Advance search

การประดิษฐ์หัตถกรรมพื้นบ้านทางศิลปกรรม โคมล้านนาบ้านวังหม้อที่สามารถพับเก็บได้เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม

ต้นธงชัย
เมืองลำปาง
ลำปาง
เทศบาลตำบลต้นธงชัย โทร. 0-5435-8663
รินรวี นุ่นมัน
13 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
17 เม.ย. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
17 เม.ย. 2024
บ้านวังหม้อ


ชุมชนชนบท

การประดิษฐ์หัตถกรรมพื้นบ้านทางศิลปกรรม โคมล้านนาบ้านวังหม้อที่สามารถพับเก็บได้เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม

ต้นธงชัย
เมืองลำปาง
ลำปาง
52000
18.3375026
99.5327835
เทศบาลตำบลต้นธงชัย

ประวัติเล่าขานสืบต่อกันมาว่า บริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านเดิมเป็นบริเวณท้องน้ำแม่วังและตรงบริเวณวัดวังหม้อเป็นวังวนน้ำขนาดใหญ่ ในสมัยนั้นเป็นเส้นทางเดินเรือแพ เพื่อทำการติดต่อค้าขายของพ่อค้าและมีพ่อค้าต่างเมืองได้นำเรือแพบรรทุกหม้อและสินค้าอื่น ๆ มาจากอำเภอวังเหนือและอำเภอแจ้ห่ม เพื่อนำไปขายในตัวเมืองลำปาง พอเดินเรือแพมาถึงบริเวณวังวนน้ำแห่งนี้ก็มักจะนำเรือแพมาล่มเป็นประจำ บางครั้งเจ้าของถึงกับจบชีวิตอย่างน่าเวทนา จนเป็นที่หวาดกลัวและเป็นที่กล่าวขานของชาวเรือแพเป็นอย่างมาก กาลเวลาต่อมาน้ำวังได้เปลี่ยนทางเดินของกระแสน้ำไปทางทิศตะวันออก ทำให้บริเวณน้ำวังตื้นเขินจากการทับถมของตะกอนทรายและหิน จึงได้มีคนมาตั้งถิ่นที่อยู่ทำมาหากินในบริเวณแห่งนี้และตั้งชื่อชุมชนว่า "บ้านวังหม้อ"

บ้านวังหม้อ อยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอเมืองลำปาง หมู่บ้านที่อยู่ใกล้อำเภอเมืองลำปาง คือ หมู่ 11 บ้านวังหม้อพัฒนา มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลทุ่งฝาย อำเภอเมืองลำปาง
  • ทิศใต้ ติดกับ เทศบาลนครลำปาง อำเภอเมืองลำปาง
  • ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง
  • ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง

บ้านวังหม้อ มีประชากรเป็นผู้ชาย 778 คน และผู้หญิง 862 คน รวม 1,640 คน จำนวน 743 ครัวเรือน

กลุ่มโคมบ้านวังหม้อ

ประกอบกิจการวิสาหกิจชุมชน ประเภทงานหัตถกรรมพื้นบ้านทางศิลปกรรมและวัฒนธรรม ลวดลายเชิงช่างลำปาง โดย นายสีมูล จินดาสี ได้นำมาจากพม่า เพื่อนำมาค้าขายกับเมืองเขลางค์ ที่มีความเลือมใส ต่อมามีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงนำโคมจากพม่าจำนวน 2 รูป ถวาย ณ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ขณะนั้นมีพระครูศรี ขันวงเป็นเจ้าอาวาสได้รับไว้ประกอบกับพระครูศรีมีใจรักด้านสถาปัตยกรรมล้านาอยู่แล้ว จึงได้ศึกษารูปแบบลวดลายและโครงสร้างของโคม นำเอาศิลปะล้านนามาผสมผสาน ใช้ระยะเวลา 2 ปี จึงสำเร็จเป็นโคมลูกแรก และส่งต่อมาให้ลูกศิษย์ 3 คน ได้แก่ พ่อครูทิพย์มา สิทธิชุม, พ่อครูหนานเส้า สุรินทร์ และพ่อครูสลาสุข ปินตาสี ปัจจุบันพ่อครูมณฑล ปีนตาสี เป็นผู้ถ่ายทอด และสืบทอดต่อ ถือได้ว่าเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่มโคมล้านนาบ้านวังหมือ คือ โคมล้านนา และตุงล้านนา

กลุ่มต้นธงชัยแฮนด์เมด

การประกอบกิจการวิสาหกิจชุมชน ประเภทงานผ้าดันมือได้รับคัดเลือกเป็นกลุ่มอาชีพแบบ "กลุ่มสตรีบ้านต้นธงชัย" ก่อนที่ต่อมาจะเปลี่ยนชื่อเป็นกลุ่มต้นธงชัยแฮนด์เมด ได้แก่ กระเป๋าเป้ กระเป๋าสตางค์ พวงกุญแจ ซองใส่โทรศัพท์ และได้รับตรามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และตรา OTOP และกำลังพัฒนายกระดับสินค้าผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้ติดดาวของ OTOP ต่อไป

วิถีชีวิตของคนในชุมชนบ้านวังหม้อ ถือได้ว่ามีความผูกพันกับการทำโคมมานาน แต่หลังจากที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปก็ทำให้วิถีชีวิตของคนในชุมชนเปลี่ยนไปด้วย ในอดีตนั้นชาวบ้านทำโคมเพื่อใช้ในประเพณีและพิธีกรรมที่สำคัญ เช่น ประเพณีลอยกระทงเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา พอสังคมเริ่มเปลี่ยนภูมิปัญญาการทำโคมของชาวบ้านก็เริ่มหายไปพร้อมกับนำความสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ แต่ยังมีลูกหลานในชุมชนที่มองเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาการทำโคมและต้องการที่จะเห็นภูมิปัญญานี้คงอยู่ในชุมชนบ้านวังหม้อแห่งนี้

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

วัดวังหม้อ

มีประเพณีวัฒนธรรมที่ปฏิบัติรวมกันในชุมชน คือ “ตุงค่าว” ถือเป็นงานพุทธศิลป์ประเภทหนึ่ง ที่มีความสำคัญอย่างมาก ทั้งในด้านของคุณค่าทางโบราณวัตถุศิลปวัตถุ คุณค่าด้านประเพณีวัฒนธรรม คุณค่าด้านองค์ความรู้ทางพุทธศาสนาที่สื่อออกมาในรูปแบบของภาพเล่าเรื่อง รวมไปถึงหลักฐานที่สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เครื่องใช้ไม้สอย ทั้งความงดงามด้านศิลปกรรม เทคนิคกรรมวิธี การสื่อถึงคติความเชื่อและความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้เป็นอย่างดี แสดงถึงความเจริญงอกงามของพุทธศาสนาที่เป็นบ่อเกิดของขนบประเพณีนิยม วัฒนธรรม และวิถีการดำรงชีวิตของคนในอดีต ตุงค่าวธรรมจึงเป็นมรดกที่สำคัญของชาติ ที่ควรค่าแก่การดูแล รักษา เชิดชูและหวงแหนไว้เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมการศึกษาตุงค่าวธรรม คือ การรื้อฟื้นองค์ความรู้การเทศน์มหาชาติ (ประเพณีการตั้งธรรมหลวง) ของชาวล้านนา ซึ่งการใช้ตุงค่าวธรรม เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมอันสำคัญนี้ ถือเป็นสื่อธรรมะที่สำคัญที่ใช้ประกอบการเทศนา สอนเรื่องพระเวสสันดรให้กับผู้คนได้ดี ซึ่งในอดีตทุกวัดในล้านนา เมื่อมีประเพณีการตั้งธรรมหลวง ก็มักแขวนตุงค่าวธรรมไว้

โคม

เป็นภูมิปัญญาที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นตัวตน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ และพิธีกรรมของชาวบ้าน ผ่านลวดลายที่ติดอยู่บนโคม และการทำโคมนี้เป็นประโยชน์กับผู้ที่ได้เข้ามาเรียนรู้ คือ จะเป็นคนที่มีสมาธิมากขึ้น เป็นการฝึกความอดทน และสร้างความสามัคคีกันในชุมชน เพราะการฟื้นฟูประเพณีการแห่โคมนั้น ชาวบ้านในชุมชนทุกคนจะได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การทำโคม การจัดขบวนแห่ จนกระทั่งร่วมในขบวนแห่โคมเข้าวัดอีกด้วย

พิธีฟ้อนผีปู่ย่า

พิธีเก่าแก่ที่มีการปฏิบัติกันมาแบบรุ่นต่อรุ่นกว่า 80 ปี หมู่บ้านวังหม้อ ต.ต้นธงชัย อ.เมืองลำปาง ได้จัดพิธีฟ้อนผีมด หรือป๋าเวณีฟ้อนผีปู่ย่า หรือการเลี้ยงผีบรรพบุรุษ มีองค์ประกอบสำคัญ คือ มีดนตรีไทยมาประโคมให้ผี หรือเจ้าได้เสพอาหาร สนุกสนานฟ้อนรำกัน ท่ามกลางเครือญาติสืบสายตระกูลเจ้าพระยาชัยสิทธิ์ ซึ่งถือเป็นตระกูลใหญ่ในบ้านวังหม้อ สำหรับประเพณี หรือป๋าเวณีฟ้อนผีมด หรือฟ้อนผีปู่ย่า มีการจัดสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นกว่า 80 ปีแล้ว ปัจจุบันเริ่มหายไปมาก แต่ที่จังหวัดลำปางยังมีหลงเหลือให้เห็นมากกว่าจังหวัดอื่น ๆ ซึ่งถือเป็นกุศโลบายของคนรุ่นเก่าที่ต้องการให้คนรุ่นใหม่ได้สืบทอด ด้วยเจตนาที่ต้องการให้เครือญาติได้รู้จักกัน มีความรักความสามัคคี เป็นปึกแผ่นของวงค์ตระกูล และได้มาพบกัน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่ความทันสมัย การใช้ยานพาหนะ เช่น รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ ที่มีความสะดวกรวดเร็ว ส่งผลให้วิถีชีวิตที่มีการใช้รถม้ามีการใช้น้อยลง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กระทรวงวัฒนธรรม. (2564). บ้านวังหม้อ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567. จาก http://m-culture.in.th/

กลุ่มทำโคมบ้านวังหม้อ. (2564). การทำโคมบ้านวังหม้อ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://fliphtml5.com/

ธิติวัฒน์ ตาคำ. (2550). แนวทางการสืบสานและถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำโคมบ้านวังหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

เทศบาลตำบลต้นธงชัย โทร. 0-5435-8663