ต้นสะตือ 300 ปี ค่ายวัดสีกุก วัดสีกุก กุฎิสงฆ์เรือนไทยหมู่ และศาลาการเปรียญ
จากประวัติ “วัดสีกุก” ซึ่งเป็นศาสนสถานสำคัญของชุมชนชน ปรากฏว่าที่ตั้งวัดเป็นค่ายสำคัญของทหารในยุทธการล้อมกรุงศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ.2307-2310 หรือกรุงแตก แปลว่าป้อมค่าย เชิงเทิน ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการรับแบบยืดเยื้อ ซึ่งต่างไปจากเดิมที่รบพุ่งช่วงหน้าฤดูเก็บเกี่ยว น้ำหลากก็กลับไป แต่การรบครั้งนี้เป็นการรบเพื่อยื้อเวลารอแตกหัก รวมทั้งสภาพภายในกรุงอ่อนแอ และไม่สามารถทัดทานได้ ดังนั้นวัดสีกุกจึงมีความสำคัญ ในฐานะเป็นค่าย แล้วสำคัญอย่างไร หากมองในเชิงภูมิศาสตร์เชิงพื้นที่ การที่ตั้งอยู่ริมน้ำ รูปเกือกม้า ในทางการทาหารก็แปลว่าสีกุกมีชัยภูมิ ที่ดีตามหลักยุทธศาสตร์และใช้น้ำเป็นกำแพงธรรมชาติทั้ง 3 ด้าน เมื่อปิดด้านหน้าเสียก็ทำให้ค่ายแห่งนี้มีชัยภูมิที่ดีในทางการทหาร แต่อีกนัยหนึ่งก็เป็นพื้นที่ปิด ที่เหมาะแก่การป้องกันค่ายแล้วค่ายสีกุกจึงเลือกปิดตัวเอง ในเชิงค่ายทหารสนับสนุน หรืออาจเป็นทัพหลวง ก็ต้องคอยสนับสนุนทัพเล็ก ในการทำสงครามจรยุทธ์ ในสงครามปิดล้อมนั้น สีกุกจึงเหมือนเป็นพื้นที่หลักหรือทัพหลวง จากนั้นก็รอเวลาส่งกองทหารสนับสนุนไปตีป้อมค่ายตามเวลาที่เหมาะสม
สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม
จากข้อมูลระบบสถิติทางการทะเบียนของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเมื่อปี พ.ศ. 2559 จำนวนประชากรชาย 16,576 คน จำนวนประชากรหญิง 17,908 คน รวมจำนวนประชากรทั้งสิ้น 34,484 คน ความหนาแน่นของประชากร 254.86 คน/ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 95
ระบบเครือญาติ
ชุมชนบ้านริมคลองบางบาล มีลักษณะทางสังคมแบบเครือญาติ ที่อยู่อาศัยเป็นหมู่เรือนยกใต้ถุนสูง พื้นที่ใต้ถุนเป็นพื้นที่อเนกประสงค์สำหรับ พักผ่อน เก็บของ เก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ มีทั้งแบบเป็นพื้นที่ดาดแข็งและแบบลานดิน ถัดจากบริเวณนี้ ส่วนใหญ่มักเป็นพื้นที่เพาะปลูก เช่น ผักสวนครัว กล้วย เป็นต้น พื้นที่ริมน้ำยังพอมีท่าน้ำร่วมและกระชังปลา
ชาติพันธุ์
ชุมชมริมคลองบางบาลมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ได้แก่ ชาวมอญ ชาวจีน ชาวลาว และชาวมุสลิม ในปัจจุบันยังมีชุมชนที่รักษาเอกลักษณ์และสืบสานประเพณี และวัฒนธรรม
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ได้แก่ การทำนา ปลูกกล้วย การทำปศุสัตว์เพื่อบริโภคและจำหน่ายอาชีพส่วนใหญ่ของแต่ละชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักมีข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจทั้งแบบนาปีและนาปรังประมาณ 2 ครั้งต่อปี รองลงมาเป็นพืชทนน้ำหรือพืชโตเร็ว เช่น กล้วย มะม่วงพันธุ์ต่าง ๆ และมะพร้าว เป็นต้น และมีผลิตอิฐมอญมีทั้งแบบทำภายในครัวเรือนและโรงงาน ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนทั้งแบบรายได้ประจำและรายได้เสริม
การถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรแบ่งเป็น 3 ลักษณะ
- ที่ดินของตนเอง
- ที่ดินตนเองผสมเช่าที่ดินเพิ่มเติม
- เช่าที่ดิน
วัดสีกุก เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของค่ายสีกุกซึ่งเป็นที่ตั้งค่ายทัพพม่าเมื่อคราว พ.ศ. 2310 เพื่อล้อมตีกรุงศรีอยุธยาโดยมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพใหญ่ ทางด้านตะวันตกของเกาะเมืองอยุธยา ภายหลังจากเสียชีวิตจึงได้มีการทาพิธีฝังและสร้างเจดีย์ไว้บริเวณวัดสีกุก ในปัจจุบันยังเหลือร่องเหลือเป็นแนวอิฐและเนินดินของค่ายสีกุก ซึ่งเป็น หลักฐานทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสต้นถึง 2 ครั้ง และได้มีภาพถ่ายพร้อมทั้งลายพระหัตถ์ประกอบเพื่อบันทึกความทรงจำ
ค่ายทหารสีกุก เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ มีพื้นที่ล้อมรอบไปด้วยแม่น้ำ ทำให้เหมาะแก่การตั้งรับศึกอย่างมาก เพราะเป็นเส้นทางคมนาคมทางเรือที่สามารถเคลื่อนย้ายไปยังเมืองอื่น ๆ ได้ เมื่อถูกโจมตี สมรภูมิที่สีกุกนี้ พงศาวดารพม่ากล่าวว่า เมื่อกองทัพพม่าฝ่ายใต้ที่นำโดยมังมหานรธา ตีเมืองสุพรรณบุรีได้แล้วจึงเคลื่อนทัพมุ่งมายังกรุงศรีอยุธยา ฝ่ายไทยจึงส่งพระยาปะละพร้อมไพร่พล 6 หมื่นคน มาตั้งรับ ฝ่ายไทยยกกองทัพออกมาตั้งรับนอกเมืองสีกุก มังมหานรธา จึงส่งกองทัพเข้าประจัญบาน จนกองทัพฝ่ายไทยถูกตีแตก จากนั้นฝ่ายพม่าเข้าตีค่ายสีกุกให้ทหารปีนกำแพงทั้ง 4 ด้าน แม้ฝ่ายไทยจะต้านทานอย่างสุดกำลัง แต่ไม่นานกองทัพพม่าก็ยึดสำเร็จและจับตัวผู้รักษาเมืองไว้ได้ มังมหานรธาให้รวบรวมผู้คน ช้าง ม้า อาวุธ แล้วตั้งผู้รักษาเมืองสีกุกที่ยอมอ่อนน้อมเป็นผู้รักษาเมืองสีกุกต่อไป ความผิดพลาดในสมรภูมิครั้งนี้คือที่ตั้งของค่ายสีกุก เนื่องจากบริเวณที่เป็นเกือกม้า หรือที่ตั้งของค่ายสีกุกนั้น ตั้งอยู่ฟากตะวันตกของแม่น้ำน้อย ด้านหน้าค่ายจึงหันหากองทัพพม่า ด้านหลังค่ายจึงประชิดแม่น้ำ นับเป็นความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายไทย ซึ่งควรจะตั้งค่ายอยู่ฟากตะวันออกของแม่น้ำมากกว่า โดยใช้แนวแม่น้ำน้อยและคลองบางบาลเป็นปราการธรรมชาติ ปัจจุบันที่ตั้งของค่ายทหารสีกุกนี้ก็คือ วัดสีกุก
พระปลัดระพิน พุทธิสาโร. (2562). ค่ายวัดสีกุก และความตายของมังมหานรธา ก่อนการเสียกรุงของอยุธยา พ.ศ. 2310. บัณฑิตศึกษา ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.