Advance search

เป็นชุมชนนำร่องต้นแบบในโครงการ ชุมชนเชิงนิเวศ มีการนำเอารูปแบบและแนวคิดการพัฒนาแบบ บ้าน วัด โรงเรียน (บวร) มาใช้

เนินพระ
เมืองระยอง
ระยอง
คุณอำนวย นามสนิท โทร. 080-644-1803
บุณฑริก แจ่มใส
12 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
17 เม.ย. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
18 เม.ย. 2024
เกาะกก

เดิม คือชุมชนเกาะกก-หนองแตง ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้การบริหารจัดการและการดูแลอาจจะไม่ทั่วถึง เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บริหารชุมชน จึงได้มีการยื่นขอแบ่งแยกชุมชนเกาะกก ออกจากชุมชนหนองแตงในปี พ.ศ. 2553


เป็นชุมชนนำร่องต้นแบบในโครงการ ชุมชนเชิงนิเวศ มีการนำเอารูปแบบและแนวคิดการพัฒนาแบบ บ้าน วัด โรงเรียน (บวร) มาใช้

เนินพระ
เมืองระยอง
ระยอง
21150
12.688139865026686
101.20084186212866
เทศบาลเมืองมาบตาพุด

ชื่อเดิม คือ ชุมชนหนองแตง จากภูมิประเทศและทำเลที่เป็นธรรมชาติ มีทุ่งนาเขียวขจี มีคลองน้ำชลประทานไหลผ่าน ถนนหนทางสะดวก น้ำประปาและไฟฟ้าเข้าถึง ใกล้สถานที่ทำงานเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ผู้คนมีมิตรไมตรีและยังคงหลงเหลือซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีของท้องถิ่นรวมถึงอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษ เช่นการทำการเกษตรการเลี้ยงสัตว์ การทำสวนผลไม้ การประมง ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ทำให้การบริหารจัดการและการดูแลอาจจะไม่ทั่วถึง เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บริหารชุมชน จึงได้มีการยื่นขอแบ่งแยกชุมชนเกาะกก ออกจากชุมชนหนองแตง ในปี พ.ศ. 2553 โดยมีนายเจริญ เดชคุ้ม พร้อมคณะทำงานและสมาชิกในชุมชน เป็นผู้ดำเนินการยื่นขอแยกชุมชน ในสมัยนายกสมพงษ์ โสภณ

สภาพแวดล้อมชุมชนเกาะกก เป็นชุมชนระบบนิเวศน์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ สภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี มีคลองน้ำไหลผ่าน มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ      ติดต่อกับ  ชุมชนคลองน้ำหูและชุมชนหนองบัวแดง

ทิศใต้         ติดต่อกับ  ชุมชนหนองแตง

ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ เทศบาลตำบลเนินพระ

ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ  ชุมชนตากวน-อ่าวประดู่

ในปัจจุบันพบว่าชุมชนเกาะกกมีประชากรรวมกันกว่า 1,000 คน หรือราว 500 ครัวเรือน ซึ่งได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

มีการทำนา ทำสวนมะม่วง สวนพุทรา ปลูกพืชสวนครัวต่างๆ แต่หลังจากนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมทำให้พื้นที่นี้เปลี่ยนเป็นชุมชนเมืองโดยเฉพาะเป็นย่านพักอาศัย พื้นที่ทำเกษตรกรรมจึงลดน้อยลง จนเหลือชาวนาคนสุดท้ายของมาบตาพุด คือ ลุงสนม วงศ์เนิน ทำให้ผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมมีแนวคิดในการรวมกลุ่มเพื่อรักษาวิถีชีวิตเกษตรกรรมใน พ.ศ. 2555 และได้จดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจในปี พ.ศ. 2558 โดยมีนายอำนวย นามสนิท    เป็นประธานกลุ่ม ต่อมาได้รับการสนับสนุนวิธีการทางการตลาดและธุรกิจจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโครงการซีเอสอาร์จากกลุ่มบริษัทเอสชีจี

การรวมกลุ่มของผู้อยู่อาศัยในชุมชนเกาะกกเป็นวิสาหกิจดำเนินกิจการปลูกข้าวพันธุ์ต่างๆ ที่เป็นที่นิยม เช่น ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวสังข์หยด ข้าวกล้องหอมนิล และข้าวหอมมะลิ และแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ ได้แก่ สแน็คบาร์ นอกจากนั้นยังมีการทำสมุนไพร ลูกประคบ หมอน โดยเช่าที่ดินเอกชนเป็นสถานประกอบการสมาชิกส่วนใหญ่ไม่ได้ทำเกษตรกรรมแล้ว แต่มารวมกลุ่มเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของคนดั้งเดิม เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและยังเป็นการสร้างอาชีพด้วย พื้นที่ที่ใช้ทำเกษตรกรรมมีเนื้อที่ราว 20 ไร่ เป็นพื้นที่เช่าเช่นกัน กลุ่มวิสาหกิจนี้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การลงแขกปลูกข้าว

ชุมชนเกาะกก มีคณะกรรมการบริหารชุมชนที่ได้รับการเลือกตั้งจากคนในชุมชนจำนวน 9 คน และที่ปรึกษาชุมชนอีกจำนวน 4 คน มีวาระ 4 ปี มีหน้าที่บริหารจัดการชุมชนในด้านต่างๆ เช่น การบริหารงบประมาณ และพัฒนาโครงการต่างๆ การพัฒนาส่งเสริมอาชีพบางส่วน การรับเรื่องร้องทุกข์ต่างๆ การส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างความรักความสามัคคีให้กับคนในชุมชน การแก้ปัญหาขยะ ปัญหาโจรผู้ร้าย รวมถึงการเฝ้าระวังเหตุร้ายต่างและรวมถึงเป็นผู้ควบคุมดูแลแผนฉุกเฉินชุมชนในกรณีเกิดภัยพิบัติต่างๆ

กองทุนหมู่บ้านชุมชนเกาะกก มีคณะกรรมการบริหารกองทุนจำนวน 9 คน มีวาระ 2 ปี มีหน้าที่บริหารจัดการเรื่องการออมเงินและให้กูยืมเงินเพื่อการประกอบอาชีพ

วิสาหกิจชุมชน มีคณะกรรมการจำนวน 10 คน ไม่มีวาระ มีหน้าที่ส่งเสริมอาชีพ พัฒนาอาชีพและด้านการตลาดให้กับคนในชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่มอาชีพที่ได้รับการส่งเสริมแล้วจำนวน 12 กลุ่ม และสามารถผลิตสินค้าชุมชนออกจำหน่ายในตลาดระดับประเทศได้หลายชนิด

คณะกรรมการอาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้าน มีคณะกรรมการจำนวน 7 คน ที่ปรึกษาอีก 1 คน ไม่มีวาระ มีหน้าที่รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและตรวจสุขภาพให้กับสมาชิกในชุมชน

คณะกรรมการกองทุนพัฒนาไฟฟ้า มีตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งจากสมาชิกในชุมชนจำนวน 1 คน มีวาระ 2 ปี ทำหน้าที่เสนอโครงการจากเวทีประชาคมในชุมชน เพื่อขอรับเงินสนับสนุนเพื่อใช้พัฒนาชุมชนผ่านโครงการ

ชุมชนเกาะกก ให้ความสำคัญในการจัดงานประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณีวันขึ้นปีใหม่, ประเพณีวันสงกรานต์และวันผู้สูงอายุ, วันแรงงาน, วันพ่อแห่งชาติ, วันแม่แห่งชาติ, ประเพณีลอยกระทง ประเพณีเผาข้าวหลามและทำบุญข้าวใหม่ เป็นการร่วมใจสร้างกิจกรรมสร้างความรักความสามัคคีให้กับคนในชุมชน ประเพณีเหล่านี้ปฏิบัติสืบทอดมาเป็นเวลาช้านานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

  • ประเพณีเผาข้าวหลาม

งานประเพณีบุญข้าวหลาม จะจัดขึ้นในเดือน 3 ขึ้น 15 ค่ำ สอดคล้องกับวันพระ (วันมาฆบูชา) ที่ชาวบ้าน ชุมชนในทุกตำบล อำเภอในจังหวัดระยองจะรวมตัวกันเพื่อทำข้าวหลามที่เน้นรสชาติให้ได้สามรส คือ หวาน มัน เค็ม โดยนำข้าวเหนียวที่ผสมกะทิเรียบร้อยแล้วกรอกใส่กระบอกไม้ไผ่ แล้วนำไปเผาไฟบนดินแบบโบราณ ทั้งนี้ แต่ละบ้านอาจจะเผาข้าวหลามกันเองภายในครอบครัว หรือแต่ละชุมชนก็จะมาเผาข้าวหลามร่วมกัน ซึ่งการเผาบนดินแบบโบราณ ชาวบ้านจะต้องขุดดินบนลานโล่งเป็นรางตื้นๆ  ตั้งกระบอกข้าวหลาม แล้วก่อกองไฟขนานไปกับกระบอกข้าวหลาม ภายหลังเผาข้าวหลามเสร็จก็จะแบ่งกันไปและนำไปทำบุญที่วัดใกล้ๆ ภายในชุมชนของตนเอง ถือเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีบุญข้าวหลามให้ลูกหลานได้สืบสานต่อไป สิ่งที่แฝงมากับประเพณีบุญข้าวหลามนอกจากการชักจูงให้ผู้คนเข้าวัดทำบุญทำกุศลกันแล้ว ยังเป็นโอกาสพิเศษที่คนในครอบครัว ญาติพี่น้อง สมาชิกในครอบครัวที่แยกย้ายกันไปได้กลับมาพบหน้ากันอีกด้วย

ทุนธรรมชาติ

ชุมชนเกาะกกมีภูมิประเทศและทำเลที่เป็นธรรมชาติ มีทุ่งนาเขียวขจี มีคลองน้ำชลประทานไหลผ่าน ถนนหนทางสะดวก น้ำประปาและไฟฟ้าเข้าถึง ใกล้สถานที่ทำงานเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ผู้คนมีมิตรไมตรีและยังคงหลงเหลือซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีของท้องถิ่นรวมถึงอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษ เช่น การทำการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ การทำสวนผลไม้ การประมง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พรธิดา เทพประสิทธิ์ และสวรรยา ธรรมอภิพล. (2562). เกาะกก ต้นแบบชุมชนเชิงนิเวศรักษ์สิ่งแวดล้อม. วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย. 11(1), 231-252.

ชุมชนเกาะกก อนุรักษ์พื้นที่สีเขียว ร่วมสร้างชุมชนสีขาว. (2564). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก: https://www.kohkokry.com/%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%8a%e0%b8%b8%e0%b8%a1%e0%b8%8a%e0%b8%99/

คุณอำนวย นามสนิท โทร. 080-644-1803