Advance search

หมู่บ้านขนาดเล็ก มีกิจกรรมการอนุรักษ์ป่าชุมชน มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โดดเด่นด้านการทักทอผ้าย้อมครามที่มีคุณภาพและมีลวดลายที่มีเอกลักษณ์

นางัว
นาหว้า
นครพนม
อบต.นางัว โทร. 0-4219-0247
ธนัชชา ชื่นกมล
14 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
18 เม.ย. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
18 เม.ย. 2024
บ้านโนนสะอาด


หมู่บ้านขนาดเล็ก มีกิจกรรมการอนุรักษ์ป่าชุมชน มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โดดเด่นด้านการทักทอผ้าย้อมครามที่มีคุณภาพและมีลวดลายที่มีเอกลักษณ์

นางัว
นาหว้า
นครพนม
48180
17.4251538
104.1576101
องค์การบริหารส่วนตำบลนางัว

เดิมมีชื่อว่า บ้านนากะทีมน้อย มีประชากรบ้านนากะทึมหมู่ที่ 4 ตำบลนางัว มาอยู่ตามไร่นา จำนวน 6 ครอบครัว ต่อมากระทรวงมหาดไทยประกาศตั้งเป็นหมู่บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 12 ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เมื่อปี 2521 ผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือ นายเครื่อง แก้วมุกดา

บ้านโนนสะอาด พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ดอนสลับกับพื้นที่ราบ ล้อมรอบไปด้วยที่ลุ่มคล้ายแอ่ง สามารถทำการเกษตรได้ โดยเฉพาะการทำนาซึ่งได้ผลผลิตดีในที่ลุ่ม นอกจากนี้ยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย เช่น แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำน้ำอูน ป่าไม้ ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้เต็งรัง อำเภอนาหว้า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภออากาศอำนวย (จังหวัดสกลนคร) และอำเภอศรีสงคราม
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอศรีสงคราม และอำเภอโพนสวรรค์
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอกุสุมาลย์และอำเภอเมืองสกลนคร (จังหวัดสกลนคร)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอพรรณานิคมและอำเภออากาศอำนวย (จังหวัดสกลนคร)

ประชากรส่วนมากในชุมชนบ้านโนนสะอาดประกอบไปด้วย ชาวไทลาว ชาวโซ่ และชาวผู้ไท พบว่าภายในชุมชนมีการรวมกลุ่มเพื่อผลิตผ้าทอย้อมครามสีธรรมชาติ ซึ่งเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวผู้ไทด้านการทอผ้าย้อมครามที่โดดเด่น ชุมชนใช้ภาษาผู้ไทและภาษาลาว นับถือศาสนาพุทธ ชุมชนมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายอยู่แบบพอเพียง มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

ผู้ไท

โครงสร้างองค์กร

กลุ่มทอผ้าบ้านโนนสะอาด มีการกำหนดโครงสร้างการบริหารงานไว้อย่างชัดเจนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเป็น 3 ส่วน คือ คณะกรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหารงานกลุ่ม และคณะกรรมการตรวจสอบกิจการ

กลุ่มทอผ้าบ้านโนนสะอาด จัดตั้งเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2539 การทอผ้าย้อมครามเป็นการทำสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เดิมเป็นการทอไว้ใช้เองในครัวเรือนหรือใช้ในงานบุญประเพณีต่าง ๆ ต่อมาได้มีหน่วยงานราชการเข้ามาช่วยเหลือ ให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้เป็นอาชีพเสริม ชาวบ้านจึงรวมกลุ่มกัน ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และกลุ่มได้จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนซื่อวิสาหกิชุมชนกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 12 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2559 และจัดตั้งเป็นกลุ่มแม่บ้านโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553 สมาชิกได้รวมกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมครามมัดหมี่ เนื่องจากสมาชิกมีพื้นฐานทางด้านการทอผ้าฝ้ายอยู่แล้วและได้เข้ารับการฝึกอบรมด้านการทอผ้าจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในปี พ.ศ. 2544-2545 ประธานกลุ่มคนปัจจุบันชื่อ นางราตรี อุสาพรหม

วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม

คนในชุมชนนับถือศาสนพุทธ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายอยู่แบบพอเพียง มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตการประกอบอาชีพ วัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา คือ การทำบุญประจำปีสักการะพระธาตุประสิทธิ์ ในเดือน 4 และในเดือนเดียวกันยังมีงานบุญผะเหวด หรืองานเทศน์มหาชาติที่เชื่อว่าหากได้ร่วมฟังจะได้รับอานิสงส์ผลบุญ

วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ

ก่อนหน้านี้ส่วนมากแล้วจะประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก ในส่วนของการผลิตผ้าย้อมคราม ชุมชนมีการผลิตเอาไว้ใช้ภายในครัวเรือนเท่านั้น และมีการส่งต่อภูมิปัญญาด้านการผลิตจากรุ่นสู่รุ่นภายในแต่ละครอบครัว หลังจากนั้นก็มีการจัดตั้งศูนย์วิสาหกิจชุมชนผลิตสินค้าซึ่งส่งผลให้ชุมชนมีทุนมีอัตราการผลิตผ้าไหมและผ้าทอย้อมครามเพิ่มเป็นจำนวนมากขึ้น สร้างรายได้หมุนเวียนขึ้นในชุมชน ทำให้ชุมชนมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นมากกว่าเดิม ผ้าฝ้ายย้อมครามมัดหมี่ลายสับปะรดจากชุมชนบ้านโนนสะอาด ได้ผ่านการประเมินการคัดสรร OTOP ระดับ 5 ดาว ถือเป็นการสร้างชื่อเสียงด้านการผลิตแก่ชุมชนเป็นอย่างมาก

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

พระธาตุประสิทธิ์

เป็นองค์พระธาตุที่เก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอนาหว้า ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า พระธาตุอรหันต์ 14 พระองค์ ดินจากสังเวชนียสถาน 4 แห่ง จากประเทศอินเดีย คือ ดินสถานที่พระพุทธเจ้าทรงประสูติ ตรัสรู้ แสดงพระปฐมเทศนาและปรินิพพาน โดยเจ้าคุณพระเทพรัตนโมลี เมตตาแบ่งให้บรรจุในองค์พระธาตุ ในทุกปีจะมีงานนมัสการพระธาตุ คือ "งานบุญเดือนสี่ของดีนาหว้า" ซึ่งตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 4 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 ในงานดังกล่าวจะจัดให้มีการแสดง การละเล่นพื้นบ้าน การประกวดตูบ และมีมหรสพตลอดงาน ตลอดจนมีการจัดแสดง และจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

อาหาร

มาถึงหมู่บ้านก็ต้องชิมเมนูปลาน้ำอูน เนื้อปลาสะอาด เนื่องจากเป็นปลาน้ำไหล เอามานึ่งแล้วจัดผักแกล้ม จิ้มแจ่วปลาร้า ปลาเนื้ออ่อนจากแม่น้ำอุนเอาไปทำปลาแดดเดียว ทอดจนสุกเหลือง มีตำแตงเป็นเครื่องเคียง ปลาแดดเดียวทอด มีแกงไก่บ้านใส่หยวกกล้วย นิยมใช้กล้วยตานีเพราะมีรสหวาน ของหวานเป็นข้าวหัวหงอก หรือข้าวต้มมัดคลุกมะพร้าว

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในอาชีพที่ทำ ซึ่งถ้าปีไหนฝนตกต้องตามฤดูกาลชุมชนก็สามารถสะสมฝ้ายดิบและเนื้อครามเอาไว้ใช้ผลิตได้มาก แต่ถ้าปีไหนเกิดภาวะแห้งแล้งชุมชนต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากการที่ต้องนำเข้าเส้นฝ้ายดิบจากภายนอกชุมชน การถือครองที่ดินถือเป็นเงื่อนไขที่สำคัญต่อรูปแบบการผลิตของแต่ละครัวเรือนที่มีพื้นที่ทำกินมากก็จะปรับเปลี่ยนมาเป็นผู้ผลิตเนื้อครามและเส้นฝ้ายดิบขายส่งต่อให้ครัวเรือนที่ไม่มีพื้นที่ผลิต บางครัวเรือนที่มีที่ทำกินจำกัดก็จะผลิตผ้าย้อมครามในขั้นตอนที่ไม่ต้องใช้พื้นที่ทำกินแทน เช่น การทอ การทำเส้นยืน การมัดหมี่ หรือการผลิตอุปกรณ์การผลิตอื่น ๆ แทนความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์ แสดงให้เห็นว่าชุมชนมีการปรับตัวให้เข้ากับกลไกการตลาดอยู่ตลอดเวลา มีการประชุมหารือกันภายในกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเพื่อวางแผนรับมือกับปัญหาด้านราคากลางของตลาด

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เกรียงไกร ผาสุตะ และกัญลยา มิขะมา. (2561). ยุทธศาสตร์การดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรผู้ผลิตผ้าทอย้อมคราม ในเขตอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 8(2), 125-133.

วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. (2566). อำเภอนาหว้า. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://th.wikipedia.org/wiki

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนม. (ม.ป.ป.). บ้านนาหว้า-ตำบลชุมชนวัดพระธาตุประสิทธิ์ อำเภอนาหว้า. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://nakhonphanom.cdd.go.th

สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. (ม.ป.ป.). ประวัติความเป็นมาของอำเภอนาหว้า. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.oic.go.th

อบต.นางัว โทร. 0-4219-0247