแต่หน้าที่นี้จะเป็นของผู้อาวุโสของหมู่บ้านที่ได้รับเลือกให้เป็นคนที่มีหน้าที่ดูแลน้ำเป็นผู้พาทำพิธีเพื่อแสดงความเคารพ ไม่ไปล่าสัตว์บริเวณนั้น ในอดีตการเลี้ยงผีจะมีการฆ่าไก่เพื่อเลี้ยงผีน้ำให้ดูแลปกปักรักษา ครั้นเมื่อราว 30 ปี ที่ผ่านมาได้เลิกการเลี้ยงผีแบบเดิมไปด้วยเหตุที่สมัยนั้นผู้ใหญ่ตัดสินใจทำระบบประปาภูเขา ทำให้เห็นว่าคนทั่วไปก็สามารถเข้าไปจัดการต้นน้ำนำมาใช้ อีกทั้งต่อมาได้มีพระเข้าไปใช้พื้นที่บริเวณนั้นอาศัยอยู่ทำให้ความเชื่อเรื่องผีน้ำเริ่มคลายลงไป
ผีฝาย ผีนา คือ พิธี "ลื่อทีบอ" มีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร คือ พิธีเลี้ยงผีฝาย ผีนา ในการเลี้ยงผีนาจะประกอบด้วยพิธีที่ซับซ้อน เช่น การเลี้ยงผีให้ดูแลข้าวที่เพิ่งปลูก "แตะเจะ" การทำพิธี "เกาะเทาะโทะ" เพื่อเชิญวิญญาณนกเหยี่ยว ให้เป็นตัวนำโชคให้พืชพรรณ ธัญญาหาร เชิญวิญญาณสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาขอบคุณ ให้กินข้าวให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ให้ปีต่อไปได้ผลผลิตข้าวดี และเชิญผีให้มาดูแลรักษาต่อในปีหน้า พิธีนี้จะทำตอนเกี่ยวข้าวและเอาข้าวกลับเข้ามาในบ้านเข้ายุ้งฉาง จากนั้นจะออกไปทำพิธีที่ไร่นา หลังจากเสร็จพิธีก็จะนำเหล้าและกับข้าวกลับมารินเหล้าที่ยุ้งข้าวอีกครั้ง ผู้ที่นำพิธีเลี้ยงผีนาเรียกว่า "แหว่โก๊ะ" ส่วนใหญ่ จะให้ผู้ชายที่เป็นเรี่ยวแรงสำคัญในที่นาแต่ละแห่งเป็นคนทำพิธี ซึ่งมักจะเป็นผู้นำในครอบครัว จึงไม่จำเป็นต้องใช้หมอผี รวมทั้ง จะมีการนำผู้อาวุโสอีก 3 คน ซึ่งมักจะมีฐานะเป็นปู่หรือตา ไปช่วยร่วมอธิษฐานในพิธีร่วมกับ แหว่โก๊ะ การเลี้ยงผีนานี้ จะใช้หมูหรือไก่ก็ได้ หากนำหมูมาเลี้ยงผีจะพิจารณาที่ดีหมู ถ้าดีหมูในการเลี้ยงผีมีลักษณะไม่ดีก็ต้องทำพิธีเลี้ยงใหม่ อีกทั้งต้องหลีกเลี่ยงการพูดไม่ดีในระหว่างพิธีหรือเหตุร้ายที่เกิดขึ้นในพิธี เช่น เหล้าหกไม่ได้ แมงป่องกัดไม่ได้ มิฉะนั้นต้องทำพิธีใหม่ ในระหว่างที่มีการเลี้ยงผีนาถ้ามีแขกหรือคนนอกบ้านมาถึงบ้านที่กำลังทำพิธี สามารถเชิญแขกเข้ามากินเลี้ยงร่วมด้วยได้ ซึ่งต่างไปจากข้อห้ามของพิธีอื่น ๆ ส่วนใหญ่มักจะห้ามแขกหรือคนนอกเข้าร่วมพิธี
มิติด้านการแต่งกาย
ยังมีการแต่งกาย ด้วยวิธีการทอผ้า ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ผ้านุ่งของผู้ชายชาวกะเหรี่ยงบ้านห้วยหยวก คนที่แต่งงานแล้ว ผ้านุ่งที่เป็นโสร่งสีแดง เรียกว่า "แทเตอะดอกฺง่อ" และคนที่ยังไม่แต่งงานเป็นโสร่งลาย เรียกว่า "แทตัวคี" ส่วนการแต่งกายของหญิงสาวนั้นจะใส่ชุดสีขาว ที่เรียกว่า เชวา แสดงถึงหญิงสาวที่มีความบริสุทธิ์ ส่วนผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว จะใส่เสื้อผ้าที่มีสีสัน และสีดำ มีลวดลาย เรียกว่า เชซู แต่ปัจจุบันนี้ การแต่งกายของชาวห้วยหยวก เริ่มหันมาสวมใส่เสื้อผ้าตามสมัยนิยมมากขึ้น เนื่องจากมีรูปแบบลวดลายที่หลากหลายและหาซื้อได้ง่าย การแต่งกายชุดกะเหรี่ยง จะพบเห็นกันได้เฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือเมื่อเวลาที่ทางหมู่บ้าน มีการจัดงานประเพณีหรือพีธีกรรมสำคัญต่างๆ ในหมู่บ้านเท่านั้น
มิติด้านสังคมและเศรษฐกิจ
ประกอบอาชีพเกษตรเป็นหลัก โดยจะปลูกข้าวตามฤดูกาล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าวจ้าว เพื่อบริโภคเป็นอาหารหลักและปลูกข้าวเหนียวบ้างแต่ไม่มากนักไว้เพื่อใช้ในการแปรรูป พันธุ์ข้าวบนพื้นที่สูงจะแตกต่างจากพันธุ์ข้าวที่ปลูกบริเวณพื้นที่ราบทั่วไป เนื่องจากระดับความสูงของพื้นที่และสภาพอากาศที่แตกต่างกัน และจะมีรายได้เสริมจากการทำไร่แบบหมุนเวียน โดยการเพาะปลูกพืชแบบยังชีพ ไม่หวังผลกำไรมาก มีแบบแผนการผลิตและระยะเวลาการใช้ประโยชน์จากที่ดินในช่วงสั้นๆ และปล่อยให้พื้นดินพักตัว โดยจะทำไร่ข้าว 1 - 3 ปี เมื่อผลผลิตลดจำนวลง ปีต่อไปก็จะไปปลูกที่ดินผืนใหม่ แล้วปล่อยให้ดินเดิมนั้นพักตัว 6 - 10 ปี และจะมีการเลี้ยงสัตว์ทุกหลังคาเรือน เช่น หมูดำ ไก่พันธุ์พื้นเมือง วัว ควาย ไว้สำหรับการบริโภคและเพื่อประกอบพิธีต่างๆ รวมถึง เลี้ยงไว้เพื่อสร้างรายได้ นอกจากนี้ยังมีการประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ร้านค้า ทอผ้า อู่ซ่อมรถ และรับจ้างทั่วไป รวมไปถึง การเก็บหาของป่าเป็นรายได้เสริม เช่น หน่อไม้ เห็ดและพืชผักต่าง ๆ เป็นต้น
ระบบการผลิตแบ่งเป็น 4 ระบบ ได้แก่ การผลิตนาดำ , การทำไร่, การทำไร่นาสวนผสม, ระบบวนเกษตรผลผลิตข้าวเฉลี่ยต่อปี ข้าวไร่ 40 ปี๊บต่อไร่ และข้าวนาปี 50 ปี๊บต่อไร่ บางครอบครัวจะปลูกผักรวมกับโครงการหลวง เช่น ปลูกพริก ถั่วฝักยาว บวบ เป็นต้น
มิติด้านการเมือง การปกครอง
บ้านห้วยหยวก มีการปกครองอย่างเป็นทางการ มีผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้นำหมู่บ้าน โดยทำหน้าที่ปกครองและรักษาความสงบภายในหมู่บ้าน และในหมู่บ้านจะมีหัวหน้าหมู่บ้าน เรียกว่า "ฮีโข่" คือคนที่ก่อตั้งหมู่บ้าน และสืบต่อกันมาตามสายเลือด นอกจากนี้ ในหมู่บ้านยังมีผู้นำอย่างไม่เป็นทางการ คือ กลุ่มผู้อาวุโสที่มีหน้าที่ให้คำแนะนำด้านพิธีต่างๆ นอกจากนี้ยังมี หมอผีเป็นผู้ทำพิธีต่างๆ เช่น การเป็นหมอดู การทำนายโชคชะตา และการทำพีเซ่นไหว้ผี เมื่อเวลามีคนเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุในหมู่บ้าน
มิติด้านการศึกษา
บ้านห้วยหยวก สมัยเมื่อก่อน ถือเป็นหมู่บ้านห่างไกลจากตำบล การคมนาคมไม่ค่อยสะดวก ทำให้ระบบการศึกษาไม่ต่อเนื่อง คนส่วนใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ไม่รู้หนังสือ ไม่มีโอกาสได้เรียน แต่ในปัจจุบันชาวบ้านมีโอกาสได้เรียนหนังสือมากขึ้น แต่ก็ต้องเดินทางมาเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนขยายโอกาส หมู่ที่ 11 ซึ่งก็ห่างจากหมู่บ้านห้วยหยวก ประมาณ 10 กืโลเมตร
มิติด้านสุขภาพ
บ้านห้วยหยวก หมู่ที่ 7 เป็นเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่วังผาปูน โดยจะมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมายถึง บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากชาวบ้านในแต่ละกลุ่มบ้านและได้รับการอบรมตามหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยมีบทบาทหน้าที่สำคัญ คือ เป็นผู้ประสานงาน ผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุข แนะนำเผยแพร่ความรู้ และดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ เช่น การรณรงค์ตรวจลูกน้ำยุงลาย ปีละ 5 ครั้ง การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่สตรีกลุ่มเสี่ยง การทำแผนและออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดเตียง ปีละ 4 ครั้ง การตรวจสุขภาพแม่และเด็ก ทุก 3 เดือน ซึ่งในยามป่วยไข้ หากไม่พึ่งการแพทย์แผนปัจจุบัน ก็จะมีปราชญ์ชาวบ้านหรือหมอเมือง ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านและสมุนไพรท้องถิ่นในการรักษา
มิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บ้านห้วยหยวก ตั้งอยู่ในบริเวณเขตป่าสงวน สภาพป่าภายในชุมชนเป็นป่าดิบเขาและภายในชุมชน มีน้ำห้วยหยวกไหลผ่าน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ชาวบ้านใช้ในการทำเกษตรเป็นส่วนใหญ่ สภาพดิน มีลักษณะเป็นดินเหนียว ดินร่วนปนทราย ดินลูกรังในพื้นที่ดอนและพื้นที่ราบเนินเขา เหมาะสำหรับทำการเกษตร การปลูกพืช ได้แก่ ข้าว พืชไร่ พืชผัก พืชสวน และเสี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ชาวบ้านในชุมชนมีประปาภูเขาไว้ใช้เพื่ออุปโภคบริโภคในครัวเรือน
ชาวบ้านห้วยหยวกส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธและมีบางส่วนนับถือผี ซึ่งจะมีพิธีกรรมต่างๆ ตามจารีตประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานจากบรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็น การเซ่นไหว้สังเวยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อเป็นประจำทุกปีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยในเรื่องของการปกป้องและคุ้มครองคนในครอบครัว พ้นจากสิ่งโชคร้ายหรือโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึง การทำการเกษตรหรือการทำมาหากินประกอบอาชีพต่างๆ ก็จะมีห้วงเวลาในการดำเนินการตามปฏิทินการทำงานในรอบปี
- มกราคม - ปีใหม่
- กุมภาพันธุ์ - ถางไร่
- มีนาคม - เผาไร่ กำจัดวัชพืช
- เมษายน - เตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ วันสงกรานต์
- พฤษภาคม - กำจัดวัชพืชไร่ ปลูกพืชผักไร่ เช่น เผือก มัน กระเพรา ปลูกข้าวไร่ เตรียมแปลงกล้านาดำ
- มิถุนายน - ปลูกข้าวไร่ เตรียมพื้นที่ก่อนปลูกข้าว
- กรกฎาคม - กำจัดวัชพืชไร่ ปลูกข้าวนาปี
- สิงหาคม - กำจัดวัชพืชไร่ และนาข้าว กันยายน - ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ตุลาคม - เกี่ยวข้าวไร่ นวดข้าว ขนข้าวเข้ายุ้ง
- พฤศจิกายน - เกี่ยวข้าวนาปีอายุสั้น
- ธันวาคม - เกี่ยวข้าวนาปี ขนข้าวเข้ายุ้ง ปฏิทินพิธีกรรม การบวงสรวงศาลเจ้าที่ประจำหมู่บ้านห้วยหยวก
- ช่วงเดือน เม.ย.- พ.ค. และ พ.ย.- ธ.ค. พิธีผูกข้อมือ/มัดมือและพิธีทำบุญปีใหม่
- ช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ., ทำบุญวันสงกรานต์
- ช่วงเดือน เม.ย. ประเพณีจัดงานแต่งงาน
9.1 พะอู่ ศรีดอยดิน (พ่ออุ่น)
พะอู่ ศรีดอยดิน หริอ พ่ออุ่น อาศัยอยู่ที่นี่มานานเกือบ 70 ปีแล้ว ปัจจุบันมีอายุอย่างเข้า 91 ปี พ่ออุ่น ได้เล่าให้ฟังว่า พ่อของพ่ออุ่น ชื่อพ่อคะลุ ได้ย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านห้วยหยวก เมื่อราว ปี พ.ศ. 2450 เป็นผู้นำในยุคการปกครอง โดยให้กำนันเป็นผู้ปกครองพื้นที่และมีอำนาจสูงสุด ได้ประมาณ 60 กว่าปีแล้วอายุ 91 ปี วันที่ 23 พฤษภาคม 2555 ผู้อาวุโสของหมู่บ้านหนองมณฑา โดยยายมีพี่น้อง 10 คน เสียชีวิต 7 คน ยายเป็นคนที่ 2 มีที่น้องผู้ชาย 6 คน ผู้หญิง 4 คน ปัจจุบันมีพี่น้องเหลือ 3 คน พีเจ๊าะได้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตให้ฟังว่า
"สำหรับบ้านห้วยหยวก ผู้ที่ได้เข้าไปก่อตั้งหมู่บ้านเป็นคนแรก คือ คุณปู่นะโน ซึ่งตรงกับการใช้คำสรรพนามคำนำหน้าผู้นำว่า “ท้าว” ในราวปี พ.ศ. 2330 - 2350 ได้เข้ามาในลักษณะเป็นผู้ก่อตั้ง ซึ่งชาวกะเหรี่ยงถือว่าผู้ที่เข้ามาอยู่อาศัยได้คนแรกนั้นชาวปาเก่อยอ จะเรียกกันว่า “ฮี่โข่” และผู้ที่จะเป็นผู้นำหมู่บ้านคนต่อ ๆ ไป จะต้องเป็นเฉพาะทายาทผู้ชายโดยกำเนิดของผู้นำหมู่บ้านคนแรกเท่านั้น ซึ่งต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2350 - 2450 มีปู่ลึกพอ ซึ่งเป็นบุตรชายของปู่นะโน ได้เป็นหัวหน้าหมู่บ้านซึ่งยุคนี้จะเรียกผู้นำว่า “ขุน” หลังจากนั้นประมาณ พ.ศ. 2450 - 2500 มีนายคะลุ เป็นผู้นำ เป็นยุคการปกครอง โดยใช้กำนันเป็นผู้ปกครองพื้นที่และมีอำนาจสูงสุด และในช่วงดังกล่าว เป็นช่วงที่ครูบาเฮือน ได้เดินทางมาบิณฑบาตรผ่านหมู่บ้านเพื่อเข้าไปสำรวจและปรับปรุงบริเวณวัดหลวง ซึ่งห่างจากหมู่บ้านไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 7 กิโลเมตร และครูบาเฮือน ได้บูรณะซ่อมแซมทำให้ทีศรัทธาอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ครูบาปี๋ และครูบาศรีวิชัย ก็ได้มีส่วนร่วมในการปฎิสังขรณ์พระธาตุและบริเวณวัด จนถึงปี พ.ศ. 2514 ได้ก่อตั้งหมู่บ้านอย่างเป็นทางการโดยมีส่วนราชการโดยเฉพาะนโยบายของรัฐบาลในการเผยแพร่พุทธศาสนาควบคู่กับการสังคมสงเคราะห์ ได้ตั้งนายวะเชอ คีรีไพรภักดี เป็นผู้ใหญ่บ้านและขึ้นต่อกรมการปกครองหมู่ที่ 7 ตำบลแม่วิน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ขณะเดียวกันก็มีนายอุ่น เป็นหัวหน้าหมู่บ้านหรือ “ฮี่โข่” เป็นผู้นำดั้งเดิมเพื่อรักษาสืบทอดขนบธรรมเนียบวัฒนธรรมดั้งเดิมอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเมื่อปี พ.ศ. 2539 ทางราชการโดยกรมการปกครองได้ตั้งหมู่บ้านห้วยหยวกขึ้นตรงต่อ อำเภอแม่วาง และเมื่อปลายปี พ.ศ. 2540 ได้แต่งตั้งกิ่ง อำเภอแม่วาง เป็นอำเภอม่วาง อย่างเป็นทางการโดยมีผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายธงชัย หอมกุหลาบดอย เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก
ด้านประเพณีและวัฒนธรรม
- ประเพณีมัดมือ หรือประเพณีปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยง ช่วงเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี
- ประเพณีกินข้าวใหม่ (ข้าวเม่า) ของกระเหรียงจัดขึ้นภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ในช่วงเดือนสิงหาคม
- ประเพณีแต่งงานของกะเหรี่ยง นิยมแต่งงานในเดือนพฤษภาคม เป็นส่วนใหญ่
ด้านสถานที่และการท่องเที่ยว
- น้ำตกห้วยแม่วิน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตหมู่บ้านห้วยหยวก เป็นน้ำตกที่อยู่กลางป่าชุมชนซึ่งห่างจากหมู่บ้านห้วยหยวก ประมาณ 4 กิโลเมตร ตั้งอยู่ตอนกลางลำห้วย บริเวณบ้านห้วยหยวก - บ้านขุนวิน ประกอบด้วยน้ำตก จำนวน 3 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ความสูงประมาณ 10 เมตร อยู่ห่างจากหมู่บ้านห้วยหยวก (บ้านกะเหรี่ยง) ประมาณ 200 เมตร น้ำตกชั้นที่ 3 ห่างจากชั้นที่ 3 ประมาณ 800 เมตร ความสูงของน้ำตกประมาณ 15 เมตร กว้างประมาณ 9 เมตร การเดินทางไปน้ำตกห้วยแม่วิน ต้องเดินเท้าจากบ้านห้วยหยวกเท่านั้น เพราะยังไม่มีเส้นทางสำหรับรถทุกประเภท
- วัดหลวงขุนวิน เป็นวัดเก่าแก่ที่ไม่มีประวัติในการสร้าง อายุประมาณ 2,000 ปี ตั้งอยู่กลางป่าชุมชน สถานที่ร่มรื้น เย็นสบาย ปัจจุบันชาวบ้านได้มาฟื้นฟูจนทำให้น่าไปเที่ยว
ชาวบ้านห้วยหยวก ปัจจุบันยังมีการใช้ภาษาปกาเกอะญอกันอยู่ แต่มีการสอนภาษาไทย และภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย เนื่องจากต้องการที่จะปลูกฝังความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของกลุ่มชน รู้จักและรักษ์ป่า สอนให้สำนึกในวิถีของปกาเกอะญอ มีการสอนภาษาปกาเกอะญอทั้งฟัง พูด อ่านและเขียน ทำให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ภาษาของกลุ่มชนและไม่ทำให้ภาษาปกาเกอะญอสูญหายไป
ชาวบ้านหนองมณฑามีการร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนบ้านมอวาคี มีการสอนตั้งแต่ภาษา การแต่งกาย การอบรมสั่งสอนลูกหลานผ่านการเล่านิทาน และวัฒนธรรมที่ปกาเกอะญอสืบทอดกันภายในครอบครัว ตลอดระยะเวลากว่า 21 ปี มีการให้คนในชุมชนเข้ามามีบทบาทในการรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง เป็นการสร้างจิตสำนึกร่วมกันเกิดความรักในกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองมากขึ้น มีหน่วยงานภาคเอกชน ภาครัฐ เช่น สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท.) มีส่วนร่วมการจัดศึกษาในชุมชนโดยให้เป็นพี่เลี้ยงในการวางแผนการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นวิถีชีวิตแบบปกาเกอะญอ ปัจจุบันมีหลักสูตรของตนเองที่ใช้ในโรงเรียนบ้านมอวาคี สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ ให้การสนับสนุนด้านการรับรองการจบวุฒิทางการศึกษาของนักเรียน เพื่อให้สามารถไปเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ กระทรวงวัฒนธรรม ให้การส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ทางด้านวัฒนธรรมของชุมชน เช่น การทอดถ่ายความรู้ภูมิปัญญาปกาเกอะญอให้แก่เด็ก นักเรียนในชุมชน เรื่องการย้อมฝ้ายโดยใช้สีจากธรรมชาติ การทอผ้าแบบกี่เอว ดนตรี ความรู้จารีตประเพณีในการทำนาทำไร่หมุนเวียน ป่าเดอปอทู (ต้นสะดือ) ทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติในชุมชน ให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวภายในชุมชน เป็นต้น
- อนงค์พร ภูมิปัญญาดีสม และคณะ. (2555). โครงการวิจัยศักยภาพของการคงอยู่ทางอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของชุมชนวัฒนธรรมพิเศษ.
- กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. ค้นคืนเมื่อ 19 เมษายน 2566 ,จากฐานข้อมูลงานวิจัยศมส.: www.sac.or.th/databases/sac_research/research_pdf_pdf.php?file_id=1548&ob_id=100
- ภูมิปัญญาชนเผ่าปกาเกอะญอสานต่อที่มอวาคี. (ม.ป.ป.). ค้นคืนเมื่อ 19 เมษายน 2566, จาก http://tribalcenter.blogspot.com/
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน. ( 2562). หมู่ที่ 16 บ้านหนองมณฑา. ค้นคืนเมื่อ 19 เมษายน 2566, จาก http://maewin.net/
- นฤมล ลภะวงศ์, และ อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์. (2557). กระบวนการจัดการเพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านหนองมณฑา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 10(2), ค้นคืนเมื่อ 19 เมษายน 2566, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/31359
- Open map. (2018). นักเรียนปกาเกอะญอบ้านหนองมณฑา ค้นจาก http://www.openmap.in.th/182/