Advance search

เมืองพลโนนแท่นพระ สักการะพระเจ้าใหญ่ อ่างน้ำละเลิงหวาย ค้าขายกว้างไกล น้ำใจมากล้น ชนชาตินักรบ ทำนบภูดิน เที่ยวถิ่นทุ่งพึงพืด

หมู่ที่ 6
บ้านหนองสะแบง
เพ็กใหญ่
พล
ขอนแก่น
อบต.เพ็กใหญ่ โทร. 0-4341-8042
ศิราณี ศรีหาภาค
3 เม.ย. 2023
วีรภัทร ศรีทำบุญ
3 เม.ย. 2023
veerapat srithamboon
24 เม.ย. 2023
บ้านหนองสะแบง

พ.ศ. 2472 มีการย้ายที่อยู่จากบ้านเก่างิ้วนำโดย นายศรีจันทร์  แสนเพีย มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านหนองสะแบงทั้งหมด 4 หลังคาเรือน เนื่องจากย้ายออกมาอยู่ที่นา และได้แต่งตั้งให้เป็นหมู่บ้านชื่อบ้านหนองสะแบง โดยเรียกตามจุดเด่นของทางเข้าหมู่บ้านที่มีหนองน้ำขนาดใหญ่ที่มีต้นสะแบงขึ้นรวบหนองน้ำนั้นไว้และมีต้นสะแบงขนาดใหญ่ต้นหนึ่งที่สูงกว่าต้นทั่วไปที่ขึ้นโดยรวบนั้นเป็นจุดเด่นที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน จึงเรียกหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า “บ้านหนองสะแบง”


ชุมชนชนบท

เมืองพลโนนแท่นพระ สักการะพระเจ้าใหญ่ อ่างน้ำละเลิงหวาย ค้าขายกว้างไกล น้ำใจมากล้น ชนชาตินักรบ ทำนบภูดิน เที่ยวถิ่นทุ่งพึงพืด

บ้านหนองสะแบง
หมู่ที่ 6
เพ็กใหญ่
พล
ขอนแก่น
40120
15.84492
102.563
องค์การบริหารส่วนตำบลเพ็กใหญ่
ชาวบ้านหนองสะแบงมีบรรพบุรุษ มาจาก  ชาว อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ดโดยชาวบ้านนั้นได้มีการอพยพหนีพื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง(พื้นที่ใกล้กับ ทุ่งกุลาร้องไห้)โดยการเดินทางมาตามลุ่มน้ำและพื้นป่าที่มีทิศทางไปหาพื้นที่ราบสูงเพื่อที่จะได้อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำและได้พบเข้ากับพื้นที่ป่าเนินสูง เมื่อ พ.ศ. 2467 ได้มีการตั้งบ้านเก่างิ้ว เป็น ตำบลเก่างิ้ว อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่นต่อมา พ.ศ. 2472 มีการย้ายที่อยู่จากบ้านเก่างิ้วนำโดย นายศรีจันทร์  แสนเพีย มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านหนองสะแบงทั้งหมด 4 หลังคาเรือน เนื่องจากย้ายออกมาอยู่ที่นา และได้แต่งตั้งให้เป็นหมู่บ้านชื่อบ้านหนองสะแบง โดยเรียกตามจุดเด่นของทางเข้าหมู่บ้านที่มีหนองน้ำขนาดใหญ่ที่มีต้นสะแบงขึ้นรวบหนองน้ำนั้นไว้และมีต้นสะแบงขนาดใหญ่ต้นหนึ่งที่สูงกว่าต้นทั่วไปที่ขึ้นโดยรวมนั้นเป็นจุดเด่นที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน จึงเรียกหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า “บ้านหนองสะแบง” 

อาณาเขตหมู่บ้าน

หมู่บ้านแบ่งออกเป็น 6 คุ้ม  ประกอบไปด้วย คุ้มศรีสง่า (ฝั่งโรงเรียน) คุ้ม เศรษฐกิจ (ฝั่งบ้านผู้ใหญ่บ้าน) คุ้ม อุ่นใจไพรไรพัฒนา (ฝั่งทิศใต้) คุ้มคำหม้ายประชาสรรค์ (ฝั่งทิศตะวันออกเฉียงใต้) คุ้มศรีชมนึกประชาสรรค์ (ทิศตะวันตกเฉียงใต้) คุ้มศรีเจริญ (ทิศตะวันตก) มีสระน้ำ 3 แหล่ง 1.ภายในวัด 2 ไร่ 2 งาน  2.หนองสระแดง (ตะวันตกเฉียงใต้) พื้นที่ 5 ไร่  3.หนองสระบ้าน (ทิศตะวันตก) มีพื้นที่ 2 ไร่ 2 งาน

มีประปาหมู่บ้าน 3 แหล่ง 1.อยู่บริเวณวัด  2.อยู่นอกหมู่บ้าน (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)  3.ประปาบ้านเก่างิ้ว

  • ทิศเหนือ  ติดกับ  บ้านหนองตะหนิน บ้านโคกสี
  • ทิศใต้  ติดกับบ้าน  นาคสะดุ้งบ้านสระบัว
  • ทิศตะวันออก  ติดกับ  บ้านเพ็กใหญ่ บ้านสระบัว
  • ทิศตะวันตก  ติดกับ  บ้านโคกกลาง

จำนวนประชากรทั้งหมด ประชากรทั้งหมดของ บ้านหนองสะแบง หมู่ที่ 6 ต.เพ็กใหญ่ อ.พล จ.ขอนแก่น มีประชากรรวมทั้งหมด 724 คน เป็นเพศชาย 362 คน เพศหญิง362คน และมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 142 หลังคาเรือน จำนวนของประชากรเพศชาย ที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 45-49 ปีจะมีจำนวนมากกที่สุด คือ 29 คน อันดับที่สองอยู่ในช่วงอายุ35-39 ปี มีจำนวน 27 คน และอันดับที่สามจะอยู่ช่วงอายุ 25-29 ปี มีจำนวน 31 คน จำนวนประชากรเพศหญิงที่อยู่ในช่วงอายุ40-44 ปี มีจำนวนมากที่สุด คือ 35 คน อันดับที่สองอยู่ในช่วงอายุ 50-54ปี และ25-29 ปี มีจำนวน 31 คน อันดับที่สามอยู่ที่ช่วงอายุ 45-49 ปี มีจำนวน 30 คน จากแผนภูมิทั้งหมดพบว่ามีแนวโน้มของประชากรจะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งนั้นจะทำให้เกิดปัจจัยที่จะส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังมากยิ่งขึ้น และ care giver ลดลงทำให้เกิดการที่ผู้สูงอายุไม่มีผู้ดูแลมากขึ้น จำนวนและร้อยละของประชากรจำแนกตามอายุและเพศแบบสากล พบว่า - จำนวนเด็กอายุ 0 – 1 ปี มีจำนวนทั้งหมด 8คน คิดเป็นร้อยละ 1.71 - จำนวนเด็กอายุ 0 – 5 ปี มีจำนวนทั้งหมด 24คน คิดเป็นร้อยละ 5.13 - จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15-49 ปี จำนวนทั้งหมด 231คน คิดเป็นร้อยละ 49.46 เชื้อชาติ ศาสนา และสถานภาพสมรส จากข้อมูลของแผนกงานพัฒนาชุมชนและอำเภอ ประจำที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัด ขอนแก่น พบว่าจากประชากรจำนวน 724 คน มีประชากรทั้งหมด 724 คน นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 100

จำนวนประชากรทั้งหมด

ประชากรทั้งหมดของ บ้านหนองสะแบง  หมู่ที่ 6 ต.เพ็กใหญ่  อ.พล จ.ขอนแก่น มีประชากรรวมทั้งหมด 724  คน เป็นเพศชาย  362 คน เพศหญิง 362 คน และมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 142 หลังคาเรือน

จำนวนของประชากรเพศชาย ที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 45-49 ปีจะมีจำนวนมากที่สุด คือ 29 คน อันดับที่สองอยู่ในช่วงอายุ35-39 ปี มีจำนวน 27 คน  และอันดับที่สามจะอยู่ช่วงอายุ 25-29 ปี มีจำนวน 31 คน จำนวนประชากรเพศหญิงที่อยู่ในช่วงอายุ40-44 ปี มีจำนวนมากที่สุด คือ 35 คน อันดับที่สองอยู่ในช่วงอายุ 50-54ปี และ25-29 ปี มีจำนวน 31 คน อันดับที่สามอยู่ที่ช่วงอายุ 45-49 ปี มีจำนวน 30 คน จากแผนภูมิทั้งหมดพบว่ามีแนวโน้มของประชากรจะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งนั้นจะทำให้เกิดปัจจัยที่จะส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังมากยิ่งขึ้น และ  care giver ลดลงทำให้เกิดการที่ผู้สูงอายุไม่มีผู้ดูแลมากขึ้น

จำนวนและร้อยละของประชากรจำแนกตามอายุและเพศแบบสากล พบว่า

  • จำนวนเด็กอายุ 0 – 1 ปี  มีจำนวนทั้งหมด 8คน คิดเป็นร้อยละ 1.71
  • จำนวนเด็กอายุ 0 – 5 ปี มีจำนวนทั้งหมด 24คน คิดเป็นร้อยละ 5.13
  • จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15-49 ปี จำนวนทั้งหมด 231คน คิดเป็นร้อยละ 49.46

นายเจิดภูคำ ผู้ใหญ่บ้าน

-เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

-คณะกรรมบริหารชุมชน

-คณะกรรมการประชาคมหมู่บ้าน

กลุ่มทอผ้าไหม

กลุ่มธนาคารหมู่บ้าน

กลุ่ม อสม.

กลุ่มพันธุ์ข้าว

กลุ่มกองทุนเงินล้าน

กลุ่มออมทรัพท์

ฮีตสิบสองที่มีในชุมชน โดยการบอกเล่าของคนในชุมชน

วัฒนธรรมของคนอีสานเป็นวัฒนธรรมที่มีความเชื่อมั่นที่สุด ดีที่สุดสำหรับภูมิภาคอีสาน ซึ่งเดิมในแคว้นสุวรรณภูมิล้วนมีวัฒนธรรมแต่โบราณมาวัฒนธรรมของคนอีสานสร้างคนให้เป็นคน สร้างคนให้ละจากความโลภ ความโกรธ ความหลงให้ทำคุณงามความดีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน มีฮีตมีคองอยู่เรียกว่าฮีตสิบสองคองสิบสี่ ฮีตบ้านคองเมือง ฮีตพ่อคองพ่อฮีตเต่าคองเขยเลยมาสมสู่ขออยู่ อาสาเลี้ยงดูลูกตามิ่ง เป็นฮีตเป็นคองฮีตสิบสองของคนอีสานว่าไว้ตามลักษณะสิบสองเดือน แต่ละเดือนมีงานประเพณีกฎเกณฑ์ ตามกติกาสังคมอีสานวางไว้ตั้งแต่สังคมบรรพบุรุษเป็นต้นมา

ฮีตสิบสองของชาวอีสานส่วนที่กำเนิดจากคำสอน และความเชื่อของพระพุทธศาสนา จะคล้ายกับประเพณีของชาวพุทธในสังคมอื่น ส่วนฮีตที่เกิดจากความเชื่อในเรื่องผี อำนาจลึกลับและปัญหาในการดำรงชีวิตประจำวันของชาวอีสานจะมีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น ฮิตสิบสองเดือนมีดังนี้

  • เดือนอ้าย(เดือนเจียง) : บุญเข้ากรรม นิมนต์สังฆเจ้าเข้ากรรมฯ ชาวบ้านเลี้ยงผีแถนและผีต่างๆ(บรรพบุรุษหรือบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ) การนิมนต์พระสงฆ์เจ้ามาเข้าปริวาสกรรมหรือเข้ากรรมนั้น เป็นพิธีกรรมเพื่อให้พระภิกษุผู้กระทำความผิดได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์ (มิใช่การล้างบาป) เป็นการฝึกความรู้สึกสำนึก วิจัยต่อความบกพร่องของตัวเอง ซึ่งตรงกันข้ามกับสังคมสมัยนี้ที่มีแต่โพนทะนาถึงความชั่วความผิดของผู้อื่นข้างเดียว
  • เดือนยี่ : บุญคูณลาน เดือนยี่ ทำบุญ "คูณข้าว" มีพระสวดมนต์เย็นยันเช้า เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวเปลือก เมื่อพระฉันเช้าแล้วก็ทำพิธีสู่ขวัญข้าว (ทำขวัญหรือสูตรขวัญ) นอกจากนั้นในเดือนนี้ชาวบ้านจะยังต้องเตรียมสะสมเชื้อเพลิงหาฟืนและถ่านมาไว้ในบ้าน
  • เดือนสาม : บุญข้าวจี่และบุญมาฆะบูชา เริ่มพิธีทำบุญข้าวจี่ในตอนเช้าโดยใช้ข้าวเหนียวปั้นหุ้มน้ำอ้อยเอาไปปิ้งหรือจี่พอเกรียมแล้วชุบด้วยไข่ลนไฟจนสุกแล้วใส่ภาชนะไปตั้งไว้ในหัวแจก(ศาลาวัด)นิมนต์พระรับศีล แล้วเอาข้าวจี่ใส่บาตรนำถวายแด่พระภิกษุสงฆ์พร้อมด้วยอาหารอื่น เมื่อพระฉันเสร็จแล้วมีการแสดงพระธรรมเทศนาข้าวจี่ที่เหลือจากพระฉันก็แบ่งกันรับประทานจะถือว่าโชคดี
  • เดือนสี่ : บุญผะเหวดหรือบุญพระเวสฟังเทศน์มหาชาติ มูลเหตุเนื่องมาจากพระคัมภีร์มาลัยหมื่นและมาลัยแสน ว่าผู้ใดปรารถนาที่จะได้พบพระศรีอริยเมตไตย์ หรือเข้าถึงศาสนาของพระพุทธองค์แล้วจงอย่าฆ่าตีบิดามารดา สมณพราหมณาจารย์ อย่ายุยงให้สงฆ์แตกสามัคคีกัน กับให้อุส่าห์ฟังธรรมเทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดกให้จบสิ้นภายในวันเดียวกัน เป็นต้น ในงานบุญนี้มักจะมีผู้นำของมาถวายพระซึ่งเรียกว่า "กัณฑ์หลอน" หรือถ้าจะเจาะจงถวายเฉพาะพระนักเทศน์ที่ตนนิมนต์มาก็เรียกว่า "กัณฑ์จอบ" เพราะต้องแอบซุ่มดูให้แน่เสียก่อนนอกจากนั้นในเดือนนี้ยังมีการทำบุญโดยหาดอกไม้มาตากไว้ด้วย
  • เดือนห้า : บุญสงกรานต์ บุญขึ้นปีใหม่หรือตรุษสงกรานต์ สรงน้ำพระพุทธบาท ไปเก็บดอกไม้ป่ามาบูชาพระในระหว่างบุญนี้ทุกคนจะหยุดงานธุรกิจประจำวัน โดยเฉพาะมีวันสำคัญดังนี้ คือ 1.วันสังขารล่วง เป็นวันแรกของงานจะนำพระพุทธลงมาความสะอาดและตั้งไว้ ณ สถานที่อันสมควร แล้วพากันสรงพระด้วยน้ำหอม 2.วันสังขารเน่า เป็นวันที่สองของงาน พากันทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว 3.วันสังขารขึ้น เป็นวันที่สามของงงาน ทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระ-เณร แล้วทำการคารวะบิดามารดาและคนแก่ ส่งท้ายด้วยมีพิธีบายศรีสู่ขวัญ แล้วใช้น้ำที่เหลือใช้จากการรดน้ำให้ผู้ใหญ่น้ำ มารดให้แก่ผู้ร่วมงาน ภายหลังจึงแผลงมาเป็นการวิ่งไล่สาดน้ำกลั่นแกล้งกัน
  • เดือนหก : บุญบั้งไฟ การทำบุญวันวิสาขบูชา มีการเทศน์ตลอดวัน ตลอดกลางคืนมีการเวียนเทียนในเดือนนี้มีงานบุญสำคัญอีกบุญหนึ่งคือ บุญสัจจะ หรือบุญบั้งไฟเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและขอฝน มีผลทางอ้อมเพื่อฝึกฝนให้รู้จักผสมดินปืนและให้ประชาชนมาร่วมสนุกสนานกันได้อย่างสุดเหวี่ยงก่อนจะลงมือทำนาซึ่งเป็นงานหนักประจำปี แต่ในปัจจุบันได้มีการยกเลิกการจัดบุญบั้งไฟแล้ว เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงสู่สังคมกึ่งเมือง พร้อมทั้งมีเหตุการณ์ในการช่วงปี พ.ศ. 2548 บั้งไฟได้ตกใส่ประชาชน และไร่นา ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน จึงได้ยุติการจัดบุญบั้งไฟ แต่จัดเป็นการบวชนาคแทน ตอนกลางคืนมักจะมีการตีกลองเอาเสียงดังแข่งกันเรียกว่า "กลองเส็ง" บางตำราก็ว่าต้องมีพิธีสรงน้ำพระพุทธรูปฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ตลอดจนมีการถือน้ำพระพิพัฒน์ต่อพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า และต่อแผ่นดิน
  • เดือนเจ็ด : บุญซำฮะ ทำบุญบูชาเทวดาอาฮักษ์หลังเมือง (วีรบุรุษ) ทำการเซ่นสรวง หลักเมือง หลักเมือง ผีพ่อแม่ ผีปู่ตา ผีเมือง (บรรพบุรุษ) ผีแฮก(เทวดารักษานาไร่) ทำนองเดียวกันกับแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีกรรมก่อนจะมีการทำนา สรุปแล้วคือให้รู้จักคุณของผู้มีพระคุณและสิ่งที่มีคุณ จึงจะเจริญ
  • เดือนแปด บุญเข้าพรรษา ทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารเช้าและเพลแก่พระสงฆ์ บ่ายมีการฟังธรรมเทศนา กับมีการป่าวร้องให้ชาวบ้านนำขี้ผึ้งมาหล่อเทียนใหญ่ น้อย สำหรับจุดไว้ในโบสถ์เป็นพุทธบูชาตลอดฤดูกาลเข้าพรรษา
  • เดือนเก้า : บุญข้าวประดับดิน ทำบุญข้าว และอาหารความหวานพร้อมทั้งหมากพลูบุหรี่ห่อด้วยใบตองกล้วยแล้วนำไปวางไว้ตามต้นไม้และพื้นหญ้า เพื่ออุทิศให้แก่บรรดาญาติผู้ล่วงลับไปแล้วโดยกำหนดทำใน วันแรมสิบสี่ค่ำเดือนเก้า ต่อมาภายหลังนิยมทำภัตตาหารถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร แล้วอุทิศให้ผู้แก่ตามด้วยการหยาดน้ำ ( กรวดน้ำ ) ทั้งนี้เกิดจากความเชื่อตามนิทานชาดก และเป็นที่มาของการแจกข้าวด้วย
  • เดือนสิบ : บุญข้าวสากหรือข้าวสลาก (สลากภัตร) ในวันเพ็ญ เชื่อว่าเป็นวันที่สามโลกเปิดพร้อมกัน สามารถส่งถึงกันได้ เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายเช่นเดียวกับบุญข้าวประดับดิน โดยมีเวลาห่างกัน 15 วัน เป็นระยะเวลาที่พวกเปรตจะต้องกลับคืนไปเมืองนรก (ตามนิทานชาดก) โดยผู้ที่ถวายทานจะเขียนชื่อของตนไว้ในภาชนะที่ใส่ของทานไว้ แล้วเขียนชื่อของตนใส่กระดาษนำไปใส่ไว้อีกบาตร เมื่อภิกษุสามเณรรูปใดจับได้สลากของผู้ใดก็จะเรียกให้เจ้าของสลากนำเอาของถวาย ครั้นพระเณรฉันแล้วก็ประชุมกันฟังเทศน์ บรรยายนิทานวัตถุและภาษิตต่างๆทั้งอานิสงส์สลากภัตด้วยชั่ววันกับคืนหนึ่งจึงเลิก
  • เดือนสิบเอ็ด : บุญออกพรรษา หรือสังฆเจ้าออกวัสสปวารณาฯ มีการตามประทีปโคมไฟเรียกว่าทำบุญจุดประทีป ถ้าไม่ใช้โคมแก้วโคมกระดาษก็มักขูดเปลือกลูกตูมกาให้ใสหรือขุดเปลือกลูกฟักทองให้ใสบางทำเป็นโคม ใช้น้ำมันมะเยาหรือมะพร้าวมีไส้ลอยอยู่มีหูหิ้วและนำไปแขวนไว้ตามต้นไม้เต็มวัด
  • เดือนสิบสอง : บุญกฐิน เดือนสิบสอง เป็นเดือนส่งท้ายปีเก่าตามคติเดิม มีการทำบุญกองกฐิน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ดถึงกลางเดือนสิบเอ็ดถึงกลางเดือนสิบสอง แต่ชาวอีสานครั้งก่อนนิยมเริ่มทำตั้งแต่วันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบสอง จึงมักเรียกว่าบุญกฐินว่าเป็นบุญเดือนสิบสอง มีทั้งมหากฐิน(กองใหญ่) และบุญจุลกฐิน(กองเล็ก) ซึ่งทำกันโดยด่วน อัฎฐะบริขารที่จำเป็นต้องทอดเป็นองค์กฐิน ขาดมิได้คือบาตร สังฆาฏิ จีวร สบง มีโกนหรือมีดตัดเล็บ สายรัดประคด ผ้ากรองน้ำ และเข็ม นอกจากนั้นเป็นเพียงองค์ประกอบ โดยหลังจากวันเพ็ญเดือนสิบสองแล้วจะทอดกฐินไม่ได้อีกจึงต้องทำบุญกองบัง(บังสุกุลหรือทอดผ้าป่า) และทำบุญกองอัฏฐะ คือการถวายอัฏฐะบริขารแปดอย่างแก่พระสงฆ์

งานเฉลิมพระเกียรติ/ทำความสะอาดหมู่บ้าน ในช่วงเดือนธันวาคมของแต่ละปี ชาวบ้าน บ้านทุ่ม หมู่ 4 จะมีการรวมตัวกันที่ศาลาประชาคม เพื่อร่วมกิจกรรมทำความสะอาดรอบหมู่บ้าน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ทั้งในวันที่ 5 ธันวาคมของแต่ละปี และเป็นการทำความสะอาดหมู่บ้าน เพื่อต้อนรับศักราชใหม่ที่กำลังจะมาถึง โดยจะช่วยกันทำความสะอาดร่วมกันไปแต่ละคุ้มบ้าน จนรอบหมู่บ้าน

งานกีฬาเทศบาล ในช่วงเดือนมกราคมทางเทศบาลจะมีการจัดการแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติดของตำบลบ้านทุ่ม จะมีทุหมู่บ้านทั้ง 18 หมู่บ้านเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันกีฬา ซึ่งในแต่ละหมู่บ้านจะมีการจัดขบวนร่วมกันเพื่อเข้าร่วมประกวดและร่วมแข่งกันกีฬา เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านออกกำลังกายและมีกิจกรรมร่วมกัน

งานกีฬา อสม. ในช่วงเดือนมีนาคมจะมีการจัดการแข่งขันกีฬา อสม. ซึ่งจะมีการจัดกิจกกรมแข่งขันกีฬาระหว่าง อสม. ทั้ง 18 หมู่บ้าน แข่งขันกีฬาพื้นบ้าน กีฬาสากล ประกวดกองเชียร์ เชียร์หลีดเดอร์ ขบวนพาเหรด พร้อมทั้งเต้นบาสโลบร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการออกกำลังกาย และเป็นการสร้างเสริมสัมพันธภาพระหว่าง อสม. ภายในตำบลบ้านทุ่ม

1.นายสุเจิด   ภูคำ 

เกิด : วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2508

ภูมิลำเนา : เลขที่ 121 หมู่ 6 ตำบลเพ็กใหญ่ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

บิดา ชื่อ นายทองสร้อย   ภูคำ  อายุ 82 ปี เสียชีวิตแล้ว มารดา ชื่อ นางสินหา   ภูคำ  อายุ 74 ปี  เสียชีวิตแล้ว โดยนายสุเจิดสมรสกับ นางจีระนันท์   ภูคำ เกิดวันที่ 5 พฤศจิกายน 2508 อายุ 51 ปี มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ 1)นางสาวธารารัตรน์  ภูคำ อายุ 29 ปี จบการศึกษาปริญญาตรี พยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีขอนแก่น 2) นางสาวธัญชนก  ภูคำ อายุ 24 ปี จบการศึกษาปริญญาตรี สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรขอนแก่น

การศึกษา : จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 

อาชีพ : เกษตรกรรมผู้ใหญ่บ้านหนองสะแบง

ประวัติการทำงาน

  • ..2537 รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเพ็กใหญ่
  • .. 2542 ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเพ็กใหญ่
  • .. 2545 เลขาองค์การบริหารส่วนตำบลเพ็กใหญ่
  • .. 2552-ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านหนองสะแบง

2.นายประดิษฐ์  บุตรตะวงษ์

เกิด : วันจันทร์ ที่ 14 มกราคม  2498 ที่บ้านหนองสะแบง หมู่ที่ 6 ตำบลเพ็กใหญ่ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

ที่อยู่อาศัย : 111 หมู่ที่ 6  บ้านหนองสะแบง ตำบลเพ็กใหญ่ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

อาชีพ : เกษตรกรรม รายได้ประมาณ 6,000 บาท/เดือน

การศึกษา : จบชั้นประถมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนบ้านหนองสะแบง ตำบลเพ็กใหญ่ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ชั้นประถมศึกษาตอนปลายชั้น ป.5-7 ที่โรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่วัดศรีเมือง อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ม..1-3 ที่โรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่วัดศรีเมือง อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม..4-5 ที่ กศน.  อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

สภาพสมรส : สมรสกับนางสาวหนูจี  เปภัคดี มีบุตร 2 คน ชาย 1 คน หญิง 1 คน คือ 1) นางสาวสุมารินทร์  บุตรตะวงษ์ อายุ 28 ปีปัจจุบันแต่งงานแล้ว 2) นายปิยะเทพ บุตรตะวงษ์  อายุ 24 ปี ปัจจุบันทำงานที่บ้าน

ประวัติชีวิต : วัยเด็กสู่วัยทำงาน นายประดิษฐ์ บุตรตะวงษ์ เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 9 คน ซึ่งเกิดในครอบครัวที่บิดา-มารดา มีอาชีพเป็นเกษตรกรรม โดยนิสัยนายประดิษฐ์ บุตรตะวงษ์เป็นบุคคลที่ใจเย็น สุขุม จริงใจ มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะแก้ใขปัญหาด้านสุขภาพของประชาชน มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีความมุ่งมั่นในการทำงานสูง เป็นคนที่เสียสละ ถ้าทำงานเป็นกลุ่มจะเป็นผู้ริเริ่มคิดกติกากลุ่มหรือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงานร่วมกัน ทำให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่น และจากการมุ่งมั่นในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ อีกทั้งได้รับการพัฒนาในเรื่องการทำงานกับคนหรือการทำงานเป็นทีมจนเป็นที่ยอมรับของประชาชนในหมู่บ้านและเพื่อน อสม.ในตำบลเพ็กใหญ่ เกือบทุกๆตำแหน่งในหมู่บ้านและในตำบลเพ็กใหญ่ นายประดิษฐ์  บุตรตะวงษ์ จะได้รับการคัดเลือกให้เป็นรองอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) อำเภอพลได้รับคัดเลือกเป็นอสม.ดีเด่นประจำตำบลเพ็กใหญ่และประจำเขต เป็นประธานในการดำเนินงานต่างๆมากมายตั้งแต่ปีพ..2528 – ปัจจุบันและมีความสามารถพิเศษคือแต่งบทกลอนสรภัญญะรวมถึงเป็นมัคคทายกวัดศรีสง่า

การครองตนโดยอุปนิสัยเป็นคนร่าเริงสนุกสนาน ยิ้มแย้มแจ่มใส มีมนุษย์สัมพันธ์และเข้ากับชุมชนได้ดี ดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละส่วนตนเพื่อส่วนรวม ให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัว เอาใจใส่ในเรื่องสุขภาพ ออกกำลังกาสม่ำเสมอ จึงได้รับคัดเลือกให้เป็นประธานกลุ่ม อสม.ตำบลเพ็กใหญ่ ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน ปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองที่บ้าน ถ้าเจ็บป่วยในเบื้องต้น จะดูแลตนเองโดยใช้สมุนไพรที่ปลูกไว้บริเวณบ้าน เช่น ฟ้าทะลายโจร ว่านหางจระเข้ ดอกอัญชัน ไพร มะรุม และพืชผักสวนครัวที่มีสรรพคุณทางยา เช่น ข่า ตะไคร้ กระเพรา โหระพา หอม กระเทียม กระเจี๊ยบ เป็นต้น  นายประดิษฐ์ บุตรตะวงษ์ จะรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เน้นรับประทานผักปลอดสารพิษสดๆโดยกำหนดว่าจะรับประทานผักให้ได้ วันละ 0.5 กิโลกรัม งดอาหารประเภทผัด ทอด หรือกะทิ ตรวจสุขภาพประจำปีที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพ็กใหญ่ทุกปี

นายประดิษฐ์ บุตรตะวงษ์  ไม่เสพสุราและสารเสพติด ไม่ดื่มกาแฟ และไม่สูบบุหรี่ ในบริเวณบ้านจะจัดให้สะอาดอยู่เสมอ โดยแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน เช่น บ่อเลี้ยงกบ เล้าไก่ พื้นที่ปลูกผัก พื้นที่สำหรับปลูกไม้ผล ให้ความรักความอบอุ่นแก่สมาชิกในครอบครัว ซึ่งนายประดิษฐ์ บุตรตะวงษ์  จะยึดถือเป็นสิ่งที่สำคัญและละเลยไม่ได้ ในขณะเดียวกัน นายประดิษฐ์ บุตรตะวงษ์   จะสอนลูกและภรรยา ให้เป็นคนที่เสียสละต่อสังคม สนับสนุนการทำงานของสังคมตั้งแต่ระดับคุ้มไปจนถึงระดับชุมชน ตำบล อำเภอ และจังหวัด  จนเกิดความสำเร็จในชีวิต จนเกิดความสำเร็จในชีวิต ทั้งด้านครอบครัว สังคม หน้าที่การงาน สิ่งที่เป็นแรงผลักดันให้ประสบความสำเร็จ ก็คือ กำลังใจจากภรรยา และบุตรที่มีให้ด้วยดีเสมอมา

จากการที่เป็นผู้พัฒนาตนเอง ใฝ่ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ทำให้นายประดิษฐ์ บุตรตะวงษ์  เป็นผู้ที่มีความสามารถและเกิดทักษะในการคิด การกระทำ มีสติและปัญหาในการแก้ปัญหาต่างๆในชีวิต และได้ประสบการณ์ไปสอนและให้คำแนะนำคนอื่นๆได้เป็นอย่างดี ซึ่งบางครั้งก็แนะนำเป็นรายบุคคล บางครั้งก็แนะนำหรือสอนเป็นรายกลุ่ม เช่น การเป็นวิทยากรจิตอาสาการเรียนการสอนในโรงเรียน การเป็นวิทยากรสอนการช่วยเหลือผู้พิการ เป็นต้น นายประดิษฐ์ บุตรตะวงษ์  เป็นบุคคลที่คบง่ายใช้คล่อง

สัมพันธ์และสัมพันธภาพที่ดี

จากคุณสมบัติดังที่กล่าวมา ทำให้เกิดการทำงานเป็นทีม และสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน สามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาในชุมชน รู้จักประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ริเริ่มและแนะนำให้ประชาชนในท้องถิ่นจัดการกับสุขภาพ แนะนำการใช้สมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบัน และแทนเครื่องสำอาง ใช้ปลากินลูกน้ำแทนการใช้ทรายอะเบท ปลูกผักปลอดสารพิษ ใช้น้ำส้มควันไม้แทนยาฆ่าแมลง  ใช้ปุ๋มหมักชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี

นายประดิษฐ์ บุตรตะวงษ์ เชื่อว่าสุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน การที่จะให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ โดยใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ความรู้ทักษะที่มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ได้ถ่ายทอดให้เครือข่ายได้เรียนรู้และเอาเป็นแบบอย่าง สื่อสารผ่านหลายช่องทาง เช่น สอนรายบุคคล รายกลุ่ม ผ่านเสียงตามสายในหมู่บ้าน ผ่านเวทีการประชุมคณะการหรือการประชุมเครือข่ายต่างๆนั้น จะต้องใช้ทักษะและความสามารถในการประสานภาคงาน ประสานของบประมาณจากองค์กรต่างๆทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน โดยใช้ตัวเองเป็นต้นแบบในการทำงาน เป็นแกนหลักที่จะนำพาเครือข่ายให้รู้จักคิดที่จะแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ เป็นแบบอย่างที่ดี เอาใจเขามาใส่ใจเรา ใช้หลักประชาธิปไตยและการทำงานแบบบูรณาการในการดำเนินชีวิตและการบริหารกลุ่ม ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทุกครั้ง สนับสนุนการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

3.นายหงส์ งานมั่น  อายุ 80 ปี หมอธรรมประจำหมู่บ้าน

อาชีพ เกษตรกร  รายได้ปีละ  120,000 บาท  

โรคประจำตัว ปอดติดเชื้อ ร่วมกับความดันโลหิตสูง ร่วมกับเกาต์ 

การศึกษา ปฐมศึกษา 4  หลังจากที่จบการศึกษาแล้วได้กลับมาประกอบอาชีพเกษตรกรตามเดิม 

ประวัติชีวิต : ได้สนใจเกี่ยวกับเรื่องของไสยศาสตร์เกี่ยวกับด้านการรักษาผู้คนที่ได้รับการเจ็บป่วย ได้เริ่มศึกษากับหมอธรรมที่อยู่ในหมู่บ้าน ได้ติดตามไปรักษาผู้คนในหมู่บ้านและหมู่บ้านข้างเคียง  และประกอบอาชีพเกษตรกร ไปด้วยแต่พ่อกับแม่ไม่อยากให้ไปยุ่งเกี่ยวกับไสยศาสตร์และไม่มีคนช่วยในการทำการเกษตรของทางบ้าน จึงได้เลิกติดตามหมอธรรมที่อยู่ในหมู่บ้าน และได้กลับมาประกอบอาชีพเกษตรกร ตามเดิม ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2500 ได้ออกบวช ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิชาทางด้านไสยศาสตร์ กับพระอาจารย์ที่วัดได้มีวิชาเกี่ยวกับการรักษาคนในด้านต่างๆติดต่อมา หลังจากนั้นได้ลาสิขา  ออกมาประกอบอาชีพเกษตรตามเดิม ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2502 ได้แต่งงานกับนางเรียบ งานมั่น และได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านหนองสะแบง  มาอยู่กับภรรยา  มีลูกชายคนแรก เมื่อ พ.ศ.2503 และได้รักษาผู้คนที่รู้เรื่องเกี่ยวกับวิชาที่ด้านการรักษาคนก็ได้มาขอความช่วยเหลือในการรักษา เช่น การดูดวง  การรักษางูสวัด รวมถึงการรักษาเกี่ยวกับการถูกคุณไสยมนต์ดำเข้ามาทำร้าย และได้รักษาผู้คนมาตลอด เมื่อ พ.ศ. 2548 ได้เข้ารับการรักษาอาการสายตาที่ผิปกติ โดยการลอกตาที่โรงพยาบาลพล แต่กลับมาไม่ได้ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำเนื่องจากหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทำการเกษตรและการทำงานที่ใช้งานมากๆ จึงส่งผลให้การรักษาไม่ได้ผล ต่อมา พ.ศ. 2558 ภรรยาได้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด  และตนเองได้เป็นโรคปอดอักเสบในปีเดียวกันได้เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลพล  อยู่ 9 วัน ได้รับยาฆ่าเชื้อ อาการดีขึ้นและได้รับยากลับมารับประทานที่บ้าน ทำให้รู้ว่าตนเองมีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูงและเกาต์ หลังจากที่กลับมาอยู่ที่บ้าน

นอกจากนี้ในพื้นที่หมู่บ้านหนองสะแบงยังปรากฏรายนามผู้ใหญ่บ้าน ดังนี้

  • พ.ศ. 2475 - 2484 นายศรีจันทร์  แสนเพีย เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของบ้านหนองสะแบง  และเป็นหมอธรรมและหมอสมุนไพรประจำหมู่บ้านด้วย
  • พ.ศ. 2484 - 2490 รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านโดย นายชู วงษ์จันลา
  • พ.ศ. 2490 - 2495 รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านโดย นายดี นุชิต             
  • พ.ศ. 2495 - 2502 รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านโดย นายสุข นุชิต             
  • พ.ศ. 2502 - 2520 รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านโดย นายผา จักรพิมพ์ มีประชากรประมาณ 74 ครัวเรือน
  • พ.ศ. 2520 - 2525 รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านโดย นายเคน กุลสุวรรณ์ได้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง
  • พ.ศ. 2525 - 2532  รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านโดย นายคำหมาย โยดิน มีประชากรประมาณ 120 ครัวเรือน               
  • พ.ศ. 2532 - 2549 รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านโดย นายถวัลย์ ตรีพรม                
  • พ.ศ. 2549 - 2552  รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านโดย นายนาย ธุระตา เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง
  • พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านโดย นายสุเจิด ภูคำ โดยมีประชากร ประมาณ 724 คน โดยคิดเป็น ร้อยละ 40 ประกอบอาชีพ ก่อสร้าง  ร้อยละ 30 ค้าขาย ร้อยละ 10 รับราชการ  ร้อยละ 20เป็นผู้สูงอายุและเด็กวัยเรียน ว่างงานอยู่ที่บ้าน     

ทุนเศรษฐกิจ ได้แก่ กลุ่มธนาคารหมู่บ้าน  กลุ่มพันธุ์ข้าว กองทุนเงินล้าน กลุ่มออมทรัพย์

ผู้คนในชุมชนบ้านหนองสะแบงใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทยในการพูดและการอ่านเขียน


สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนที่ปรากฏเห็นชัดเจนในด้านประชากรโดยมีรายละเอียด ดังนี้ การเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่ความทันสมัย ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม คนในชุมชนมีการสร้างบ้านแบบสมัยใหม่ที่ไม่เอื้อต่อการแบ่งแยกพื้นที่ระหว่างผีกับคน หรือระบบความติดของคนรุ่นใหม่ในสังคม ส่งผลให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เนื่องจากอิทธิพลของระบบสื่อในมิติต่าง ๆ ที่มีความรวดเร็วเชื่อมโยงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อของทั้งคนรุ่นเก่าและใหม่ กระกอบกับอิทธิพลทางการศึกษาสมัยใหม่ที่สอนให้คนเชื่อในหลักการวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางความคิดและความเชื่อ

ในชุมชนบ้านหนองสะแบงมีจุดสนใจอื่นๆ เช่น หนองสะแบงคันทรี่วิว ร้านเต้ย รมย์เย็น ร้านลุงหนวดชายทุ่ง และวัดหนองสะแบง

จากการสำรวจข้อมูลของนักศึกษาจากวิทยาลัยบรมราชชนนี ขอนแก่น

อบต.เพ็กใหญ่ โทร. 0-4341-8042