Advance search

บ้านคูหาใน

โดดเด่นด้านการดำเนินชีวิตตามวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง การผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน

บ้านคูหาใน
คูหาใต้
รัตภูมิ
สงขลา
นพรดา แก้วกิริยา
5 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
9 เม.ย. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
9 เม.ย. 2024
บ้านคูหาใน

ชุมชนบ้านคูหาในเป็นชุมชนเก่าแก่มาช้านาน ซึ่งคนเฒ่าคนแก่เขาเล่าว่า คำว่า คูหา มาจาก คำว่า โคหาย แต่ปัจจุบันกลายมาเป็น คูหาใน 


ชุมชนชนบท

โดดเด่นด้านการดำเนินชีวิตตามวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง การผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน

บ้านคูหาใน
คูหาใต้
รัตภูมิ
สงขลา
90180
เทศบาลตำบลคูหาใต้ โทร. 0-7425-6108
7.161893125301976
100.26624804838727
เทศบาลตำบลคูหาใต้

ตำบลคูหาใต้เดิมเป็นตำบลในเขตการปกครองของอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2435 เข้ามาอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา อยู่ทางตอนใต้ของพื้นที่ เรียกว่า คูหาใต้มาจนทุกวันนี้ ระยะห่างจากศาลากลางจังหวัดสงขลา 65 กิโลเมตร อำเภอรัตภูมิเป็น 1 ใน 16 อำเภอของจังหวัดสงขลา มีประวัติความเป็นมายาวนานจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีการค้นพบโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ฝังอยู่ในถ้ำและเพิงหิน ทางทิศเหนือของเขารักเกียรติ ตำบลกำแพงเพชร พบภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ภาชนะดินเผาแบบหม้อสามขา ขวานหินขัด โครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ จากหลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าพื้นที่อำเภอรัตภูมิ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์โบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อาศัยอยู่ในบริเวณถ้ำหินปูนของภูเขาในเขตอำเภอรัตภูมิไปจนถึงจังหวัดพัทลุงมายาวนานประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว

ต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์มีการค้นพบโบราณวัตถุแผ่นจารึกอักษรขอมจากถ้ำเขาจังโหลน ตำบล คูหาใต้ และเขาพระ ตำบลเขาพระ เป็นโบราณวัตถุในสมัยพุทธศตวรรษที่ 24-25 (ตรงกับสมัยกรุงธนบุรี) จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าภูเขาในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ของมนุษย์โบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งคนรัตภูมิได้ให้ความสำคัญกับภูเขาเป็นอย่างมาก จึงผูกคำกลอน โบราณจากตำนานภูเขาของอำเภอรัตภูมิตามคำบอกเล่าของ ร.ต.อ.เยื้อง สมถวิล ประธานกลุ่มอนุรักษ์และ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอำเภอรัตภูมิ ความว่า "ท่านท้าวจังโหลนผู้รุ่งฟ้า มีเมียงามเลิศ ชื่อกานดา ตาเพราเขาคูหา มีบุตรสามองค์ทรงลักขณา ชื่อว่าเขาจุ้มปะเป็นพี่ชาย ถัดมาแต่นั้นสาวหน้างาม ชื่อว่าเขาตกน้ำ งามเฉิดฉาย มีบุตรสุดท้องเป็นน้องชาย ใจร้ายให้ชื่อเขารังเกียจ เบียดเสียดพี่น้องให้ต้องแค้น ถีบพี่พังลงใน คงคา รู้ไปถึงบิดาเขาโกรธแน่น ท้าวจังโหลนขับไล่ไม่ให้อยู่ ไปเป็นคู่แต่สวนควนหัวแหวน ฝ่ายควนรูรู้เรื่อง ให้เคืองแค้น ว่าเจ้าควนหัวแหวนมีตัวใหม่ จะได้หรือไม่ได้ก็ตามใจ ต้องไปบอกควนหินเหล็กไฟเสียให้รู้"

ขณะเดียวกัน ชุมชนบ้านคูหาใน ก็เป็นชุมชนเก่าแก่อีกชุมชนหนึ่ง ซึ่งคนเฒ่าคนแก่เขาเล่าว่า คำว่า คูหา มาจาก คำว่า โคหาย แต่ปัจจุบันกลายมาเป็น คูหาใน ชาวบ้านอยู่กันแบบพี่น้อง มีความเอื้ออาทร ซึ่งกันและกัน ชาวบ้านมีการรวบรวม กลุ่มต่าง ๆ อย่างเหนียวแน่นในการพัฒนาชุมชน สภาพแวดล้อมของกลุ่มบ้านที่อยู่อาศัย เป็นที่ราบ การคมนาคม สะดวก มีความเป็นอยู่ที่ร่มเย็น รักสงบ

ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอรัตภูมิ จังหวัด สงขลา ระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอรัตภูมิ 5 กิโลเมตร มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 42.90 ตารางกิโลเมตร ประมาณ 26,812.5 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ จด อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
  • ทิศใต้ จด องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู และเทศบาลตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
  • ทิศตะวันออก จด องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
  • ทิศตะวันตก จด องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

ลักษณภูมิประเทศ

มีสภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม และมีภูเขามีการปลูก ข้าวยางพารา พืชไร่ และพืชผัก มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับปลูกข้าว-พืชผักทางการเกษตร และพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค มีพรุโต๊ะนายซึ่งสามารถพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

มีประชากรทั้งหมด 11,568 คน แยกเป็นชายได้ 5,648 คน และหญิง 5,920 คน มีจำนวนครัวเรือน 3,386 ครัวเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 206 คน

การรวมกลุ่ม/องค์กรในชุมชน

  • กลุ่มสตรีอาสาพัฒนาบ้านคูหาใน ประกอบด้วยสมาชิก 40 คน
  • กลุ่ม อสม. บ้านคูหาใน ประกอบด้วยสมาชิก 30 คน
  • กองทุนหมู่บ้านคูหาใน ประกอบด้วยสมาชิก 135 คน
  • กองทุนเงินออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านคูหาใน ประกอบด้วยสมาชิก 210 คน
  • กลุ่มทำนาบ้านคูหาใน ประกอบด้วยสมาชิก 50 คน

บ้านคูหาใน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีน้ำท่วมทุก ๆ ปี ในช่วงฤดูฝน ทิศเหนือติดกับคลองตะเคียน ทิศใต้ ติดกับคลองภูมี มีถนนลาดยางตัดผ่านหมู่บ้าน ทิศตะวันออกติดกับชายคลองนุ้ย จึงทำให้ภูมิประเทศเหมาะสำหรับการทำนา จึงทำให้บ้านคูหาในมีอาชีพส่วนใหญ่ คือ การทำนา

ส่วนวิถีชีวิตด้านศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีก็จะเป็นประเพณีท้องถิ่นในภาคใต้ เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และวิถีชีวิตชาวใต้ที่มีความผูกพันกับน้ำ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

  • ประเพณีชักพระ หรือลากพระจัดขึ้นในช่วงออกพรรษา โดยเฉพาะในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ด้วยความเชื่อว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ จึงมีการจัดงานเพื่อแสดงความยินดี ประชาชนจึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบกที่จัดเตรียมไว้แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับ จะเป็นการจัดขบวนทางเรือ

ทุนธรรมชาติ

  • เขาคูหา เป็นภูเขาสูงตระหง่าน รูปร่างแปลกตา รายล้อมด้วย สน และพืชพรรณที่ปกคลุมเขียวขจี เป็นทัศนียภาพสร้างความรู้สึกตื่นตาตื่นใจแก่ผู้มาเยือนได้ไม่ยากนัก ขุนเขาแห่งนี้ มีชื่อว่า "เขาคูหา" ตั้งอยู่ในตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา โดยเขาคูหาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความนิยมอย่างก้าวกระโดด ถือเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดสงขลาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นคนที่รักการผจญภัย หรือบรรดาสายถ่ายรูปเช็คอิน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

คนสร้างสุข. (2558). ลักษณะสภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาณสำคัญของท้องถิ่น ต.คูหาใต้. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://happynetwork.org/

สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอรัตภูมิ. (2560). รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://songkhla.cdd.go.th/

ผู้จัดการออนไลน์. (2565). เขาคูหา อันซีนสงขลา ขุนเขาสุดตระการตาวิวเหมือนเมืองนอก. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://mgronline.com/travel/

พนิดา รำเภยกลิ่น และกมลทิพย์ ธรรมกีระติ. ชุมชนกับการเปลี่ยนแปลงเหมืองหินเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ของอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการระดับชาติ ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยในภาคใต้ ครั้งที่ 1.