Advance search

บ้านเนินขาม

ผ้าทอพื้นเมืองโบราณ หมอนขวาน ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ ประเพณีกินดอง ประเพณีแห่นางแมวขอฝน เทศกาลสารทเดือนสิบของชาวลาวเวียง

เนินขาม
เนินขาม
ชัยนาท
ลลิตา อินทร์เจริญ
16 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
ปวินนา เพ็ชรล้วน
17 เม.ย. 2024
บ้านเนินขาม

ที่มาของชื่อหมู่บ้านนั้นเหตุเพราะมีต้นมะขามเยอะ จึงเรียกชื่อบริเวณนี้ว่า "โคกขาม" แล้วชื่อเพี้ยนมาถึงปัจจุบัน จึงเรียกว่าเนินขาม


ผ้าทอพื้นเมืองโบราณ หมอนขวาน ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ ประเพณีกินดอง ประเพณีแห่นางแมวขอฝน เทศกาลสารทเดือนสิบของชาวลาวเวียง

เนินขาม
เนินขาม
ชัยนาท
17130
เทศบาลตำบลเนินขาม โทร. 0-5694-6345
14.9689014
99.8906430
เทศบาลตำบลเนินขาม

คนในชุมชนบ้านเนินขามเป็นชาติพันธุ์ลาวเวียงอพยพ ชาวลาวเนินขามเรียกอีกชื่อนึงว่า ลาวไทคั่ง หรือ ไทครั่ง เพราะเป็นกลุ่มคนโบราณที่มีเชื้อสายจากหลวงพระบางและมาจากเวียงจันทน์ สปป. ลาว เมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาเป็นจํานวนมากจึงได้ตั้งรกรากกระจายอยู่ในหลายจังหวัดของภาคกลางและอีสานตามเส้นทางอพยพ ในอดีตชุมชนบ้านเนินขามได้ตั้งอยู่ที่บ้านโคกขาม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ติดหนองน้ำมีชื่อว่า "หนองแห้ว" เมื่อระบบครอบครัวเริ่มขยายเกิดบ้านที่อยู่อาศัย วัด และประชากรเป็นจำนวนมากทำให้เนินหนองแห้วมีพื้นที่ไม่พออยู่ การทํามาหากินเริ่มลําบากก็ได้อพยพมาเรื่อยๆ จึงได้อพยพ อีกครั้งมาที่ตําบลเนินขาม โดยเลือกแหล่งที่พักอาศัยบริเวณที่เป็นแหล่งน้ำ ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์จึงได้เลือกตั้งชุมชนที่นี่และพื้นที่บริเวณนี้ ที่มาของชื่อหมู่บ้านนั้นเหตุเพราะมีต้นมะขามเยอะ จึงเรียกชื่อบริเวณนี้ว่า "โคกขาม" แล้วชื่อเพี้ยนมาถึงปัจจุบัน จึงเรียกว่าเนินขาม

ชุมชนบ้านเนินขาม ตําบลเนินขาม อําเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาทชุมชนบ้านเนินขามเป็นที่ราบลุ่มและที่ราบสูงเชิงเขาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ในเขตส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทําการเกษตร แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว พื้นที่ปลูกพืชไร่ พื้นที่ปลูกอ้อย พื้นที่ป่าแดงเสื่อมโทรม และพื้นที่หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตําบลเนินขามประกอบอาชีพทําไร่ ทํานา รับจ้าง และทอผ้า

สภาพภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม และที่ราบสูงเชิงเขาทางทิศตะวันออกเชียงเหนือ มีป่าเขาราวเทียนทอง ป่าชุมชนราวเทียนทอง หมู่บ้านเขาเราเทียนทองตั้งอยู่ตำบลเนินขาม หมู่ที่ 10 อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองเป็นระยะทาง 10 กิโลเมตรและอยู่ห่างจากอำเภอหันคาเป็นระยะทาง 18 กิโลเมตรมีพื้นที่ทั้งหมด 7800 ไร่ มีลักษณะพูมิอากาศที่เป็นที่ราบสลับเนินเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 89-319 เมตร เป็นพื้นที่เกษตรกรรมหมู่บ้านและเป็นพื้นที่เนินเขาที่เป็นป่าเบญจพรรณมีไผ่รวกมาก

ประชากรบ้านเนินขามมีเชื้อสายจากหลวงพระบาง สปป. ลาว และอพยพมาจากเวียงจันทร์ในสมัยกรุงธนบุรีเข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก กำแพงเพชร ซึ่งจะพูดภาษาคล้ายกันแต่ด้านประเพณีจะแตกต่างกันออกไป จากหลักฐานทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2562 พบว่าประชากรที่อาศัยอยู่ที่ตำบลเนินขาม มีทั้งหมด 6,040 คน แยกเป็นประชากรชาย จำนวน 2,900 คน และประชากรหญิงจำนวน 3,140 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 52.03 คน/ตรง.กม. 

โครงสร้างพื้นฐาน

มีสถานที่ให้บริการรักษาพยาบาลเบื้องต้นจำนวน 3 แห่ง ได้แก่

  1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนเนินขาม
  2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนเขาราวเทียนทอง
  3. โรงพยาบาลเนินขาม

สถานีตำรวจภูธรเนินขาม 1 แห่ง มีป้อมตำรวจชุมชนประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง มีศูนย์ อปพร. จำนวน 1 ศูนย์ ประชาส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ในเขตพื้นที่ตำบลเนินขาม มีวัดจำนวน 3 แห่ง และสำนักสงฆ์ 2 แห่ง

สถาบันศึกษา โรงเรียนระดับประถมศึกษา 3 แห่ง โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 1 แห่ง โรงเรียนระดับอาชีวะศึกษา 1 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง

กลุ่มอาชีพ

ตำบลเนินขาม พื้นที่ที่เหมาะกับการทำเกษตร ประชากรส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา ทำไร่ ทำสวน และประกอบอาชีพเสริมอื่นๆ เช่น การทอผ้า การจักสาน เป็นต้น ด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ปลูกข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง และอาชีพรับจ้างทั่วไป กลุ่มอาชีพในตำบลเนินขาม มีจำนวนประมาณ 24 กลุ่ม กลุ่มทอผ้า 7 กลุ่ม กลุ่มจักสาน 3 กลุ่ม กลุ่มอาหารและขนม 3 กลุ่ม กลุ่มสมุนไพร 1 กลุ่ม 

ด้านศิลปกรรม

ผ้าทอชุมชนบ้านเนินขามเกิดจากการทอผ้านุ่ง เพื่อใส่ในชีวิตประจําวัน เป็นการสืบทอดมรดกวัฒนธรรมการทอผ้าไหมและผ้าฝ้าย การย้อมสีผ้าจากธรรมชาติ และภูมิปัญญาในการทอผ้าจากบรรพบุรุษชาวลาวเวียงมากกว่า 150 ปี โดยส่งผ่านสีและลายผ้าที่คงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของลาวเวียง ผ้ามัดหมี่ ผ้าซิ่นตีนจก ลายผ้าโบราณบนผืนผ้าสีดําและแดง

ด้านอาหารและโภชนาการ

ชาวเนินขามได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จึงปรากฏเป็นเมนูอาหารของชาวลาวเวียงอันเป็นเมนูเอกลักษณ์ ได้แก่ แจ่วหม้อ หรือแจ่วหมู เป็นอาหารประเภทน้ําพริกที่ชาวลาวนิยมทํากินในครัวเรือน ลักษณะคล้ายน้ําพริกอ่องทางภาคเหนือแต่ไม่ใส่มะเขือเทศ

ปฎิทินชุมชนด้านเทศกาล

ชุมชนบ้านเนินขามถือเป็นชุมชนหนึ่งที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรมจึงมีเทศกาลและงานประเพณีที่มีความเป็นอัตลักษณ์โดยสะท้อนถึงความเชื่อ จิตวิญญาณ วิถีชีวิตที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติ จึงเกิดเป็นเทศกาลและงานประเพณีตามปฏิทินจันทรคติไทยได้ ดังนี้

  • เดือนสอง เทศกาลปิดทองหลวงพ่อพุทธมาลี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ของชุมชนเนินขาม
  • เดือนสาม เทศกาลงานบุญข้าวจี่ ข้าวหลาม
  • เดือนสี่ ประเพณีกินดอง คือ งานแต่งงานแบบชาวลาวเวียง
  • เดือนห้า ประเพณีสงกรานต์ การก่อกองทรายและการแต่งกายพื้นเมืองร่วมควรแห่งศักดิ์สิทธิ์ประจำชุมชน
  • เดือนหก ประเพณีแห่นางแมวขอฝน โดยแห่จากป่าไปยังศาลนางเพลีย และประเพณีทำบุญกลางบ้าน โดยแต่ละหมู่บ้านจะนิมนต์พระมาตอนเย็นที่กลางหมู่บ้านเพื่อมาสวดมนต์ ตอนเช้ามีการเลี้ยงอาหารและมีการปั้นหุ่นใส่กระทง เช่น มีจำนวนคนที่บ้าน หรือสัตว์จำนวนเท่าไหร่ก็ปั้นมาใส่กระทง เพื่อให้ปกป้องรักษาคนในบ้านและมีการหว่านทรายรอบหมู่บ้าน ซึ่งลาวเวียงจะมีความเชื่อทั้งพุทธและไสยศาสตร์ผสมกันไป
  • เดือนแปด เปิดเพลงนี้เข้าพรรษา
  • เดือนสิบ เทศกาลสารทเดือนสิบของชาวลาวเวียง โดยทุกคนในหมู่บ้านจะร่วมกันกวนกระยาสารท แจกข้าวของหวานห่อใส่ใบตอง โดยมีพระพิสุสงฆ์ตีกลองเพื่อให้ผีบรรพบุรุษมารับส่วนบุญกุศล
  • เดือนสิบเอ็ด เทศกาลออกพรรษา ตักบาตรเทโว
  • เดือนสิบสอง ประเพณีลอยกระทง
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

บ้านเนินขามเป็นชุมชนการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงวัฒนธรรม ไม่ว่าประเพณีวัฒนธรรมที่คนเนินขามสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เช่น ภาษาถิ่นลาวเวียง การทอผ้าลายดั้งเดิม คือ ผ้าซิ่นตีนจก ผ้าขาวม้า 5 สี เสื้อจกหม้อและหมอนขวาน ที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านเนินขาม ซึ่งลวดลายผ้าทอที่ได้รับการพัฒนาและเป็นเอกลักษณ์ของบ้านเนินขาม คือ "ลายช่อมะขาม" โดยมี ศูนย์เรียนรู้การทอผ้าพื้นเมือง" ลาวเวียงบ้านเนินขาม" เป็นที่ให้ประชาชนทั่วไปได้มาเรียนรู้เรื่องการทอผ้า

จุดเด่นของผ้าทอลายช่อใบมะขาม คือ จะต้องคงลักษณะตามธรรมชาติให้มากที่สุด ลวดลายใบย่อยต้องมีรูปทรงรีเล็ก โคนใบมน และก้านใบต้องมีใบย่อย 7 คู่ เหมือนใบมะขามตามธรรมชาติ ถักทอด้วยช่างทอที่มีความประณีตและชำนาญโดยเน้นการใช้สี 5 สี ได้แก่ สีเขียว แดง ส้ม เหลือง และขาว ซึ่งเป็นสีมงคลตามความเชื่อของชาวลาวเวียง ที่จะทำให้ผู้ที่สวมใส่ผ้าทอลายช่อใบมะขามมีความน่าเกรงขาม มีความสุข ความเจริญรุ่งเรือง และผ้าทอลายช่อใบมะขามนี้บริษัทประชารัฐรักสามัคคีชัยนาท (วิสาหกิจเพื่อสังคม) เข้าร่วมให้ความรู้กับชุมชนบ้านเนินขามจนสามารถคิดประดิษฐ์ลวดลายขึ้นมาใหม่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่มและทำการจดสิทธิบัตรการออกแบบกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้กับประชาชนในชุมชนบ้านเนินขาม เมื่อปี พ.ศ. 2559 

ชาวบ้านเนินเขามีวัฒนธรรมที่โดดเด่นและสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน คือ วัฒนธรรมการทอผ้าและวัฒนธรรมการแต่งกาย ภาษาที่ใช้สื่อสารกันในท้องถิ่น คือ ภาษา "ลาว" หรือเรียกว่า "ภาษาลาวเวียง"

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กรมพัฒนาที่ดินกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). แผนการการใช้ที่ดินตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท. สถานีพัฒนาที่ดินชัยนาท สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1.

คณะทำงานเศรษฐกิจและทุนชุมชนตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท. (2562). “ชุมชนวัฒนธรรมการทอผ้าพื้นเมือง ลาวเวียงบ้านเนินขาม” ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก: https://ref.codi.or.th/public-relations/news/16770-2019-04-01-05-12-54

เทศบาลตำบลเนินขาม. (2551). ประวัติตำบลเนินขาม. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก: https://www.nernkham.go.th/condition.php

อมรา ดอกไม้ และศิริพร อําไพลาภสุข (2565). การสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม OTOP นวัตวิถีอย่างยั่งยืน ของชุมชนบ้านเนินขาม ตําบลเนินขาม อําเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 10(3), 263-272.