Advance search

ป้อมทุ่งเศรษฐี วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดซุ้มกอ วัดพระบรมธาตุเจดียาราม

นครชุม
เมืองกำแพงเพชร
กำแพงเพชร
องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม โทร.0-5500-9808
กิตติภัท จินดา
16 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
12 เม.ย. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
12 เม.ย. 2024
นครชุม

เดิมเรียกขานกันว่าเมืองนครพระชุม ตามจารึกหลักที่ 8 อาจหมายถึง เมืองที่มีพระพุทธศาสนารุ่งเรืองและเมื่อจะสิ้นพระพุทธศาสนา บรรดาพระบรมธาตุที่ประดิษฐานตามที่ต่างๆ ก็จะมาชุมนุมที่เมืองนครชุม


ป้อมทุ่งเศรษฐี วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดซุ้มกอ วัดพระบรมธาตุเจดียาราม

นครชุม
เมืองกำแพงเพชร
กำแพงเพชร
62000
16.481430587979233
99.51120562355138
องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม

การตั้งถิ่นฐานของชุมชนเมืองนครชุมมีมาแต่โบราณมากว่า 700 ปี ในสมัยสุโขทัย ก่อนที่จะสร้างเมืองชากังราวทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ําปิง หรือที่พัฒนาเมืองกําแพงเพชรในเวลาต่อมา และจากการบูรณะ    กําแพงป้อมทุ่งเศรษฐี เมื่อปีพ.ศ. 2543 - 2544 ได้พบวัตถุโบราณ กําหนดอายุได้ประมาณปีพุทธศตวรรษที่ 20 – 22 จึงสันนิษฐานได้ว่าสร้างในสมัยอยุธยาด้วย โดยสร้างเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก

หลังจากย้ายเมืองไปอยู่ฝั่งตะวันออก เมืองนครชุมคงกลายเป็นป้อมค่าย ป้องกันทัพพม่า ซึ่งอาจมาทางฝั่งตะวันตกในสมัยอยุธยา ดังปรากฏมีป้อมป้องกันดังกล่าว เช่น เคยมีทัพพม่าเคยยกทัพมาชุมนุมทัพกันที่ เมืองกําแพงเพชร คอยเตรียมเสบียงอาหาร ต่อเรือ เพื่อเตรียมยกทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา จึงหยุดพักทัพ   ทํานาต่อเรือกันในฝั่งนครชุม ซึ่งมีพื้นที่ที่จะทํานาได้และมีป่าไม้ชุกชุม ดังนั้นเมืองนครชุมก็ยังมีความสําคัญในการเฝ้าระวังข้าศึก เป็นแหล่งทํามาหากิน และสะสมเสบียงอาหารยามเกิดศึกสงครามจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา

เมื่อเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าเมืองกําแพงเพชร พระยารามรณรงค์สงคราม ได้เดินทางเข้าร่วมปราบกบฏในครั้งนั้นด้วย และได้รับพระราชทานเชลยชน ชาวเวียงจันทร์มาด้วย 100 ครอบครัว การปรากฏหลักฐานในรัชกาลที่ 3 ปี พ.ศ. 2329 พระยากําแพงเพชร พระยารามรณรงค์สงคราม (เถื่อน) ได้จัดการปลงศพท่านผู้หญิงแพง บุตรพระยา กําแพงเพชร (นุช) ได้รับพระราชทานหีบศพหน้าเพลิง (ไฟพระราชทาน) จัดการศพที่หาดทราย ริมแม่น้ําปิง ตรงโรงสีนายล้อม นุตตโยธิน ซึ่งเป็นบ้านของท่าน    แต่เดิม ในการศพนี้สมเด็จ พระพุฒาจารย์ โต (พรมรังษี) ได้เสด็จมาในงานนี้ด้วย เพราะท่านผู้หญิงแพง  มีศักดิ์เป็นป้า สมเด็จพุฒาจารย์ได้เสด็จประพาสถึงวัดไชยพฤกษ์สังเกตเห็นปลวกอยู่แห่งหนึ่ง คือที่มณฑป พระพุทธบาทสวมไว้นั้น เป็นปลวกที่ทอดพระเนตรเห็นที่วัดนี้ จึงเสด็จเข้าไปยืนหลับพระเนตรอยู่ ประมาณ 10 นาที และตรัสกับพระยากําแพงเพชรพระยารามรณรงค์สงคราม (น้อย) หลานว่า ให้ขุดปลวกนี้ มีใบเสมา จารึก เมื่อล้างน้ําดีแล้วท่านทรงอ่านและแปลความมีรับสั่งว่ามีพระธาตุ อยู่ฟากโน้น(ตะวันตก)        คือแถบวังแปบให้รีบหาคนไปถากถาง พระยากําแพงผู้หลานได้จัดการ ตามรับสั่ง

เมื่อปี พ.ศ. 2398 ประเทศสยามได้มีการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ จึงทําให้เกิด กิจการค้ามากมายโดยประชาชนมีเสรีขึ้น จึงได้มีบริษัทต่างชาติเข้ามาเมืองไทย ในปีต่อมา เช่น บริษัทอีสต์เอเชียติค (East-Asiatic Company)  บริษัทบอมเบย์ เบอร์มา (Bombay Burmah Trading Corporation) บริษัท บริติช บอร์เนียว คอมพานี (British Borneo Company, Ltd.) ที่เข้ามาขออนุญาตทํากิจการขอนไม้สักใน เมืองไทย โดยเฉพาะภาคเหนือ จากปากน้ําโพถึงเชียงใหม่ จึงเกิดกิจการทําไม้กันในเมืองนครชุม ด้วยเช่นกัน เมื่อปี พ.ศ. 2414 มีคนพม่าเชื้อสายกะเหรี่ยงชื่อ แซงภอ หรือพะยาตะก่า คนใน บังคับ อังกฤษเข้ามาดําเนินการดูแลกิจการทํา ไม้ในเขตป่าคลองสวนหมาก คลองวังเจ้า คลองประกัง ได้นําผู้คนทั้งชาวไทยใหญ่ พม่า กะเหรี่ยง ขมุ ติดตามมาด้วยกลุ่มหนึ่ง การนั้นกิจการทําไม้ โดยตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลอง    สวนหมากหรือปากคลองแม่พล้อ และเมื่อ พ.ศ. 2414 พะยาตะก่า ขออนุญาตทางการเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ เจดีย์วัดพระบรมธาตุ ด้วยความศรัทราในพระพุทธศาสนา จึงได้รับพระบรม ราชานุญาติจากพระพุทธเจ้าหลวง (ร. 5) โดยสร้างเป็นเจดีย์ทรงพม่า ดังปรากฏหลักฐานดังนี้ … แซภอ…ได้เข้ามาทําหนังสือสัญญาขอทําไม้ขอนสัก ณ ป่าคลองสวนหมาก คลองวังเจ้า คลอง ประกัง แขวงเมืองกําแพงเพชร ได้ผลประโยชน์มาก แซภอ มีใจศรัทราอยากจะสร้างพระเจดีย์ ก่อสวมพระเจดีย์เก่า ที่วัดพระธาตุที่เมืองกําแพงเพชร    ฝั่งตะวันตก

แซภอ ได้จ้างราษฎรทําอิฐเก้าหมื่นสิ้นเงิน 44 ชั่ง 7 ตําลึง 2 บาท จะก่อสวมเจดีย์ เก่าลงทั้งสามองค์ กว้าง 15 วา ยาว 15 วา ชักเป็นสี่เหลี่ยมมีมุข 4 ด้าน แล้วจะก่อเจดีย์บนมุข ด้านละองค์ ขอพระราชทานที่ดินก่อกําแพงรอบพระเจดีย์หน้าสามศอก สูงสี่ศอก ห่างพระเจดีย์ ออกไปอีก 10 วา จะเอาช่างเมืองนอกมาก่อจะลงมือกระทุ้งราก ณ เดือนหก ข้างขึ้นปีวอกจัตวาศก แต่รูปพระเจดีย์เก่าที่ชํารุดหักพังนั้น ได้นําแผนที่ถ่ายตัวอย่างให้ข้าหลวงชํานาญภาษาลงไปนั้นได้ แจ้งมาบอกแล้ว จึงให้พระราชเสนาปลัดทูลฉลอง มหาดไทยฝ่ายเหนือ บอกเสนอท่านเจ้าพระยา ศรีสุริยวงศ์ ผู้สําเร็จราชการแผ่นดิน ท่านเจ้าพระยาภูธราภัยที่สมุหนายก ได้ปรึกษาพร้อมกัน เห็นว่า แซภอ กะเหรี่ยงมาทําป่าไม้ขอนสักเมืองกําแพงเพชร มีทุนรอนมากมีใจศรัทรา ที่จะ สถาปนาพระเจดีย์เก่า ทํามุขก่อกําแพงเสริมพระเจดีย์ธาตุนั้น เป็นกองการกุศลของ แซภอ ต่อไปในพุทธศาสนาจะได้เป็นที่สักการบูชาต่อไป และได้รื้อขนกําแพงศิลาแลง จากป้อมทุ่งเศรษฐี ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมาถมตลิ่งหน้าวัด ทําเขื่อนกันดินพังและทําฐานเจดีย์ที่ทําการบูรณะ ใหม่ด้วยเช่นกัน

หลังจากเวลาล่วงเลยมา 30 ปี พ.ศ. 2447 นายร้อยพะโป้น้องชายพะยาตะก่า ได้เริ่ม ปฏิสังขรณ์ต่อจนแล้วเสร็จ ยกช่อฉัตรขึ้นประดิษฐานในเดือน 6 พ.ศ. 2449 ก่อนที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จถึงเมืองกําแพงแพชรเพียง 3 เดือน จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ ทําเลที่ตั้งของเมืองมีแม่น้ําปิงและลําคลองสวนหมาก เป็นองค์ประกอบหลัก ประชาชนได้เลือกที่ตั้งบ้านเรือนเลาะริมฝั่งคลองสวนหมาก     เรียงรายมา จนถึงปากแม่น้ําปิง ด้วยความยาวของลําคลอง จึงแบ่งชุมชนเป็นปากคลองเหนือ ปากคลองกลาง ปากคลองใต้ ชุมชนกลุ่มปากคลองเหนือมีวัดท่าหมันเป็นศูนย์กลาง อยู่ภายในกําแพงเมืองด้าน เหนือกลุ่มใหญ่ การขยายตัวของชุมชนเพิ่มมากขึ้น และความเสื่อมโทรมของสภาพวัดประชาชนจึง ได้ย้ายวัดท่าหมันไปอยู่ฝั่งคลองด้านทิศตะวันตกของคลองสวนหมากรวมกับ วัดสว่างอารมณ์. เป็น การขยายตัวของย่านตลาดการค้าโดยเฉพาะชุมชนชาวจีน และกลุ่มบริวาร พะโป้ ที่มิได้อพยพกลับภูมิลําเนาเดิม ยังคงรักที่จะพึ่งพาร่มโพธิ์ ร่มไทร ในองค์พระมหากษัตริย์ไทย ตั้งหลัก ปักฐานทํานาไร่ ค้าขายกันไปตามถนัดของแต่ละคน

ชุมชนรอบวัดพระบรมธาตุหรือที่เรียกว่าบ้านปากคลองใต้นั้น มีอาชีพทําการเกษตรเป็นหลักมีอาชีพค้าขายบ้างบางส่วน เช่น ทํานา ทําสวน ตักยาง ทําไม้ วิถีการดํารงชีวิตของชุมชน นครชุมในยุคนั้นจึงเกิดวรรณกรรม นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของอาจารย์มาลัย ชูพินิจ ได้กล่าวไว้อย่างเป็นรูปธรรม เห็นภาพ   ดังความตอนหนึ่งว่า “เมื่อเดือน 5 ผ่านไป และงานไร่ที่เกาะหน้าบ้าน ชุกมือขึ้น หญิงสาวก็เกือบ ไม่มีเวลาที่จะมาหมกมุ่นครุ่นคิดถึงแต่อนาคตของชีวิตหล่อนอยู่ได้ เพราะนอกจากพืชผลหลายจะเริ่มแก่และสุก ภาระที่จะต้องเร่งเก็บใบยาที่แก่มาบ่มและหั่นตากเป็นยาตั้งต่อไปก็รออยู่ข้างหน้า เกาะใหญ่ซึ่งเหยียดยาวอยู่นอกฝั่งกลางแม่ปิง แต่ปากคลองสวนหมากเหนือจนจรดหัวบ้านคลอง สวนหมากใต้ อาจจะเป็นแหล่งกลาง      ของการทําพืชไร่ผักและพืชอื่น ๆ ของชาวตําบลนั้น แต่มันก็มี ความหมายเพียงอาหารประจําวัน หมายถึงการแจก แลกเปลี่ยนและซื้อขายในระหว่างกันเอง ต่างกว่ายาสูบซึ่งท่านอาจห่อเก็บไว้ได้นาน เป็นสินค้าสําคัญเท่ากับน้ําผึ้ง ขี้ผึ้ง ไต้ สีเสียด หรือ น้ํามันยาง เมื่อพ่อค้าเหนือล่องลง หรือเรือส่งขึ้นไปถึง” ความอุดมสมบูรณ์ในลําน้ําแม่ปิงในอดีตอันมากด้วย กุ้ง หอย ปู ปลา ดังความใน ทุ่งมหาราชว่า

“ครั้งหนึ่งแม่ปิงที่เวิ้งว้างเต็มไปด้วยจอกและสวะ เต็มไปด้วยแพไม้ แพเสา เรือ โกลนติดธงสีต่าง ๆ กัน เรือระหัดท้ายของมิสหลุยส์ที่สร้างความคึกคักและสร้างชีวิตชีวาให้ชาว ก้าแพงเพชร และที่นี่ยังมีฝูงปลาสร้อย ซึ่งขึ้นมาจากใต้ยังคงผ่านแม่น้้าปิงในพื้นที่ก้าแพงเพชรไป ไม่ขาดสาย ไม่มีใครรู้ว่ามันไปไหน นอกจาก….ไป…และไปทั้งกลางคืนกลางวัน เป็นทิวแถวสุด สายตา สุ่มไม่รู้จักซา ทอดแหและลงม็องตาเล็กไม่รู้จักหมด” ดังนั้น การก่อสร้างบ้านเรือนตลอดริมฝั่งคลองสวนหมากด้านในจึงทําให้คันดินกําแพง เมืองโบราณ ขาดหายไปเลยจนถึงเข้าฝั่งแม่น้ําปิงอีกตลอดแนว ยังพอมีให้เห็นเฉพาะช่วงด้านทิศ ใต้ด้านในบางส่วนเท่านั้น แต่นครชุมก็ยังเป็นเมืองน่าอยู่มาแต่อดีต ดังความในทุ่งมหาราชตอน หนึ่งว่า“ที่นี่ดีทุกอย่าง ส้าหรับจะอยู่จะกินจะตาย” เป็นคําพูดของรื่นเมื่อพบสาวงามชื่อสุดใจบ้านปากคลองเป็นการบอกถึง ความ พร้อมที่จะมาเป็นเขยบ้านนี้อย่างจริงใจ การขยายตัวของตลาดนครชุมเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการอพยพของประชาชนหลายจังหวัด ทั้งภาคเหนือและอีสานได้เข้าบุกพื้นที่ป่าเพื่อทําการเกษตรกรรมด้านทิศตะวันตกของเมือง เพิ่ม มากขึ้น จึงเกิดการขยายตัวของ การบริการสินค้า ให้กับชุมชนเกษตรกรรม มีการก่อสร้างอาคาร พาณิชย์ ค.ส.ล. ขึ้นมากลุ่มหนึ่งด้านฝั่งติดถนนสายเอเชีย จึงไม่ทําให้อาคารบ้านเรือนแถวไม้ดั้งเดิม ถูกทําลายทั้งฝั่งริมคลองและย่านใจกลางตลาดเดิม

ประชาชนกลุ่มค้าขายจึงยังคงพักอาศัยชายคาเรือนเดิมด้วยความสงบ และไม่ เดือดร้อนในวิถีชีวิต สามารถพึ่งตนเองได้ มีฐานะค่อนข้างดี จากการที่ได้เก็บหอมรอมริบจากบรรพ บุรุษมาแต่อดีต ลูกหลาน เหลน ได้แยกย้ายครัวกันออกไปอยู่รอบข้างชุมชน โดยมิได้รื้อถอน อาคารบ้านเรือนเก่าสร้างใหม่เหมือนฝั่งเมืองกําแพงเพชรที่มีการรื้อถอนกันมากจนขาดเอกลักษณ์ อันมีคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในหลายย่าน จากการพัฒนาประเทศชาติใน หลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการสร้างถนนหนทางจึงทําให้การเดินทางขนส่งจากก่อนนี้ใช้เรือเป็นหลักโดยมีท่าเรือจ้างอยู่ ณ หน้าวัดพระบรมธาตุ ข้ามฟากไปฝั่งกําแพงเพชรหลายท่าด้วยกัน แต่ส่วนใหญ่ จะข้ามไปยังท่าหลังอําเภอซึ่งเป็นฝั่งตรงกันข้ามกับท่าวัดพอดี และเมื่อปี พ.ศ. 2499 ได้มีการ ก่อสร้างสะพานคอนกรีตในสมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ได้อนุมัติเงินงบประมาณ 17 ล้านบาท สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2500 พร้อมทางเชื่อมต่อถึง ถนนพหลโยธินฝั่งนครชุม จึงทําให้ การเดินทางรถยนต์สะดวกเพิ่มมากขึ้นและการก่อสร้างสะพานวุฒิกุลข้ามแม่น้ําปิงที่ตําบลวังเจ้า เป็นสะพานโค้งคันธนูได้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2496 การเดินทางไปจังหวัดตาก เมืองเถิน ลําปาง สะดวกมากขึ้นด้วยเช่นกัน (84 ปีกรมทางหลวง) วิถีน้ําวิถีชุมชนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจาการพัฒนาบ้านเมืองของรัฐบาล ดังกล่าว การอพยพเคลื่อนย้ายจากผู้คนต่างถิ่นเข้ามาอาศัยในพื้นที่รอบนอกเพิ่มมากขึ้น เป็นลําดับมาโดย เริ่มต้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา

ชุมชนนครชุม เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ห่างจากจังหวัดกำแพงเพชรไปทางทิศเหนือประมาณ 10 กิโลเมตร คลอบคลุมพื้นที่จำนวน 40,625 ไร่ โดยมีจำนวนหมูบ้านทั้งหมด 12 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น 10,079 คน จาก 4,259 หลังคาเรือน มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลทรงธรรม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลคลองแม่ลาย ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรทิศตะวันออก ติดต่อกับ แม่น้ำปิง และตำบลในเมืองทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ประชากร รวม 7,447 คน ชาย 3,603 คน หญิง 3,844 คน ครัวเรือน รวม 1,747 หลัง ความหนาแน่น 2,128 / 1 ตารางกิโลเมตร 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เมืองนครชุม มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ อีกทั้งยังมี ผู้คนจากถิ่นอื่นอพยพกันเข้ามาตั้งหลักแหล่ง กลุ่มคนเหล่านี้ต่างก็มีวัฒนธรรมประเพณีของตนเอง ติดมาด้วย และยังคงถือปฏิบัติเหมือนกับอยู่ในถิ่นเดิมของตน ด้วยเหตุนี้ประเพณีต่าง ๆ จึงมีทั้งที่ เหมือนกันและแตกต่างกันไปตามลักษณะของท้องถิ่นแต่อดีตถึงปัจจุบันประเพณีดั้งเดิมที่น่าสนใจ มีดังนี้

วันมาฆะบูชา ตรงกับวันเพ็ญกลางเดือนสามของทุกปี มีการบําเพ็ญกุศล มีงาน นมัสการพระบรมธาตุที่วัดพระธาตุ ในงานเทศกาลนี้มักจัดให้มีเทศน์จาตุรงคสันนิบาต ปุจฉา วิสัชนา และมหรสพตามสมควรชาวบ้านเรียกว่า งานเพ็ญเดือนสาม หรือ มาฆะบูชา

ประเพณีตรุษไทย ตรงกับวันสิ้นเดือนสี่ของทุกปี ชาวบ้านเรียกว่า วันตรุษ โดยวัน แรม ๑๔ ค่ํา เวลาเย็น มีการก่อพระเจดีย์ทรายตามวัดต่าง ๆ เสร็จแล้วพระสงฆ์เจริญพระพุทธ มนต์ รุ่งขึ้นเวลาเช้าทําบุญตักบาตร เป็นการเสร็จพิธีฉลองพระเจดีย์ทราย ในระหว่างวันตรุษ ๓ วันนี้ เวลากลางคืนมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เพลงพวงมาลัย เข้าเจ้าเซ็น เข้าอีจู้ แม่ศรี มอญ ซ่อนผ้า เป็นต้น แต่ในปัจจุบันการละเล่นพื้นเมืองแบบเก่าไม่ค่อยจะมีแล้ว

ประเพณีสงกรานต์ ตรงกับวันที่ ๑๓ - ๑๕ เมษายนของทุกปี มีการทําบุญตักบาตร และการเล่นสนุกสนานเหมือนกับที่อื่น ๆ โดยมีกิจกรรม ได้แก่ ก่อพระเจดีย์ทราย ซึ่งมักจะทําใน วันที่ ๑๒ เมษายน เมื่อก่อเสร็จก็นิมนต์พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ครั้นรุ่งขึ้นวันที่ ๑๓ เป็นวัน มหาสงกรานต์ มีการทําบุญตักบาตร ซึ่งถือเป็นการฉลองพระเจดีย์ทราย ในระหว่างวันมีการสรง น้ําพระพุทธรูปทั้งที่วัดและพระพุทธรูปบูชาภายในบ้าน จากนั้นรดน้ําดําหัวผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ เป็นการขอศีลขอพร ในวันที่ ๑๔ ประชาชนจะมารวมกันที่วัด เพื่ออาบน้ําพระภิกษุ หลังจากนั้น ถวายภัตตาหารเพล เมื่อเสร็จพิธีก็นัดกันตั้งขบวนแห่ผ้าไปห่มพระบรมธาตุนครชุม วันที่ ๑๕ เมษายน ถือเป็นวันพญาวัน ผู้เฒ่าผู้แก่ในครอบครัวจะใช้ด้านแดง- ขาว ผูกคอหรือมัดนิ้วบุตรหลาน ตลอดจนภาชนะสิ่งของเครื่องใช้และสัตว์พาหนะต่าง ๆ กล่าวคําอวย ชัยให้พร เพราะถือเป็นวันเถลิงศก คือวันขึ้นปีใหม่ ในวันนี้มีการไหว้เจ้าพ่อหลักเมือง สรงน้ําพระ อิศวร เพื่อความเป็นสิริมงคลและขอพร ตอนเย็นชาวบ้านจะไปรวมกันที่หาดทรายที่ใดที่หนึ่งที่ ใกล้กับวัดชุมชน และมีทําเลที่เหมาะสมที่จะร่วมกันก่อพระทรายน้ําไหล (คือการก่อทรายขึ้นเป็น องค์พระเจดีย์ และมีทางน้ําไหลโดยรอบ) เมื่อก่อเสร็จก็มีการสมโภชน์กันด้วย

วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๖ มีการก่อพระเจดีย์ทราย ก่อพระเจดีย์ ข้าวเปลือก ในเทศกาลนี้ทางวัดมักจะจัดให้มีเทศน์เรื่องพระปฐมสมโภชน์ ๒๐ กัณฑ์ ทั้งกลางวัน กลางคืนจนจบ วันเข้าปุริมพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๘ ประชาชนพากันไปทําบุญที่วัด ถวายผ้าสบงหรือผ้าจําพรรษา และผ้าอาบน้ําฝนโดยเรียกว่า “เทศน์๓ วันยก” เทศกาลบุญมหาชาติ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ํา เดือน ๑๐ จัดให้มีเทศน์คาถาพัน และใน วันขึ้น ๑๕ ค่ํา มีเทศน์มหาชาติ เรื่องพระเวสสันดรชาดกทํานองหลวง ๑๓ กัณฑ์ เทศกาลบุญบาตรข้าวต้ม ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๑๑ จัดให้มีเทศน์คาถาพัน รุ่งขึ้นทําบุญตัดบาตรข้างต้มลูกโยนข้าวต้มมัด และมีเทศน์มหาชาติชาดก ๑๓ กัณฑ์ เช่นเดียวกับ เทศกาลบุญมหาชาติ เทศกาลนี้เรียกว่า บุญบาตรข้าวต้ม หรือ บุญปวารณาพรรษา

พิธีทอดผ้าป่าแถวและลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๑๒ ประเพณี การทอดผ้าป่าของชาวนครชุมมีวิธีการปฏิบัติแตกต่างกว่าทางภาคอื่น ๆ คือ จะทอดเมื่อใดก็ได้ แล้วแต่ผู้ทอด โดยพุทธศาสนิกชนจะนําเครื่องปัจจัยไทยทานตามศรัทธาบรรจุชะลอมหรือภาชนะ อื่นที่เหมาะสม โดยมักทําเป็นรูปช้าง รูปศพและรูปชูชกพาสองกุมาร เครื่องไทยทานเหล่านี้จะถูก นําไปวางเรียงแอบไว้ข้างพุ่มไม้ที่ท่งวัดปักไว้เป็นแถว (จึงเรียกว่าผ้าป่าแถว) จุดธูปเทียนบูชา พอถึงเวลาอันสมควร ทางวัดจะให้บรรดาผู้ที่เป็นเจ้าของผ้าป่ามาจับสลากนามพระภิกษุที่ได้ นิมนต์ไว้ แล้วนําสลากนามพระที่จับขึ้นมาได้ไปปิดไว้ที่ผ้า ต่อจากนั้นพระภิกษุเจ้าของนามจะ ชักผ้าป่าตามสลากนามของท่าน เมื่อเสร็จจากการทอดผ้าป่าแล้ว ทุกคนจะมุ่งหน้าไปที่ลําน้ําแม่ปิงเพื่อประกอบพิธีลอย กระทงต่อไปพิธีลอยกระทงนี้เชื่อกันว่าเป็นการทําความเคารพสักการะพระมหาเถรอุกคุตเจ้า ที่สถิตอยู่กลางสะดือทะเลหลาว เพื่อที่จะให้ท่านไดนึกถึงศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชน และ จะได้ประสาทพรชัยให้อยู่เย็นเป็นสุขกันทั่วหน้า เมืองนครชุมมีกระทงที่น่าสนใจอยู่ชนิดหนึ่งคือ กระทงสาย ซึ่งผู้ลอยจะต้อง เตรียมการและวัสดุไว้ล่วงหน้าหลายวัน ด้วยการนําธูปชุบน้ํามันยางแล้วผึ่งแดดให้แห้งสนิท เมื่อ ถึงวันลอยกระทงก็นําเรือไปทอดสมอกลางแม่น้ํา จุดธูปที่เตรียมไว้แล้วปักบนกาบกล้วยปล่อยให้ ลอยไปตามกระแสน้ํา ผู้ที่อยู่บนฝั่งจะเห็นความสวยงามของกระทงสายที่ลอยคดโค้งไปตาม สายน้ํา

งานประเพณีนบพระ - เล่นเพลง ในอดีตเมื่อวันเพ็ญเดือนสาม หรือวันมาฆบูชา ชาวเมืองนครชุมและชาวเมืองกําแพงเพชร จะพากันเดินทางมานมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดพระบรมธาตุนครชุมเป็นประจํา เรียกว่า “นบพระ” และเนื่องจากการคมนาคมในสมัยก่อนเป็นไป ด้วยความยากลําบากพาหนะมีเพียง ช้าง ม้า วัว ควาย และเกวียนเท่านั้น กว่าจะเดินทางไป ถึงและได้นบพระก็มืดค่ํา และจําเป็นต้องนอนค้างพักแรมกันในบริเวณวัด จนรุ่งเช้าอีกวันหนึ่งจึง ได้กลับ เป็นธรรมดาของชาวไทยทั่วไปซึ่งมีอารมณ์ศิลปินประจําใจ เมื่อมาอยู่ร่วมกันเป็นจํานวน มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาจากต่างถิ่นกันด้วย จึงแสดงการละเล่น ต่าง ๆ ประกวดประชันขันแข่ง กันตามขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละหมู่บ้าน เรียกว่า “เล่นเพลง” ประเพณีดังกล่าวได้ถูกละเลยและลืมเลือนไป จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๖ จังหวัด กําแพงเพชรได้รื้อฟื้นให้มีการจัดงานประเพณีอันงดงามนี้ขึ้นมาใหม่ โดยใช้ชื่อว่า “งานประเพณี นบพระ- เล่นเพลง” เพื่อเป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ พบเห็นและยึดถือเป็นแบบอย่างปฏิบัติสืบต่อกันไป

งานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกําแพงเพชร จัดขึ้นในช่วงเทศกาลวันสารทไทย ตรงกับวันสิ้นเดือนสิบ หรือแรม ๑๕ ค่ํา เดือน ๑๐ ประเพณีทําบุญวันสารทนี้มีมาตั้งแต่ครั้ง พุทธกาล โดยรับมาจากพิธีพรามหมณ์ ซึ่งถือว่าเป็นการทําบุญในเวลาที่ต้นข้าวออกรวงเป็น น้ํานม ดังนั้นจึงจัดทําพิธีขึ้นเพื่อเป็นการรับขวัญรวงข้าว และให้เป็นฤกห์สิริมงคลแก่ต้นข้าวในนา ด้วย ปัจจุบันเมื่อถึงวันสารทพุทธศาสนิกชนจะประชุมกันทําพิธีทางศาสนา ตักบาตร ถวาย ภัตตาหาร หลังจากนั้นก็จะมีการกวนกระยาสารทมธุปายาสหรือข้าวทิพย์ ข้าวยาคู น้ําผึ้งและ น้ําตาล พร้อมกับอาหารขึ้นถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ประเพณีการละเล่น การละเล่นพื้นเมืองดั้งเดิม และการละเล่นปัจจุบันของชาวนคร ชุมและชาวเมืองกําแพงเพชรที่ยังคงปรากฏอยู่บ้างได้แก่ การเล่นระบํา ลูกช่วง นางด้ง แม่ศรี คล้องช้าง มอญซ่อนผ้า ลิเก รําวง หมอลํา เพลงฉ่อย ซึ่งการละเล่นเหล่านี้นิยมเล่นกันในวัน ตรุษ คือวันสิ้นเดือน ๕ เริ่มเล่นก่อนวันสิ้นเดือนถึงวันขึ้นเดือนใหม่ เล่นในเวลาเย็นและกลางคืน ในสมัยก่อนเล่นกัน ๓ วัน ๓ คืน บางแห่งถึง ๗ วัน ๗ คืนก็มี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

  • เมี่ยงมะพร้าวคั่ว

เป็นเมนูของกินเล่น เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเอาไว้ขบเคี้ยวเพลินๆ โดยเครื่องปรุงประกอบด้วย มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นตามแนวยาว ถั่วลิสง น้ำตาล กระเทียมปอกเปลือก และใบเมี่ยง นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงในกระทะผัดจนเข้ากันก็เรียบร้อย

  • ขนมข้าวต้มไส้เค็ม

หรือข้าวต้มไต้ ขนมที่ชาวนครชุมทำเป็นแทบทุกบ้าน ด้วยเพราะเป็นส่วนหนึ่งของประเพณี โดยการนำขนมข้าวต้มลงบาตรในวันสารทไทยของทุกปี

  • แกงพื้นเมืองต่างๆ 

อีกหนึ่งประเภทของกินที่เด่นไม่แพ้กันจะเป็นแกงพื้นเมืองอย่างแกงฮินเล, แกงขี้เหล็ก, แกงพันงู และแกงถั่วมะแฮะ เป็นต้น

ภาษาของชุมชนนครชุมและกำแพงเพชร ชาวนครชุมมีเสียงเหน่อค่อนข้างชัด และมีศัพท์บางคำผิดแปลกจากคำมาตรฐานทั่วไป

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นชุมชนโบราณกว่า 700 ปี มีซากโบราณสถานที่สำคัญยังปรากฎให้เห็นอยู่หลายแห่ง เช่น เจดีย์วัดหม่องกาแล วัดศรีลังกาเจดีย์ วัดเจดีย์คร่อมกลางทุ่ง กำแพงทุ่งเศรษฐีเจดีย์  แนวกำแพงเมืองเก่าและคูน้ำ วัดพระบรมธาตุทรงมอญที่สร้างทับเจดีย์เก่าทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งพังทรุดโทรม วัดพระบรมธาตุได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องครั้งเมื่อสมเด็จ  พุฒาจารย์โตพรมรังสี ได้อ่านศิลาจารึกหลักที่ 3 นครชุม ซึ่งพบหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงวัดพระบรมธาตุไว้ และเมื่อปลายรัชกาลที่ 4 ได้มีคหบดีชาวพม่าเชื้อสายกะเหรี่ยงที่เข้ามา ทำขอนไม้สักเป็นคนในบังคับอังกฤษที่ได้เข้ามา สัมประทานไม้สัก ซึ่งพะยาตะก่ำ ได้ขอพระราชทานซ่อมบูรณะเจดีย์ และมาแล้วเสร็จในปี พ.ศ 2445 โดยน้องชายชื่อ พะโป้ เมื่อ 100 กว่าปีมาแล้ว เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนสืบต่อมาจนปัจจุบัน ชุมชนชาวนครชุมก็เช่นกัน เป็นชุมชนผสมผสานชาติพันธุ์ อันมีทั้งมอญ พม่า จีน โดยเฉพาะชาวเวียงจันทร์ที่อพยพมาและได้พึ่งพาอาศัยร่มไม้ร่มเงาของเมืองนครชุมสืบเชื้อสาย วงศ์ศาคณาญาติมาจนปัจจุบัน

ฐานข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร-ตาก. (2563). ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566. เข้าถึงได้จาก: https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1364&code_db=610006&code_type=01

ฐิติมา คำยา. (2557). การศึกษาอัตลักษณ์ของสถาปัตยกรรมเรือนแถวย่านประวัติศาสตร์ชุมชนนครชุม ต.นครชุม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เพชรา บุดสีเทา. (2552). รายงานวิจัยการจัดการด้านการตลาดการท่องเที่ยวชุมชนนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2564). เมืองเดียวครบรส กับเส้นทางท่องเที่ยวอาหารพื้นถิ่น ของกินนครชุม. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566. เข้าถึงได้จาก: https://www.dasta.or.th/th/article/299

องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม โทร.0-5500-9808