เป็นชุมชนที่มีหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งไทย จีน มอญ ลาว แขก ละว้า ขมุ รวมถึงกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรหลัก สามารถชมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีเทศกาลท่องเที่ยวไม้เมืองหนาว
เป็นชุมชนที่มีหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งไทย จีน มอญ ลาว แขก ละว้า ขมุ รวมถึงกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรหลัก สามารถชมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีเทศกาลท่องเที่ยวไม้เมืองหนาว
เดิมแก่นมะกรูด อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอแม่กลอง จังหวัดอุทัยธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 มณฑลนครสวรรค์ ได้ปรับเปลี่ยนเขตของอำเภอแม่กลองกับอำเภอหนองหลวง โดยให้ตำบลแก่นมะกรูด มาขึ้นกับทางอำเภอหนองหลวง (เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอคอกควายในปี พ.ศ. 2460) พ.ศ. 2468 ได้รับรวมกิ่งอำเภอห้วยแห้ง จากอำเภอบ้านเชี่ยน จังหวัดชัยนาท มารวมกับอำเภอคอกควาย จังหวัดอุทัยธานี และย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ตำบลบ้านไร่ และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอคอกควาย เป็นอำเภอบ้านไร่ จึงกลายเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอบ้านไร่มาจนถึงปัจจุบัน
แก่นมะกรูดตั้งอยู่ในเขตใต้สุดของภาคเหนือและเหนือสุดของภาคกลางที่มีความหลากหลายของชาติพันธุ์ ทั้งไทย จีน มอญ ลาว แขก กะเหรี่ยง ละว้า ขมุ อยู่บนพื้นที่สูงในจังหวัดอุทัยธานี เป็นที่ตั้งโครงการพื้นที่ต้นแบบบูรณาการแก้ไขปัญหา และพัฒนาพื้นที่ตำบลแก่นมะกรูด โดยมีมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในหลวงรัชกาลที่ 9 ร่วมบูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่ มีอากาศเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีสวนดอกไม้และผลไม้เมืองหนาว นานาพรรณ ทั้งลิลลี่ ทิวลิป เบญจมาศหลากสี สตรอว์เบอร์รี ซาโยเต้ กาแฟ กะหล่ำปลีม่วง กะหล่ำปลีหัวใจ ผักสลัด และผักพื้นบ้านมากมาย เป็นต้น สวนพฤษศาสตร์ ถือเป็นสถานที่ยอดนิยมในช่วงฤดูหนาวที่นักท่องเที่ยวได้มาเที่ยว สัมผัสอากาศหนาว เคล้าสายหมอกกับดอกไม้ผลไม้เมืองหนาวราวกับว่าได้ไปเยือนภาคเหนือตอนบน มีคำกล่าวที่ว่า “อำเภอบ้านไร่ บรรยากาศเชียงใหม่ ไม่ไกลกรุงเทพฯ”
อำเภอบ้านไร่มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภออุ้มผาง (จังหวัดตาก) อำเภอแม่เป็น (จังหวัดนครสวรรค์) อำเภอลานสัก อำเภอห้วยคด และอำเภอหนองฉาง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอหนองมะโมง และอำเภอเนินขาม (จังหวัดชัยนาท)
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอด่านช้าง (จังหวัดสุพรรณบุรี) และอำเภอศรีสวัสดิ์ (จังหวัดกาญจนบุรี)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอทองผาภูมิ (จังหวัดกาญจนบุรี) และอำเภออุ้มผาง (จังหวัดตาก)
ตำบลแก่นมะกรูดมีประชากรเพียง 1,714 คน มีชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโพล่งอาศัยอยู่
ปกาเกอะญอมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในหลวงรัชกาลที่ 9 ร่วมบูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่มีอากาศเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีสวนดอกไม้และผลไม้เมืองหนาวนานาพรรณ ทั้งลิลลี่ ทิวลิป เบญจมาศหลากสี สตรอว์เบอร์รี่ ซาโยเต้ กาแฟ กะหล่ำปลีม่วง กะหล่ำปลีหัวใจ ผักสลัด และผักพื้นบ้าน เป็นต้น
ทุนธรรมชาติ
- มูลค้างคาว
อำเภอบ้านไร่เป็นพื้นที่ที่มีผลกระวาน มูลค้างคาว และช้างป่า และได้จัดส่งไปยังเมืองหลวงมาจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มูลหรือขี้ของค้างคาว ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกน้ำนมชนิดเดียวที่บินได้ ค้างคาวมีหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่เป็นค้างคาวที่กินผลไม้ ที่เหลือกินแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก ทำให้มูลค้างคาวมีธาตุฟอสฟอรัสสูง ซึ่งเป็นอาหารหลักของพืช รวมทั้งมีสารอาหารรอง เช่น แคลเซียมสูง และสารอาหารเสริมของพืชที่สูง มูลค้างคาวถือเป็นทุนธรรมชาติที่บ้านแก่นมะกรูดเนื่องจากจะมีถ้ำที่มีค้างคาวอาศัยอยู๔่เป็นจำนวนมาก
ทุนวัฒนธรรม
- ถ้ำเกร็ดดาว
ตั้งอยู่ที่ตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ตัวถ้ำอยู่เลยจากศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาบ้านอีมาด-อีทรายไปประมาณ 1 กิโลเมตร จากนั้นจะพบทางเดินเท้าต่อไปยังถ้ำเกร็ดดาว เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของจังหวัดอุทัยธานี ที่ระยิบระยับไปด้วยประกายไฟจนดูคล้ายกับดวงดาวจากแท่งหินขนาดใหญ่ที่อยู่ภายในถ้ำ ซึ่งเมื่อต้องแสงไฟจะทอประกายความงดงามให้ทุกคนได้ตะลึง นอกจากนี้ถ้ำเกร็ดดาว ยังมีฝูงค้างคาวอาศัยภายในอยู่มากมาย จนชาวบ้านสามารถเข้าไปนำขี้ค้างคาวออกมาทำปุ๋ยบำรุงเรือกสวนไร่นาของตัวเองได้ อย่างไรก็ตาม การเดินทางชมถ้ำนั้นต้องไต่บันไดไม้ไผ่ที่ทอดยาวเข้าไป และนักท่องเที่ยวควรนำไฟฉายติดตัวไปด้วย
พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวแก่นมะกรูดได้รับการผลักดันเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติจนถึงปัจจุบัน ซึ่งวัตถุประสงค์ คือ เรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ ได้มีการดำเนินการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้พี่น้องชาวกะเหรี่ยง มีอาชีพมีรายได้จากการขายสินค้า ให้กับนักท่องเที่ยว รายได้แต่ละปีในตลาดกะเหรี่ยงก็อยู่ที่ประมาณสัก 3-4 ล้านบาท การสร้างรายได้นี้ ส่งผลให้ชาวกระเหรี่ยงหยุดการบุกรุกทำลายป่า มาขายสินค้าที่มีรายได้มากกว่าแทน ส่วนในเรื่องของการอนุรักษ์ป่า ทางอบจ.อุทัยธานีมีการคาดโทษผู้ที่ตัดไม้ทำลายในพื้นที่ป่า คือ จะไม่ให้ขายของในตลาดกะเหรี่ยง
จารุวรรณ กมลสินธุ์, อรวรรณ เกิดจันทร์ และธนพจน์ แพรสุวรรรณ์. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 375-388.
เฉลิมพล เวชอาภรณ์. (2566). ท่องเที่ยวคึกคัก นักท่องเที่ยวแห่รับลมหนาว ชมเทศกาลดอกไม้งามแห่งขุนเขา "แก่นมะกรูด". (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567. เข้าถึงได้จาก: https://www.opt-news.com/news/39200