Advance search

มีลักษณะเป็นหมู่บ้านประมง มีหัตถกรรมพื้นบ้านที่โดดเด่นอย่างมาก คือ เรือกอ ที่มีลวดลายสวยงาม ประณีตละเอียดละอ่อน เป็นสิ่งที่สะท้อนความภาคภูมิใจ ที่จะบอกให้แก่ผู้มาเยือนรู้ว่าที่นี่ คือ ดินแดนของชาวไทยมุสลิมผู้มีพื้นฐานในการเขียนลวดลายบนลำเรืออันเป็นเอกลักษณ์มาช้านาน

โคกเคียน
เมืองนราธิวาส
นราธิวาส
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน โทร.0-7667-0789
ปพิชญา ปรึกษาพรมราช
11 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
16 เม.ย. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
16 เม.ย. 2024
บ้านทอน

เล่าสืบต่อกันมาว่า มีสามีภรรยาชาวจีน เดินทางมาค้าขายโดยเรือสำเภอและแวะเทียบท่ายังชุมชนแห่งนี้ ชาวบ้านเรียกขานสามีภรรยาคู่นี้ว่า "แมะแบตอง" ได้ทำการค้าขายจนเป็นที่รู้จักของชาวบ้านแถบนั้นเป็นอย่างดี เมื่อชาวบ้านต้องการซื้อสินค้าก็มักจะกล่าวว่า "ฉันจะไปซื้อของที่บ้านแมแบตอง" ต่อมาคำว่าตองได้ออกเสียงเพี้ยนเป็น "ทอน" หลังจากนั้น นายซูแว ลูกชายของแมะแบตองได้ก่อตั้งหมู่บ้าน และเรียกชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า "บ้านทอน"


มีลักษณะเป็นหมู่บ้านประมง มีหัตถกรรมพื้นบ้านที่โดดเด่นอย่างมาก คือ เรือกอ ที่มีลวดลายสวยงาม ประณีตละเอียดละอ่อน เป็นสิ่งที่สะท้อนความภาคภูมิใจ ที่จะบอกให้แก่ผู้มาเยือนรู้ว่าที่นี่ คือ ดินแดนของชาวไทยมุสลิมผู้มีพื้นฐานในการเขียนลวดลายบนลำเรืออันเป็นเอกลักษณ์มาช้านาน

โคกเคียน
เมืองนราธิวาส
นราธิวาส
96000
6.5416469186
101.74703591
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน

หมู่บ้านทอน เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ติดชายทะเลคือชายหาดบ้านทอน ซึ่งเป็นชายหาดยาวขาวสะอาด และยังคงความเป็นธรรมชาติอยู่มาก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีลักษณะเป็นหมู่บ้าน ประมง อาชีพของชาวบ้านส่วนใหญ่จึงทำการประมงเป็นอาชีพหลัก นอกจากนั้นยังใช้เวลาว่างประดิษฐ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่นการทำเรือกอและจำลอง การสานเสื่อจากใบกระจูด ซึ่งปัจจุบันเป็น ของสินค้าที่ระลึกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนราธิวาส มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า เมื่อ 150 กว่าปี หลังสมัยกรุงศรีอยุธยามีสามีภรรยาชาวจีน เดินทางมาค้าขายโดยเรือสำเภอและแวะเทียบท่ายังชุมชนแห่งนี้ ชาวบ้านเรียกขานสามีภรรยาคู่นี้ว่า "แมะแบตอง" ได้ทำการค้าขายจนเป็นที่รู้จักของชาวบ้านแถบนั้นเป็นอย่างดี เมื่อชาวบ้านต้องการซื้อสินค้าก็มักจะกล่าวว่า "ฉันจะไปซื้อของที่บ้านแมแบตอง" ต่อมาคำว่าตองได้ออกเสียงเพี้ยนเป็น "ทอน" หลังจากนั้น นายซูแว ลูกชายของแมะแบตองได้ก่อตั้งหมู่บ้าน และเรียกว่า "บ้านทอน"

ตำบลโคกเคียน เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองนราธิวาสตั้งอยู่ติดชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของประเทศไทยอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนราธิวาสประมาณ 12 กิโลเมตรไปตามถนนสายนราธิวาส-บ้านทอนมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 79 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 49,375.06 ไร่ ที่ตั้งและภูมิประเทศมีลักษณะเป็นชุมชนที่มีพื้นที่ยาวไปตามชายฝั่งทะเล มีพื้นที่เกษตรกรรมไม่มากนัก มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ      ติดต่อกับ  เขตตำบลตอนทราย อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี

ทิศใต้         ติดต่อกับ  เขตเทศบาลเมืองนราธิวาส อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ   ตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

ทิศตะวันออก  ติดกับ  อ่าวไทย

ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม โดยประชากรส่วนมากนั้นนิยมทำอาชีพประมงหรือหาปู เนื่องจากภูมิประเทศของหมู่บ้านติดชายทะเล แต่ในเวลาว่างชาวบ้านที่นี่นิยมและมีความโดดเด่นอย่างมากในการประดิษฐ์งานศิลปหัตถกรรม

องค์กรชุมชนและกลุ่มอาชีพของชาวบ้านทอน มีดังนี้

  • ศูนย์ทำเรือกอและจำลอง

เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มเยาวชนบ้านทอน ในการสร้างอาชีพก่อให้เกิดรายได้มีลักษณะโดดเด่นของงานช่างฝีมือที่มีความละเอียด ปราณีต อ่อนช้อย งดงามในลวดลายและสีสันอันจัดจ้าน ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนราธิวาส

  • กลุ่มผลิตภัณฑ์กระจูดบ้านทอนอามาน

เป็นกลุ่มสตรีที่รวมตัวกันทำการจักสานกระจูด เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆทั้งรูปแบบดั้งเดิมและแบบร่วมสมัย อาทิเช่นเสื่อ ตะกร้า กระเป๋าได้รับความสนใจอย่างมาก นอกจากนี้ยังเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถมาเรียนรู้วิธีการจักสานกระจูดได้อีกด้วย

  • ศูนย์วิสาหกิจชุมชน

ศูนย์วิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะพร้าวบ้านทอน เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มแม่บ้านบ้านทอนและบริเวณใกล้เคียง เพื่อนำมะพร้าวซึ่งมีจำนวนมากในพื้นที่มาทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว เช่นน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ถ่านกะลามะพร้าว เครื่องปรุงข้าวยำ เป็นต้น

สำหรับบ้านทอนอามาน เป็นหมู่บ้านที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และทำการประมงเป็นอาชีพหลัก ใช้เวลาว่างทำการประดิษฐ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น การสานเสื่อจากต้นกระจุด การทำเรือกอและจำลอง  และยังทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากมะพร้าว ซึ่งเป็นผลิตภันฑ์ท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนราธิวาส เมื่อก่อนชุมชนมีฐานะค่อนข้างยากจน ประกอบอาชีพชาวประมง และไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ ทำให้บางครอบครัวมีเพียงแม่และเด็กที่ต้องอยู่กันเองและรอคอยการกลับมาของหัวหน้าครอบครัว เด็กวัยรุ่นที่ไม่ได้เรียนหนังสือและไม่มีงานทำ ก็จะจับกลุ่มนั่งคุยนั่งเล่นปล่อยให้วันเวลาผ่านพ้นกันไปโดยไม่ได้ก่อเกิดประโยชน์ใดเป็นชิ้นเป็นอัน ต่อมาจึงได้มีการชักชวนเด็กและเยาวชนเข้ามาฝึกหัดทำเรือกอและจำลองอย่างจริงจัง เกิดการรวมกลุ่มกันขึ้น ในช่วงเวลาหลังเลิกเรียนแล้วในแต่ละวัน โดยจัดสถานที่เป็นลานกิจกรรม ทางศูนย์ฯจัดหาอุปกรณ์ ประกอบด้วยกระป๋องสี พู่กัน ดินสอ เครื่องกรอไม้ เสื่อกระจูด หลอดไฟนีออน และจ้างครูผู้เชี่ยวชาญมาสอนการทำเรือ เพื่อให้เกิดการต่อยอดและถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นปัจจุบันสู่รุ่นใหม่ในอนาคตออกมาเป็น "เรือกอและจำลอง" ลำน้อยแต่ทว่างดงาม สะท้อนภาพความงามของจิตใจเยาวชนตัวเล็กๆ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนธรรมชาติ

ทุนของบ้านทอนนั้นคือทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนสัตว์ทะเลอย่างเช่น ปูม้า มะพร้าว และกระจูด สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นทุนที่ทำให้คนในชุมชนสามารถนำมาต่อยอดแปรรูป ทำให้สามารถสร้างรายได้-สร้างอาชีพ ให้คนในพื้นที่เป็นอย่างมาก

ทุนวัฒนธรรม

  • เรือกอ

ที่บ้านทอนเป็นหมู่บ้านชาวประมงไทยมุสลิมที่เป็นแหล่งผลิตเรือกอและทั้งของจริงและเรือจำลองที่ชาวบ้านทำขึ้นด้วยความประณีต โดยเรือกอและจำลองนั้นมีราคาตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่นบาท ทว่าสิ่งที่ประเมินค่ามิได้เลยคือความเป็นผลงานจากหัวใจของเยาวชนไทยที่ตั้งใจประดิษฐ์ชิ้นงานจากฝีมือของตนเอง โดยพวกเขามักใช้เวลาว่างมานั่งหัดทำเรือกอและที่ต้องใส่ใจในรายละเอียดของทุกขั้นตอน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลโคกเคียน จังหวัดนราธิวาส ทั้งผู้นำศาสนา กลุ่มชาวประมง กลุ่มผู้ประกอบการโฮมสเตย์ เด็กนักเรียนและเยาวชนเป็นจำนวนมาก ได้มีการพร้อมใจกันเดินขบวนรณรงค์เพื่อแสดงพลังต่อต้านความรุนแรงทุกรูปแบบ ไปตามเส้นทางถนนเลียบชายหาดบ้านทอน หลังเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม  ได้เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดในพื้นที่ โดยได้มีการประชุมสภาสันติสุขประจำตำบลโคกเคียนขึ้น จึงได้รวมตัวกันจัดกิจกรรมในวันนี้ อีกทั้งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อิหม่ามประจำมัสยิดในพื้นที่ทั้ง 13 แห่ง ได้นำละหมาดวันศุกร์ และละหมาดฮายัติขอพรให้เกิดความสันติสุขสะท้อนให้เห็นความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ยืนหยัดต่อสู้กับความรุนแรงในพื้นที่ มีความเป็นกลุ่มก้อน ปรับตัว และพัฒนา

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). บ้านทอนอามาน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก: https://www2.m-culture.go.th/

กรมการพัฒนาชุมชน. (2562). "บ้านทอน" วิถีแห่งความสุข เมืองนรา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก: https://www.cdd.go.th/

นิตยสารท่องเที่ยว หนีกรุง. (2561). มนต์เสน่ห์ชุมชนแหลมมาลายูชุมชน บ้านทอน อ.เมือง จ.นราธิวาส. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก: https://www.neekrung.com/journey/196

ภัทราวดี ศรีมีเทียน. (2566). ชนิดและสัดส่วนของปูเศรษฐกิจที่ได้จากการทำประมงพื้นบ้านบริเวณท่าเทียบเรือบ้านทอน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส และท่าเทียบเรือบ้านป่าไหม้ อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 40(1), 79-90.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(กปร.). (2558). ชายทะเลบ้านทอน หมู่ที่5 ตำบลโคกเคียน อำเถอเมือง จังหวัดนราธิวาส. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก: https://www.rdpb.go.th/

องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน โทร.0-7667-0789